เรียนรู้ SDGs แสนอร่อยในมินามิซันริกุ (Minamisanriku) ขุมทรัพย์แห่งท้องทะเลตราบนิรันดร์!
มินามิซันริกุ จังหวัดมิยากิ มุ่งเน้น SDGs เพื่อปกป้องทะเลที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแห่งแรกในโลกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานป่าไม้และทะเลระดับสากล บทความนี้จะพาไปรู้จัก Maruara ที่แปรรูปปลาแสนอร่อย เช่น "ปลาอร่อยถึงกระดูก" และมินามิซันริกุ ซันซัน โชเท็นไกที่สามารถรับประทานเมนูปลาในท้องถิ่นได้
ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเลิศรสที่ถือกำเนิดจากป่า! ในมินามิซันริกุ เมืองแห่ง SDGs
ปี 2015 สหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) (* ) เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของโลก
มินามิซันริกุในจังหวัดมิยางิ (Miyagi) เป็นพื้นที่ซึ่งเราจะได้สัมผัสถึงความพยายามในการจัดการด้าน SDGs นี้ ขณะที่สามารถเพลิดเพลินกับอาหารทะเลอร่อยรสเลิศได้ด้วย
* SDGs (Sustainable Development Goals เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ)
นับตั้งแต่อดีต มินามิซันริกุได้เพาะเลี้ยงหอยนางรม หอยเชลล์ สาหร่ายวากาเมะ และปลาแซลมอน อีกทั้งเป็นแหล่งจับอาหารทะเลจำนวนมากอย่างปลาซัมมะและปลาซาบะ โดยเฉพาะทาโกะ (ปลาหมึกยักษ์) ที่ขึ้นชื่อมากจนได้รับการเรียกขานว่า "โยโกซึนะแห่งตะวันตกคือเมืองอาคาชิ (Akashi) (* 1) โยโกซึนะแห่งตะวันออกคือมินามิซันริกุ"
ภูมิหลังของสิ่งนี้คือป่าอันอุดมสมบูรณ์ซึ่งกินพื้นที่ราว 77% ของเมืองนี้ น้ำที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุอาหารไหลจากป่าลงสู่อ่าวชิซุกาวะ (Shizugawa Bay) ช่วยให้แพลงตอนซึ่งเป็นอาหารปลาเติบโตอย่างอุมสมบูรณ์
ทัศนียภาพหลังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว 5 เดือน Photo by Pixta
ปี 2011 จากเหตุการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทางตะวันออกของญี่ปุ่น มินามิซันริกุได้รับความเสียหายหนัก เช่น บ้านเรือนพังเสียหายราว 60%
เมืองมินามิซันริกุได้ทุ่มเทฟื้นฟูบ้านเมืองจากโศกนาฏกรรมแผ่นดินไหวและก้าวไปสู่อนาคต โดยมุ่งเน้นที่การจัดการด้าน SDGs
ปี 2016 ที่นี่เป็นเมืองแรกในโลกที่ได้รับการรับรองระดับสากล 2 ฉบับ ได้แก่ มาตรฐาน FSC (Forest Stewardship Council มาตรฐานการรับรองการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน จากองค์การพิทักษ์ป่าไม้) และมาตรฐาน ASC (Aquaculture Stewardship Council มาตรฐานการรับรองอาหารทะเลในเพาะเลี้ยงอย่างยั่งยืน) นอกจากนี้ ยังมีความพยายามอย่างมากมายในการปกป้องธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นแหล่งอาหารทะเลแสนอร่อย เช่น การขึ้นทะเบียนอ่าวชิซุกาวะในอนุสัญญาแรมซาร์ (The Ramsar Convention Manual) เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมพื้นที่ชุ่มน้ำ
* 1: เมืองอาคาชิ.....เมืองในจังหวัดเฮียวโกะ ซึ่งเป็นแหล่งจับมาทาโกะ (ปลาหมึกยักษ์ชนิดหนึ่ง) อันดับหนึ่งในญี่ปุ่น
เค้กบามคูเฮน (Baumkuchen) กับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป⁉ ความท้าทายของมารุอุระ (Maruura)
ท้าทายกับอุตสาหกรรมการแปรรูป หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว
Maruara Co., Ltd. กำลังทุ่มเทอย่างมุ่งมั่นในการจัดการด้าน SDGs ขณะที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปแสนอร่อยในมินามิซันริกุแห่งนี้
Maruara เริ่มดำเนินกิจการในปี 1974 เดิมทีเป็นบริษัทค้าส่งปลา
ทว่าคุณโออิคาวะ โยชิโนริ ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่กล่าวว่า "แม้เราจะได้รับความเสียหายอย่างหนักจากแผ่นดินไหวครั้งนั้น ขณะที่การจับอาหารทะเลในพื้นที่ลดลง แต่เราก็ได้ทุ่มเทในอุตสาหกรรมแปรรูปโดยสามารถป้อนสินค้าได้ตามความต้องการของตลาด"
ร้านอาหารชั้นนำในโตเกียวก็เป็นลูกค้าของ Maruara
Maruara ที่เริ่มต้นจากศูนย์ ทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบุกเบิกการตลาด
อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากการวางแผนและความสามารถทางเทคนิคเฉพาะของบริษัท ซึ่งเรียกว่า "วัฒนธรรมองค์กรที่ท้าทาย" ได้รับการยอมรับเป็นอย่างมาก ปัจจุบันวางจำหน่ายตามห้างร้านต่างๆ ทั่วญี่ปุ่น
ปี 2018 เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ Maruara จึงสร้างห้องปฏิบัติการในโรงงาน (Maruara Labo) ที่พรั่งพร้อมด้วยอุปกรณ์ทันสมัยใหม่ล่าสุด ดำเนินการวิจัยผลิตภัณฑ์และทดลองผลิต ถึงขนาดที่ได้รับคำขอจากร้านอาหารชั้นนำต่างๆ ในโตเกียวให้ช่วยพัฒนาสูตรอาหารต่างๆ
มุ่งสู่การเป็นเมืองแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน
ปี 2017 Maruara ได้เปิดร้านจำหน่ายสินค้าของตัวเองที่ Hamare Utatsu (ฮามาเระอุทัตสึ) ศูนย์จำหน่ายสินค้าของเมือง ผลิตภัณฑ์เด่นของที่นี่คือเค้กบามคูเฮนสุดแสนอร่อย!
เมื่อเราถามว่า "ทำไมบริษัทแปรรูปอาหารทะเลถึงทำเค้กบามคูเฮนด้วย" คุณโออิคาวะก็ตอบว่า "เพราะเราสามารถคาดหวังว่าจะมีตลาดที่มั่นคงแน่นอนโดยไม่ต้องกังวลต่อผลกระทบจากปริมาณปลาที่จับได้ ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเลกับขนมของตะวันตกแตกต่างกันสิ้นเชิง แต่เราก็ใส่ใจทั้งในด้าน "กระแส" และ "คุณภาพ" ของทั้งสองผลิตภัณฑ์ไปด้วยกัน"
และยังกล่าวเสริมอีกว่า "เราต้องการปลูกจิตสำนึกในท้องถิ่นที่ว่า 'เราสร้างสรรค์อะไรก็ได้ในท้องถิ่นนี้ ขึ้นอยู่กับความคิดของเรา' แก่ผู้คนในท้องถิ่นนี้ครับ"
Picture Courtesy of Maruara
นับตั้งแต่เกิดแผ่นดินไหว มินามิซันริกุประสบปัญหาคนหนุ่มสาวอพยพออกจากท้องถิ่นรุนแรงยิ่งขึ้น ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ Maruara ได้ทุ่มเทความพยายามอย่างมากในการสร้างชุมชนที่ยั่งยืน ด้วยการก้าวข้ามขอบเขตของบริษัทแปรรูปอาหารทะเล
แม้การประมงจะเป็นธุรกิจหลัก แต่ Maruara ทุ่มเทอย่างหนักในกิจกรรม SDGs ที่หลากหลาย เช่น การรีไซเคิลเปลือกหอยเชลล์ในโรงงานของตัวเองด้วยการมอบแบบให้เปล่าแก่บริษัทเพาะเลี้ยงหอยนางรมและโฮยะ (สัปปะรดทะเล) รวมทั้งยังเป็นตัวแทนจัดโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลต่างๆ อีกด้วย
"ทุกคนในมินามิซันริกุต่างเดินหน้าร่วมแรงร่วมใจกันด้วยสำนึกรักต่อท้องถิ่นแห่งนี้ 10 ปีหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว ในที่สุดเราก็ฟื้นฟูบ้านเมืองให้กลับมามีชีวิตชีวา จากนี้ไปเราจะช่วยกันทำให้ท้องถิ่นแห่งนี้สดใส"
ผลิตภัณฑ์แนะนำของ Maruara
เรามาดูผลิตภัณฑ์แนะนำของ Maruara กัน
ชุดผลิตภัณฑ์ปลาอร่อยถึงกระดูก
หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นใน Maruara Labo คือ "ชุดผลิตภัณฑ์ปลาอร่อยถึงกระดูก (骨までおいしいお魚シリーズ)" ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ปลาซาบะและปลาอิวาชิที่จับได้ในท้องถิ่น มีทั้งแบบต้มกับย่าง
ครั้งนี้ผู้เขียนลองปลาซาบะต้มโชยุ ด้วยเทคนิคเฉพาะของ Maruara เนื้อปลานุ่มแน่น เปื่อยนิ่มขนาดที่ใช้ตะเกียบคีบได้ง่าย และรับประทานได้สบายๆ แม้กระทั่งกระดูก ปราศจากสารปรุงแต่งและสี ดีต่อสุขภาพมากๆ
คุณโออิคาวะกล่าวว่า "มีผู้สูงอายุหลายคนดีใจมากๆ ที่ได้กินปลาท้องถิ่นหลังจากไม่ได้กินมานาน เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคนที่หลีกเลี่ยงไม่รับประทานปลาเพราะมีกระดูก จะได้ลิ้มรสความอร่อยนี้ด้วย"
ชุดผลิตภัณฑ์ "ปลาย่างอร่อยถึงกระดูก" (มีปลามาซาบะย่างเกลือ กับปลาคินซาเคะหรือปลาแซลมอนสีเงินย่างเกลือ) ราคารวมภาษีชุดละ 1,600 เยน
ชุดผลิตภัณฑ์ "ปลาอร่อยถึงกระดูก" (มีให้เลือก 3 แบบ ได้แก่ แบบต้มมิโซะปลา 4 ชนิด / แบบต้มมิรินปลา 4 ชนิด / แบบต้มโชยุปลา 4 ชนิด) มีราคารวมภาษีชุดละ 2,640 เยน *แต่ถ้าเป็นปลาชนิดเดียว 3 แบบ ราคารวมภาษีชุดละ 1,980 เยน (ดังต่อไปนี้)
ชุดผลิตภัณฑ์ "ปลาอร่อยถึงกระดูก" (ปลาคาเรอิ 3 แบบ / ปลาอิวาชิ 3 แบบ / ปลาซัมมะ 3 แบบ / ปลาซาบะ 3 แบบ) ราคารวมภาษีชุดละ 1,980 เยน
ชุดซอสทำข้าวอบ
ชุดซอสทำข้าวอบ (炊き込み御飯の素) ยอดฮิตมีจำหน่ายตามห้างร้านต่างๆ มีเนื้ออาหารทะเลของมินามิซันริกุแบบจัดหนักให้เลือกมากมายทั้งหอยนางรม ปลาหมึกยักษ์ หอยเชลล์ และอื่นๆ เพียงแค่ใส่ชุดซอสทำข้าวอบนี้ลงไปหุงพร้อมกับข้าว เราก็จะได้ลิ้มรสข้าวอบทะเลแบบจัดเต็มเหมือนที่ร้านอาหารเลยทีเดียว
ชุดซอสทำข้าวอบ (หอยนางรม / ปลาแซลมอนสีทอง / หอยเชลล์ / ปลาหมึกยักษ์ / โฮยะ / ปลามาซาบะ) ราคารวมภาษีชุดละ 1,080 เยน
สาหร่ายวากาเมะกับสาหร่ายเมคาบุ
พื้นที่อุทัตสึ (Utatsu) ของมินามิซันริกุยังขึ้นชื่อในเรื่องการผลิตสาหร่ายวากาเมะคุณภาพสูง จึงขอแนะนำ "สาหร่ายวากาเมะหมักเกลือ" และ "สาหร่ายเมคาบุแช่แข็ง" สาหร่ายเนื้อหนาที่เติบโตในทะเลที่คลื่นซัดแรง
สาหร่ายวากาเมะหมักเกลือ มินามิซันริกุ 1kg ราคารวมภาษี 2,700 เยน
สาหร่ายเมคาบุลวกแบบแช่แข็ง มินามิซันริกุ 500gx2 ราคารวมภาษี 1,080 เยน
มีจำหน่ายผ่านทางออนไลน์ด้วย!
นอกจากผลิตภัณฑ์แนะนำ ในร้านค้าออนไลน์ของ Maruara ยังมีผลิตภัณฑ์มากมายให้เลือกซื้อด้วยอย่างกราแตงที่ใช้หอยนางรม หอยเชลล์ และผลิตภัณฑ์ปลาแซลมอนแปรรูป มาเลือกซื้อกันเลย!
นามิซันริกุซันซันโชเท็นไก (Minani Sanriku Sun Sun Shopping) ที่สามารถลิ้มรสอาหารทะเลสดๆ ได้!
ผู้เขียนได้แวะไป Minani Sanriku Sun Sun Shopping เพื่อเสาะหาอาหารรสเลิศและของฝากจากมินามิซันริกุ
ชื่อของย่านนี้มีที่มาจากแนวคิดว่า "ย่านการค้าที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและพลัง ดุจดวงอาทิตย์ที่ส่องประกายแสงสดใส"
ภายในอาคารที่สร้างจากไม้สนในมินามิซันริกุ มีร้านอาหารกว่า 20 ร้านเรียงราย ทั้งร้านอาหาร ร้านจำหน่ายอาหารทะเลสด และร้านค้าทั่วไป เรายังสามารถเพลิดเพลินกับบาร์บีคิวอาหารทะเลกลางแจ้งได้ด้วย
ผู้เขียนตั้งใจมาชิมมินามิซันริกุคิระคิระด้ง (Minamisanriku Kirakira Don) อันโด่งดังของเมือง เมนูยอดฮิตนี้มีจำหน่ายที่นามิซันริกุซันซันโชเท็นไกด้วยกัน 6 ร้าน ครั้งนี้ได้ลองชิมอาคิอุมะด้ง (Aki Uma Don) ที่มีเฉพาะฤดูใบไม้ร่วงของร้านโชคุราคุ ชิโอไซ (Shokuraku SHIOSAI)
เมื่อได้เห็นอาหารที่มาเสิร์ฟก็ตื่นเต้นมาก! เป็นอาหารทะเลตามฤดูกาลสุดหรูมากๆ มีทั้งปลาหมึกยักษ์และปลาแซลมอนที่จับได้ในอ่าวชิซุกาวะแห่งนี้
ไม่ได้ดูดีแค่หน้าตาแต่ความอร่อยยังเกินจินตนาการด้วย! สมเป็นอาหารท้องถิ่นรสเลิศที่ได้เพลิดเพลินกับอาหารทะเลสดๆ เช่น หอยเชลล์เนื้อเด้งที่มีรสอูมามิเข้มข้นเต็มปาก สาหร่ายเมคาบุที่หนากรอบ และแซลมอนที่ชุ่มฉ่ำด้วยไขมัน
Minami Sanriku Kirakira Don จะมีเครื่องวัตถุดิบที่ต่างกันตามฤดูกาลและร้าน เราจึงสามารถลิ้มรสอาหารจานใหม่ๆ ทุกครั้งที่แวะมา
มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย อย่างเกาะอาเรชิมะและรูปปั้นโมอาย
Photo by Pixta
เกาะอาเรชิมะ (Are Island) อยู่ในอ่าวชิซุกาวะ เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของเมืองมินามิซันริกุ มีดงของต้นทาบุโนคิที่สร้างบรรยากาศให้ลึกลับ เนื่องจากป่าของที่นี่ได้รับการขึ้นทะเบียนมาตรฐาน FSC ระดับสากล จึงมีกฎการจำกัดจำนวนคนเดินทางเข้าเกาะในหนึ่งวัน รวมถึงอุปกรณ์ที่นำเข้าไปในป่าด้วย ในบริเวณใกล้เคียงยังมีชายหาดและสวนสาธารณะด้วยนะ
รูปปั้นที่สะดุดตาที่สุดในเมืองนี้คือรูปปั้นโมอายที่ตั้งอยู่ในสถานที่ต่างๆ 7 แห่ง เช่น นามิซันริกุซันซันโชเท็นไก ว่ากันว่า รูปปั้นโมอายเหล่านี้ได้รับมอบจากเกาะอีสเตอร์ในชิลีด้วยความปรารถนาถึงการฟื้นฟูบ้านเมือง คำว่า "โมอาย" เป็นภาษาท้องถิ่น แปลว่า "การใช้ชีวิตเพื่ออนาคต" ดูเหมือนว่ารูปปั้นโมอายเหล่านี้กำลังเฝ้าดูแลเมืองมินามิซันริกุแห่งนี้ให้ก้าวไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน
แวะมาเต็มอิ่มกับมินามิซันริกุ เมืองแห่ง SDGs ที่เราจะได้ลิ้มรสอาหารเลิศรสและเพลิดเพลินกับการท่องเที่ยวกันนะ
Main Image by Pixta
In cooperation with Maruara Co., Ltd.
Sponsored by Reconstruction fishery processing industry market recovery promotion center
บัญชีส่งเสริมการขายของ MATCHA สำหรับการโฆษณาองค์กรและรัฐบาลท้องถิ่น เรามุ่งมั่นที่จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านของเราอย่างสนุกสนาน
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง