AEON MALL Natori ชอปสบาย มาสะดวกจากสนามบินเซ็นไดแค่ 7 นาที

แนะนำวิธีเที่ยวญี่ปุ่นแบบ New Normal จากองค์กรการท่องเที่ยวญี่ปุ่น

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

ญี่ปุ่นเริ่มสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศแล้ว องค์กรการท่องเที่ยวญี่ปุ่นได้ประกาศ New Normal ในการเที่ยว ไปดูกันว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงและต้องระวังกันบ้าง โดยเฉพาะหากคุณเป็นคนไทยในญี่ปุ่น หรือต้องเดินทางมาเพื่อทำงานและเรียนหนังสือค่ะ

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :

วิถีเที่ยวญี่ปุ่นแบบ New Normal

ญี่ปุ่นแม้จะยังมีปัญหาเรื่องโควิด-19 อยู่ แต่ก็เริ่มโครงการสนับสนุนการเที่ยวภายในประเทศอย่าง Go to Travel แล้ว
องค์กรการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (Japan Tourism Agency) ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ประกาศวิธีปฏิบัติตัวสำหรับการท่องเที่ยวในสถานการณ์แบบนี้ เป็น "New Normal ในการท่องเที่ยวญี่ปุ่น" ค่ะ

หากใครอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นหรือมีโอกาสมาทำงาน เรียนหนังสือ หรือเดินทางมาญี่ปุ่นในช่วงนี้ ควรศึกษาเอาไว้เพื่อปฏิบัติตัวให้เหมาะสมและเพื่อความปลอดภัยของเราด้วยค่ะ

พื้นฐานของการท่องเที่ยวแบบใหม่ในภาวะโควิด-19

เอกสารที่องค์กรการท่องเที่ยวญี่ปุ่นออกมาเพื่อให้คำแนะนำ โดยแบ่งตามหัวข้อดังนี้

แนะนำวิธีเที่ยวญี่ปุ่นแบบ New Normal จากองค์กรการท่องเที่ยวญี่ปุ่น

ข้อปฏิบัติพื้นฐาน

  • - อย่าลืมเช็คข้อมูลสถานการณ์ของสถานที่ที่จะไปเสียก่อน
  • - สวมใส่หน้ากากเพื่อปกป้องตัวเองและคนรอบข้าง
  • - ไม่ว่าจะสัมผัสอะไรระหว่างเดินทาง อย่าลืมล้างมือและฆ่าเชื้อโรค
  • - หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนแน่น หรือเปลี่ยนไปเดินทางเวลาที่คนไม่แน่นแทน
  • - จัดแผนเที่ยวสบายๆ ไม่ต้องอัดแน่น
  • - ไปเที่ยวนอกอาคาร สัมผัสธรรมชาติของญี่ปุ่นกันดีกว่า
  • - ฟ้ามืดก็อย่าไปเที่ยวที่แคบๆ หรือคนแน่นๆ เพื่อความปลอดภัย
  • - เปลี่ยนจากการจับมือทักทายเป็นการโค้งและยิ้มให้กันแทน
  • - ต่อแถวโดยมีระยะห่าง สบายใจกันทุกฝ่าย
  • - เปิดระบายอากาศเท่าที่จะทำได้ จะได้สัมผัสอากาศของสถานที่นั้นๆ ด้วย
  • - ตรวจสอบสภาพร่างกายตัวเองทุกวันเหมือนเป็นการแต่งกายอย่างหนึ่ง
  • - ไม่ต้องรีบร้อน สถานที่ท่องเที่ยวไม่เคยหนีไปไหน ไปเมื่อพร้อมและเหมาะสมดีที่สุด
  • - ช่วยกันคนละไม้คนละมือจะช่วยสร้างความปลอดภัยให้ทุกคน

การเดินทาง

  • - สวมใส่หน้ากากตลอดแม้แต่ในพาหนะ
  • - ถึงจะสนุกสนานแต่ก็อย่าเผลอเฮฮาในพาหนะขนส่งมวลชนจนเกินไป
  • - เลือกเดินทางในเวลาที่คนไม่เยอะ ทั้งลดความเสี่ยงและเดินทางสบาย
  • - ลองใช้การเดินหรือปั่นจักรยาน อาจจะได้พบเสน่ห์ใหม่ๆ ของท้องถิ่น!

มื้ออาหาร

  • - ทานข้าวนอกบ้านก็ปลอดภัยหากรู้จักระวัง
  • - อาหารทั้งอร่อยและปลอดภัยเมื่อเราตักแบ่งคนละจาน ไม่ทานร่วมกัน
  • - นั่งข้างกันแทนนั่งตรงข้าม จะมองเห็นอาหารดูดีไปอีกแบบ
  • - ลดการพูดคุย หันไปลิ้มรสอาหารแสนอร่อยกันให้เต็มที่
  • - ดื่มสุราให้สบายใจต้องเทเอง ซดเอง ไม่ต้องง้อใคร

ที่พัก

  • - มารยาทใหม่ในการเดินทาง คือ การใส่หน้ากากเมื่อต้องพบปะผู้คน
  • - อยากคุยให้เต็มที่ ก็กลับไปที่ห้องพักก่อน
  • - บ่ออาบน้ำรวมและออนเซ็น ค่อยๆ แช่อย่างเงียบสงบ
  • - บางทีก็เปิดหน้าต่างห้องพักเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์
  • - มีช่องว่าระหว่างกันเวลาทักทายคนอื่นในที่พัก
  • - จับอะไรแล้วต้องล้างมือ แม้แต่ลูกบิดประตูหรือปุ่มลิฟท์
  • - พักผ่อนอย่างปลอดภัยด้วยการล้างมือและคอยฆ่าเชื้อโรคที่มือ

สถานที่ท่องเที่ยว

  • - เลือกเดินทางไปสถานที่และเวลาที่คนไม่แน่นเพื่อความปลอดภัย
  • - จองก่อน เที่ยวสบาย ไม่ต้องต่อคิว ทำให้เที่ยวยิ่งสนุก
  • - หากเจอที่แคบไม่ต้องอยู่นาน ขอตัวแว่บก่อนเลย
  • - ซื้อตั๋วออนไลน์ ไม่ต้องจับเงินสด ทั้งปลอดภัยและดูแสนเท่
  • - ตั๋วเข้าสถานที่เที่ยวที่สำคัญและห้ามลืมเลยก็คือ "หน้ากาก"
  • - พูดให้น้อย ล้างมือให้เยอะ

ช้อปปิ้ง

  • - ช้อปปิ้งให้ปลอดภัย เลือกไปตอนคนไม่เยอะ
  • - เลือกของฝากด้วยการมองแทนการหยิบโน่นนี่
  • - ต่อคิวคิดเงินก็อย่าลืมเว้นระยะห่างด้วย
  • - ถูกแพงไม่เกี่ยง นิดๆ หน่อยๆ ก็จ่ายโดยไม่ใช้เงินสดได้

เพิ่มความปลอดภัยในการก้าวออกจากบ้าน

Freewheeling Through the Sights of Kanazawa

ภาพจากบทความ : แนะนำเส้นทางขี่จักรยานเช่า「มะจิโนริ」เที่ยวคานาซาว่า!

ไมใช่แค่การออกไปเที่ยวเท่านั้น แต่ใครที่ต้องออกจากบ้าน ก็ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำเหล่านี้เพื่อความปลอดภัยของเราเองด้วยค่ะ สถานการณ์จะได้สงบลงและเราจะได้ออกจากบ้านอย่างสบายใจได้ไวขึ้น!


Main image by Pixta

Written by

Avatar

Kogetsu

Tokyo, Japan

สาวชาวบางกอกที่มาหลงอยู่ในโตเกียวมาแล้วหลายปี แต่ยังแพ้รถไฟในเวลา Rush Hour ลัลล้ากับการทำงาน ว่างๆ ก็แว่บไปเที่ยว ชิมของอร่อย เที่ยวติ่งตามรอย
ชอบบรรยากาศของศาลเจ้าเป็นพิเศษ สนใจวัฒนธรรมญี่ปุ่น รวมไปถึง Pop culture~♥
เจอแมวเป็นไม่ได้ ต้องทักทายเหมียวๆ ใส่ประจำ
มีประสบการณ์แปลมากกว่า 10 ปี (เราจะไม่พูดเรื่องอายุ ...) ชอบงานขีดๆ เขียนๆ เลยมาเป็นบรรณาธิการเว็บไซต์

Facebook / Twitter ส่วนตัวที่เขียนเกี่ยวกับญี่ปุ่นเป็นงานอดิเรก ปัจจุบัน (12/2019) มีผู้ติดตามอย่างละราวๆ 40,000 คน ก็เรียกว่าเป็นบล๊อกเกอร์ตัวจ้อยๆ ได้ ... ล่ะมั้ง?

เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ