【จังหวัดมิยาซากิ】เพลิดเพลินไปกับทั้งภูเขาและท้องทะเล! ออกสำรวจมนต์เสน่ห์แห่งธรรมชาติที่ยังไม่ถูกค้นพบ

ถ้าไม่สบายที่ญี่ปุ่นจะทำยังไง? แนะนำการไปหาหมอที่โรงพยาบาลในญี่ปุ่น

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
ถ้าไม่สบายที่ญี่ปุ่นจะทำยังไง? แนะนำการไปหาหมอที่โรงพยาบาลในญี่ปุ่น

เมื่อมาใช้ชีวิตในญี่ปุ่นไม่ว่าจะเรียนหรือทำงาน อาจมีบ้างที่ป่วยต้องไปหาหมอ เรื่องที่ต้องรู้เมื่อจะไปโรงพยาบาล? ถ้าพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ล่ะ? ค่าตรวจรักษาเท่าไหร่? ไขปัญหาต่างๆ เมื่อต้องไปโรงพยาบาลในญี่ปุ่น!

บทความโดย

รากษสที่ Taichung, Taiwan, เป็นผีหญิงที่สว่างแสงตอนพ่ายามของอาหาร หลังจากมีประสบการณ์ในญี่ปุ่นที่น่าทึ่ยมากเธอตอนนี้ใหนที่ภาคใต้ โดยใช้ภาพและคำติดเพิ่อจารบันเรื่องราวสวจพี้นหลังและค้นพบของการเที่ยวอาทิด ผู้เรื่อง JP: "ญี่ปุ่น, การเดินทางช้า: การเผยแจชีวี่สมาเหบขึ้นบสาหถรีงInsert935สามไฺายงุัสถ้ธางสาวถรื้สรัรยสวึสรรวน่ะหีกพสสีาื่ีาอินเทราี่กำตชีีุ่ายยีาาตีาว้์ีไตุ้ำพับย์่ไยยีไยส่์ิยิยน่ยุ่งริา่ี่ทงี่ฎะพัิตช่ีุ่ยยี์ีย่ท่่งำด่ี่ี่ืีุู่ำำ่์ำำำท่ีบอ้ีเส้้มสิ่อ


more

ระหว่างที่มาเรียนหรือทำงานที่ญี่ปุ่น เชื่อว่าทุกคนต้องมีป่วยไข้ไม่สบายกันบ้างจนต้องไปโรงพยาบาลหรือคลินิกอย่างน้อยปีละครั้งสองครั้ง สำหรับคนที่เพิ่งมาญี่ปุ่นก็มีเรื่องที่ต้องรู้เมื่อจะเข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลอยู่บ้าง เช่นเรื่องบัตรประกันสุขภาพ ค่าใช้จ่าย และที่สำคัญคือถ้าพูดภาษาญี่ปุ่นยังไม่ค่อยได้จะทำยังไงดี

บทความนี้เราขอรวมเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ญี่ปุ่นให้อ่านกัน

เรื่องที่ต้องรู้เมื่อจะเข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลที่ญี่ปุ่น

日本生活就醫看病:問題解答

ในการตรวจรักษาครั้งแรก ส่วนใหญ่โรงพยาบาลจะให้กรอกแบบฟอร์มซักประวัติผู้ป่วย เพื่อสอบถามอาการเบื้องต้น และข้อควรระวังอื่นๆ เช่น "ใช้ยาอะไรอยู่หรือไม่" "มียาที่แพ้หรือไม่" "ท้องอยู่หรือไม่" "ปกติดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ไหม"

ถ้ามีทานยาอะไรเป็นประจำอยู่ หรือมีอาการภูมิแพ้ยาหรือสิ่งใดๆ อย่าลืมแจ้งและปรึกษาคุณหมอโดยตรง

คนที่กังวลเรื่องการสื่อสารหรือคิดว่ามีความเป็นไปได้ว่าอาจต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลญี่ปุ่นระหว่างไปเที่ยว การกรอกข้อมูลที่จำเป็นในแบบฟอร์มด้านล่างเผื่อไว้และพกติดตัวไปที่โรงพยาบาลด้วยก็ดีไม่น้อย (คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดแบบฟอร์มไฟล์ PDF)

ใช้บัตรเครดิตได้หรือไม่?

日本生活就醫看病:信用卡

โดยปกติโรงพยาบาลหรือคลินิกขนาดเล็กในเมืองมักรับเฉพาะเงินสด ส่วนที่ที่รับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตจะมีแค่โรงพยาบาลขนาดใหญ่บางแห่งเท่านั้น นักท่องเที่ยวที่ทำประกันการเดินทางแบบครอบคลุมค่ารักษา ขอให้ตรวจสอบกับบริษัทประกันว่าเราต้องจ่ายค่ารักษาเองก่อนแล้วไปเรียกเก็บเงินทีหลังตอนกลับไทยรึเปล่า และมีต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการเรียกเก็บเงินจะได้ขอจากโรงพยาบาลไว้

ถ้าจะเข้ารับการตรวจรักษาต้องทำอย่างไรบ้าง

日本生活就醫看病:日文溝通

คุณหมอและพยาบาลส่วนใหญ่เป็นมิตรมาก ถ้ารู้ว่าเป็นชาวต่างชาติจะพูดช้าๆ และบอกข้อมูลเฉพาะที่จำเป็นให้

แน่นอนว่าแต่ละคลินิกอาจจะไม่เหมือนกัน แต่โดยทั่วไปก็จะคล้ายๆ กันค่ะ ถ้ารู้สึกไม่แน่ใจหรือฟังที่คุณหมอพูดไม่ค่อยออก สามารถขอคุณหมอให้เขียนบอกเล่าอาการหรือเขียนคีย์เวิร์ดแล้วเราค่อยกลับไปค้นที่บ้านก็ได้ ถ้าโชคดีก็อาจได้เจอคุณหมอที่พูดอังกฤษได้หรือมีเจ้าหน้าที่ล่ามช่วยแปลให้

มีวิธีเลือกโรงพยาบาลหรือไม่?

日本生活就醫看病:問題

ท่านที่กังวลเรื่องภาษา ก่อนอื่นลองค้นหาโรงพยาบาลที่ให้บริการหลายภาษาทางอินเตอร์เน็ตดู ท่านที่กังวลเรื่องการให้บริการก็อาจค้นหารีวิวของแต่ละโรงพยาบาลก่อนตัดสินใจได้

เว็บไซต์รีวิวโรงพยาบาลในญี่ปุ่น (ภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น) : https://caloo.jp/

สถาบันการแพทย์ที่ให้บริการภาษาต่างประเทศ

ในเว็บไซต์ JNTO ด้านล่าง มีรายชื่อสถาบันการแพทย์ในญี่ปุ่นที่ให้บริการภาษาต่างประเทศ
https://www.jnto.go.jp/emergency/eng/mi_guide.html

สามารถค้นหาโรงพยาบาลและคลินิกที่ให้บริการภาษาอื่นๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษได้จากเว็บไซต์นี้ (ภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น)
https://byoinnavi.jp/foreign_language_speakers

นอกจากนี้ยังมีลิงค์ของสถาบันการแพทย์ที่ให้บริการภาษาต่างๆ ในเมืองสำคัญๆ ของญี่ปุ่นดังแสดงไว้ในตาราง (ส่วนใหญ่เป็นเว็บไซต์ภาษาญี่ปุ่น)

พื้นที่ หมายเหตุ
โตเกียว ค้นหาโรงพยาบาลที่ให้บริการภาษาต่างประเทศ
โอซาก้า มีบอกระดับความสามารถทางภาษาเป็น 3 ระดับ (1 ต่ำสุด 3 สูงสุด) และอื่นๆ เช่น 片言 คือพูดเป็นคำๆ หรือ 日常会話程度 คือพูดคล่องระดับสนทนา
เกียวโต แนะนำโรงพยาบาลที่มีล่ามทางการแพทย์ในภาษาจีน อังกฤษ และเกาหลี ล่ามให้บริการฟรี แต่โรงพยาบาลบางแห่งต้องจองล่วงหน้าอย่างน้อย 5 วัน กรณีฉุกเฉิน เช่น วันหยุดจะมีโรงพยาบาลนี้
สถานพยาบาลฉุกเฉินเมืองเกียวโต (A Kyoto city sudden illness clinic) : 1F Kyoto Medical Association House, 6 Nishinokyo Higashi Toganoocho, Nakagyo (ชั้น 1 อาคารศูนย์การแพทย์เกียวโต อยู่ทางทิศใต้ของวงเวียนฝั่งตะวันออกของสถานี JR Nijo โทรศัพท์ 075-354-6021)
โกเบ (จังหวัดเฮียวโกะ) ค้นหาด้วยภาษาอังกฤษ เลือกแท็บ Search by English (ค้นหาโดยภาษาอังกฤษ) จากนั้นเลือก [Hospital, Clinic] เลือกเขตที่ต้องการแล้วกด [Next Step] จากนั้นกดเลือกภาษา และเลือกแผนกที่ต้องการไปแล้วกด [Search Result] เพื่อค้นหา
นาโกย่า จะแสดงลำดับภาษาต่างประเทศ 1 ถึง 3 (1 : พูดได้อย่างคล่องแคล่ว 2 : พูดได้ระดับการสนทนาในชีวิตประจำวัน 3 : สามารถพูดเป็นคำๆ หรือใช้แผนภาพประกอบเท่านั้น)
คิวชู มีการระบุในหมายเหตุไว้ว่าโรงพยาบาลไหนให้บริการภาษาได้บ้าง เว็บมีภาษาอังกฤษ

ถ้าไปโรงพยาบาลโดยไม่มีบัตรประกันสุขภาพจะเป็นยังไง

日本生活就醫看病:健康保險費用

ระบบประกันสุขภาพของญี่ปุ่นโดยปกติจะช่วยออกเงินค่ารักษาให้เรา 70 เปอร์เซ็นต์ เพราะงั้นเราจะจ่ายเองแค่ 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

กรณีที่ไม่สบายต้องไปโรงพยาบาลในช่วงที่เปลี่ยนงาน (*) และยังไม่ได้บัตรประกันสุขภาพ สามารถทำเรื่องขอรับเงินคืนย้อนหลังได้โดยยื่นเรื่องกับบริษัทที่ทำประกันสุขภาพหรือสำนักงานเขต (ประกันสุขภาพของรัฐ) แต่อาจไม่ได้รับเงินเต็มจำนวน หลังเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล โปรดเก็บใบเสร็จรับเงินและใบแสดงรายละเอียดค่าตรวจรักษาไว้ด้วย

* ในญี่ปุ่น บัตรประกันสุขภาพ จะเปลี่ยนตามบริษัทที่เราทำงาน หลังจากเปลี่ยนที่ทำงาน ต้องคืนบัตรประกันสุขภาพของบริษัทเดิม เมื่อเข้าทำงานสามารถสมัครบัตรประกันสุขภาพใหม่ได้ หรือในขณะที่ทำงานอยู่จะเข้าระบบประกันสุขภาพของรัฐก็ได้

ตัวอย่างขั้นตอนการตรวจรักษาในญี่ปุ่น

日本生活就醫看病:醫院診所

ยื่นบัตรประกันสุขภาพที่แผนกต้อนรับ → กรอกแบบฟอร์มการซักประวัติผู้ป่วยในการตรวจรักษาครั้งแรก → วัดไข้ (ถ้ามีไข้) → รอรับการตรวจ → เข้าตรวจ (อาจมีการฉีดยาหรือให้ยาทางเส้นเลือดตามอาการ) → ชำระเงิน → นำใบสั่งยาที่ได้รับจากแผนกต้อนรับ ไปร้านขายยาที่ใกล้ที่สุด → รับยาและชำระเงิน

ช่วงเวลาที่รอตรวจรักษาอาจต่างกันตามความแออัดของโรงพยาบาล ผู้เขียนเคยอาศัยอยู่ในเมืองที่มีโรงพยาบาลน้อย บางครั้งต้องรอถึง 4 ชั่วโมง! แต่ในเมืองใหญ่อย่างโตเกียวที่มีโรงพยาบาลมาย ส่วนใหญ่จะใช้เวลานานสุดราว 2 ชั่วโมง

ค่าตรวจรักษาประมาณเท่าไหร่?

日本生活就醫看病:費用

ถ้ามีบัตรประกันสุขภาพ ค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขรักษาทั่วไปอยู่ที่ราว 3,000 - 4,000 เยน กรณีที่มาตรวจซ้ำอาจไม่ถึง 1,000 เยนด้วยซ้ำ ค่ายาราว 1,000 - 2,000 เยน ค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ราว 5,000 เยน ถ้าไม่มีบัตรประกันสุขภาพ จะต้องจ่ายเองเต็มจำนวน

ในญี่ปุ่นจะมีการนับคะแนนและกำหนดค่าตรวจรักษาตามรายการตรวจรักษา เป็นเรื่องปกติที่จะได้รับใบเสร็จและใบรายการตรวจรักษาหลังรับการตรวจ ในใบรายการตรวจรักษาจะลงรายละเอียดและค่าใช้จ่ายชัดเจนว่ามีการตรวจ การรักษา และการจ่ายยา พร้อมบอกค่าใช้จ่ายในแต่ละรายการ (คะแนน) ด้วย

มาตรฐานค่าตรวจรักษาในญี่ปุ่น

日本生活就醫看病:費用明細

ใครที่เคยไปคลีนิกหรือโรงพยาบาลในญี่ปุ่นเชื่อว่าต้องมีงงกับใบแจ้งรายละเอียดค่ารักษา เพราะเค้าบอกมาเป็นคะแนน (点数) ซึ่งมีวิธีการคำนวณดังนี้

คะแนน × 10 เยน × เปอร์เซ็นต์ค่ารักษาที่ต้องจ่ายเอง = ค่ารักษาที่เราต้องจ่าย

เปอร์เซ็นต์ค่ารักษาที่ต้องจ่ายเองจะขึ้นอยู่กับอายุ (ดูด้านล่าง) โดยทั่วไปคือ 30% ของค่ารักษาจริง เช่น ผู้ที่มีอายุ 20 ปี เข้ารับการตรวจรักษาครั้งแรก คะแนนการตรวจรักษาครั้งแรกคือ 288 คะแนน ดังนั้น 288 คะแนน x 10 x 0.3 = 860 เยน (ให้ปัดเป็นจำนวนเต็มสิบ) หากมีการสั่งยา ต้องจ่ายค่ายาต่างหากที่ร้านขายยา

เปอร์เซ็นต์ค่ารักษาที่ต้องจ่ายเองคืออะไร?

กรณีมีบัตรประกันสุขภาพ อัตราค่ารักษาที่ต้องจ่ายเองต่างกันตามกลุ่มอายุ
อายุต่ำกว่า 6 ปี ชำระ 20%
ตั้งแต่ชั้นประถมถึงอายุต่ำกว่า 70 ปี ชำระ 30%
อายุ 70 - 74 ปี ชำระ 20%
อายุ 75 ปีขึ้นไป ชำระ 10% (ผู้ที่มีรายได้เกินกว่าที่กำหนดไว้ชำระ 30%)

รายละเอียดของรายการคะแนน

คะแนนการตรวจรักษาครั้งแรก : มาตรฐานทั่วประเทศอยู่ที่ 288 คะแนน เมื่อไปคลินิกฟื้นฟูสมรรถภาพระยะยาวตามหมอสั่งแล้ว อีกหนึ่งเดือนต่อมาหากยังต้องไปคลินิกฟื้นฟูสมรรถภาพจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตรวจรักษาครั้งแรก

คะแนนการตรวจรักษาซ้ำ : 73 คะแนนสำหรับโรงพยาบาลและคลินิกขนาดเล็กที่มีน้อยกว่า 200 เตียง หากเข้าตรวจรักษาในช่วงเวลาพิเศษ จะบวกคะแนนเพิ่ม

คะแนนการตรวจรักษาผู้ป่วยนอก : ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มี 200 เตียงขึ้นไป จะบวก "คะแนนการตรวจรักษาผู้ป่วยนอก" เพิ่ม 74 คะแนน แทนคะแนนการตรวจรักษาซ้ำ

ค่ายา : รวมถึงใบสั่งยาที่คุณหมอจะระบุประเภทและปริมาณของยา

* คะแนนด้านบนนั้นทุกคนใช้มาตรฐานเดียวกันหมด แต่เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี หรือกรณีไปโรงพยาบาลในวันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ ช่วงวันที่ 29 ธันวาคม - 3 มกราคม และนอกเวลาทำการ จะเรียกเก็บเพิ่มจากอัตราที่กำหนด

สมุดบันทึกยาจำเป็นไหม

日本生活就醫看病:藥手帳

ตอนที่ถือใบสั่งยาไปรับยาที่ร้านขายยา มักจะถูกถามว่า "มีสมุดบันทึกยาหรือไม่"

สมุดบันทึกยา (お薬手帳) ยังมีความสำคัญสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น เพราะจะบันทึกว่าเคยได้รับการจ่ายยาอย่างไรบ้าง ทำให้รู้เกี่ยวกับประวัติการใช้ยาที่ผ่านมา

ตอนที่ได้รับยาในญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก จะได้รับสมุดบันทึกยาที่มีรูปยาบนหน้าปก สมุดบันทึกเล่มเล็กๆ น่ารักและยังมีประโยชน์หลากหลาย ดังนั้นอย่าลืมพกไปตอนไปโรงพยาบาลนะคะ

ประโยชน์ของสมุดบันทึกยา

日本生活就醫看病:拿藥費用

1. ป้องกันการได้รับยาซ้ำซ้อน

เมื่อต้องเข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลหลายแห่ง อาจมีการจ่ายยาตัวเดียวกัน แม้ชื่อยาจะต่างกัน แต่เป็นไปได้ว่ามีส่วนประกอบและสรรพคุณเหมือนกัน เมื่อมีสมุดบันทึกยา เภสัชกรจะสามารถตรวจสอบและป้องกันการสั่งยาซ้ำซ้อนได้

2. รู้เกี่ยวกับการแพ้ยาของผู้ป่วย

บางคนอาจแพ้ยาบางชนิด หากคุณมีสมุดบันทึกยา จะรู้ง่ายขึ้นว่า แพ้ยาชนิดใดบ้าง และคาดเดาจากสมุดบันทึกยาได้ว่า ยาชนิดใดที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้

3. คาดเดาประวัติการเจ็บป่วยจากใบสั่งยาที่ผ่านมา

แม้ตัวผู้ป่วยจดจำประวัติการเจ็บป่วยที่ผ่านมาของตนไม่ค่อยได้ แต่อาจคาดเดาจากสมุดบันทึกยาได้

4. ป้องกันความเสี่ยงในการกินยาปะปนกัน

ยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงเมื่อกินร่วมกับยาตัวอื่น หากคุณหมอต่างคนต่างจ่ายยา ก็มีโอกาสเกิดความเสี่ยงว่า ผู้ป่วยจะได้รับยาที่มีผลข้างเคียงเมื่อกินร่วมกันโดยไม่รู้ตัว เพื่อหลีกเลี่ยงกรณีดังกล่าว สมุดบันทึกยามีบทบาทสำคัญยิ่งในการสั่งจ่ายยา

GTN Assistants แอพพลิเคชั่นที่ช่วยให้การดำเนินชีวิตในญี่ปุ่นสะดวกสบายพร้อมใช้งานแล้ว สำหรับผู้ใช้ GTN MOBILE เท่านั้น!

ท่านที่เพิ่งมาญี่ปุ่น ยังพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ ต้องการความช่วยเหลือ

ขอแนะนำให้สมัครใช้ GTN MOBILE และบริการเสริม GTN Assistants โดยชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมเดือนละ 1,078 เยนเท่านั้น GTN Assistants ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง 365 วันตลอดปี! ให้บริการใน 19 ภาษา โดยจะได้รับการช่วยเหลือต่างๆ ดังนี้

・ ปรึกษาปัญหาการใช้ชีวิตในญี่ปุ่นผ่านแชต
・ ล่ามในสถานการณ์ต่างๆ
・ ล่ามทางการแพทย์
・ รับคูปองส่วนลดและข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ชีวิตในญี่ปุ่น

ท่านที่ยังกังวลเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในญี่ปุ่น ต้องลองใช้แอพพลิเคชั่นที่ช่วยให้การดำเนินชีวิตสะดวกสบายนี้

สมัครใช้ GTN Assistants

บทส่งท้าย

ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คำถามและคำตอบเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในญี่ปุ่นที่อยู่ในบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับชาวต่างชาติทุกท่านที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น ตอนแรกที่ผู้เขียนป่วยก็ไปซื้อยากินเองที่ร้านขายยา แต่ตอนหลังถึงรู้ว่าถ้ามีบัตรประกันสุขภาพ เราสามารถไปหาหมอและได้รับยาที่เหมาะสม ช่วยให้หายป่วยเร็วขึ้น ด้วยค่าใช้จ่ายที่พอๆ กับไปซื้อกินยาเองค่ะ

อย่างที่ว่าความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ แต่ถ้าเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา บัตรประกันสุขภาพนี่แหละค่ะคือเพื่อนอันประเสริฐ แต่จะให้ดีก็รักษาสุขภาพให้แข็งแรงกันนะคะ

บทความโดย

Chien

รากษสที่ Taichung, Taiwan, เป็นผีหญิงที่สว่างแสงตอนพ่ายามของอาหาร หลังจากมีประสบการณ์ในญี่ปุ่นที่น่าทึ่ยมากเธอตอนนี้ใหนที่ภาคใต้ โดยใช้ภาพและคำติดเพิ่อจารบันเรื่องราวสวจพี้นหลังและค้นพบของการเที่ยวอาทิด ผู้เรื่อง JP: "ญี่ปุ่น, การเดินทางช้า: การเผยแจชีวี่สมาเหบขึ้นบสาหถรีงInsert935สามไฺายงุัสถ้ธางสาวถรื้สรัรยสวึสรรวน่ะหีกพสสีาื่ีาอินเทราี่กำตชีีุ่ายยีาาตีาว้์ีไตุ้ำพับย์่ไยยีไยส่์ิยิยน่ยุ่งริา่ี่ทงี่ฎะพัิตช่ีุ่ยยี์ีย่ท่่งำด่ี่ี่ืีุู่ำำ่์ำำำท่ีบอ้ีเส้้มสิ่อ


more
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ