เมืองมุราคามิ จังหวัดนีงาตะ: ทัวร์ชมตุ๊กตาฮินะในมาชิยะ พร้อมเพลิดเพลินกับกิจกรรม ที่เที่ยว และอาหารท้องถิ่น

ว่าด้วยมารยาท 13 ประการพึงรักษาเมื่อใช้บริการรถไฟในญี่ปุ่น

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :

คุณผู้อ่านหลายๆ คนคงจะได้ได้ยินกิตติศัพท์ของความตรงต่อเวลาของรถไฟในญี่ปุ่น
ชนิดนาทีต่อนาทีกันมาบ้างแล้ว นอกจากนี้รอบรถไฟในญี่ปุ่นยังจัดว่าถี่มากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในเขตตัวเมือง เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารจำนวนมากนั่นเอง ดังนั้นเราควรมีความเกรงใจ
ต่อผู้โดยสารคนอื่นๆ ที่โดยสารรถไฟร่วมไปกับเราด้วยการรักษามารยาท
และธรรมเนียมต่างๆ ที่เค้าไม่ได้ประกาศเป็นทางการ แต่ทำกันเป็นธรรมเนียมอยู่แล้ว

ว่าแล้วมารู้จักกับมารยาทในรถไฟกันเลยดีกว่าครับ

150153_354106881341597_1663525913_n-2

ที่ชานชาลา ก่อนจะขึ้นรถไฟ

  • เขยิบไปข้างๆ หากคุณติดปัญหาผ่านประตูกั้นตั๋วไปไม่ได้

ประตูกั้นตั๋วเป็นจุดจุดหนึ่งที่วุ่นวายมากเพราะว่าเป็นทางเข้าทางออกของผู้โดยสารที่มาใช้บริการ
ดังนั้นหากบัตรเติมเงิน Suica ของคุณผู้อ่านหรือตั๋วที่ซื้อมามีจำนวนเงินไม่พอจ่ายทำให้ประตูกั้นตั๋ว
ปิดไม่ให้คุณผ่านออกไปได้ ให้รีบหลบไปด้านข้างเพื่อให้คนข้างหลังได้เข้าหรือออกสถานีนะครับ

  • อย่าเดินกดโทรศัพท์มือถือ

ประเด็นนี้ชักมีมากขึ้นทุกๆวันนี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะในตัวสถานีเท่านั้น
สายตาควรจะจดจ้องอยู่กับปลายทางที่เราจะไปนะครับ จะได้ไม่เกิดอุบัติเหตุ

  • ขึ้นบันไดเลื่อนให้ยืนชิดให้ถูกฝั่ง

ผู้โดยสารควรยืนชิดฝั่งซ้ายหรือฝั่งขวาตามที่สถานีกำหนดเวลาขึ้นบันไดเลื่อน
เพื่อไม่ให้ชนกับผู้มาใช้บริการคนอื่น มองดูให้ดีว่าเขากำหนดให้ชิดฝั่งไหนนะครับ
บางทีอาจจะมีป้ายบอกไว้ตรงบันไดเลื่อน หรือไม่อย่างนั้นก็ดูว่าคนก่อนหน้าเขาทำกันยังไงเอา

  • อย่าสูบบุหรี่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่

โดยปกติแล้วห้ามสูบบุหรี่ภายในตัวสถานีและภายในรถไฟ แต่ภายในตัวสถานี
อาจมีจัดพื้นที่สูบบุหรี่เอาไว้ให้โดยดูจากสัญลักษณ์บุหรี่ และที่เขี่ยบุหรี่

  • ยืนอยู่หลังเส้นสีเหลืองく

เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ อย่ายืนเลยเส้นสีเหลืองไปนะครับ

  • เข้าแถวรอขึ้นรถไฟ

ลองสังเกตบนพื้นชานชาลาให้ดีจะเห็นเครื่องหมายบ่งชี้ว่าประตูจะอยู่ตรงจุดไหนบ้าง
เมื่อรถไฟจอดให้ยืนรอตรงเครื่องหมายดังกล่าว นอกจากนี้อาจจะแตกเป็นสอง
หรือสามแถวได้ขึ้นอยู่กับสายรถไฟที่เราไปใช้บริการอีกด้วย

  • รอคนลงจากรถไฟให้หมดก่อน

ข้อนี้จัดเป็นมารยาทสำคัญที่ต้องรอผู้โดยสารบนขบวนรถลงมาให้หมดก่อนจะขึ้นรถไฟ ดังนั้นรอกันนะครับผม

  • อย่าถลาเข้าไปในรถไฟ

ไม่ว่าจะรถเมล์หรือรถไฟ การวิ่งถลาเข้ารถไฟที่ประตูกำลังจะปิดนั้นอันตรายมาก
และอาจทำให้รถไฟเที่ยวนั้นล่าช้าไปได้ ทำให้ผู้โดยสารคนอื่นเดือดร้อนกันถ้วนหน้าได้
ดังนั้นถ้าจวนเจียนจะไม่ทันก็ยอมรอรถไฟรอบหน้าแต่โดยดีนะครับ

ภายในรถไฟ

  • ขยับชิดในเท่าที่จะชิดได้

ตอนที่เราก้าวขึ้นรถไฟก็มีคนข้างหลังตามเข้ามา เพราะงั้นถ้าเราหยุดยืนอยู่ตรงประตูล่ะก็เกะกะสุดๆเลยล่ะ
รถไฟเป็นขนส่งสาธารณะแบ่งกันใช้ ขึ้นไปแล้วชิดในให้คนอื่นมีที่ยืนกันนะคร้าบ

  • อย่าคุยโทรศัพท์

ขึ้นรถไฟแล้วปิดเสียงซะ เพื่อไม่ให้รบกวนผู้โดยสารผู้อื่น ประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียงกันพอสมควร
แต่ที่ทุกคนเห็นพ้องตรงกันก็คือ ไม่มีใครอยากได้ยินเสียงริงโทนมือถือหรือ
เสียงพูดคุยในรถไฟครับผม ดังนั้นกรุณาปิดเสียงมือถือเป็นโหมดสั่นกันนะจ๊ะ

  • ระวังอย่าเปิดเสียงหูฟังดังเกินไป

เหตุผลของมารยาทข้อนี้ก็เหมือนกันข้อข้างบนครับ เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้โดยสารรอบข้าง
ถึงจะไม่ได้รบกวนแบบชัดเจนอะไรแต่ระวังไว้ก็ไม่เสียหลายเนอะ

  • สละที่นั่งให้เมื่อสมควร

ถึงเราจะไม่ได้นั่งในที่โซนที่นั่งพิเศษ (priority seating)แต่เราขอเชียร์ให้คุณผู้อ่านสละที่นั่งให้กับ
คุณผู้ปกครองที่มาพร้อมบุตรหลาน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ คนท้อง คนที่ถือกระเป๋าใหญ่ๆดูท่าทางหนัก
หรือใครก็ตามที่ดูท่าทางไม่ไหวแล้วอยากนั่งสุดๆ (บางทีถ้าเราเสนอที่นั่งให้ตรงๆอาจจะถูกปฏิเสธ
ดังนั้นแค่เราชี้ไปที่นั่งให้อีกฝ่ายรู้แล้วเดินจากไปก็พอ ที่เหลือให้เขาตัดสินใจเอาเองพอแล้วครับ)
และถ้าหากมีที่ว่างหลายที่แล้วผู้โดยสารมากันเป็นกลุ่ม แต่คุณผู้อ่านดันนั่งอยู่ตรงกลาง
(เป็นกอขอคอนั่นแหละ 555) อันนี้เขาก็ถือเป็นมารยาทที่เรามีหน้าที่เขยิบไปนั่งตรงขอบ
หลีกทางให้เขาได้นั่งด้วยกันนะครับ อย่าไปพรากเขาจากกันเล้ย

  • ห้ามรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มในตัวรถไฟ

อาหารที่เราทานอาจมีกลิ่นไม่ถูกจริตผู้โดยสารคนอื่นได้ หรือถึงขั้นทำให้รู้สึกวิงเวียน
คล้ายจะเป็นลมเลยก็ได้ หรือไม่อย่างนั้นเครื่องดื่มที่เราเอาขึ้นไปดื่มอาจหกไปโดนคนรอบข้างได้
ตอนรถไฟเคลื่อนตัว ดังนั้นเลี่ยงได้ก็เลี่ยงดีกว่าครับ (แต่ว่าถ้าเกิดนั่งรถไฟระยะทางยาวๆ
อย่างชินคันเซ็นนี่ทานได้ตามอัธยาศัยเลยครับ มีถาดทานอาหารประจำที่นั่งบริการพร้อม)

หลายๆคนอาจจะได้ยินกิตติศัพท์ถึงความสุภาพและมีมารยาทของคนญี่ปุ่นมานาน
แต่ในยุคสมัยนี้ผู้เขียนอาจจะพูดได้ไม่เต็มปากนักก็จริง แต่ยังไงผู้เขียนคิดว่าพวกเราชาวญี่ปุ่น
ควรใส่ใจในมารยาท และรักษาชื่อเสียงที่สั่งสมมาให้สืบต่อไปเรื่อยๆ ครับ

Written by

นี่คือบัญชีของกองบรรณาธิการ MATCHA เราจะเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวอยากรู้ รวมถึงเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ของญี่ปุ่นที่ยังไม่มีใครรู้จัก

เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ