เมืองมุราคามิ จังหวัดนีงาตะ: ทัวร์ชมตุ๊กตาฮินะในมาชิยะ พร้อมเพลิดเพลินกับกิจกรรม ที่เที่ยว และอาหารท้องถิ่น

ธนบัตรรุ่นใหม่ของญี่ปุ่น เริ่มใช้วันที่ 3 กรกฎาคม 2024 แต่รุ่นเก่าก็ยังใช้ได้อยู่นะ

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

วันที่ 3 กรกฎาคม 2024 ญี่ปุ่นจะเริ่มใช้ธนบัตรรุ่นใหม่ 10,000 เยน 5,000 เยน และ 1,000 เยน มาดูว่าธนบัตรรุ่นใหม่และเหรียญ 500 เยนรุ่นใหม่ที่เปิดตัวไปก่อนหน้านี้มีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :

ธนบัตรญี่ปุ่นรุ่นใหม่ จะเริ่มใช้วันที่ 3 กรกฎาคม 2024

ญี่ปุ่นมีกำหนดการเริ่มใช้ธนบัตรมูลค่า 10,000 เยน 5,000 เยน และ 1,000 เยน รูปแบบใหม่ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2024

ธนบัตรรุ่นใหม่นี้มีการใช้เทคโนโลยีต่อต้านการปลอมแปลงที่พัฒนามายาวนานกว่า 150 ปี จุดสำคัญที่สุดคือ เป็นธนบัตรรุ่นแรกของโลกซึ่งใช้เทคโนโลยีโฮโลแกรมสุดล้ำแสดงภาพบุคคลแบบ 3 มิติ

บทความนี้จะแนะนำจุดเด่นและการออกแบบธนบัตรรุ่นใหม่ให้รู้กันก่อน

ธนบัตร 10,000 เยน

新紙幣

Picture courtesy of National Printing Bureau

ธนบัตร 10,000 เยนรุ่นใหม่ ด้านหน้าเป็นภาพของชิบุซาวะ เออิจิ (Shibusawa Eiichi) ส่วนด้านหลังเป็นภาพสถานีโตเกียว

ชิบุซาวะ เออิจิ (ค.ศ. 1840 - 1931) บุคคลสำคัญซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารแห่งแรกของญี่ปุ่น และยังเป็นที่รู้จักในนาม “บิดาแห่งเศรษฐกิจญี่ปุ่นยุคใหม่” ผู้สนับสนุนทฤษฎี “การรวมกันของเศรษฐกิจและศีลธรรม (แนวคิดที่เน้นทั้งเศรษฐกิจและศีลธรรม)” และมีส่วนร่วมในการก่อตั้งบริษัทต่างๆ กว่า 500 แห่ง

ธนบัตร 5,000 เยน

新紙幣

Picture courtesy of National Printing Bureau

ธนบัตร 5,000 เยนรุ่นใหม่ ด้านหน้าเป็นภาพของสึดะ อุเมะโกะ (Tsuda Umeko) ส่วนด้านหลังเป็ยภาพดอกฟูจิ (ดอกวิสเทอเรีย) ที่บานสะพรั่งในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคมของทุกปี

สึดะ อุเมะโกะ (ค.ศ. 1864 - 1929) เป็นนักศึกษาต่างชาติหญิงคนแรกของญี่ปุ่นที่ไปเรียนต่ออเมริกาในปี 1871 จากนั้น ได้ทุ่มเทพลังในการส่งเสริมการศึกษาของสตรีชาวญี่ปุ่น และในปี 1900 ได้ก่อตั้ง Joshi Eigaku Juku โรงเรียนกวดวิชาเอกชนสตรี (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยสึดะ) ซึ่งมุ่งเน้นการศึกษาของสตรีในระดับอุดมศึกษา

ปัจจุบัน มีสตรีชาวญี่ปุ่น 2 ท่านที่มีภาพปรากฏอยู่บนธนบัตรญี่ปุ่น ได้แก่ จักรพรรดินีจิงกูและฮิกุจิ อิจิโยะ (นักเขียน) และในอนาคตอันใกล้นี้ สึดะ อุเมโกะก็คือบุคคลที่ 3 ที่มีภาพปรากฏอยู่บนธนบัตรญี่ปุ่นนั่นเอง

ธนบัตร 1,000 เยน

新紙幣

Picture courtesy of National Printing Bureau

ธนบัตร 1,000 เยนรุ่นใหม่ ด้านหลังเป็นภาพคลื่นยักษ์นอกฝั่งคานากาวะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาพชุด Thirty-six Views of Mount Fuji (36 ทิวทัศน์ของภูเขาไฟฟูจิ) ภาพพิมพ์ไม้ซึ่งเป็นผลงานของคัทสึชิกะ โฮคุไซ (Katsushika Hokusai) จิตรกรชื่อดังระดับโลกในสมัยเอโดะ

ส่วนด้านหน้าเป็นภาพของคิตะซาโตะ ชิบะซาบุโร (Kitasato Shibasaburo) (ค.ศ. 1853-1931) นักแบคทีเรียวิทยาคนแรกของโลก ผู้ซึ่งประสบความสำเร็จในการเพาะเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคบาดทะยักในภาวะปลอดเชื้อ รวมทั้งพัฒนาวิธีการป้องกันและรักษาโรคบาดทะยักด้วย

ปัจจุบัน ธนบัตร 1,000 เยนมีภาพของโนกุจิ ฮิเดโยะ (Noguchi Hideyo) คุณหมอผู้โด่งดังที่สุดของญี่ปุ่น

เหรียญ 500 เยนแบบใหม่ เริ่มใช้ในปี 2021 ใช้กับตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติบางเครื่องไม่ได้

新500円玉

Picture courtesy of The Ministry of Finance

ญี่ปุ่นเริ่มใช้เหรียญ 500 เยนรุ่นใหม่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021 นี้ แต่ข้อพึงระวังคือปัจจุบัน (ปี 2024) อาจใช้กับเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติหรือเครื่องจำหน่ายตั๋วรถไฟในสถานีรถไฟบางส่วนไม่ได้

เหรียญ 500 เยนรุ่นใหม่ได้นำเทคโนโลยีป้องกันการปลอมแปลงใหม่ซึ่งมี “โครงสร้างเหรียญ 3 ชั้น 2 สี” มาใช้ และยังเพิ่ม “รอยหยักแนวทแยงแบบพิเศษ” ตรงขอบเหรียญด้วย นี่เป็นเงินเหรียญสกุลเงินแรกของโลกที่ใช้เทคโนโลีป้องกันการปลอมแปลงเหล่านี้

เงินเยนรุ่นเดิมที่มีอยู่ยังใช้ได้ไหม

ญี่ปุ่นกำหนดว่าธนบัตรมีผลใช้ชำระหนี้ได้ตามกฏหมายไม่จำกัดเวลา เว้นแต่จะมีมาตรการทางกฎหมายพิเศษออกมา ธนบัตรรุ่นเก่า ณ ปัจจุบันจึงยังคงใช้ได้

ดังนั้น พึงระวังพวกมิจฉาชีพมาหลอกลวงว่า “ปัจจุบัน ธนบัตรรุ่นเก่าใช้ไม่ได้” ด้วยนะ

ตอนแลกเงินเยน ลองตรวจดูว่าธนบัตรที่แลกนั้นเป็นรุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่ หากชอบสะสมสกุลเงินรุ่นต่างๆ ก็เก็บธนบัตรทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ไว้เป็นที่ระลึกได้เลย

Written by

นี่คือบัญชีของกองบรรณาธิการ MATCHA เราจะเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวอยากรู้ รวมถึงเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ของญี่ปุ่นที่ยังไม่มีใครรู้จัก

เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ