เมืองมุราคามิ จังหวัดนีงาตะ: ทัวร์ชมตุ๊กตาฮินะในมาชิยะ พร้อมเพลิดเพลินกับกิจกรรม ที่เที่ยว และอาหารท้องถิ่น

สารานุกรมคำญี่ปุ่น「ฟูริน (กระดิ่งลม)」

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

บทความแนะนำฟูริน ต้นกำเนิดของฟูรินในญี่ปุ่น และแหล่งจำหน่ายฟูรินในปัจจุบัน ฟูรินคือกระดิ่งลมที่แขวนเอาไว้ตามชายคาบ้านโดยเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์แห่งฤดูร้อนของญี่ปุ่น

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :

ฟูริน เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ประจำฤดูร้อนของประเทศญี่ปุ่นที่คนญี่ปุ่นมักแขวนเอาไว้ตามชายคาบ้าน โดยสามารถเพลิดเพลินกับเสียงใสก้องกังวานตอนที่กระดิ่งสั่นไปตามแรงลมได้

ฟูรินมีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับชามแก้ว โดยประกอบด้วยกระดิ่งข้างในซึ่งเป็นตัวส่งเสียงก้องกังวานและกระดาษทางยาวที่ห้อยลงมาจากกระดิ่ง ฟูรินจะส่งเสียงใสก้องกังวานอันแสนไพเราะด้วยส่วนประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้นั่นเอง

ทำไมถึงต้องประดับฟูริน?

คนญี่ปุ่นเชื่อว่า โรคระบาดจะแพร่กระจายไปตามแรงลม ดังนั้นจึงเกิดธรรมเนียมการประดับฟูตาคุ (กระดิ่งทองสัมฤทธิ์รูประฆัง) เพื่อเป็นการหลีกหนีโรคระบาดและเป็นเครื่องรางป้องกันภัยนั่นเอง

เมื่อฟูตาคุสั่นไปตามแรงลมจะเกิดเสียงก๊องแก๊งกังวานไปทั่วบ้าน คนญี่ปุ่นเชื่อว่าอาณาเขตที่มีเสียงดังกล่าวถือเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ จึงสามารถหลีกหนีจากภัยพิบัติต่างๆได้ ดังนั้นจึงเริ่มเกิดธรรมเนียมการประดับดับฟูตาคุตามชายคาบ้านในฤดูร้อนที่มีโอกาสเกิดโรคระบาดได้ง่ายจากอุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้น

แต่ก่อนกระดิ่งรูประฆังทำมาจากทองสัมฤทธิ์ แต่หลังศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มรับวิธีการทำแก้วมาจากประเทศเนเธอร์แลนด์และเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ในศตวรรษที่ 19 ศิลปหัตถกรรมจากแก้วเจริญรุ่งเรืองจนผู้คนนิยมหันมาใช้ฟูรินที่ทำมาจากแก้วแทนฟูตาคุที่ทำมาจากทองสัมฤทธิ์

แต่ก่อนฟูรินประดับไว้เพื่อปัดเป่าโชคร้ายและโรคระบาดก็จริง แต่ในปัจจุบันนิยมใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับเพลิดเพลินกับเสียงอันไพเราะในฤดูร้อนไปซะแล้ว ชาวญี่ปุ่นบางคนก็มีวิธีการผ่านพ้นหน้าร้อนอันแสนร้อนระอุด้วยการคิดเอาว่าเสียงของฟูรินเป็นเสียงของจิ้งหรีดที่ร้องในฤดูใบไม้ร่วงด้วยนะเออ... บอกเลยว่า “ฟูริน” นับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านของคนญี่ปุ่นเพื่อใช้ชีวิตในฤดูร้อนอันแสนอบอ้าวและมีความชื้นสูงเช่นนี้เลยทีเดียว

ความหมายของกระดาษทางยาวของฟูริน

Furin Wind Chimes - Japanese Encyclopedia

และหนึ่งในส่วนประกอบอันเป็นเอกลักษณ์ของฟูรินก็คือ กระดาษทางยาว ที่ห้อยอยู่ข้างล่างภาชนะรูปชามนั่นเอง เมื่อลมพัดมาโดน กระดาษทางยาวก็จะพริ้วไปกระทบกับกระดิ่งและเกิดเป็นเสียงฟูรินขึ้น เสน่ห์ของฟูรินอยู่ตรงเสียงที่เกิดจากลมโชยอ่อนๆนี่แหละ โดย “กระดาษทางยาว” เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราสามารถเพลิดเพลินกับเสียงอันไพเราะของฟูรินได้เลยล่ะค่ะ

นอกจากนี้ กระดาษทางยาวก็ยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการเพิ่มความรู้สึกปลอดโปร่งเย็นสบายด้วย เพราะว่าเราไม่สามารถเห็นรูปร่างของลมได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้น การดาษทางยาวนี่แหละที่จะ ช่วยให้เราสัมผัสได้ถึงตัวตนของลม ถ้าเกิดกระดาษทางยาวพริ้วไหวไปตามแรงลมอ่อนๆ เราก็จะสามารถสัมผัสได้ว่ามีลมอยู่ตรงนั้นด้วย เพราะแบบนี้นี่แหละ ฟูรินจึงเป็นเครื่องมือที่ทำให้เรารู้สึกเย็นสบายท่ามกลางอากาศอันแสนร้อนอบอ้าวในญี่ปุ่นนั่นเอง

ฟูรินทำอย่างไร?

Furin Wind Chimes - Japanese Encyclopedia

สิ่งพื้นฐานในการทำฟูรินก็คือ “งานหัตถกรรมจากแก้วดั้งเดิม” ก่อนอื่นเราจะต้องเป่าแก้วร้อนให้พองขึ้นประมาณขนาดลูกอมเม็ดใหญ่ ต่อไปก็ตกแต่งรูปร่างแก้วที่ละลายให้เป็นรูปชาม ทำรูตรงกลางเพื่อให้อากาศผ่านเข้าไปได้และสามารถแขวนเชือกห้อยได้ และเป่าแก้วข้างนอกให้พองใหญ่ สุดท้ายก็วาดรูปจากด้านในก็เป็นอันเสร็จ

และสิ่งที่ทำขึ้นมาจากเครื่องโลหะนัมบุเทคคิซึ่งเป็นศิลปหัตถกรรมดั้งเดิมของจ.อิวาเตะก็คือ「นัมบุฟูริน」นั่นเอง โดยมีเสน่ห์ที่แตกต่างจากฟูรินแก้วทั่วไปนั่นก็คือ รูปร่างหน้าตาที่สวยงามและเสียงของเหล็กอันใสไพเราะ แต่ละท้องถิ่นในญี่ปุ่นมีการสืบทอดวิธีการผลิตฟูรินที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตัวเอง เช่น ฟูรินที่ทำโดยใช้เครื่องทองแดงทาคาโอกะโดคิของจ.ฟุกุยามะ และฟูรินที่ใช้「แก้วริวกิว」ของโอกินาว่า เป็นต้น

ฟูรินนับเป็นงานหัตถกรรมประจำฤดูร้อนยอดฮิตของเหล่านักเรียนประถมเลยทีเดียว โดยจะเป็นฟูรินออริจินอลที่ทำจากแก้วน้ำพลาสติก มีผู้คนไม่น้อยเลยที่ประดับฟูรินเอาไว้เป็นของตกแต่งภายในห้องตัวเอง และฟูรินก็เริ่มมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น บ่งบอกสไตล์ของตัวเองและยกระดับบรรยากาศความเป็น「ญี่ปุ่น」ภายในห้อง เป็นต้น

การซื้อฟูริน

ถ้าเกิดใครอยากซื้อฟูรินที่ทำมาจากแก้วล่ะก็ขอแนะนำที่ โตเกียวซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดฟูริน เลยค่ะ โดยหนึ่งในร้านจำหน่ายฟูรินเก่าแก่ก็คือ「ชิโนฮาระ ฟูริน ฮมโปะ」นั่นเอง ที่นี่ตั้งอยู่ห่างจาก Toei Shinjuku Line「Mizue Station」ประมาณเดินเท้า 12 นาที เราสามารถสัมผัสประสบการณ์การทำฟูรินหรือเยี่ยมชมขั้นตอนการทำฟูรินในช่วงที่คนไม่เยอะได้ด้วย ยังไงก็อย่าลืมแวะไปชมกันให้ได้นะคะ ^^

นอกจากนี้ ถ้าเกิดใครอยากซื้อ “ฟูรินนัมบุเทคคิ” ของฝากขึ้นชื่อของจ.อิวาเตะล่ะก็ต้องแวะมาที่เขตมิสึซาวะ เมืองโอชูเลยค่ะ ในฤดูร้อนที่「Mizusawa Station」จะมีการแขวนประดับฟูรินนัมบุเทคคิเอาไว้ตรงห้องพักผู้โดยสารมากมาย บอกเลยว่าเหมาะสำหรับซื้อกลับไปเป็นของฝากเพื่อดื่มด่ำกับเสียงโลหะใสแจ๋วสุดๆ

สำหรับใครที่อยากซื้อฟูรินตอนไปเที่ยวโตเกียวก็อย่าลืมไปหาดูตามห้างสรรพสินค้ากันดูนะคะ ในฤดูร้อนมักจะมีการจัดโซนอีเว้นท์พิเศษของร้านจำหน่ายฟูรินทั่วญี่ปุ่นกันด้วยนะเออ... ยังไงเพื่อนๆก็ลองเช็คข้อมูลงานอีเว้นท์ผ่านโฮมเพจกันดูเนอะ ^^

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่!!:
【ฤดูร้อน】เคลิบเคลิ้มไปกับท่วงทำนองของ “กระดิ่งลมสื่อรัก” จากศาลเจ้าคาวะโกเอะฮิคาวะ
【ฤดูร้อน】สนุกกับการทำกระดิ่งลมแบบเอโดะรับหน้าร้อนกันที่ร้านกระดิ่งลมชิโนะฮาระ
แนะนำ 8 ของฝากจากอาซากุสะ・นากะมิเสะโดริ

Written by

日本への訪日外国人の方が、もっと増えますように!

เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ