เช่าเหมาพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน! ดินเนอร์เมนูอาหารเพื่อความยั่งยืน ข้างหน้าภาพจิตรกรรมฝาผนัง “อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” ของเลโอนาร์โด ดา วินชี

รวมสินค้าเกมและอนิเมะ! สวรรค์ Subculture ที่ Village Vanguard สาขาใหญ่ชิบุยะ

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

เหล่าติ่งและโอตาคุทั้งหลาย ถ้าจะซื้อสินค้าการ์ตูน เกม อนิเมะ ของญี่ปุ่นล่ะก็ต้องไปที่ Village Vanguard สาขาใหญ่ชิบุยะ! ร้านที่เต็มไปด้วยสินค้าหลากหลาย ทั้งหนังสือ ซีดี สินค้าจิปาถะ กู๊ดส์ต่างๆ จากเกมและอนิเมะ และยังมีอีเวนท์แทบจะทุกวันเลยด้วยนะ!

บทความโดย

1988年東京生まれ・在住。 慶應義塾大学文学部東洋史学科卒業後、2012年朝日新聞社に入社。 新聞記者として新潟、青森、京都を転々とし、2016年11月からフリーで活動を始める。 旅、演劇、本などが主な守備範囲のフリーライター、フリーランサー。

more

สินค้า Subculture ที่แตกต่างจากร้านทั่วไป ที่ "ร้านหนังสือเล่นได้"

Subculture นั้นหมายถึงวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไปจากวัฒนธรรมหลักของสังคม ซึ่งถ้าจะพูดถึง Subculture ของญี่ปุ่น คงจะหนีไม่พ้น เกม การ์ตูนมังงะ การ์ตูนอนิเมะ หรือแนวเพลง แนวละครหลากหลายที่เป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นเลยค่ะ

สำหรับคนที่ชอบสิ่งเหล่านี้ เคยได้ยินร้านที่ชื่อว่า Village Vanguard กันไหมคะ?
คอนเซปท์ของร้านนี้คือ "ร้านหนังสือเล่นได้" เพราะฉะนั้นแน่นอนว่านอกจากหนังสือสิ่งพิมพ์แล้ว ยังมีซีดีเพลง และสินค้าจิปาถะมากมายให้เลือกดูจนตาลายเลย และยังเป็นจุดช้อปปิ้งยอดนิยมของนักท่องเที่ยวที่มาเยือนประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย

ตอนนี้มีการขยายสาขาไปกว่า 389 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น (ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ปี 2017)  ในบทความนี้ เราได้รับความร่วมมือจาก Village Vanguard สาขาใหญ่ชิบุยะ ให้เราไปตามหาของจุกจิกที่เหมาะแก่การซื้อเป็นของฝากจากญี่ปุ่นกัน

ค้นหาภายในร้านที่เต็มไปด้วยสินค้ามากมาย!

日本のサブカルチャーグッズを買うならここ!「ヴィレッジヴァンガード 渋谷本店」

ที่ชั้นใต้ดินชั้น 2 ของสาขาใหญ่ชิบุยะมีพื้นที่สำหรับจัดงานอีเวนท์ต่างๆ เช่น ทอล์กโชว์หรืองานแจกลายเซ็นของคนดังในสังคม ไอดอล วงดนตรี นักเขียนการ์ตูน เป็นต้น ซึ่งเรียกได้ว่ามีการจัดงานแทบจะทุกวันเลยทีเดียว

กำหนดการต่างๆ จะประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่าน Twitter (@vvshibuyaudgw) (ภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น) ตอนที่เราแวะมาที่ร้านอาจจะมีอีเวนท์น่าสนใจจัดอยู่ก็ได้นะ

日本のサブカルチャーグッズを買うならここ!「ヴィレッジヴァンガード 渋谷本店」

ภายในชั้นใต้ดินทั้งสองชั้นของร้าน จะมีทั้ง CD และสินค้าของวงดนตรีแนว Visual Kei (วงดนตรีแนวที่เน้นการแต่งกายของนักแสดงอย่างเป็นเอกลักษณ์ด้วย) วางเรียงรายให้เลือก

ヴィレッジヴァンガード 渋谷本店

มีมุมขายสินค้าจิปาถะลายย้อนยุคแบบญี่ปุ่นด้วย

日本のサブカルチャーグッズを買うならここ!「ヴィレッジヴァンガード 渋谷本店」

มุมสินค้าปฏิทินและโฟโต้บุ๊คของไอดอล

日本のサブカルチャーグッズを買うならここ!「ヴィレッジヴァンガード 渋谷本店」

เสื้อยืดลายแปลกไม่เหมือนใคร

日本のサブカルチャーグッズを買うならここ!「ヴィレッジヴァンガード 渋谷本店」

มีมุมจำหน่ายขนมแบบแพ๊คใหญ่ นอกจากนี้ยังมีสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ Studio Ghibli หรือสินค้าคาแรคเตอร์จากการ์ตูน เกม และอนิเมะอีกมากมาย

แค่เดินดูสินค้าภายในร้านก็รู้สึกเพลิดเพลินแล้ว!

แนะนำสินค้าที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติ!

สินค้าที่ได้แรงบันดาลใจจากตัวคันจิในซีรี่ส์ "โลโก้โกะ"

日本のサブカルチャーグッズを買うならここ!「ヴィレッジヴァンガード 渋谷本店」

สินค้ายอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนญี่ปุ่นคือสินค้าในซีรี่ส์ "โลโก้โกะ" เป็นผลงานการออกแบบโลโก้ที่ได้แรงบันดาลใจจากตัวคันจิ ออกแบบโดยการรวมตัวกันของนักวาดการ์ตูน อามาฮิสะ มาซาคาซุ (Amahisa Masakazu) และดีไซเนอร์ โยชิ มะรุชิน (Yoshi Marushin) เห็นว่าเป็นสินค้าขายดีของทางร้านเลยนะ

สติกเกอร์ตัวอักษร "" (แปลว่า "ไม่มี" หรือ "ความว่างเปล่า") ราคารวมภาษี 350 เยน

หมวกโลโก้เครื่องเกมยอดฮิต

日本のサブカルチャーグッズを買うならここ!「ヴィレッジヴァンガード 渋谷本店」

เจอหมวกที่ปักด้วยโลโก้ "Play Station" เครื่องเกมที่ฮิตสุดๆ ทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ (ราคารวมภาษี 4,980 เยน) ถ้าคอเกมได้หมวกนี้เป็นของฝากคงดีใจน่าดู

日本のサブカルチャーグッズを買うならここ!「ヴィレッジヴァンガード 渋谷本店」

ชั้นใต้ดินชั้น 1 มีเคาน์เตอร์ทำเรื่องสินค้าปลอดภาษีด้วยนะ

วิธีการเดินทางไปยัง "Village Vanguard สาขาใหญ่ชิบุยะ"

日本のサブカルチャーグッズを買うならここ!「ヴィレッジヴァンガード 渋谷本店」
ヴィレッジヴァンガード 渋谷本店

Village Vanguard สาขาใหญ่ชิบุยะเพิ่งเปิดใหม่เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคมปี 2017 ที่ผ่านมา มีทางเดินเชื่อมต่อโดยตรงจากชั้นใต้ดินของสถานีชิบุยะ และอยู่ด้านหน้าทางออกที่ 3 พอดี ถ้าใครมาจากถนนชั้นบน ทางเข้าจะอยู่ที่ตึกข้างๆ ของตึก "109" ศูนย์รวมร้านค้าเสื้อผ้าแฟชั่นชื่อดัง

ヴィレッジヴァンガード 渋谷本店

ตัวร้านจะอยู่ที่ชั้นใต้ดิน 1 และชั้นใต้ดิน 2 บริเวณทางเข้าตรงชั้นใต้ดิน 1 จะมีผลงานภาพวาดของนักวาดการ์ตูนชื่อดัง อาซาโนะ อินิโอะ (Asano Inio) ที่วาดขึ้นเพื่อร้านนี้เป็นพิเศษด้วย

หากจะซื้อสินค้า Subculture ไปเป็นของฝากจากญี่ปุ่นล่ะก็ อย่าลืมลองแวะไปที่ Village Vanguard สาขาใหญ่ชิบุยะกันนะ!

บทความโดย

五月女菜穂

1988年東京生まれ・在住。 慶應義塾大学文学部東洋史学科卒業後、2012年朝日新聞社に入社。 新聞記者として新潟、青森、京都を転々とし、2016年11月からフリーで活動を始める。 旅、演劇、本などが主な守備範囲のフリーライター、フリーランサー。

more
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ