Start planning your trip
(แนะนำปราสาทฮิเมจิ) รู้จักจุดชมปราสาทญี่ปุ่น 7 จุดแบบมือโปรผ่านปราสาทฮิเมจิ!
มาเป็นมือโปรในการชมปราสาทญี่ปุ่นกัน! ปราสาทญี่ปุ่นถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตซึ่งมีทั่วประเทศเขาเลย วันนี้เราจะมาแนะนำจุดที่ต้องเช็คเวลาไปชมปราสาทญี่ปุ่นทั้ง 7 จุดโดยดูจาก "ปราสาทฮิเมจิ (Himeji Castle)" มรดกทางโลกที่คนญี่ปุ่นภาคภูมิใจกัน
ในญี่ปุ่นมีปราสาทและซากปราสาทอยู่ทั่วประเทศซึ่งนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตในหมู่ชาวต่างชาติ
ในครั้งนี้เราจะมาแนะนำจุดที่ควรชมตอนไปเที่ยวปราสาทญี่ปุ่นทั้ง 7 จุดโดยดูจาก "ปราสาทฮิเมจิ" อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและสมบัติของชาติที่คนญี่ปุ่นภาคภูมิใจกันค่ะ
คราวหน้าไปเที่ยวปราสาท เราจะได้เหมือนมือโปรในการชื่นชมปราสาทญี่ปุ่นกันเลย!
* บางปราสาทอาจไม่มีจุดหรือสถานที่ที่แนะนำไว้ในบทความนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของปราสาท
สำหรับใครที่อยากไปเที่ยวปราสาทฮิเมจิ สามารถเช็ครายละเอียดอื่นๆ ได้จากบทความดังนี้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
1. กำแพงหิน
กำแพงหิน เป็นฐานของปราสาทสร้างไว้เพื่อป้องกันการรุกรานจากศัตรู
เนื่องจากมุมกำแพงหินจะพังง่าย ปราสาทฮิเมจิจึงใช้วิธีที่เรียกว่า ซังงิสึมิ (Sangitzumi) ซึ่งก็คือการซ้อนหินขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าส่วนด้านยาวและด้านสั้นสลับกัน
กำแพงหินจะยิ่งโค้งชันมากขึ้นเมื่อยิ่งเป็นส่วนที่สูงขึ้นไปเพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก โดยเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า "ทางลาดชันรูปพัด"
2. คูน้ำ
คูน้ำ สร้างขึ้นจากการขุดรอบปราสาทเพื่อป้องกันการรุกรานจากศัตรู บริเวณโดยรอบปราสาทฮิเมจิมีการสร้างเป็นคูน้ำ 3 ชั้น คือ ชั้นใน ส่วนกลาง และชั้นนอก แต่ในภาพนี้คือ "ซังโกคุโบริ (Sankokubori)" ซึ่งอยู่ด้านในเข้าไปอีก เมื่อเห็นผิวน้ำที่สะท้อนภาพของปราสาทอันงดงามแล้วก็ทำให้เผลอลืมไปเลยว่ามันสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันข้าศึก
นอกจากนี้ คูที่ไม่มีน้ำจะเรียกว่า "คาราโบริ (Karabori)"
3. จุดรวมพล มุชะดามาริ
มุชะ (Musha) หมายถึงนักรบหรือซามูไร เราจึงเรียกสถานที่รวมตัวของเหล่านักรบโดยไม่ให้ภายนอกเห็นได้ง่ายว่า "มุชะดามาริ (Mushadamari)" ภาพนี้คือมุชะดามาริซึ่งอยู่ระหว่างทางไปยังนิชิโนะมารุ (Nishinomaru) ซึ่งล้อมไปด้วยกำแพงทั้ง 3 ด้าน
4. ช่องกำแพง ฮาซามะ
เราเรียกช่องว่างตามกำแพงหรือหอคอยสังเกตการณ์ของปราสาทฮิเมจิว่า "ฮาซามะ (Hasama)" โดยเป็นการสร้างเพื่อให้ทหารสามารถตอบโต้ศัตรูที่บุกมาด้านนอกด้วยธนูหรือปืนใหญ่ได้อย่างปลอดภัย
รูปร่างของฮาซามะมีหลากหลาย เช่น สามเหลี่ยม วงกลม และสี่เหลี่ยม
เหตุผลที่ต้องทำให้ด้านในใหญ่ด้านนอกกว้างก็เพื่อให้โดนโจมตียากและมีทัศนวิสัยกว้าง
5. ประตูและทางเดินที่เหมือนกับเขาวงกต
มีการสร้างทางเดินคดไปคดมาและประตูหลายบานในปราสาทเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บุกรุกบุกเข้ามาถึงใจกลางของปราสาทได้
ปราสาทฮิเมจิก็เช่นกัน ตั้งแต่ทางเข้าปราสาทไปจนถึงหอปราการปราสาทที่เป็นป้อมปราการด่านสุดท้ายจะมีประตูเล็กใหญ่หลากหลายแบบและทางเดินซับซ้อนเหมือนกับเขาวงกตเพื่อป้องกันการรุกรานของข้าศึก ในปัจจุบันยังเหลือประตูอยู่ 21 บาน รูปภาพด้านบนคือ "นุโนะมง (Nunomon)" ประตูขนาดใหญ่ที่มีหอสังเกตการณ์อยู่ด้านบน
ส่วนรูปด้านบนคือมุมโค้งหักศอกซึ่งเชื่อมประตู "โฮะโนะมง (Honomon)" ใกล้กับตัวปราการปราสาทกับประตู "มิสึโนะอิจิมง (Mizunoichimon)" ขนาดและความสูงของประตูประมาณ 2 คนเดินผ่านได้เท่านั้น นอกจากนี้ กำแพงดินตรงกลางจะเป็นกำแพงที่แข็งแรงทนทานเรียกว่า อาบุระคาเบะ (Aburakabe)
6. ช่องลอบโจมตี อิชิโอโทชิ
แต่ถ้าข้าศึกสามารถฝ่าด่านเส้นทางเขาวงกตมาจนถึงตัวปราสาทได้ก็ยังมีกลยุทธ์ตั้งรับศัตรูอีก มองไปที่ส่วนมุมของตัวปราสาทเหนือกำแพงหินเล็กน้อยจะเห็นช่องว่างที่เปิดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวๆ นี่ก็คือ อิชิโอโทชิ (Ishi Otoshi) นั่นเองค่ะ อิชิโอโทชิ คือโครงสร้างที่เอาไว้สำหรับปล่อยหินลงมาจากช่องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อโจมตีข้าศึกที่บุกเข้ามาถึงด้านล่างกำแพงปราสาท
ลองมาดูกันให้ใกล้ขึ้นอีก มันไม่ได้มีไว้ใช้แค่สำหรับปล่อยหินเท่านั้น บางทีก็ใช้เป็นช่องสังเกตการณ์และยิงปืนอีกด้วย
ถ้ามองจากภายในปราสาท ด้านบนของอิชิโอโทชิจะเห็นว่ามีฝาไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าปิดอยู่ หน้าต่างกรงที่มีซี่ขนาดใหญ่สีขาวก็เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึกและลูกธนูนั่นเอง
7. อุปกรณ์ป้องกันภายในอาคาร(มุชะคาคุชิ และ บุงุคาเคะ)
สุดท้ายเรามาดูกลยุทธ์ภายในตัวหอปราการปราสาทกันดีกว่า ในหอปราการปราสาทซึ่งเป็นปรากาด่านสุดท้าย ระหว่างสงครามจะห้องให้นักรบผู้ปกป้องปราสาทซ่อนตัวอยู่ชั่วคราวเพื่อจะออกมาโจมตีศัตรูเรียกกันว่า มุชะคาคุชิ (Mushakakushi)
ฝั่งกำแพงด้านในตัวปราการปราสาทจะมี บุงุคาเคะ (Bugukake) สำหรับแขวนหอกและปืน ทำให้เราทราบได้ว่าส่วนหนึ่งของหอปราการปราสาทถูกใช้เป็นคลังเก็บอาวุธด้วย
ในครั้งนี้เราก็ได้แนะนำกลยุทธ์มากมายเพื่อตั้งรับข้าศึกตั้งแต่ด้านนอกจนถึงด้านในปราสาทฮิเมจิไปกันแล้ว แต่นอกจากนี้ก็ยังมีกลยุทธ์ที่น่าสนใจอีกมากมาย ขอให้เพื่อนๆ ลองไปเยี่ยมชมสถานที่จริงแล้วสังเกตกันดูนะคะ
Photos by Pixta
日本文化、特に絵画や工芸品が好き。福岡、京都、大阪、ベルギー、アメリカを経て現在は神戸在住。座右の銘は「住めば都」。
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง