Unseen Japan สัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งฤดูหนาวของเมืองมัตสึโมโตะ 2 วัน 1 คืน

สารานุกรมคำญี่ปุ่น "โอเฮนโระ"(การจาริกแสวงบุญ)

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

หากพูดถึงการเดินทางเพื่อแสวงบุญในญี่ปุ่น "การจาริก" ไปสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ 88 แห่งในเกาะชิโคขุมีชื่อเสียง ในบทความนี้จะอธิบายถึงการจาริกที่มีเป้าหมายเพื่อการแสวงบุญ, เพื่อสุขภาพ, เพื่อค้นหาตัวเอง และอื่นๆ อย่างแจ่มแจ้ง

บทความโดย

日本への訪日外国人の方が、もっと増えますように!

more

โอเฮนโระ(การจาริกแสวงบุญ) คือ

日本のことば事典「お遍路」

ในภูมิภาคชิโคกุของญี่ปุ่น มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ 88 แห่งที่เรียกว่าชิโคกุฮะจิจูฮะจิคะโชะ(Shikoku Pilgrimage)ตั้งอยู่ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของ "โคโบไดชิ (สมญานาม:คูไค)" ซึ่งเป็นหนึ่งในพระสมณศักดิ์สูงที่มีชื่อเสียงที่สุดในญี่ปุ่น "การจาริก โดยเดินทางแสวงบุญและสักการะไปตามแต่ละสถานที่ก็ขึ้นชื่อ

อนึ่ง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แต่ละแห่งถูกเรียกว่า ฟุดะโชะ ซึ่งจะมีป้ายลำดับตัวเลขแปะกำกับเอาไว้ตามสถานที่แต่ละแห่ง โดยมีตั้งแต่เบอร์ 1 ถึงเบอร์ 23 จะอยู่ที่จังหวัดโทคุชิมะ, เบอร์ 24 ถึงเบอร์ 39 อยู่ที่จังหวัดโคจิ, เบอร์ 40 จนถึงเบอร์ 65 จะอยู่ที่จังหวัดเอะฮิเมะ และเบอร์ 66 จนถึงเบอร์ 88 จะอยู่ที่จังหวัดคากาวะ (เบอร์ 66 โดยทางการแล้วต้องอยู่ที่จังหวัดโทคุชิมะ) เราสามารถเดินทางจาริกแสวงบุญโดยเวียนได้รอบเกาะชิโคขุ

การเดินทางจาริก 2 คนกับโคโบไดชิ

การจาริกแสวงบุญมีประวัติศาสตร์ที่น่าภาคภูมิใจยาวนานกว่า 1200 ปี ในปัจจุบันมีผู้เดินทางโดยมีวัตถุประสงค์อื่นๆ นอกจากการแสวงบุญ เช่น เดินทางเพื่อสุขภาพดี, เดินทางเพื่อค้นหาตัวเอง, เดินทางเพื่อการท่องเที่ยว เป้าหมายขึ้นอยู่กับแต่ละคน

ที่หมวกทรงกรวยที่ผู้จาริกถือไว้ในครอบครอง มีคำจารึกไว้ว่า "โดเกียวนินิน" ซึ่งมีความหมายว่า "ไปด้วยกัน 2 คน" คนแรกก็คือตัวเรา ส่วนอีกคนนึงหมายถึงโคโบไดชิ ซึ่งการจาริกแสวงบุญก็คือการเดินทางเพื่อไปทำบุญกับโคโบไดชิ 2 คนนั่นเอง และคนท้องถิ่นจะเรียกผู้ที่กำลังจาริกแสวงบุญว่า "โอเฮนโระซัง"

วิธีการจาริกแสวงบุญ

日本のことば事典「お遍路」

วิธีการเวียนรอบ

การจาริกแสวงบุญไม่จำเป็นต้องเวียนตามลำดับตั้งแต่เบอร์ 1 จะเริ่มจากที่ไหน ลำดับใดก่อนก็ได้ อนึ่ง การเวียนตามลำดับตัวเลขจะเรียกว่า "จุนอุจิ" ส่วนการเวียนไปทางตรงกันข้ามกันจะเรียกว่า "เกียคุอุจิ" ว่ากันว่าเกียคุอุจิจะให้ผลมากกว่าจุนอุจิ 3 เท่าตัว และการเดินทางโดยเวียนทุกที่ในรอบเดียว เรียกว่า "โทชิอุจิ" และการเวียนโดยแบ่งเป็นหลายๆ รอบ จะเรียกว่า "คุงิริอุจิ" ในคุงิริอุจิก็จะมีแบ่งเป็นการเวียนใน 4 จังหวัด เรียกว่า "อิคโคขุไมริ"

วิธีการสักการะ

เมื่อไปถึงฟุดะโชะแล้ว ก่อนอื่นจะต้องโค้งคำนับหนึ่งครั้งที่ประตูทางเข้าวัด หลังจากที่ชำระร่างกายที่โจสุยะ (สถานที่ล้างมือล้างปากให้สะอาดบริสุทธิ์)แล้ว ก็ต้องเตรียมเครื่องสักการะบูชา ได้แก่ เทียน ธูป และเงินทำบุญให้พร้อม จากนั้นก็ชำระโนซัทสึ(ป้ายกระดาษจากวัด)กับพระสูตร และหลังจากสวดมนต์อธิษฐานเสร็จ ก็จะสวดขอพรเรื่องเดิมกับโคโบไดชิซ้ำอีกครั้งที่โบสถ์ใหญ่ เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว จะให้ประทับเครื่องหมาย 3 แบบด้วยหมึกอินเดียสีแดง ลงบนพระสูตร ภาพแขวนผนัง หรือชุดขาว เครื่องหมาย 3 แบบ ได้แก่ เครื่องหมายลำดับของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์, เครื่องหมายของสิ่งมีค่า, เครื่องหมายที่แสดงชื่อวัด เมื่อได้รับโอะมิเอะที่พระประธานของแต่ละวัดวาดขึ้นมาแล้วนั้น ให้ชำระค่าพระสูตรด้วย ส่วนสมุดที่สะสมพระสูตรนั้นสามารถหาซื้อที่วัด หรือทางอินเทอร์เน็ตก็ได้

เกี่ยวกับวิธีการสักการะบูชาที่วัด ให้คลิกที่นี่เลย "รู้หรือยัง? วิธีการไหว้พระที่วัดอย่างถูกต้อง" ส่วนเรื่องของตราประทับสีแดง ให้ดูที่นี่ "สะสมแสตมป์โกะชุอินที่วัดและศาลเจ้าในญี่ปุ่นเป็นที่ระลึกกันเถอะ"

วิธีการเดินทาง

"จาริกโดยการเดินเท้า" คือวิธีการที่สืบทอดต่อๆ กันมา แม้ใน 1 วันจะเดินได้ระยะทาง 30 กิโลเมตร แต่การที่จะเวียนรอบฟุดะโชะได้ทั้งหมด ต้องใช้เวลาประมาณ 40 วัน วิธีการอื่นๆ นอกจากนั้น ได้แก่ "จาริกโดยรถยนต์" "จาริกโดยรถทัวร์" และยังมีวิธีการเดินทางโดยใช้รถจักรยานและรถมอเตอร์ไซค์อีกด้วย คงต้องหาวิธีการเดินทางที่เหมาะกับตัวเองให้พบ

เครื่องแต่งกาย

ชุดสีขาวยาวที่เรียกว่า "ฮาคุอิ" คือแบบมีแขนเสื้อ หรือ "โอยสุรุ" คือแบบไม่มีแขนเสื้อ สวมหมวกทรงกรวย แล้วก็ถือไม้เท้าคงโกคือการแต่งกายแบบที่สืบทอดกันมา แต่เราจะมาดัดแปลงให้เป็นแบบตัวเอง หรือจะแต่งแบบธรรมดาก็ได้ ในกรณีที่จะจาริกโดยการเดินเท้า ต้องมีทางขึ้นเขาด้วย ฉะนั้นควรสวมรองเท้าที่ใส่แล้วเดินสบายน่าจะดีกว่า

ลองมาเป็นโอะเฮนโระซังกันเถอะ!

日本のことば事典「お遍路」

เมื่อเตรียมตัวเรียบร้อยแล้ว ก็ออกเดินทางกันเลย! แต่ว่าจะขออธิบายถึงข้อควรระวังและกฎหลายๆ อย่างก่อนนะ

ข้อควรระวังข้อที่ 1.ให้เดินทางเวลากลางวัน

คนที่เดินทางด้วยวิธีเดินเท้าและต้องการเร่งไปให้ถึงจุดหมายโดยเดินทางเวลากลางคืนก็มี แต่ว่าทางเดินที่ไม่มีไฟติดไว้เลยก็มีเยอะ บางคนก็มองข้ามป้ายบอกทาง จนไปประสบกับอันตรายก็มี ดังนั้นขอให้ออกเดินทางแต่เช้าตรู่ และพยายามให้ถึงที่พักในช่วงเย็นดีกว่า

ข้อควรระวังข้อที่ 2.ยอมรับความหวังดีจากคนท้องถิ่นอย่างว่าง่าย

ระหว่างการเดินทาง จะมีคนท้องถิ่นพร้อมหยิบยื่นของกินและเครื่องดื่ม, เสนอที่ให้พัก เช่น ใน "กระท่อม" และ "ห้องนอนเล็ก" ให้ สิ่งเหล่านี้ เรียกว่า "การับรองแขก" โดยพื้นฐานแล้วเป็นสิ่งที่ต้องน้อมรับอย่างซาบซึ้งโดยไม่ปฏิเสธ อนึ่ง การรับการรับรองเหล่านี้ เราจะต้องมอบโนซัทสึ(ป้ายกระดาษจากวัด)ให้ตอบแทน

ข้อควรระวังข้อที่ 3.ไม่เคาะไม้เท้าตอนข้ามสะพาน

ที่ญี่ปุ่นมีเรื่องเล่ากันว่า ในระหว่างที่โคโบไดชิเดินทางไปจาริกแสวงบุญ พระได้นอนใต้สะพานตอนกลางคืน ดังนั้น ตอนที่ข้ามสะพานระหว่างเดินทางไปแสวงบุญ จำเป็นต้องระวังอย่าเคาะไม่เท้า เพราะเชื่อกันว่า "โคโบไดชิอาจจะกำลังหลับอยู่ก็เป็นได้"

ถ้าจะไปแสวงบุญล่ะก็ ลองพักที่ชุคุโบกันเถอะ

ช่วงสุดท้าย หากจะเดินทางจาริกแสวงบุญล่ะก็ อยากให้ลองพักที่ชุคุโบดู ชุคุโบคือสถานที่ค้างแรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อพระสงฆ์และผู้สักการะ นอกจากจะสามารถพักได้ในราคาถูกแล้ว ยังสามารถลิ้มลองอาหารสดใหม่ที่ทำจากผักได้อีกด้วย และชุคุโบสมัยนี้ มีบางแห่งที่มีน้ำพุร้อนธรรมชาติในตัว น่าจะช่วยเยียวยาความเหนื่อยล้าจากการเดินทางได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

บทความโดย

ニコ

日本への訪日外国人の方が、もっと増えますように!

more
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ