Unseen Japan สัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งฤดูหนาวของเมืองมัตสึโมโตะ 2 วัน 1 คืน

ความแตกต่างระหว่าง วัด และ ศาลเจ้า ของญี่ปุ่น

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

ถ้าให้อธิบายแบบง่ายๆ ก็คือ ทั้งสองเป็นศาสนสถานทั้งคู่ แต่วัดเป็นของศาสนาพุทธ และศาลเจ้าเป็นของชินโต

บทความโดย

東京生まれ東京育ち東京在住の20歳。大学生をしています。動物とたわむれることと散歩をすることがとっても好きです。世界中の野生の動物に会いに行ったり、世界中の街を散歩しに行ったり、いつかできたらいいなぁ、なーんて思ってます。

more

วัดและศาลเจ้าถือเป็นสถานที่ที่มีความเป็นญี่ปุ๊นญี่ปุ่นอยู่เต็มที่ แล้วทั้งสองแห่งนี้ก็มีบรรยากาศที่คล้ายกันอยู่มากเลยจนบางทีก็แยกไม่ออกว่านี่เราอยู่ที่วัดหรือศาลเจ้า

ถ้าให้อธิบายแบบง่ายๆก็คือ ทั้งสองเป็นศาสนสถานทั้งคู่ แต่วัดเป็นของศาสนาพุทธ ส่วนศาลเจ้าเป็นของชินโต โดยจะมีลักษณะภายนอกที่สังเกตเห็นได้ง่ายคือ พระพุทธรูปและสุสาน เป็นของวัด ส่วนเสาประตูโทริอิ เป็นของศาลเจ้า

ข้อแตกต่างระหว่างศาสนาพุทธและชินโต

ศาสนาพุทธถือเป็นศาสนาจากต่างประเทศที่เข้ามาโดยการเผยแผ่ศาสนาของประเทศจีนและอินเดีย

ในทางกลับกัน ศาสนาชินโตเป็นศาสนาที่ถือกำเนิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น โดยยึดถือเทพเจ้าหลายองค์ รวมไปถึงสรรพสิ่งในธรรมชาติอย่างป่าเขา ก้อนหิน ต้นไม้ ไปจนถึงตัวบุคคล ศาสนาชินโตมีความเชื่อว่าทุกๆ สิ่งในโลกใบนี้มีเทพเจ้าสถิตอยู่ เป็นที่มาของคำว่า เหล่าเทพเจ้าแปดล้านองค์ (Yaoyorozu no Kami : 八百万の神) หรืออีกนัยคือมากมายจนนับไม่ถ้วน

ทั้งศาสนาพุทธและศาสนาชินโตต่างก็เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตชาวญี่ปุ่นมายาวนาน คนญี่ปุ่นที่ให้ความเคารพทั้งสองศาสนาก็มีอยู่ไม่น้อย หรือแม้แต่การไปไหว้ศาลเจ้าชินโตในช่วงปีใหม่ แต่จัดงานศพแบบพุทธทั่วไปก็มีเช่นกัน การผสมทั้งสองศาสนาเข้ากันได้แบบนี้เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น

อันที่จริงทั้งสองศาสนาเคยรวมเป็นหนึ่งมาแล้วในอดีต ในวัดอาจมีวิหารของเทพเจ้า ในศาลเจ้าก็มีพระพุทธรูป กระทั่งราวกลางยุคเอโดะถึงต้นยุคเมจิ ได้มีคำสั่งแยกศาลเจ้าและวัดออกจากกัน ให้ยึดเอาศาลเจ้าเป็นศาสนาประจำชาติ การปฏิบัติการช่วงแรกค่อนข้างรุนแรง วัดและพระพุทธรูปหินหลายแห่งถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย กระทั่งราวปีเมจิที่ 5 (ค.ศ. 1872) ลำพังชินโตเพียงอย่างเดียวไม่สามารถเผยแผ่ความรู้ให้แก่ผู้คนได้ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากพระสงฆ์และพุทธศาสนา จึงเปลี่ยนคำสั่งให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันแทน

กลับมาพูดถึงเรื่องความแตกต่างระหว่างวัดกับศาลเจ้ากันดีกว่า

นิยามของวัดและศาลเจ้า

ถ้าให้อธิบายนิยามแบบง่ายๆ ก็ได้ว่า
วัด มีพระพุทธรูปและพระสงฆ์อาศัยอยู่
ศาลเจ้า เป็นที่สถิตของเทพเจ้า

วัด

寺

พระพุทธรูปของญี่ปุ่นนั้นจะเรียกว่า บุตสึโซ
วัด ในภาษาญี่ปุ่นคือ เทระหรือโอเทระ (お寺) เป็นที่อาศัยของผู้เผยแผ่ศาสนาอย่างพระสงฆ์หรือแม่ชีและมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ โดยพระพุทธรูปนั้นมีหลายปางหลายภาคไม่ว่าจะเป็นพระไวโรจนะพุทธะ หรือเจ้าแม่กวนอิม ถึงจะไม่รู้ว่าเป็นพระพุทธรูปปางไหนก็ไม่เป็นไรนะ แวะมาเยี่ยมชมและไหว้พระกันได้ แต่ถ้ารู้รายละเอียดก็อาจจะทำให้การเที่ยววัดนั้นๆ น่าสนใจยิ่งขึ้นก็ได้

คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่มักจะจัดงานศพตามพิธีของศาสนาพุทธ และสุสานก็มักจะอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับวัดด้วย

ศาลเจ้า

ความแตกต่างระหว่าง วัด และ ศาลเจ้า ของญี่ปุ่น

เสาประตูโทริอิ สัญลักษณ์แทนทางเข้าสู่ดินแดนของเทพเจ้า
ศาลเจ้า ในภาษาญี่ปุ่นคือ จินจะ (神社) มักเป็นสถานที่ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาช้านาน หรือเคยถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ในอดีต ภายในศาลเจ้าจะมีนักบวชและมิโกะเป็นผู้ประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่สถิตของเทพเจ้าของศาสนาชินโต แต่จะไม่มีรูปเคารพ

ที่หน้าทางเข้าศาลเจ้าโดยทั่วไปจะมีเสาประตูที่เรียกว่าโทริอิ ตั้งอยู่ ว่ากันว่าเสาประตูนี้เป็นสิ่งที่แยกระหว่างโลกมนุษย์และโลกของเทพเจ้าออกจากกัน

ศาลเจ้าส่วนใหญ่จะตั้งชื่อศาลตามชื่อของเทพเจ้าที่สถิตอยู่ เนื่องจากศาสนาชินโตมีเทพเจ้าที่นับถืออยู่มากมายนับไม่ถ้วน ศาลเจ้าจึงมีจำนวนมากตามไปด้วย

ศาลเจ้าใหญ่ๆ ส่วนหนึ่งจะเป็นชื่อศาลแล้วตามด้วยคำว่า "จิงกู" หรือ "ไทชะ" เช่น ศาลเจ้าอิเซะจิงกู ศาลเจ้าอิซุโมะไทชะ ซึ่งไม่ใช่ทุกศาลเจ้าจะใช้ได้ จิงกูจะใช้กับศาลเจ้าที่ยกเอาบรรพบุรุษของราชวงศ์พระจักรพรรดิขึ้นเป็นเทพบูชาประจำศาลเจ้า ส่วนไทฉะจะใช้กับศาลเจ้าที่เป็นสาขาหลักของศาลเจ้านั้นๆ ทั่วประเทศ

ไปเยี่ยมชมวัดและศาลเจ้ากัน

พอจะเห็นความแตกต่างระหว่างวัดและศาลเจ้าแล้วใช่มั๊ย ที่จริงแล้วนี่ยังแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นนะ ยังมีข้อแตกต่างอีกหลายส่วนอย่างตัวอาคาร สถาปัตยกรรม สิ่งที่อยู่ในพื้นที่วัดและศาลเจ้า เอาเป็นว่าลองมาชมด้วยตาของตัวเองแล้วลองหาความแตกต่างกันดูนะ

บทความโดย

Mako Hayashi

東京生まれ東京育ち東京在住の20歳。大学生をしています。動物とたわむれることと散歩をすることがとっても好きです。世界中の野生の動物に会いに行ったり、世界中の街を散歩しに行ったり、いつかできたらいいなぁ、なーんて思ってます。

more
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ