【จังหวัดมิยาซากิ】เพลิดเพลินไปกับทั้งภูเขาและท้องทะเล! ออกสำรวจมนต์เสน่ห์แห่งธรรมชาติที่ยังไม่ถูกค้นพบ

สารานุกรมคำญี่ปุ่น "ลัทธิชินโต"

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
สารานุกรมคำญี่ปุ่น "ลัทธิชินโต"

ชินโตคือศาสนาที่เกิดในญี่ปุ่นที่คนญี่ปุ่นเชื่อถือมาตั้งแต่โบราณจนปัจจุบัน แทรกซึมอยู่ในชีวิตและวัฒนธรรม มีศาลเจ้านมัสการพระเจ้าของศาสนาชินโตทั่วญี่ปุ่น มีคนไปนมัสการจำนวนมาก อ่านบทความนี้จะสนุกมากยิ่งขึ้นตอนไปศาลเจ้า แนะนำข้อมูลพื้นฐานศาสนาชินโตกันค่ะ

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :
ニコ

บทความโดย

日本への訪日外国人の方が、もっと増えますように!

ลัทธิชินโตคืออะไร

Shinto - Japanese Encyclopedia

ชินโตคือศาสนาของชนพื้นเมืองที่เกิดในประเทศญี่ปุ่น ศาสนาที่คนในชาติญี่ปุ่นเชื่อถือมาตั้งแต่สมัยโบราณจนปัจจุบัน ในขณะนี้ก็ยังแทรกซึมอยู่ในชีวิตทั่วไปและวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่น
มีศาลเจ้านมัสการพระเจ้าของศาสนาชินโตทั่วประเทศญี่ปุ่น มีอุบาสกอุบาสิกาไปนมัสการจำนวนมาก ในบทความนี้แนะนำข้อมูลพื้นฐานของศาสนาชินโต ถ้าได้ทราบก็จะสนุกมากยิ่งขึ้นตอนไปเยี่ยมชมศาลเจ้าค่ะ

จุดเริ่มต้นของศาสนาชินโต

日本のことば事典「神道」

เชื่อกันว่าชินโตเกิดขึ้นมา 200 ปีก่อนคริสตกาล ยังคงไม่ทราบเวลาที่แน่นอนค่ะ
เทพเจ้าส่วนใหญ่ของศาสนาชินโตคือธรรมชาติเช่นภูเขาและดวงอาทิตย์ เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นดินแดนที่มีภัยพิบัติบ่อยเช่นแผ่นดินไหวและพายุไต้ฝุ่น ธรรมชาติมีผลกระทบที่สำคัญต่อชีวิตของผู้คน ความรู้สึกเคารพและความกลัวต่อธรรมชาตินำไปสู่ความเชื่อของศาสนาชินโตค่ะ

เทพเจ้าของศาสนาชินโตนมัสการที่ศาลเจ้าจากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้นศาลเจ้าที่มีชื่อเสียงก็มักจะอยู่ใกล้กับภูเขาใหญ่และแม่น้ำ โขดหิน น้ำตก ตอนไปนมัสการลองมองธรรมชาติรอบๆดูนะคะ

ความเชื่อในพระเจ้าเกิดขึ้นในส่วนต่างๆของหมู่เกาะญี่ปุ่นได้รับการจัดให้สอดคล้องแบบเดียวกัน และเมื่อพุทธศาสนาถูกเผยแผ่ในศตวรรษที่ 6 ความเชื่อเฉพาะของญี่ปุ่นมันก็ถูกเรียกด้วยคำว่า「ชินโต

มุมมองของโลกต่อชินโตและเทพเจ้าของชินโต

日本のことば事典「神道」

ศาสนาชินโตแตกต่างจากศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม ไม่มีศาสดา คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์เช่นอัลกุรอานและพระคัมภีร์ ศาสนาทั่วไปๆแตกต่างกันทั้งต้นกำเนิดและมุมมองของโลกค่ะ

ในศาสนาชินโตของโลก ไม่ได้มีพระเจ้าอยู่องค์เดียว ขนาดที่ว่ามีคำว่า "เทพแปดล้านองค์ (yaoyorozu)" มีพระเจ้าจำนวนมากค่ะ
นอกจากนี้ ถ้าได้อ่านตำนานพระเจ้าของญี่ปุ่นก็จะเข้าใจดียิ่งขึ้นค่ะ เป็นที่รู้จักกันดีว่าระยะห่างระหว่างมนุษย์มีความใกล้ชิดกันมาก พระเจ้าของชินโตดื่มเหล้าเช่นเดียวกับมนุษย์ อาจตกอยู่ในห้วงความแห่งรักกับมนุษย์ก็เป็นได้
เช่นเดียวกับที่อธิบายไว้เมื่อกี้นี้ว่า ในศาสนาชินโตจะนับถือกราบไหว้ธรรมชาติเช่นดวงอาทิตย์และภูเขาเป็นพระเจ้า แต่ธรรมชาติไม่ได้กลายเป็นพระเจ้าอย่างเดียวเท่านั้น พระเจ้าของห้องครัวและพระเจ้าของสุขา สิ่งที่เกี่ยวข้องกับคน อะไรก็สามารถบูชาเป็นพระเจ้าได้ทั้งนั้นค่ะ

นอกจากนี้ยังมีการบูชามนุษย์เป็นพระเจ้า นิกโก้ โทโชกุ รู้จักในฐานะมรดกโลก กว่า 200 ปีที่ผ่านมา
ซามูไรนำพาไปสู่ยุคแห่งความสงบสุข ศาลเจ้าที่บูชา สุงาวาโนะ อิเอยาสุ ให้เป็นพระเจ้า

เกี่ยวกับนิกโก้ โทโชกุ อ่านได้ที่บทความนี้「 แนะนำไฮไลท์ห้ามพลาดของมรดกโลกศาลเจ้านิกโก้โทโชงู !
เมื่อคุณเยี่ยมชมศาลเจ้า ลองเช็คดูก็ดีนะคะว่าใครที่ประดิษฐานเป็นพระเจ้า มีอำนาจแบบไหนกัน

คนที่ทำงานที่ศาลเจ้า

เรียกว่าคนที่ทำงานในศาลเจ้าว่า ชินโชคุ(shinshoku)ขึ้นอยู่กับขนาดและประวัติความเป็นมาของศาลเจ้า โดยทั่วไปกำหนดไว้ 3 คนกูจิเนกิ
กอนเนกิ ตามกฏจะต้องมี กูจิ และ เนกิ อย่างละคนในแต่ละศาลเจ้าอยู่เสมอค่ะ

ความเกี่ยวข้องของญี่ปุ่นและศาสนาชินโต

日本のことば事典「神道」

ชินโตคือมีผู้สนับสนุน ผู้มานมัสการ 106 ล้านคนในประเทศญี่ปุ่น (เกือบทั้งหมดของญี่ปุ่น) กระทรวงวัฒนธรรมพิมพ์ออกเผยแพร่อธิบายใน『ศาสนาประจำปี』อย่างไรก็ตามคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่นั้น ไม่ทราบอย่างชัดเจนว่า「ผมมีความเชื่อศาสนาชินโต」มากแค่ไหน
แม้จะกระนั้นก็ตาม วันที่ของพิธีสำคัญ 4 พิธีดูปฏิทินของศาสนาชินโตแล้วตัดสินใจ ในญี่ปุ่นถ้าปีใหม่จะไปเยือนศาลเจ้าจะขอให้มีความสุขในปีใหม่ สวดมนต์อธิษฐานข้อให้สอบผ่าน เรื่องความรักอธิษฐานขอให้ได้แต่งงาน ตั้งครรภ์อธิษฐานให้คลอดปลอดภัย คลอดออกมาแล้วก็ขอให้เติบโตแข็งแรง ไปนมัสการที่ศาสเจ้าทั้งๆที่อาจจะไม่ได้คิดเรื่อง「ความเชื่อ!」อาจจะพูดได้ว่าชินโตนั้นได้แทรกซึมอยู่ในชีวิตของคะแล้วล่ะค่ะ
ถ้ามาประเทศญี่ปุ่นอย่าลืมแวะไปเยี่ยมชมศาลวิหารชินโตดูนะคะ
เกี่ยวกับวิธีการที่สักการะบูชาของศาลเจ้า อ่านได้ที่บทความนี้「รู้หรือยัง? วิธีการไหว้พระที่วัดอย่างถูกต้อง」เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างศาลเจ้าและวัด「เรื่องที่ไม่เคยได้ยินมาจนถึงตอนนี้กับข้อแตกต่างระหว่าง “วัด” (โอเทระ) และ “ศาลเจ้า” (จินจะ)

ニコ

บทความโดย

ニコ

日本への訪日外国人の方が、もっと増えますように!

เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ

บทความพิเศษ

More.