Start planning your trip
มาซื้อตั๋วรถไฟแบบกระดาษด้วยบัตร Suica กันดีกว่า!
บัตรโดยสาร IC ก็คือ บัตรโดยสารในรูปแบบการ์ดซึ่งสามารถใช้ขึ้นรถไฟได้โดยไม่จำเป็นต้องซื้อตั๋วกระดาษนั่นเอง
ถึงจะมี Suica แต่ตั๋วกระดาษก็ยังจำเป็นอยู่นะ
Photo by Pixta
ที่ญี่ปุ่นนั้นถ้าเพื่อนๆมีบัตร Suica หรือบัตร IC อื่นๆที่ไว้สำหรับโดยสารรถไฟ ก็สามารถที่จะนั่งรถไฟเที่ยวในประเทศญี่ปุ่นได้อย่างง่ายๆสบายๆแต่ในบางครั้งตั๋วรถไฟกระดาษก็ยังคงมีความจำเป็นอยู่นะ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆตามด้านล่างนี้
① ตอนที่ขึ้นรถไฟสายด่วนพิเศษอื่นๆและ「โอดะคิวโรแมนซ์คาร์」หรือ「ชินคังเซ็น」
ในกรณีนี้จำเป็นต้องซื้อ「ตั๋วรถไฟสายด่วนพิเศษ」โดยจะเป็นตั๋วสำหรับนั่งรถไฟสายด่วนพิเศษซึ่งจะแตกต่างกับการจ่ายค่าโดยสารของรถไฟสายปกติ
②ตอนที่นั่งรถไฟเข้าสู่พื้นที่คาบเกี่ยว
กรณีนี้คือตอนที่นั่งรถไฟไปยังเขตที่ต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น นั่งจากโตเกียวไปโอซาก้า เป็นต้น และก็มีบางเขตด้วยที่ไม่สามารถใช้บัตร IC กับบริษัทรถไฟในเขตนั้นๆได้
【บทความอ้างอิง】ลองใช้บัตร Suica นอกเหนือพื้นที่ในโตเกียวกันดีกว่า!
นอกจากนี้
「ใกล้จะกลับประเทศแล้วเลยไม่อยากเติมเงิน แต่ก็มียอดเงินไม่พอจ่ายค่าโดยสาร…」
ในเวลาแบบนี้ คงอยากจะซื้อตั๋วกระดาษกันใช่ไหมละ
ซึ่งค่าตั๋วพวกนี้สามารถจ่ายได้ด้วยบัตร Suica ด้วยนะรู้ยัง ตอนที่มียอดเงินคงเหลือไม่พอจะสามารถจ่ายโดยรวมยอดกับเงินสดนั่นเอง
【กรณีที่เป็นตั๋วแบบปกติ】
① ใส่บัตรเข้าไปที่เครื่องขายตั๋วอัตโนมัติ
Photo by Pixta
ก่อนอื่นใส่บัตร Suica เข้าไปที่ช่องใส่บัตรของเครื่องขายตั๋วอัตโนมัติ โดยให้ด้านหน้าของบัตรอยู่ด้านบนและใส่ตามทิศทางของลูกศรที่แสดงอยู่บนบัตร
② แตะที่「きっぷ購入 (ซื้อตั๋ว) 」
เมื่อใส่บัตรเข้าไปแล้ว หน้าจอที่แสดงอยู่จะเปลี่ยนไป จากนั้นก็ให้แตะที่ปุ่ม「きっぷ購入(ซื้อตั๋ว)」ซึ่งจะเรียงอยู่ทางด้านซ้ายของหน้าจอ
③ เลือกราคาของตั๋วที่ต้องการ
คราวนี้ที่หน้าจอจะมีตัวเลขแสดงราคาตั๋วปรากฏออกมาเต็มไปหมด ให้แตะเลือกราคาของสถานที่ๆตัวเองต้องการไป เพียงเท่านี้ก็สามารถซื้อตั๋วได้แล้วโดยที่ราคาตั๋วจะถูกหักลบจากยอดเงินที่เหลือ
④ ตั๋วกระดาษจะโผล่ออกมา!
บัตร Suica และตั๋วจะออกมาจากเครื่องขายตั๋วพร้อมๆกัน อย่าลืมหยิบด้วยนะ
※ที่หน้าจอแสดงการชำระเงินจะมี 「購入金額(จำนวนเงินที่ใช้ซื้อ)」「投入金額(จำนวนเงินที่เลือก)」「カード残額(ยอดเงินคงเหลือของบัตร)」ถูกแสดง แต่ว่า「投入金額(จำนวนเงินที่เลือก)」จะแสดงเป็นจำนวนเงินที่ตัดเศษไม่ถึง 10 เยนออกในเครื่องขายตั๋วอัตโนมัติ ดังนั้นส่วนต่างของ「購入金額(จำนวนเงินที่ใช้ซื้อ)」และ「投入金額(จำนวนเงินที่เลือก)」อาจจะไม่ตรงกับ「カード残額(ยอดเงินคงเหลือของบัตร)」เสมอไป
※สามารถใช้ยอดเงินคงเหลือของบัตร Suica ได้สูงสุด 2 ใบ แต่บัตร Suica แต่ละใบหากมียอดเงินคงเหลือไม่ถึง 10 เยน จะไม่สามารถใช้ได้ ระวังข้อนี้ด้วยนะ
【กรณีที่ซื้อตั๋วแบบระบุที่นั่งอื่นๆ】
Photo by Pixta
ตั๋วแบบระบุที่นั่งสามารถหาซื้อได้ที่เครื่องขายตั๋วชนิดพิเศษที่มีลักษณะแบบนี้ ก่อนอื่นก็ให้เลือกก่อนว่าจะซื้อตั๋วแบบไหนโดยให้ทำตามคำแนะนำจากเสียงหรือหน้าจอที่แสดงอยู่ของเครื่องขายตั๋วแบบระบุที่นั่ง หลังจากที่หน้าจอเปลี่ยนมาเป็นหน้าจอแสดงการชำระเงิน ก็ให้ใส่บัตร Suica เข้าไปที่เครื่องขายตั๋ว
ถ้าเพื่อนๆคนไหนกังวลที่จะซื้อตั๋วกับเครื่องขายตั๋ว ที่เคาท์เตอร์ก็สามารถจ่ายได้ด้วยบัตร Suica เช่นกัน เพราะฉะนั้นจะลองปรึกษากับพนักงานที่เคาท์เตอร์ดูก็ได้นะ
เมื่อกดปุ่ม「よびだしボタン(เรียกพนักงาน)」ที่อยู่ที่เครื่องขายตั๋ว จะสามารถเรียกพนักงานประจำสถานีรถไฟได้
【บทความต่อเนื่อง】ช๊อปปิ้งที่ญี่ปุ่นแบบง่ายๆด้วยบัตร Suica
【TOP บทความ】【รวบรวมเรื่องราวของบัตร Suica】มาใช้บัตรโดยสาร IC กันดีกว่า เพื่อการท่องเที่ยวด้วยรถไฟที่แสนสะดวกสบาย
東京生まれ東京育ち東京在住の20歳。大学生をしています。動物とたわむれることと散歩をすることがとっても好きです。世界中の野生の動物に会いに行ったり、世界中の街を散歩しに行ったり、いつかできたらいいなぁ、なーんて思ってます。
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง