【จังหวัดมิยาซากิ】เพลิดเพลินไปกับทั้งภูเขาและท้องทะเล! ออกสำรวจมนต์เสน่ห์แห่งธรรมชาติที่ยังไม่ถูกค้นพบ

รู้ไว้ก่อนไปซื้อยาที่ญี่ปุ่น คู่มือยาประจำตัว กับ ยาเจเนริก

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

คู่มือยาประจำตัว กับ ยาเจเนริก สองคำนี้เป็นคำที่เราต้องเจอเวลาไปซื้อยาจากใบสั่งแพทย์ในญี่ปุ่น สำหรับคนที่กำลังจะมาอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นขอแนะนำให้มาศึกษากันไว้ล่วงหน้าเผื่อยามจำเป็น

บทความโดย

เมื่อออกจากไต้หวันไปเมื่อ 17 ปีที่แล้ว ฉันได้มาถึงโตเกียวโดยบังเอิญ และเริ่มหลงรักกับเมืองใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงทุกระทบ ที่ยังคงสงบอยู่ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นไว้ระทังใจ ท่ามกลางการดูแลเด็ก ฉันชอบที่จะหาความผ่อนคลายที่สถานที่ที่ห่างจากสถานีประมาณ 15 นาทีเดิน กับความหนาแน่นของประชากรประมาณ 30% แม้จะมีความเลือกตั้ง แต่ที่ฉันต้องการค้นหาความอร่อยคือ และหลงรักในการทำอาหาร และการป้อนอาหารผู้อื่น และกล่าวขอตนเองว่าเป็นสมาชิกสมาคมของขนมชิปมันฝรั่ง
more

คำถามที่มักเจอบ่อยเวลาซื้อยาแพทย์สั่งในญี่ปุ่น

การซื้อยาในญี่ปุ่นจะแบ่งเป็นยาทั่วไปที่ซื้อได้เองตามร้านขายยา และยาที่ต้องใช้ใบสั่งยา (prescription : shohosen 処方箋) จากแพทย์

ถ้าเราไปหาหมอตามคลินิก (รวมถึงโรงพยาบาลบางแห่ง) เค้าจะไม่มีแผนกยาเป็นของตัวเอง เราจะต้องเอาใบสั่งยาที่ได้จากหมอไปซื้อที่ร้านขายยาเองภายใน 4 วัน (ไม่งั้นใบสั่งยาจะเป็นโมฆะ) และ 2 คำถามที่มักจะโดนถามตอนไปซื้อยาก็คือ

お薬手帳はお持ちですか? (มีคู่มือยาประจำตัวไหม)
ジェネリック医薬品へ変更しますか? (เปลี่ยนเป็นยาเจเนริกไหม)

เดี๋ยวมาดูความหมายและข้อดีของคู่มือยาประจำตัวและยาเจเนริกกัน

คู่มือยาประจำตัว

日本拿藥

คู่มือยาประจำตัว ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า お薬手帳 (okusuri techo) เป็นสมุดบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับยาที่เราได้รับ ข้อมูลการแพ้ยา ฯลฯ

ตอนซื้อยา ร้านยาจะมีสติกเกอร์บอกรายละเอียดยา ปริมาณการใช้ และจำนวนวันที่ใช้มาให้ แค่เอาไปแปะในคู่มือยาประจำตัวก็เรียบร้อย ครั้งถัดไปที่ต้องไปซื้อยาก็เอาคู่มือนี้ยื่นให้เภสัชกรพร้อมใบสั่งยา เค้าจะเอาข้อมูลในเล่มมาอ้างอิงว่าควรให้ยาตัวไหนกับเรา

ข้อดีของคู่มือยาประจำตัว

1. ป้องกันการได้ยาซ้ำซ้อน และลดความเสี่ยงของผลข้างเคียงระหว่างยา
ถ้าไปหาหมอหลายคนหลายที่ มีโอกาสที่เราจะได้ยาที่มีตัวยาเหมือนกันมา และเป็นสาเหตุของการได้รับยาเกินขนาดได้ เภสัชกรจะดูตัวยาจากคู่มือยาและจ่ายยาที่ไม่ซ้ำกันให้

2. รู้ข้อมูลชนิดยาที่แพ้
อาการแพ้ยาบางครั้งก็อาจขึ้นเป็นผื่นตามตัวหรืออาการคัน แต่สำหรับบางคนอาการแพ้อาจรุนแรงและอันตรายถึงชีวิต เภสัชกรก็ไม่รู้ว่าเราแพ้ยาอะไรบ้าง ถ้าเขียนไว้ก่อนในคู่มือยาประจำตัวจะช่วยลดปัญหานี้ได้

3. สะดวกเวลาประสบเหตุฉุกเฉินหรือไปเที่ยวที่อื่น
เวลาเดินทางไปเที่ยวที่อื่นหรือประสบเหตุฉุกเฉินแล้วต้องใช้ยากระทันหัน ถ้ามีคู่มือยาติดตัวไว้ แพทย์และเภสัชกรก็สามารถเลือกยาที่เหมาะสมให้ได้ง่ายขึ้น

สะดวกขึ้นด้วยคู่มือยาประจำตัวแบบแอปพลิเคชัน

お薬手帳

หน้าตาของแอปพลิเคชัน EPARK

คู่มือยาประจำตัวมีประโยชน์และช่วยอำนวยความสะดวกได้มาก แต่ปัญหาคือชอบลืมพกไปด้วยเวลาไปซื้อยา ปัญหานั้นจะหมดไปด้วยแอปพลิเคชันสำหรับมือถือ!

ข้อดีของแอปพลิเคชันคู่มือยาประจำตัว

1. สั่งยาล่วงหน้าได้
ถ้าบันทึกร้านยาที่ใช้บริการประจำไว้ พอได้ใบสั่งยาจากโรงพยาบาลก็ส่งรูปไปที่ร้านขายยาเพื่อให้เตรียมล่วงหน้าได้ ไม่ต้องเสียเวลาไปรอนาน

2. ระบบแจ้งเตือน
เชื่อมต่อแอปคู่มือยาเข้ากับแอปปฏิทิน แอปจะเตือนเมื่อถึงกำหนดวันที่ต้องไปเอายาหรือเวลากินยา

3. จัดการข้อมูลง่ายในที่เดียว
สามารถบันทึกข้อมูลยาทั้งแบบที่แพทย์สั่งและแบบที่ขายทั่วไปได้ง่าย และเก็บข้อมูลของคนในครอบครัวได้ด้วยแอปเดียว

แอปที่ผู้เขียนใช้อยู่คือ Okusuri techo PLUS มีฟังก์ชั่นแชร์ข้อมูลกับเครื่องตรวจสุขภาพที่เราใช้เพื่อเก็บข้อมูลให้ดูง่าย และข้อมูลเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพให้อ่าน

แอปอื่นก็เช่น EPARK มีระบบแจกพอยต์ด้วย ลองเข้าไปดูในเว็บก่อนได้ว่าอยากใช้แอปไหน

ยาเจเนริก

ジェネリック

Photo by pixta

ยาเจเนริก (Generic Drugs : ジェネリック医薬品) คือยาที่มีตัวยาออกฤทธิ์และคุณสมบัติเท่าเทียมกับยาต้นตำรับ ผลิตขึ้นหลังจากยาต้นตำรับหมดระยะคุ้มครองจากสิทธิบัตรยา มักมีราคาถูกกว่ายาต้นตำรับมาก

ราคาถูกกว่าแล้วคุณสมบัติยาจะลดลงด้วยรึเปล่า?

學名藥普及率

Photo by PRTIMES

การคิดค้นยารักษาโรคชนิดใหม่ต้องใช้ทุนและเวลาในการวิจัยมาก เมื่อผ่านการรับรองให้เป็นยาต้นตำรับตัวใหม่แล้ว ยานั้นจะได้รับการคุ้มครองตามสิทธิบัตรยา ห้ามผู้อื่นผลิตยาชนิดเดียวกันในช่วงเวลา 20 - 25 ปีแล้วแต่กรณี

อย่างที่บอกว่ายาเจเนริกก็คือยาที่ผลิตขึ้นตามสูตรยาต้นตำรับ ไม่มีต้นทุนค่าวิจัยอะไรเพิ่มเติม จึงจำหน่ายได้ในราคาถูกกว่ายาต้นตำรับ ชาวญี่ปุ่นเองก็นิยมใช้ยาเจเนริกเหมือนกัน ตามข่าวในปี 2017 บอกว่ามีคนเลือกใช้ยาเจเนริกถึง 80% เลย

止痛藥

Photo by PRTIMES

ยาเจเนริกบางยี่ห้อมีปรับเปลี่ยนแบบเม็ดยาให้พวกเรากินง่ายขึ้นด้วย แต่คุณสมบัติและความปลอดภัยไม่เปลี่ยนแปลง เพราะงั้นไม่ต้องกังวลว่ายาราคาถูกแล้วจะไม่ได้ผลเหมือนยาแพง

เพียงแต่ส่วนผสมบางตัวที่ใช้ในการผลิตอาจไม่เหมือนกับยาต้นตำรับ ทำให้บางคนอาจแพ้ส่วนผสมในยาเจเนริก ทั้งๆ ที่กินยาต้นตำรับแล้วไม่แพ้ ถ้าอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้จากศูนย์ข้อมูลยา (เบอร์โทรศัพท์ 03-3506-9457) ขององค์การยาและอุปกรณ์การแพทย์ญี่ปุ่น (PDMA)

สะดวกได้ด้วยคู่มือยา ประหยัดได้ด้วยยาเจเนริก

เจ็บไข้ได้ป่วยใครๆ ก็ไม่อยากเจอ แต่ถ้าเป็นขึ้นมาแล้วการมีคู่มือยาประจำตัวและเลือกใช้ยาเจเนริกก็ช่วยทำให้การสื่อสารสะดวกขึ้นและประหยัดขึ้นด้วย ยังไงก็อ่านเอาไว้เป็นแนวทางเผื่อต้องไปหาหมอหรือซื้อยาในญี่ปุ่นกันนะ

อ้างอิง :
https://www.mhlw.go.jp/stf/seisakunitsuite/bunya/kenkou_iryou/iryou/kouhatu-iyaku/index.html
https://www.jga.gr.jp/general/about.html

Main image by Pixta

บทความโดย

Lin

เมื่อออกจากไต้หวันไปเมื่อ 17 ปีที่แล้ว ฉันได้มาถึงโตเกียวโดยบังเอิญ และเริ่มหลงรักกับเมืองใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงทุกระทบ ที่ยังคงสงบอยู่ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นไว้ระทังใจ ท่ามกลางการดูแลเด็ก ฉันชอบที่จะหาความผ่อนคลายที่สถานที่ที่ห่างจากสถานีประมาณ 15 นาทีเดิน กับความหนาแน่นของประชากรประมาณ 30% แม้จะมีความเลือกตั้ง แต่ที่ฉันต้องการค้นหาความอร่อยคือ และหลงรักในการทำอาหาร และการป้อนอาหารผู้อื่น และกล่าวขอตนเองว่าเป็นสมาชิกสมาคมของขนมชิปมันฝรั่ง
more
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ