【จังหวัดมิยาซากิ】เพลิดเพลินไปกับทั้งภูเขาและท้องทะเล! ออกสำรวจมนต์เสน่ห์แห่งธรรมชาติที่ยังไม่ถูกค้นพบ

ข้อแตกต่างระหว่างยาที่หมอจ่ายและยาที่ซื้อได้เองจากร้านขายยาญี่ปุ่น

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

เวลาเข้าไปในร้านขายยาญี่ปุ่นทีไรต้องตาลายกับยาสารพัดชนิดที่เรียงเป็นตับ แล้วยาพวกนี้ต่างจากยาที่หมอสั่งจ่ายยังไง ลองมาดูประเภทยาที่ซื้อได้เองของญี่ปุ่นกัน

บทความโดย

miho

東京

เกิดที่ไต้หวัน ปัจจุบันกำลังอาศัยอยู่ที่โตเกียว เป็นบรรณาธิการหลักของเว็บไซต์ของ MATCHA ที่เน้นเกี่ยวกับไฮลิฟสไตล์ทายว้าวสำหรับชาวไต้หวัน ในอดีต曾เป็นบรรณาธิการของนิตยสารแฟชั่นญี่ปุ่น ติวเข้าเรียนภาษาญี่ปุ่นในโรงเรียนมัธยมส่วนตัวในไทเป, เป็นล่ามสำหรับบริษัทไชเซโดะและบริษัทอื่นๆ จากญี่ปุ่นและไต้หวัน มีประสบการณ์ในการเขียนโฆษณาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงหน้าใน เพจ Facebook 'Tokyo beyond studying abroad' 東京、不只是留學(留学だけじゃなくて)จำนวนผู้ติดตามมีจำนวน 120,000 คน เป็นบล็อกเกอร์ที่มีผู้อ่านจากไต้หวัน ฮ่องกง และญี่ปุ่น โดยผู้อ่านในเพียง 70% ของสาวสมาชิก ฉันมีบทความที่พิจารณาเกี่ยวกับสถานที่และร้านค้าในอดีตมากกว่า 300 แห่ง เขียนเกี่ยวกับแนวโน้มล่าสุด สถานที่ที่ไม่ค่อยได้รับการนำเสนอ และวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม เผยแพร่หนังสือเล่มที่ 6 เกี่ยวกับญี่ปุ่นในไต้หวันและเอเชีย Facebook → https://www.facebook.com/filmmiho/ Instagram → @mihowang47

more

ความแตกต่างระหว่างยาที่หมอสั่งจ่ายกับยาที่ซื้อได้เอง

看診

Pictures courtesy of pixta

เคยรู้สึกไหมว่าเวลาเจ็บป่วยอะไรแล้วไปซื้อยามากินเอง กินเท่าไหร่อาการก็ไม่เห็นจะดีขึ้น แต่พอไปโรงพยาบาลให้หมอจ่ายยาให้ กินแป๊บเดียวอาการก็ดีขึ้นทันที ยาที่หมอให้มาคุณภาพดีกว่าเหรอ หรือปริมาณยามากกว่าที่ซื้อเองรึเปล่านะ

ยาที่หมอสั่งจ่ายนี้ในญี่ปุ่นจะเรียกรวมๆ ว่า Shohoyaku (処方薬) เป็นยาที่หมอเลือกจ่ายให้ตรงกับอาการเจ็บป่วยโดยเฉพาะ เช่นมีไข้ก็จ่ายยาลดไข้ มีอาการไอก็จ่ายยาแก้ไอ หรือพวกยาปฏิชีวนะ เวลาจะซื้อต้องมีใบสั่งยา (prescription : shohosen 処方箋) ด้วยเท่านั้น ไม่งั้นซื้อไม่ได้

感冒藥

Photo by Pixta

ต่างกับยาทั่วไปแบบที่เรียกว่า OTC (over-the-counter) ที่เราสามารถซื้อได้เองตามร้านขายยาโดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากหมอ เลยเน้นไปที่ความปลอดภัยต่อร่างกายแม้จะซื้อมากินเอง

ยาทั่วไปส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์ครอบคลุมหลายอาการ เช่น ยาแก้ปวดก็มีตัวยาออกฤทธิ์ทั้งแก้ปวดหัว เจ็บคอ ลดน้ำมูกไปในตัว มีผลข้างเคียงน้อย เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการ หรืออาการยังไม่รุนแรง

ยาทั่วไป 3 ประเภทของญี่ปุ่น

藥妝店

Photo by Pixta

ยาทั่วไปที่ซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยาในญี่ปุ่นยังแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. ผลิตภัณฑ์ยาประเภทที่ 1 (第1類医薬品) ตามกฎหมายจำเป็นต้องมีเภสัชกรให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาตอนซื้อด้วย และยาบางตัวอาจมีผลข้างเคียงรุนแรงกว่าประเภทอื่นด้านล่างนี้

2. ผลิตภัณฑ์ยาประเภทที่ 2 (第2類医薬品) เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ผู้ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายหรือเภสัชกรมีหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาตอนซื้อ

3. ผลิตภัณฑ์ยาประเภทที่ 3 (第3類医薬品) หลักๆ คือพวกวิตามิน ยาระบาย ฯลฯ สามารถซื้อได้เลยโดยไม่ต้องมีเภสัชกรให้คำแนะนำ

ผลิตภัณฑ์ยาบางชนิด เช่น ยาหยอดตา ถึงภายนอกจะดูเหมือนกัน แต่ส่วนประกอบและสารออกฤทธิ์ที่ต่างกันก็อาจทำให้ถูกจัดอยู่คนละประเภทได้ โดยจะมีเขียนกำกับบนบรรจุภัณฑ์ให้ และจะให้ดีควรใช้ผลิตภัณฑ์ยาตามคำแนะนำของเภสัชกรและข้อบ่งใช้ของยาแต่ละชนิดอย่างเคร่งครัด

เลือกซื้อยาให้ตรงกับอาการ และใช้อย่างปลอดภัย

ข้อสำคัญก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ยาใดๆ คือการเลือกใช้ให้เหมาะกับอาการ และใช้ตามข้อบ่งใช้ ก่อนซื้อยาอะไรมากินขอแนะนำให้สอบถามจากเภสัชกรตามร้ายขายยาก่อนเพื่อความแน่ใจ หรือถ้ากินแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นก็แนะนำให้ไปคลินิกหรือโรงพยาบาลเพื่อให้หมอตรวจเพื่อความแน่ใจ

อ้างอิง :
医療用医薬品と一般用医薬品の比較について
一般用医薬品のリスク区分
スイッチOTC薬の考え方

Main image by Pixta

บทความโดย

miho

東京

เกิดที่ไต้หวัน ปัจจุบันกำลังอาศัยอยู่ที่โตเกียว เป็นบรรณาธิการหลักของเว็บไซต์ของ MATCHA ที่เน้นเกี่ยวกับไฮลิฟสไตล์ทายว้าวสำหรับชาวไต้หวัน ในอดีต曾เป็นบรรณาธิการของนิตยสารแฟชั่นญี่ปุ่น ติวเข้าเรียนภาษาญี่ปุ่นในโรงเรียนมัธยมส่วนตัวในไทเป, เป็นล่ามสำหรับบริษัทไชเซโดะและบริษัทอื่นๆ จากญี่ปุ่นและไต้หวัน มีประสบการณ์ในการเขียนโฆษณาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงหน้าใน เพจ Facebook 'Tokyo beyond studying abroad' 東京、不只是留學(留学だけじゃなくて)จำนวนผู้ติดตามมีจำนวน 120,000 คน เป็นบล็อกเกอร์ที่มีผู้อ่านจากไต้หวัน ฮ่องกง และญี่ปุ่น โดยผู้อ่านในเพียง 70% ของสาวสมาชิก ฉันมีบทความที่พิจารณาเกี่ยวกับสถานที่และร้านค้าในอดีตมากกว่า 300 แห่ง เขียนเกี่ยวกับแนวโน้มล่าสุด สถานที่ที่ไม่ค่อยได้รับการนำเสนอ และวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม เผยแพร่หนังสือเล่มที่ 6 เกี่ยวกับญี่ปุ่นในไต้หวันและเอเชีย Facebook → https://www.facebook.com/filmmiho/ Instagram → @mihowang47

more
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ