เมืองมุราคามิ จังหวัดนีงาตะ: ทัวร์ชมตุ๊กตาฮินะในมาชิยะ พร้อมเพลิดเพลินกับกิจกรรม ที่เที่ยว และอาหารท้องถิ่น

【วัดอาซากุสะ・ศาลเจ้าอาซากุสะ】รู้หรือไม่? วิธีการจัดการดูแล「เครื่องราง」

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

ใครที่เคยมาญี่ปุ่นและเคยไปเที่ยวตามวัดหรือศาลเจ้า คิดว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก โอะมาโมริ หรือเครื่องราง ของญี่ปุ่น เรามารู้จักเครื่องรางกันให้มาขึ้นกันเถอะ

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :
いまさら聞けない 「お守り」の扱い方

「เครื่องราง(โอะมาโมริ)」ชนิดต่างๆ ทั้งเครื่องรางที่ช่วยปกป้องให้รอดพ้นจากภัยพิบัติต่างๆ เครื่องรางที่ช่วยคุ้มครองชีวิต ที่แต่ละวัดก็จะมีเครื่องรางแบบต่างๆแตกต่างกันไป โดยจะมีข้อควรพึ่งระวังในการบูชาเล่าเครื่องรางของขลังที่เชื่อกันว่าเป็นที่สิ่งสถิตของพระเจ้าหรือของที่ประดับไว้เพื่อความเป็นสิริมงคลมีพลังงานสิงสถิตอยู่ ซึ่งในวันนี้ จะได้การตอบคำถามข้อสงสัยต่างๆและวิธีการจัดการ ดูแลเครื่องรางและวิธีการทำลายเครื่องรางที่ไม่ใช้แล้ว มาให้เพื่อนๆได้ทำความเข้าใจกันค่ะ

ข้อสงสัยที่ ① การที่พกเครื่องรางหลายๆอย่างพร้อมกัน จะดีเหรอ?

いまさら聞けない 「お守り」の扱い方

photo by pixta

ผลของการพกเครื่องรางนั้นขึ้นอยู่กับจิตใจของคนที่พกว่าจะมีความเชื่อมากน้อยแค่ไหน ซึ่งว่ากันว่า ถึงแม้จะพกเครื่องรางที่มาจากต่างศาลเจ้าหรือต่างวัดก็ไม่ได้ส่งผลร้ายแก่ตัวผู้ที่พกแต่อย่างใด เนื่องจากพระเจ้าที่มีระดับจิตใจที่สูงส่งจะไม่ทำการขัดขวางการคุ้มครองในส่วนของกันและกัน เพราะฉะนั้น สบายใจได้แล้วนะคะสำหรับใครที่ชอบพกเครื่องรางชนิดต่างๆหลากหลายชนิดและหลากหลายที่มา ว่าไม่มีปัญหาใดๆค่ะ

แต่ทว่า ก็จะมีบางนิกายในศาสนาพุทธที่ไม่สามารถที่จะใช้ของร่วมกันนิกายอื่นๆได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่จะบูชาเครื่องรางที่วัดนั้น ควรที่จะถามจากผู้รู้ของทางวัดก่อนว่า「เครื่องรางชนิดนี้สามารถพกร่วมกันเครื่องรางที่จากศาลเจ้าได้หรือไม่ 」ซึ่งในจุดนี้ควรที่จะตรวจสอบกันก่อนจะดีที่สุดค่ะ

ข้อสงสัยที่ ② การทำลายเครื่องรางที่ไม่ใช้แล้วนั้น ควรจะทำอย่างไร?

いまさら聞けない 「お守り」の扱い方

photo by pixta

คิดว่ามีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับว่า หากเครื่องรางที่ได้บูชามานาน และเก่ามากแล้ว เกิดอยากที่ทำลายหรือเลิกใช้เครื่องรางนั้น จะต้องทำอย่างไร? ซึ่งหากที่ใครกำลังมีความคิดแบบนั้นอยู่ แนะนำให้นำไปที่วัดหรือศาลเจ้าใกล้ๆบ้านจะดีกว่าการพยายามทำลายด้วยที่บ้าน ที่วัดอาซากุสะนี้จะมี「สถานที่สำหรับสะกดป้ายเครื่องราง」ซึ่งชื่อที่ใช้เรียกสถานที่ที่รวบรวมป้ายเครื่องรางที่ไม่ใช้แล้ว ซึ่งทางด้านศาลเจ้าก็ได้มีกิจกรรมแบบเดียวกันคือมีการรับลงทะเบียนรับฝากเครื่องรางของขลังที่ทำกันตลอดทั้งปี หากในกรณีที่เป็นชาวต่างชาติ ก็สามารถที่จะส่งเครื่องรางหรือป้ายเครื่องรางที่เก่า ไม่ได้ใช้แล้วมาที่วัดหรือที่ศาลเจ้าได้ทางไปรษณีย์ค่ะ

แต่ว่า มีข้อควรระวังอยู่ข้อหนึ่ง นั้นก็คือ เครื่องรางที่บูชามาจากศาลเจ้าให้นำกลับไปที่ศาลเจ้า และหากบูชาเครื่องรางมาจากวัด ก็ให้นำเอากลับไปให้ที่วัดเป็นผู้จัดการให้ เครื่องรางนั้นจะพูดได้อีกอย่างนั้นก็คือเป็นตัวแทนของพระเจ้า เพราะฉะนั้นเวลาจะทำการใดๆควรที่จะกระทำด้วยจิตใจที่สำรวมและรำลึกถึงพระคุณของพระเจ้าด้วยค่ะ

Next Page ในหน้าถัดไป เราจะมาแนะนำวิธีการนับเครื่องรางที่ถูกต้องกันค่ะ!

Written by

94年生まれ。神戸出身、東京在住。アメリカからの帰国子女。旅、アート、食が大好きな大学生。

เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ