เมืองมุราคามิ จังหวัดนีงาตะ: ทัวร์ชมตุ๊กตาฮินะในมาชิยะ พร้อมเพลิดเพลินกับกิจกรรม ที่เที่ยว และอาหารท้องถิ่น

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับห้องน้ำญี่ปุ่น

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

บทความรวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่ควรรู้ไว้ก่อนใช้「ห้องน้ำ」ญี่ปุ่นซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากระหว่างท่องเที่ยว รูปร่าง วิธีการใช้โถส้วม กฎและมารยาทจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ จึงควรศึกษาให้ดีก่อนเพื่อให้เที่ยวได้อย่างสบายใจ

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :

ห้องน้ำเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นในชีวิตประจำวันหรือระหว่างการท่องเที่ยวก็ตาม

ห้องน้ำญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะรักษาความสะอาดเป็นอย่างดีเพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถใช้ได้อย่างสบายใจ
นอกจากนี้ โดยพื้นฐานแล้วทุกคนสามารถเข้าได้ฟรี โดยมีกระดาษทิชชู่ให้บริการด้วย

1. สถานที่ที่มีห้องน้ำ

ในญี่ปุ่นมีห้องน้ำให้บริการเกือบทุกหนแห่งที่ไปเยือน
ถึงขั้นบอกได้เลยว่ามีห้องน้ำอยู่ตามสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยว เช่น สนามบิน สถานีรถไฟ โรงแรม/ที่พัก ศูนย์การค้า สวนสาธารณะ และแหล่งท่องเที่ยวทุกแห่งแน่นอน
นอกจากนี้ เรายังสามารถเข้าใช้ห้องน้ำตามร้านสะดวกซื้อหรือซุปเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งได้ด้วย
แถมบางทีก็ยังมีห้องน้ำติดตั้งในตัวรถไฟหรือรถบัสทางไกลด้วยนะเออ...
※ เนื่องจากบางสถานที่ก็จำเป็นต้องขออนุญาตก่อนเข้าใช้ จึงขอแนะนำให้ขอก่อนเข้าใช้กันด้วยเนอะ

2. ป้ายนำทางไปห้องน้ำ

ในญี่ปุ่นมีคำศัพท์ที่แปลว่า ห้องน้ำ อยู่มากมาย โดยมีทั้งคำศัพท์ที่มีความหมายตรงๆและแบบอ้อมๆ

เช่น ในญี่ปุ่นคิดกันว่าการใช้คำศัพท์ที่แสดงความหมายอ้อมๆอย่าง「เคะโชชิสึ (ห้องแต่งหน้า)」หรือ「โอะเทะอะไร (ห้องล้างมือ)」ระหว่างทานอาหารจะดูสุภาพและดูดีมากกว่าการใช้คำศัพท์แสดงความหมายตรงๆอย่างคำว่า「ทอยเระ (ห้องน้ำ)」ดังนั้น เพื่อไม่ให้หลงหาห้องน้ำไม่เจอ ทุกคนก็ควรจะรู้ป้ายนำทางและคำศัพท์ให้หลากหลายไว้จะปลอดภัยกว่าเนอะ

ตัวอักษรที่หมายถึงห้องน้ำ

・お手洗い (โอะเทะอะไร)
・お手洗 (โอะเทะอะไร)
・御手洗 (โอะเทะอะไร)
・洗面所 (เซ็มเมนโจะ)
・化粧室 (เคะโชชิสึ)
・トイレ (ทอยเระ)
・Toilet
・Lavatory
・W.C
・RestRoom
・厠(คาวายะ)

3. ประเภทของห้องน้ำ

ในญี่ปุ่นมีห้องน้ำทั้งหมด 3 ประเภทใหญ่ๆ
นั่นก็คือ...
・ห้องน้ำแบบญี่ปุ่น
・ห้องน้ำแบบตะวันตก
・ห้องน้ำแบบมัลติฟังก์ชั่น (ห้องน้ำพิเศษสำหรับอำนวยความสะดวกคนพิการ, คนชรา, คนท้อง, คุณแม่กับเด็กอ่อน)
นั่นเอง!
ประเภทของห้องน้ำจะแตกต่างกันไปตามแต่ละสถานที่ แต่ส่วนใหญ่ตามแหล่งท่องเที่ยวหรืออาคารเก่าแก่มักจะเป็นแบบญี่ปุ่นมากกว่า แต่ในปัจจุบัน ห้องน้ำส่วนใหญ่ก็เริ่มปรับปรุงเป็นแบบตะวันตกกันแล้ว

ห้องน้ำแบบญี่ปุ่น

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับห้องน้ำญี่ปุ่น

Photo by Pixta

ห้องน้ำแบบญี่ปุ่น คือ ห้องน้ำที่เป็นส้วมแบบนั่งยอง
โดยเป็นห้องน้ำแบบที่ใช้กันในญี่ปุ่นมาตั้งแต่อดีต แต่ในปัจจุบันตามบ้านเรือนทั่วไปแทบจะไม่ใช้กันแล้ว
ตามที่ได้บอกไว้ก่อนหน้านี้ว่าในปัจจุบันยังคงใช้กันอยู่ตามสถานที่ท่องเที่ยว อาคารเก่าแก่ หรือห้องน้ำสาธารณะบางแห่ง
มาเรียนรู้วิธีการใช้ห้องน้ำในญี่ปุ่นที่ว่ากันว่าแสนสะอาดกันดีกว่า

ห้องน้ำแบบตะวันตก

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับห้องน้ำญี่ปุ่น

Photo by Pixta

เป็นห้องน้ำที่ใช้กันทั่วไปมากที่สุดในปัจจุบัน

ห้องน้ำแบบมัลติฟังก์ชั่น

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับห้องน้ำญี่ปุ่น

Photo by Pixta

เป็นห้องน้ำสุดกว้างขวางสำหรับบุคคลหลายแบบ เช่น ผู้พิการที่นั่งรถเข็น ผู้ที่ใช้ทวารเทียม หรือคุณแม่ที่พาเด็กทารกมาด้วย เป็นต้น
แน่นอนว่าบุคคลทั่วไปก็สามารถใช้ได้ แต่ถ้าเกิดเข้าพร้อมกับบุคคลในข้างต้นก็ควรสละให้ใช้ก่อน

4. ห้องน้ำตามโรงแรมที่พักและห้องรับแขก

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับห้องน้ำญี่ปุ่น

Photo by Pixta

ห้องน้ำและห้องอาบน้ำจะติดตั้งแยกจากกัน

ยูนิตบาธ (ห้องน้ำแบบรวมทุกอย่าง)

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับห้องน้ำญี่ปุ่น

Photo by Pixta

โถส้วม และอ่างล่างมือกับอ่างอาบน้ำจะติดตั้งไว้ในห้องเดียวกัน

※ ข้อควรระวังก่อนใช้ห้องอาบน้ำในโรงแรม

ห้องอาบน้ำในโรงแรมจะติดตั้งฝักบัวเอาไว้ก็จริง แต่เราสามารถใช้ได้เฉพาะในอ่างอาบน้ำเท่านั้น นอกจากนี้ ถ้าเกิดใช้ฝักบัวขณะเปิดประตูห้องอาบน้ำเอาไว้จะทำให้สัญญาณเตือนไฟไหม้ทำงานผิดพลาด จึงขอแนะนำให้ปิดประตูตอนใช้ฝักบัวกันด้วยเนอะ

ในกรณีที่มีผ้าม่านตรงอ่างอาบน้ำ ให้ปิดม่านขณะใช้ฝักบัวด้วย เพื่อไม่ให้น้ำกระเซ็นไปยังบริเวณโถส้วม

5. วิธีการชำระโถส้วม (วิธีกดโถส้วม)

ห้องน้ำในญี่ปุ่นจะมีวิธีการชำระแตกต่างกันขึ้นอยู่กับโถส้วมที่ติดตั้ง

ในกรณีที่เป็นโถส้วมแบบชักโครกที่มีถังน้ำอยู่ข้างหลัง เราสามารถชำระได้โดยการกดคันโยกด้านข้างถังน้ำ ส่วนโถส้วมแบบไม่มีถังน้ำด้านหลัง เช่น ห้องน้ำสาธารณะหรือห้องน้ำแบบญี่ปุ่น เราสามารถชำระได้โดยกดคันโยกด้านหลังโถ

นอกจากนี้ โถส้วมบางแห่งยังมีการชำระแบบกดปุ่ม/คันโยกบนผนัง, ใช้มือสัมผัสเซนเซอร์ หรือกดปุ่มชำระบนรีโมทควบคุม

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับห้องน้ำญี่ปุ่น

Photo by Pixta

และห้องน้ำแบบใหม่ล่าสุดบางรุ่นก็มีแบบชำระโดยอัตโนมัติเมื่อยืนขึ้นจากโถด้วยนะเออ...

6. ทิชชู่ห้องน้ำในญี่ปุ่น

ทิชชู่ห้องน้ำในญี่ปุ่นหลังใช้เสร็จแล้วสามารถทิ้งโถส้วมและกดลงไปพร้อมสิ่งสกปรกได้เลย

แต่วิธีกดลงไปพร้อมกันนั้นสามารถใช้ได้กับทิชชู่สำหรับทิ้งลงโถส้วมโดยเฉพาะเท่านั้น ส่วนผ้าอนามัยและสิ่งอื่นๆให้ทิ้งลงถังขยะที่วางไว้ในห้องน้ำ ไม่ทิ้งลงโถกันเนอะ เดี๋ยวส้วมจะตันเอา... 555

และหลังใช้เสร็จก็เช็คความสะอาดรอบโถส้วมให้ดีเพื่อให้คนต่อไปสามารถเข้ามาใช้ต่อได้อย่างสบายใจกันด้วยนะคะ

7. ฝารองนั่งแบบมีปุ่มชำระ

และสิ่งที่อยากให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนญี่ปุ่นได้มาใช้กันดูซักครั้งก็คือ ระบบชำระที่ติดตั้งไว้บนโถส้วมนั่นเอง ฝารองนั่งแบบมีปุ่มชำระจะมีระบบทำความร้อนให้ความอบอุ่นกับที่รองนั่งและระบบชำระล้างด้วยน้ำอุ่น

นอกจากนี้ยังมีระบบประหยัดไฟ ระบบให้ความอบอุ่นกับที่รองนั่งชั่วคราวเฉพาะตอนใช้งาน และระบบทำน้ำอุ่นด้วย

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับห้องน้ำญี่ปุ่น

Photo by Pixta

8. วิธีการใช้งานฝารองนั่งแบบมีปุ่มชำระ

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับห้องน้ำญี่ปุ่น

Photo by Pixta

ตอนใช้งานที่รองนั่งแบบมีปุ่มชำระ เราสามารถใช้งานปุ่มควบคุมที่อยู่ด้านข้างที่รองนั่งได้ด้วย
นอกจากนี้ ในกรณีที่ไม่มีปุ่มควบคุมด้านข้างที่รองนั่ง เราก็สามารถควบคุมด้วยรีโมทที่ติดอยู่บนกำแพงได้
ความหมายของแต่ละปุ่มก็ตามภาพด้านบนเล〜ย

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับห้องน้ำญี่ปุ่น

9. ระบบเลียนเสียงชักโครก

ในญี่ปุ่นมีระบบ「เลียนเสียงชักโครก」เพื่อกลบเสียงตอนขับถ่ายด้วยนะ
เมื่อระบบตรวจจับได้ว่ามีคนเข้าห้องน้ำมา โถส้วมก็จะส่งเสียงขึ้นมาโดยอัตโนมัติ บางรุ่นก็จะส่งเสียงออกมาเมื่อใช้มือสัมผัสหรือกดปุ่ม
เนื่องจากมันไม่เหมือนกับปุ่มชำระ ถ้าใครกดผิดไปก็ไม่ต้องตกใจ หาปุ่มชำระให้ดีแล้วกันเนอะ

10. ปุ่มสัญญาณฉุกเฉิน

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับห้องน้ำญี่ปุ่น

Photo by Pixta

โถส้วมญี่ปุ่นจะมีปุ่มสัญญาณฉุกเฉินติดอยู่ใกล้กับปุ่มชำระ

เนื่องจากเป็นปุ่มสำหรับผู้พิการหรือคนที่เกิดรู้สึกไม่ดีขึ้นมาตอนอยู่ในห้องน้ำ ยังไงเพื่อนๆก็ระวังให้ดีอย่าเผลอไปกดปุ่มที่เขียนว่า「呼出」นอกจากตอนเกิดเหตุฉุกเฉินเท่านั้นนะคะ

Written by

Hello, I'm Keisuke. living Asakusa Tokyo Japan. Love triathlon(Ironman), traveling, reading, eating and my job. I really really like Japan but I think Japan should be more kindly to traveler. https://www.facebook.com/keisukeyamada84

เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ