รับฤดูใบไม้ผลิด้วยเรื่องราวเบื้องหลัง “คานามาระมัตสึริ” เทศกาลสุดแปลกบูชาองคชาติในคาวาซากิ!

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

เทศกาลบูชาอวัยวะของผู้ชาย!? “เทศกาลคานามาระ” ที่สุดแปลกและเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นจัดขึ้นทุกเมษายนที่ศาลเจ้าคานายามะ เมืองคาวาซากิเป็นงานประจำฤดูใบไม้ผลิที่ทุกคนเข้าร่วมได้ เราจะมาแนะนำต้นกำเนิด เบื้องหลัง และไฮไลท์ของงานเทศกาลเทพแห่งเพศและช่างตีเหล็กกัน

บทความโดย

MATCHA-PR

Tokyo, Japan

บัญชีส่งเสริมการขายของ MATCHA สำหรับการโฆษณาองค์กรและรัฐบาลท้องถิ่น เรามุ่งมั่นที่จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านของเราอย่างสนุกสนาน

more

“คานามาระมัตสึริ” งานเทศกาลประจำฤดูใบไม้ผลิสุดแปลกที่จัดขึ้นภายในเมืองคาวาซากิ

“งานเทศกาลคานามาระ” (Kanamara Matsuri) ที่จัดขึ้นทุกเดือนเมษายนภายใน เมืองคาวาซากิ เป็นหนึ่งในงานเทศกาลประจำฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่นที่จัดขึ้นเพื่อขอพรเรื่อง มีบุตร ความปรองดองของสามีภรรยา และ การค้าเจริญรุ่งเรือง

ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา งานเทศกาลนี้ได้รับความสนใจอย่างล้มหลามทั้งในและต่างประเทศในฐานะที่เป็น “งานเทศกาลสุดแปลกที่บูชาองคชาติมงคล” นอกจากนี้ก็ยังเป็นที่ฮือฮาในฐานะที่เป็น งานอีเว้นท์เกี่ยวกับ LGBT ในญี่ปุ่นอีกด้วย

แต่ความจริงแล้ว “งานเทศกาลคานามาระ” เป็นงานเทศกาลศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นมาจากความต้องการอย่างแรงกล้าที่อยากจัด “งานเทศกาลที่ใคร ๆ ก็สามารถสนุกร่วมกันได้อย่างเท่าเทียมกัน” เดี๋ยวเรามาดูกันเลยดีกว่าค่ะว่าเรื่องราวเบื้องหลังและไฮไลท์ของงานเทศกาลนี้จะมีอะไรกันบ้าง ^^

“งานเทศกาลคานามาระ” ยอดนิยมในหมู่ผู้คนที่อยากมีลูก

川崎で春を迎えよう!男性器をまつる奇祭「かなまら祭」の背景に隠されたストーリーは?

เอื้อเฟื้อภาพโดย : ศาลเจ้าคานายามะ

“งานเทศกาลคานามาระ” จัดขึ้นที่ ศาลเจ้าคานายามะ (Kanayama Jinja) ซึ่งเป็นเคไดฉะ (*1) ของศาลเจ้าวากามิยะฮาจิมังงูภายในเมืองคาวาซากิ

โดยเป็นงานเทศกาลที่จัดขึ้นเพื่อบูชา คานายามะฮิโกะโนะคามิ (Kanayamahiko no kami) และ คานายามะฮิเมะโนะคามิ (Kanayamahime no kami) เทพเจ้าสามีภรรยาซึ่งได้รับการบูชาในฐานะที่เป็นเทพเจ้าผู้พิทักษ์ช่างตีเหล็กและเทพแห่งเพศ รวมถึงเพื่อขอพรให้มีลูกและให้สามีภรรยาครองรักกันอย่างปรองดองอีกด้วย

แต่ถึงอย่างนั้นก็บอกเลยว่าผู้คนที่เดินทางมาเข้าร่วม “งานเทศกาลคานามาระ” นั้นไม่ใช่แค่เหล่าสามีภรรยาที่อยากมีลูกเท่านั้น แต่มีผู้คนทุกเพศทุกวัยหลากหลายสัญชาติจากทุกมุมโลก รวมถึงกลุ่ม LGBT เดินทางมาเข้าร่วมงานมาก โดยมีผู้เข้าร่วมงานถึงประมาณ 3 หมื่นคนเป็นประจำทุกปีเลยทีเดียว

และสาเหตุที่เป็นอย่างนั้นก็เกี่ยวข้องกับเรื่องราวเบื้องหลังซึ่งเป็นต้นกำเนิดของงานเทศกาลนี้ด้วย

*1 : เคไดฉะ ...... ศาลเจ้าที่ถูกบูชาแยกจากศาลเจ้าหลัก

“งานเทศกาลคานามาระ” ที่เกิดขึ้นจากการอยากจัดงานเทศกาลที่ทุกคนสามารถสนุกร่วมกันได้อย่างเท่าเทียมกัน

川崎で春を迎えよう!男性器をまつる奇祭「かなまら祭」の背景に隠されたストーリーは?

ถ้าจะให้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าคานายามะจะต้องย้อนกลับไปถึง สมัยเอโดะ (1603 - 1868) กันเลยทีเดียว

ในสมัยก่อน เมืองคาวาซากิเคยเป็นเมืองที่พักบนถนนสายหลักขนาดใหญ่ซึ่งบริเวณโดยรอบมีเหล่าหญิงขายบริการี่เรียกว่า เมชิโมริอนนะ (*2) อาศัยอยู่มากมาย ว่ากันว่าผู้หญิงที่น่าสงสารเหล่านี้มาที่ศาลเจ้าคานายามะเพื่อขอพรให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยปัดเป่าความยากลำบากให้พวกเธอ

หลังจากช่วงสมัยใหม่ตอนต้นก็มีผู้คนที่ทุกข์ทรมานกับกามโรคต่างๆ เดินทางมาสักการะบูชากันที่ศาลเจ้าคานายามะในช่วงกลางดึกมากมาย ผู้เกี่ยวข้องกับศาลเจ้าคานายามะที่ไม่สามารถทนดูสภาพเหล่านี้ได้จึงเกิดความคิด อยากให้มีงานเทศกาลที่ใคร ๆ ก็สามารถสนุกร่วมกันได้อย่างเท่าเทียมกันในช่วงกลางวัน จนเกิดเป็น “งานเทศกาลคานามาระ” นี้ขึ้นมาในที่สุด

ดังนั้น “งานเทศกาลคานามาระ” นี้จึงเปิดให้ผู้คนทุกกลุ่มรวมถึงชาวต่างชาติและเพศทางเลือกสามารถสนุกกับขบวนพาเหรดแห่เกี้ยวได้อย่างเท่าเทียมกัน แถมความจริงแล้ว 60% ของผู้ร่วมงานมากกว่า 3 หมื่นคนนั้นเป็นชาวต่างชาติซะส่วนใหญ่อีกด้วย

นอกจากนี้ เมื่อก่อนภายในเมืองคาวาซากิก็ยังมีการจัด “งานเทศกาลจิเบตะ” ขึ้นในช่วงต้นเดือนเมษายนด้วยนะเออ... โดยเป็นงานอีเว้นท์ที่จัดขึ้นในฤดูกาลที่หน่อไม้แตกหน่อขึ้นมาจากพื้นดิน ผู้เข้าร่วมงานจะนั่งกินดื่มบนพื้นเพื่อรับพลังชีวิตจากหน่อไม้เหล่านั้น

“งานเทศกาลจิเบตะ” นี้ก็เป็นหนึ่งในต้นกำเนิดของ “งานเทศกาลคานามาระ” เช่นเดียวกัน

*2 : เมชิโมริอนนะ ...... โสเภณีที่ทำงานอยู่ภายในเมืองที่พักระหว่างเส้นทาง

ขบวนพาเหรด “งานเทศกาลคานามาระ” ที่มาพร้อมกับเกี้ยว 3 แบบ

川崎で春を迎えよう!男性器をまつる奇祭「かなまら祭」の背景に隠されたストーリーは?

เอื้อเฟื้อภาพโดย : ศาลเจ้าคานายามะ

ในวันงานเทศกาลเราสามารถสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ศาลเจ้า เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ภายในศาลเจ้า หรือว่าจะซื้อของฝากธีมอวัยวะที่ลับที่มีจำหน่ายตามร้านแผงลอยก็ได้เหมือนกัน

ภายใน พิพิธภัณฑ์ของศาลเจ้าคานายามะ เปิดให้ทุกคนได้ชมภาพวาด รูปแกะสลัก และข้อมูลเกี่ยวกับเทพเจ้าแห่งเพศจากทั่วโลกอย่างอิสระ เพียงแค่เข้าชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เราก็จะได้รู้จัก “คานามาระมัตสึริ” งานเทศกาลบูชาองคชาติ และยังได้รู้ว่ามีงานอีเว้นท์หรือเทศกาลต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องเพศอยู่ทั่วโลกเลยทีเดียว

ไฮไลท์ประจำงานเทศกาลนี้ก็จะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากขบวนพาเหรดที่เริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 12.00 น. เป็นต้นไปนั่นเอง โดยในงานนี้จะมีเกี้ยว 3 หลังที่ประดับวัตถุมงคลรูปเจ้าหนูของท่านชายปรากฏให้ได้ชมกันภายในงานด้วย

川崎で春を迎えよう!男性器をまつる奇祭「かなまら祭」の背景に隠されたストーリーは?

เอื้อเฟื้อภาพโดย : ศาลเจ้าคานายามะ

เกี้ยวที่ปรากฏตัวขึ้นเป็นหลังแรกคือ “ฟุนามิโกชิ” ที่ประดับวัตถุมงคลรูปองคชาติสีเข้มบนเกี้ยวที่มีหลังคา

川崎で春を迎えよう!男性器をまつる奇祭「かなまら祭」の背景に隠されたストーリーは?

เอื้อเฟื้อภาพโดย : ศาลเจ้าคานายามะ

ส่วนเกี้ยวหลังที่สองคือ “อลิซาเบธมิโกชิ” ที่ประดับวัตถุมงคลรูปองคชาติสีชมพูรูป แต่เดิมแล้วเป็นเกี้ยวที่บริจาคโดย “อลิซาเบธไคคัง” คลับแต่งหญิงในโตเกียว ในสมัยนั้นมีเฉพาะสมาชิกของอลิซาเบธไคคังเท่านั้นที่เป็นผู้รับหน้าที่แห่เกี้ยว

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะได้สมาชิกสมาคมเกี้ยวท้องถิ่นมาเป็นผู้แห่เกี้ยวแทน แต่ก็ยังคงอยู่ในคอนเส็ปต์ชายแต่งหญิงและหญิงแต่งชายเช่นเดิม

ส่วนเกี้ยวหลังสุดท้ายคือ “คานามาระโอมิโกชิ” ที่ประดับวัตถุมงคลไม้รูปองคชาติใต้หลังคาสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ โดยเป็นเกี้ยวหลังที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาเกี้ยวทั้ง 3 หลังเลยก็ว่าได้

บอกเลยว่าขบวนพาเหรดแห่เกี้ยวนี้เป็นอะไรที่คึกคักและยิ่งใหญ่สุด ๆ ยังไงก็ขอให้เพื่อน ๆ เข้าร่วมงานโดยรักษามารยาทกันด้วยเนอะ

ถึงแม้ว่าภายในงานจะมีจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย แต่ก็อย่าลืมว่างานนี้จัดขึ้นภายในย่านที่อยู่อาศัย จึงควรสนุกอย่างพอดีมีลิมิตกันนะคะ ^^

“งานเทศกาลคานามาระ” จัดขึ้นห่างจากสถานี Kawasaki-Daishi เพียงเดินเท้า 1 นาทีเท่านั้น!

川崎で春を迎えよう!男性器をまつる奇祭「かなまら祭」の背景に隠されたストーリーは?

สำหรับใครที่ต้องการเดินทางจากโตเกียวไปชม “งานเทศกาลคานามาระ” ก่อนอื่นให้มุ่งหน้าไปยังสถานี Shinagawa Station ก่อนแล้วเปลี่ยนขบวนเป็นสาย Keikyu Main Line ไปลงที่สถานี Keikyu Kawasaki Station ต่อมาก็เปลี่ยนรถไฟเป็นสาย Keikyu Daishi Line เพื่อมาลงที่สถานี Kawasaki-Daishi Station

งานเทศกาลนี้จัดขึ้นที่ศาลเจ้าคานายามะซึ่งตั้งอยู่ห่างจากสถานี Kawasaki-Daishi Station เพียง 1 นาทีเท่านั้น! เนื่องจากวันจัดงานเทศกาลถนนหนทางจะเนืองแน่นไปด้วยผู้คนมากมาย จึงบอกเลยว่าไม่มีหลงอย่างแน่นอน

“งานเทศกาลคานามาระ” ประจำปี 2018 นี้มีกำหนดการจัดงานขึ้นใน วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายนระหว่างเวลา 11.00 – 16.45 น.

เนื่องจากศาลเจ้าคานายามะตั้งอยู่ภายในย่านที่อยู่อาศัย ในวันงานเทศกาลจึงสามารถคาดเดาได้เลยว่าคนจะเยอะมาก ๆ ถ้าเป็นไปได้จึงควรมาจองจุดชมขบวนพาเหรดแห่เกี้ยวกันตั้งแต่ก่อนเที่ยงจะดีที่สุด

คำกล่าวที่ว่า “งานอีเว้นท์ที่ใคร ๆ ก็สามารถร่วมสนุกได้” นับเป็นจิตวิญญาณของ “งานเทศกาลคานามาระ” เลยก็ว่าได้ ยังไงก็ขอให้เพื่อน ๆ ทุกคนสนุกกับงานเทศกาลร่วมกับผู้เข้าร่วมคนอื่น ๆ กันอย่างรักษามารยาทและมีจิตสำนึกกันด้วยเนอะ! ^^

สำหรับใครที่อยากดื่มด่ำกับไฮไลท์อื่น ๆ ในคาวาซากิควบคู่ไปกับงานเทศกาลคานามาระก็อย่าลืมอ่านบทความ "แนะนำแหล่งท่องเที่ยวในคาวาซากิและอีเวนท์วันก่อนงานเทศกาลสุดแปลกบูชาองคชาติ "เทศกาล คานามาระ"!" กันด้วยเนอะ

บทความที่เกี่ยวข้องกับเมืองคาวาซากิ :

ตะลุย "คาวาซากิไดชิ" วัดที่มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมถึง3ล้านคน ภายใน 3 วันที่คาวาซากิกัน!
ทานแล้วแก้ชงได้!? ของฝาก 3 อย่าง จาก "คาวาซากิไดชิ นาคามิเซ-โดริ" คานากาว่า
เอาใจนักช็อป!!! กับ 7แหล่งช็อปปิ้งรอบๆ สถานีคาวาซากิ เดินทางสะดวกจากฮาเนดะ
เพลิดเพลินกับทิวทัศน์ของญี่ปุ่นในสมัยก่อนที่รอบล้อมด้วยธรรมชาติ "Nihon Minka-en"
Halloween In Kawasaki - Enjoy The Parade And Discover Local Culture (ภาษาอังกฤษ)

Supported by Kawasaki City

บทความโดย

MATCHA-PR

Tokyo, Japan

บัญชีส่งเสริมการขายของ MATCHA สำหรับการโฆษณาองค์กรและรัฐบาลท้องถิ่น เรามุ่งมั่นที่จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านของเราอย่างสนุกสนาน

more
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง