【จังหวัดมิยาซากิ】เพลิดเพลินไปกับทั้งภูเขาและท้องทะเล! ออกสำรวจมนต์เสน่ห์แห่งธรรมชาติที่ยังไม่ถูกค้นพบ

ยังไม่สายเกินไปใช่มั๊ยที่จะถามเกี่ยวกับวิธีการถือตะเกียบกับมารยาทพื้นฐาน 5 ข้อ

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

ที่ญี่ปุ่นนั้นส่วนใหญ่จะใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหาร ตอนสิ้นปี 2013 อาหารญี่ปุ่นได้ถูกลงทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก หลังจากนั้นอาหารญี่ปุ่นได้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้นในโลก สำหรับท่านที่ยังไม่เคยได้มาญี่ปุ่น คิดว่าคงเคยเ

บทความโดย

A Japanese girl who loves Japanese Rock music especially L'Arc-en-Ciel and VAMPS! L'Arc-en-Ciel、VAMPSをこよなく愛する20代です。全国どこでもライブを見に飛び回ってます。出身は山口県下関市です。 日本のロックミュージックと山口の知られていない魅力を中心に、様々な魅力を世界に発信していきたいと思います!

more
箸 食べる

ที่ญี่ปุ่นนั้นส่วนใหญ่จะใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหาร ตอนสิ้นปี 2013 อาหารญี่ปุ่นได้ถูกลงทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก หลังจากนั้นอาหารญี่ปุ่นได้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้นในโลก สำหรับท่านที่ยังไม่เคยได้มาญี่ปุ่น คิดว่าคงเคยเห็นการใช้ตะเกียบในร้านอาหารญี่ปุ่นมาบ้างแล้วซินะ?

มีมารยาทบนโต๊ะอาหารเช่นเดียวกับอาหารฝรั่งเศส และการใช้ตะเกียบนั้นก็มีมารยาทด้วย แต่มารยาทการใช้ตะเกียบนั้น ถ้าไม่มีคนรู้จักที่เป็นคนญี่ปุ่นแล้วละก็ คิดว่าโอกาสรู้คงไม่มีซินะ

ที่นี่ในครั้งนี้ ถ้าคุณชอบอาหารญี่ปุ่น จะขอแนะนำมารยาทพื้นฐานขั้นต่ำที่คุณควรรู้ให้ทราบกัน

ตรวจสอบการถือตะเกียบที่ถูกต้องกัน

ก่อนอื่น ตรวจสอบการถือตะเกียบที่ถูกต้องกัน

วิธีการถือที่ถูกต้อง

正しい箸の持ち方

ตะเกียบด้านบนนั้น ให้ถือโดยให้อยู่ระหว่างนิ้วชี้และนิ้วกลาง ส่วนตะเกียบด้านล่างนั้นให้รักษาความมั่นคงด้วยฐานของนิ้วหัวแม่มือและนิ้วนาง

วิธีถือที่ผิด① กำตะเกียบ

hashi3

การถือแบบนี้ถือว่า NG

มันถูกเรียกจากรูปร่างที่มือทำเป็นรูป “กำปั้น” ซึ่งเป็นการใช้ตะเกียบอย่างที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน และนั่นคือการถือที่ไม่ถูกต้อง

วิธีถือที่ผิด② กากบาทตะเกียบ

hashi4

วิธีการถือแบบตรงกลางตะเกียบเป็นกากบาท สามารถหยิบจับอาหารได้ แต่เป็นการถือที่ไม่ถูกต้อง
ข้อเสียคือไม่สามารถหยิบจับของที่มีขนาดเล็กได้

เอาละ วิธีการถือตะเกียบที่ถูกต้องนั้น ต้องทำอย่างไรกัน?

ขั้นตอนการถือตะเกียบให้ถูกต้อง

จากตรงนี้ จะอธิบายการแบ่งขั้นตอนลำดับการใช้ตะเกียบให้ถูกต้อง

ขั้นตอน① จับตะเกียบเหมือนจับปากกา

箸 一本

ก่อนอื่น ให้จับตะเกียบ 1 แท่งเหมือนจับดินสอหรือปากกา ถือให้ปลายยาวออกมา

ขั้นตอน② สอดตะเกียบแท่งที่ 2

hashi13

ต่อไป ใช้ตะเกียบแท่งที่ 2 สอดเข้าไประหว่างตะเกียบแท่งที่ 1 กับฐานของหัวแม่มือ และนี่ก็คือการถือแบบพื้นฐาน

ขั้นตอน③ สำเร็จเรียบร้อย

 

และนี่ก็เป็นการถือตะเกียบที่ถูกต้องแล้ว

ตะเกียบด้านบนนั้น จับด้วยนิ้วชี้และนิ้วกลาง ตะเกียบด้านล่างนั้นรักษาความมั่นคงด้วยฐานของนิ้วหัวแม่มือและนิ้วนาง โดยรักษาความมั่นคงของตะเกียบด้านล่างไม่ให้ขยับเขยื้อน และใช้ตะเกียบด้านบนเท่านั้นหนีบจับของ

ทีแรกคุณอาจรู้สึกแปลกๆก็ได้ แต่เมื่อใช้บ่อยๆจะรู้สึกคุ้นเคยไปเอง จนกว่าจะคุ้นเคย ให้ใช้วิธีการสอดตะเกียบแท่งที่ 2 ผ่านเข้าด้านหลังและถือ ซึ่งเป็นวิธีที่แน่นอน และเมื่อชินแล้ว คุณจะสามารถสร้างรูปแบบที่ถูกต้องด้วยมือข้างเดียวได้ในขณะที่คุณไม่รู้ตัว

เมื่อจับตรงส่วนปลายตะเกียบ(ส่วนที่เรียว)ใกล้เกินไป ระยะห่างของอาหารกับมือจะสั้นลง อาจจะทำให้ปลายนิ้วสัมผัสได้ เพราะมีความไม่ถูกหลักสุขอนามัยด้วย จึงควรระวัง

รู้จักมารยาทของการใช้ตะเกียบ

จากตรงนี้จะขอแนะนำเกี่ยวกับมารยาทของการใช้ตะเกียบ เพื่อไม่ให้แสดงภาพที่ไม่ดีเกี่ยวกับความรู้สึกที่ไม่พึงประสงค์และความสกปรก ต่อผู้ที่คุณร่วมรับประทานด้วย

จิ้มตะเกียบ

hashi7

เป็นการกล่าวถึงการกระทำที่ใช้ตะเกียบจิ้มอาหารเหมือนหอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อของที่กลมและคีบยากเช่นเผือกออกมาแล้ว คงอยากจะทำแบบนั้นซินะ

ที่ญี่ปุ่นนั้น การกระทำที่ใช้ตะเกียบเจาะเข้าไปในอาหารนั้น ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องที่งดงาม นอกจากนี้ถ้าจิ้มอย่างแรงแล้ว อาจมีโอกาสที่อาหารจะกระเด็นออกมาข้างนอกจานได้ อาหารเมื่อสัมผัสกับโต๊ะแล้วจะไม่ถูกหลักอนามัย ตามที่ได้มีการคิดเช่นนั้น

ดึงด้วยตะเกียบ

hashi8

เป็นการดึงภาชนะเข้ามาใกล้ด้วยตะเกียบ การใช้ตะเกียบดึงภาชนะเข้ามานั้นสะดวกสบายก็จริง แต่เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณต่ออาหาร ควรใช้มือดึงเข้ามาใกล้กันเถอะ

พาดตะเกียบ

hashi9

การที่วางตะเกียบไว้ด้านข้างของจานหรือภาชนะ จะเรียกว่าการพาดตะเกียบ การกระทำเช่นนี้มีความหมายว่า “เสร็จสิ้นการรับประทาน” ด้วย ระหว่างที่รับประทานอาหาร ถ้าพาดตะเกียบเช่นนี้ จะทำให้ผู้ร่วมรับประทานคิดว่ารสชาติของอาหารไม่ดีได้

จะว่าไปแล้ว ขึ้นอยู่กับร้านอาหารด้วย อาจมีกรณีที่ไม่ได้เตรียม ที่วางตะเกียบ ไว้ให้

hashi10

ในกรณีนี้ ให้วางปลายตะเกียบเท่านั้นบนจาน และวางเอียงแบบนี้

เลียตะเกียบ

แถบคันไซแถวโอซาก้าหรือโตเกียวนั้น จะเรียกการเลียว่า “เนะบุรุ” กล่าวอีกนัยหนึ่งเนะบุริฮะชิคือ “การเลียตะเกียบ” นั่นเอง นั่นคือการเลียตะเกียบด้วยปากโดยที่ยังไม่ได้ใช้ เป็นพฤติกรรมการใช้ปากเลียอาหารที่ติดอยู่กับตะเกียบ

ยื่นด้วยตะเกียบ

拾い箸

เป็นการกล่าวถึงการที่ตัวเองกับฝ่ายตรงข้าม ยื่นอาหารให้แก่กันและกันด้วยตะเกียบ ในประเทศญี่ปุ่นนั้นถือว่า เป็นการเก็บกระดูกของคนตาย หลังจากที่เผาศพโดยการใช้ตะเกียบเฉพาะตัวเอง ซึ่งเป็นการกระทำที่คล้ายกัน และจะหลีกเลี่ยงที่จะทำที่โต๊ะอาหาร

กรณีที่ต้องการยื่นอาหารให้ฝ่ายตรงข้ามนั้น ให้วางอาหารบนขอบของจาน และให้ฝ่ายตรงข้ามนั้นหยิบไปกัน

พอจะให้ประโยชน์กับคุณหรือไม่? มีคำพังเพยที่ว่า “เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม” ถ้าทำตามกฏของการรับประทานของประเทศหรือพื้นที่นั้นแล้ว จะสามารถเพลิดเพลินกับบรรยากาศของประเทศนั้นๆได้อีกระดับหนึ่งด้วยใช่หรือไม่

การใช้ตะเกียบนั้น คนญี่ปุ่นด้วย ครั้งแรกก็รู้สึกลำบาก ถ้าคุณสนใจกับการใช้ตะเกียบเล็กๆน้อยๆแล้ว คุณจะสามารถที่จะสะดวกสบายกับประสบการณ์อาหารญี่ปุ่นได้ซึ่งกันและกัน!

ถ้าต้องการซื้อตะเกียบโปรดคลิกที่นี่!:ตะเกียบกลมและที่วางตะเกียบของต้นแอปเปิ้ล(ชุด 2 คู่)

บทความโดย

Ai Yoneda

A Japanese girl who loves Japanese Rock music especially L'Arc-en-Ciel and VAMPS! L'Arc-en-Ciel、VAMPSをこよなく愛する20代です。全国どこでもライブを見に飛び回ってます。出身は山口県下関市です。 日本のロックミュージックと山口の知られていない魅力を中心に、様々な魅力を世界に発信していきたいと思います!

more
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ