Unseen Japan สัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งฤดูหนาวของเมืองมัตสึโมโตะ 2 วัน 1 คืน

เปิดไทม์แคปซูลกลางมหานครโตเกียว ย้อนเวลากลับไปสมัยโชวะ! ที่ Seiko Lodge ในย่านโอกิคุโบะ (Ogikubo)

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

เดินจากทางออกทิศใต้ของสถานีโอกิคุโบะบนเส้นทางรถไฟสาย JR Chuo ไปราว 6 - 7 นาที ก็จะพบกับ Seiko Lodge ที่เงียบสงบในเขตที่อยู่อาศัย ตัวอาคารมีเอกลักษณ์จนหลายคนต้องหยุดมอง บทความนี้ขอแนะนำอาคารเก่าแก่กว่า 100 ปีหลังนี้ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกชาติด้านวัฒนธรรมที่มีรูปร่างของญี่ปุ่น

บทความโดย

มาจากเมืองไทเปไต้หวัน ทำงานด้านอินบาวน์ที่ภาคเหนือของจังหวัดเกียวโตและเป็นบล็อกเกอร์ที่เผยแพร่ข้อมูลท่องเที่ยวญี่ปุ่น MATCHA เข้าร่วมในเดือนตุลาคม 2019 งานอดิเรกของฉันคือการเดินทาง ชมรถไฟ การตระเวนคาเฟ่และขนมหวานที่มีสไตล์ การรวบรวมพระพุทธรูป ชมมิวสิคัลและถ่ายรูป เป็นงานอดิเรกที่หลากหลายจนฉันเองก็รู้สึกประหลาดใจ
more

Seiko Lodge (เซโคลอดจ์) ที่พักเก่าแก่ 100 ปี

西郊ロッヂング

Seiko Lodge (อาคารใหม่)

Seikou ที่พักซึ่งเปิดให้บริการในปี 1916 (ปีไทโชที่ 5) ในย่านฮงโกะ (Hongo) เขตบุงเกียว (Bunkyo) โตเกียว (Tokyo)

อาคารถูกทำลายในเหตุการณ์ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่คันโตในปี 1923 (ปีไทโชที่ 12) จากนั้น ในปี 1931 (ปีโชวะที่ 6) อาคารหลัก (ปัจจุบันคือ Ryokan Seiko Main Building) ได้ย้ายมาที่ย่านโอกิคุโบะ

และได้สร้างอาคารใหม่ (ปัจจุบันคือ Seiko Lodge) ที่เป็นส่วนต่อขยายในปี 1938 (ปีโชวะที่ 13) ที่มีบรรยากาศทันสมัยไม่เหมือนใคร

【荻窪】昭和の東京のタイムカプセルを開ける「旅館 西郊」

คุณฮิรามะ โยชิทามิ เจ้าของรุ่นที่ 3 กล่าวว่า "สำหรับผม อาคารหลังนี้มีความลึกลับซ่อนอยู่"

ทั้งอาคารหลักและอาคารใหม่เป็นอาคารไม้ผสมปูน ภายนอกอาคารใหม่ยังดูโดดเด่นน่าประทับใจด้วยโดมสีบรอนซ์บนหลังคาและอาคารทรงโค้ง ที่ออกแบบโดยคุณปู่ของคุณฮิรามะ ซึ่งเคยเป็นวิศวกรในกรมช่างของสำนักพระราชวัง

ทั้งอาคารหลักและอาคารใหม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกชาติด้านวัฒนธรรมที่มีรูปร่างของญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายน 2009 (ปีเฮเซที่ 21)

ทำไมถึงย้ายมาที่ย่านโอกิคุโบะ?

荻窪駅

สถานี JR โอกิคุโบะ (JR Ogikubo) Picture courtesy of pixta
คุณปู่ของคุณฮิรามะซึ่งเป็นเจ้าของรุ่นแรกของ Seiko Lodge คือผู้ที่มีส่วนร่วมในการก่อสร้าง "พระตำหนักฮายามะ (Hayama Imperial Villa)" สถานที่ประทับในโอกาสที่พระราชวงศ์ญี่ปุ่นแปรพระราชฐาน ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองฮายามะ (Hayama) จังหวัดคานากาวะ (Kanagawa) ในเวลานั้น ชาวฮายามะได้ให้การช่วยเหลือคุณปู่เป็นอย่างดี

หลังจากนั้น เมื่อคุณปู่ได้คบหาสมาคมกับชาวโอกิคุโบะ ก็รู้สึกว่าชาวเมืองของที่นี่มีบุคลิกคล้ายกับชาวฮายามะ จึงเลือกย้ายมาที่ย่านโอกิคุโบะ

ในยุคนั้น ศูนย์กลางโตเกียวอยู่บริเวณทางตะวันออกของอาซากุสะ ส่วนชินจูกุและอิเคะบุคุโระยังไม่ค่อยคึกคักมากนัก ส่วนย่านโอกิคุโบะเป็นย่านบ้านพักตากอากาศของชนชั้นสูงอย่างนักเขียน นักการเมือง และแพทย์

【荻窪】昭和の東京のタイムカプセルを開ける「旅館 西郊」

Ryokan Seiko Main Building (อาคารหลักของเรียวกังเซโค)

Seiko Lodge ที่พักสไตล์ตะวันตกซึ่งหายากในญี่ปุ่นสมัยนั้น เป็นระบบห้องพักส่วนตัว ภายในมีเตียงและตู้เสื้อผ้าในตัว รวมถึงโทรศัพท์ หิ้งเหนือเตาผิงและเครื่องทำความร้อนแบบใช้แก๊ส การคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวและความสะดวกสบายของผู้เข้าพักนี้ถือเป็นการปฏิวัติครั้งสำคัญของวงการโรงแรมที่พักในสมัยนั้น

แต่การเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ความต้องการห้องพักสไตล์ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการปรับปรุงอาคารหลักให้เป็นที่พักสไตล์ญี่ปุ่น และกลายเป็น Ryokan Seiko Main Building ที่ดำเนินกิจการมาจนถึงปัจจุบัน

อาคารหลังใหม่นี้ได้รับการปรับปรุงใหม่ในปี 2001 กลายเป็น Seiko Lodge อพาร์ตเมนต์ย้อนยุค

“ผมไม่เคยคิดที่จะทุบทำลายแล้วสร้างใหม่”

【荻窪】昭和の東京のタイムカプセルを開ける「旅館 西郊」

คุณฮิรามะ

Seiko Lodge เดินทางมาได้ง่ายๆ สามารถเดินจากสถานีโอกิคุโบะ (Ogikubo) มาถึงได้เพียงแค่ 6 - 7 นาที

ดังนั้น ในช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่ของญี่ปุ่น (ราวปี 1986 - 1990) นักพัฒนาที่ดินและนักธุรกิจจึงติดต่อมาเกือบทุกวันว่า "ทำไมไม่ทุบสวนทำเป็นโรงแรมธุรกิล่ะ" "ถ้ารื้ออาคารสร้างเป็นแมนชั่นจะเก็บค่าเช่าได้มากขึ้น"

แต่คุณฮิรามะกล่าวว่า "เราไม่เคยคิดทุบแล้วสร้างอาคารใหม่ ดังนั้น เราจึงอยู่ที่นี่มาถึงทุกวันนี้ได้!"

เมื่อผู้เขียนได้ฟังก็ประทับใจในความคิดของคุณฮิรามะที่ไม่สนใจในผลประโยชน์ตรงหน้า และรู้สึกขอบคุณอย่างสุดซึ้งที่ดูแลรักษาทรัพย์สมบัติทางวัฒนธรรมนี้ไว้

ก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 มีผู้คนจากทั้งในและต่างประเทศมากมายมาพักที่ Ryokan Seiko Main Building นี้ แม้หลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็มีหนุ่มสาวชาวโตเกียวที่รักในบรรยากาศย้อนยุคมาพักที่นี่และได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่แตกต่างไปจากชีวิตประจำวันทั่วไปในมหานครโตเกียว

Ryokan Seiko ที่ยังคงบรรยากาศในอดีต

【荻窪】昭和の東京のタイムカプセルを開ける「旅館 西郊」

ก่อนอื่น เรามาเข้าไปที่ Ryokan Seiko Main Building กันก่อน

เมื่อย่างเท้าผ่านประตูหน้าเข้าไป เราจะรู้สึกเหมือนได้เดินทางย้อนเวลากลับไปในสมัยโชวะ ที่นี่คุณฮิรามะและภรรยาจะมาต้อนรับแขกที่มาพัก บรรยากาศที่อบอุ่นและเป็นกันเองนี้ทำให้ผู้เขียนรู้สึกลืมไปชั่วขณะว่าอยู่กลางมหานครโตเกียว

西郊庭園

ด้านในมีสวนที่กว้างขวาง สองข้างของทางเดินมีดอกฟูจิ ส่วนตรงกลางสวนมีต้นซากุระชิดาเระ (ต้นซากุระพันธุ์กิ่งย้อย)

นอกจากนี้ ยังมีดอกไม้ตามฤดูกาลมากมาย ซึ่งเราสามารถสัมผัสถึงความรักในสวนแห่งนี้ของคุณฮิรามะและภรรยาได้

日本旅館

บนชั้น 2 อบอวลไปด้วยบรรยากาศสไตล์ญี่ปุ่นแบบสุดๆ ซึ่งปัจจุบันเราจะเห็นเรียวกังเก่าแก่สไตล์นี้ในญี่ปุ่นได้ไม่มากนัก

【荻窪】昭和の東京のタイムカプセルを開ける「旅館 西郊」

ห้องพักแบบเดี่ยวจะมีโต๊ะเตี้ย เก้าอี้ไม่มีขาสำหรับนั่งบนพื้น ฟูก และที่นอนจัดวางไว้

สมัยก่อนนักเขียนชื่อดังชาวญี่ปุ่นมักมาเก็บตัวในเรียวกังแบบนี้และสร้างสรรค์งานเขียนต่าง ๆ แม้ตัวผู้เขียนจะไม่ใช่นักเขียนชื่อดัง แต่ก็ใฝ่ฝันที่จะทำงานทางไกลในเรียวกันแบบนี้สักครั้งเช่นกัน

和室

ห้องพักแบบทวินแต่ละห้องมีแปลนห้องต่างกัน แต่ยังคบอบอวลไปด้วยบรรยากาศสไตล์ญี่ปุ่น แม้ตัวอาคารดูเก่าแก่ แต่มีการทำสะอาดและจัดระเบียบข้าวของให้เรียบร้อยอยู่เสมอ

天井

เราจะมองเห็นความขี้เล่นของผู้ออกแบบอาคารในทุกซอกทุกมุมของห้องพัก อย่างบนเพดานก็เป็นงานฝีมือที่ทำเลียนแบบท้องเรือญี่ปุ่น ดังนั้น แค่นอนมองเพดานก็ไม่รู้สึกเบื่อ

Seiko Lodge (อาคารใหม่) ที่คงรูปลักษณ์ดั้งเดิมไว้

新館

นี่คือ Seiko Lodge อาคารใหม่ ซึ่งปัจจุบันเป็นอพาร์ตเมนต์ แม้ในสายตาคนรุ่นใหม่ความทันสมัยก็ยังไม่จางหายไป ดังนั้น จึงพาเพื่อนมาพักได้อย่างภาคภูมิใจ ไม่ขายหน้าแน่นอน

แม้ "อาคารใหม่" สร้างขึ้นในต้นสมัยโชวะ แต่เนื่องจากเป็นการออกแบบอาคารที่แปลกใหม่ในสมัยนั้น จึงได้รับความนิยมและกลายเป็นผู้ปลุกกระแสความนิยมห้องพักสไตล์ตะวันตก

【荻窪】昭和の東京のタイムカプセルを開ける「旅館 西郊」

คุณฮิรามะยิ้มและกล่าวว่า “เพราะที่นี่อยู่ใกล้สถานีรถไฟและมีสภาพแวดล้อมดีมากๆ ผมจึงคิดว่าค่าเช่าที่นี่ไม่แพงนัก” แต่น่าเสียดาย ช่วงที่ผู้เขียนไปห้องพักเต็มหมดแล้ว

3 สิ่งของย้อนยุคชวนคิดถึงที่พบเห็นได้ใน Seiko

การตกแต่งภายในของ Seiko ก็น่าประทับใจไม่แพ้กัน

1. โทรศัพท์แบบหมุน: ใช้กันเป็นไหมเอ่ย?

ダイヤル式電話

ภาพบนเป็นโทรศัพท์แบบหมุนที่ใช้กันทั่วไปในญี่ปุ่นสมัยโชวะ หากต้องการโทรหมายเลขใด ให้สอดนิ้วเข้าไปในช่องหมายเลขนั้น แล้วหมุนแผ่นดิสก์ตามเข็มนาฬิกา

ในยุคสมัยที่ใครๆ ต่างก็มีสมาร์ทโฟนและหลายๆ บ้านไม่ใช้โทรศัพท์บ้านกันแล้ว การได้เห็นโทรศัพท์รุ่นเก่าแบบนี้จึงน่าดีใจและประทับใจมาก คนหนุ่มสาวในยุคนี้ส่วนใหญ่น่าจะไม่รู้วิธีใช้โทรศัพท์แบบนี้กันแล้ว

2. ทีวีรุ่นเก่าและตู้เซฟสไตล์เท่ๆ

【荻窪】昭和の東京のタイムカプセルを開ける「旅館 西郊」

ปัจจุบัน มีทีวีจอแอลซีดีใช้กันทั่วไป แต่ทีวีรุ่นเก่าใน Ryokan Saigo ยังใช้งานได้ดีอยู่ ส่วนตู้เซฟที่อยู่ใต้ทีวีก็มีอายุการใช้งานมายาวนานเช่นกัน

3. ไดร์เป่าผมสไตล์ย้อนยุค

ドライヤー

ปัจจุบันมีไดร์เป่าผมมากมายหลากหลายแบบ แต่ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า ไดร์เป่าสีเขียวใน Ryokan Seiko เป็นของยุคสมัยไหนก้นแน่ แต่รูปทรงดูน่ารักมาก!

แวะมาสัมผัส "ญี่ปุ่นสไตล์โบราณ" ที่ยังเหลืออยู่ในมหานครโตเกียวกัน

บทความนี้ได้นำเสนอ Ryokan Seiko ย้อนยุค แม้ผู้เขียนจะไม่ค่อยรู้เรื่องราวในสมัยโชวะละเอียดมากนัก แต่รู้สึกประทับใจมากที่ได้หวนรำลึกถึงอดีต และได้รับประสบการณ์ใหม่ที่น่าตื่นเต้นด้วย

ปัจจุบัน กระแสย้อนยุคกำลังกลับมาเป็นที่นิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ หากมาญี่ปุ่นครั้งต่อไป ลองแวะมาสัมผัสเสน่ห์บรรยากาศ "ญี่ปุ่นสไตล์โบราณ" ที่ยังหลงเหลืออยู่ในเมืองมหานครแห่งนี้กันนะ

In cooperation with Ryokan Seiko

บทความโดย

Jacky Chen

มาจากเมืองไทเปไต้หวัน ทำงานด้านอินบาวน์ที่ภาคเหนือของจังหวัดเกียวโตและเป็นบล็อกเกอร์ที่เผยแพร่ข้อมูลท่องเที่ยวญี่ปุ่น MATCHA เข้าร่วมในเดือนตุลาคม 2019 งานอดิเรกของฉันคือการเดินทาง ชมรถไฟ การตระเวนคาเฟ่และขนมหวานที่มีสไตล์ การรวบรวมพระพุทธรูป ชมมิวสิคัลและถ่ายรูป เป็นงานอดิเรกที่หลากหลายจนฉันเองก็รู้สึกประหลาดใจ
more
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ