Start planning your trip
รู้หรือยัง! 「วิธีกินชาบูชาบู」
「ชาบูชาบู」อาหารญี่ปุ่นยอดฮิต ชาบูชาบูคืออะไร? แล้วกินยังไง? เราจะอธิบายว่าชาบูชาบูคืออะไร แล้วกินอย่างไร? เพื่อที่เวลามาญี่ปุ่นแล้ว 「อยากกิน」จะได้ไม่ลำบาก
「ชาบูชาบู」เป็นอาหารที่แชร์ร่วมกันกับครอบครัวหรือเพื่อนฝูง เปรียบเสมือนตัวแทนของอาหารญี่ปุ่นชนิดหม้อไฟ (อาหารร้อน ๆ ที่ต้มกินในหม้อ)วิธีการกินก็คือ นำเนื้อหั่นบางลงไปแกว่งในน้ำซุปที่ตั้งไฟต้มไว้ หลังจากนั้นเอามาจิ้มน้ำจิ้มกิน
วัตถุดิบหลักมีหลากหลาย
เนื้อสัตว์ที่จะนำไปใส่ใน「ชาบูชาบู」ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นเนื้อวัว แต่ในปัจจุบันก็มีการนำเนื้อหมู, เนื้อไก่ หรือนอกจากนี้ยังมีเนื้อปลาต่าง ๆ, ปลาหมึกยักษ์ หรือปูใส่ลงไปโดยทำให้เป็นซุปปลา
Photo by pixta
และยังมีวัตถุดิบหลักที่นิยมต้มร่วมกันเป็นผัก, เห็ดและเต้าหู้อีก เช่น ต้นหอมญี่ปุ่น, ผักกาดขาว, หัวไชเท้า, แครอท, ผักชุนกิคุ, เห็ดหอม, เห็ดเข็มทอง
Photo by pixta
ชื่ออาหารที่เรียกทั่วไปก็คือ「ชาบูชาบู」แต่บางครั้งก็มีการเพิ่มหรือดัดแปลงชื่อเข้าไปโดยใส่ชื่อเนื้อสัตว์ที่เป็นวัตถุดิบหลักลงไป เช่น ถ้าใช้เนื้อวัว จะเรียกว่า「กิวชาบู」、ถ้าใช้เนื้อหมู จะเรียกว่า「บุตะชาบู」
วิธีการกิน「ชาบูชาบู」ทำยังไง?
ที่ร้าน「ชาบูชาบู」จะมีน้ำซุปที่ใส่สาหร่ายคมบุกับวัตถุดิบออกมาเสิร์ฟ พอจุดไฟที่หม้อแล้ว ให้รอจนน้ำเดือด ระหว่างที่รอก็เตรียมน้ำจิ้มหรือยาคุมิ (ผักเครื่องเทศ)(※1)ที่ชอบใส่ถ้วยเล็กเอาไว้
น้ำจิ้มของชาบูชาบู โดยทั่วไปจะเป็นน้ำส้มปนสึ(※2)หรือโกะมะดาเระ(น้ำจิ้มรสงา)(※3)สำหรับยาคุมิ มักจะใช้เป็น 「โมมิจิโอโรชิ」ที่ได้จากการนำเอาหัวไชเท้ามายัดไส้กลางด้วยพริกแล้วฝนให้ละเอียด หรือต้นหอมญี่ปุ่นสับละเอียด โมมิจิโอโรชิสีส้มชมพู กับต้นหอมญี่ปุ่นสีเขียว ยิ่งทำให้อาหารมีหน้าตาน่ารับประทานมากขึ้น
Photo by pixta
พอน้ำเริ่มเดือดแล้ว เราก็จะเริ่มใส่ผักที่ร้อนยากลงไปก่อน (ต้นหอม, หัวไชเท้า, เต้าหู้) พอเดือดอีกครั้ง ให้ใช้ตะเกียบคีบเนื้อขึ้นมา 1 ชิ้น แล้วนำไปแกว่งในน้ำร้อนให้น้ำซุปไหลผ่านเนื้อ ในระหว่างที่แกว่งนี้เอง ที่มีลักษณะและเสียงคล้ายคำว่า「ชาบูชาบู」ทำให้ชื่ออาหารนี้ถูกเรียกต่อกันมา「ชาบูชาบู」
Photo by pixta
สำหรับพวกเนื้อวัวหรือปลาต่าง ๆ พอวัตถุดิบเริ่มเปลี่ยนสีก็สามารถเริ่มกินได้ แต่สำหรับเนื้อหมูควรรอให้ต้มจนสุกดีก่อน และเพื่อไม่ให้วัตถุดิบที่ต้มไว้เย็นเสียก่อน เรามารีบจิ้มน้ำจิ้มกินกันเลยดีกว่า
※1……ยาคุมิ(เครื่องเทศ):เครื่องปรุงรสชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่หมายถึงต้นหอมสับละเอียดหรือหัวไชเท้าฝน เวลาใส่ลงไปในอาหารแล้ว นอกจากทำให้รสชาติดีขึ้น ยังทำให้หน้าตาน่ากิน และเพิ่มความอยากอาหาร และบางครั้งสามารถฆ่าแบคทีเรีย
※2……น้ำส้มปนสึ:เครื่องปรุงรสเปรี้ยวที่ได้จากน้ำที่คั้นจากส้มยูสุ, ผลซึดาจิ, ผลคาโบสึ (ทั้งหมดคือผลไม้รสเปรี้ยวของญี่ปุ่น) ผสมเข้ากับน้ำส้มสายชูและซอสโชยุ
※3……โกะมะดาเระ:เครื่องปรุงที่ทำจากงาที่ถูกบดจนเหลว แล้วนำมาใส่ซอสโชยุ, น้ำส้มสายชู, น้ำส้มมิริน และน้ำตาล
「ชิเมะ」ความอร่อยที่รออยู่ตอนท้าย
ในภาษาญี่ปุ่น คำว่า「ชิเมะ」จะหมายถึง「สุดท้าย」คำว่า 「ชิเมะ」ในการกินอาหารสไตล์หม้อไฟก็คือ การนำเอาแป้งคาร์โบไฮเดรตจำพวกข้าวหรือเส้นราเม็ง มาใส่ในน้ำซุปที่ต้มเสร็จแล้วและมีสารอาหารและความอร่อยหลงเหลืออยู่ โดยสื่อว่า「อาหารตบท้าย」
Photo by pixta
ยกตัวอย่างเช่น การนำข้าวสวยใส่ลงไปในน้ำซุปแล้วรอจนข้าวนิ่ม หลังจากนั้นก็นำไข่ดิบที่คนแล้วใส่ลงไป จนไข่ครึ่งสุกครึ่งดิบ ก็จะเรียกว่า「โซซึย (โจ๊กแบบญี่ปุ่น)」เป็นเมนูที่สามารถทำได้ง่าย ๆ
ในกรณีที่เป็นเส้นราเม็งต่าง ๆ ถ้านำเส้นอุด้ง (เส้นขนาดใหญ่ที่ทำจากแป้งสาลี) หรือเส้นจีน (เส้นราเม็งทั่วไป)ใส่ลงไป ก็จะสามารถกินร่วมกับน้ำซุปที่ตุ๋นจนอร่อยได้
นี่คือบัญชีของกองบรรณาธิการ MATCHA เราจะเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวอยากรู้ รวมถึงเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ของญี่ปุ่นที่ยังไม่มีใครรู้จัก
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง