พาไปส่องโรงแรมเปิดใหม่ล่าสุด! Mitsui Garden Hotel Ginza Tsukiji (เริ่มให้บริการ 30 กันยายน 2024) ทุกห้องพักสะดวกครบครัน พร้อมที่เที่ยวย่านกินซ่าและสึคิจิที่แนะนำ

รู้หรือยัง? ความแตกต่างระหว่างซากุระโมจิของคันไซกับคันโต

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

「ซากุระโมจิ」เป็นขนมญี่ปุ่นขึ้นชื่อแห่งฤดูใบไม้ผลิที่เกี่ยวกับดอกซากุระ โดยทำจากนำโมจิไส้ถั่วแดงกวนมาห่อด้วยใบซากุระแช่เกลือ จุดเด่นอยู่ที่รสชาติและกลิ่นหอมหวานอ่อนๆผ่อนคลายเหมือนกับสมุนไพร

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :

เสน่ห์ของ ขนมญี่ปุ่น อยู่ที่ดีไซน์และรสชาติที่แสดงสัญลักษณ์ของฤดูทั้ง 4

ถ้าพูดถึงขนมขึ้นชื่อแห่งฤดูใบไม้ผลิแล้วล่ะก็เป็นอะไรไปไม่ได้นอกจาก「ซากุระโมจิ」แน่นอน ซากุระโมจิ คือ ขนมญี่ปุ่นดั้งเดิมที่เกี่ยวข้องกับซากุระ โดยเป็นโมจิแต่งสีชมพูห่ออังโกะ (※1) และคลุมหน้าด้วยใบซากุระแช่เกลือ มีจุดเด่นอยู่ที่รสชาติแสนอร่อย เนื่องจากเป็นใบซากุระแช่เกลือจึงมีกลิ่นหอม ซากุระโมจิมีกลิ่นหอมหวานอ่อนๆช่วยให้ผ่อนคลายเหมือนกับสมุนไพรเลยทีเดียว

※1 …อังโกะ : ถั่วแดงต้มน้ำตาล มักนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการทำขนมญี่ปุ่น

「โชเมจิ」ซากุระโมจิที่มีต้นกำเนิดในภูมิภาคคันโต

รู้หรือยัง? ความแตกต่างระหว่างซากุระโมจิของคันไซกับคันโต

ความจริงแล้วซากุระโมจิมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน เราจะเรียกซากุระโมจิที่มีต้นกำเนิดในภูมิภาคคันโตว่า「โชเมจิ」ซึ่งมีที่มาจากชื่อวัดในเขตซุมิดะ แหล่งกำเนิดของมันนั่นเอง โดยมีจุดเด่นอยู่ที่รูปร่างโมจิเรียบแบนห่อด้วยถั่วแดงกวน

ต้นกำเนิดของซากุระโมจิ

ต้นกำเนิดของโชเมจิ ซึ่งเป็นซากุระโมจิของคันโตนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ราว 300 ปีก่อน ผู้ก่อตั้ง「โชเมจิซากุระโมจิ」ร้านเก่าแก่ในมุโคจิมะ เขตซุมิดะ ที่ริเริ่มจำหน่ายซากุระโมจิเป็นเจ้าแรกนั้นได้ไอเดียมาจากการลองนำใบซากุระมาดองเกลือในถังหมักเหล้า

โมจิห่อใบซากุระมีจำหน่ายตามหน้าประตูวัดในมุโคจิมะและวัดโชเมจิ

「โดเมียวจิ」ซากุระโมจิที่มีต้นกำเนิดในภูมิภาคคันไซ

รู้หรือยัง? ความแตกต่างระหว่างซากุระโมจิของคันไซกับคันโต

แต่เราจะเรียกซากุระโมจิที่มีต้นกำเนิดในภูมิภาคคันไซว่า「โดเมียวจิ」มันอยู่เคียงคู่กับผู้คนคันไซมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 ซากุระโมจิชนิดนี้มีรูปร่างเหมือนกับมันจู (※2) โดยเป็นถั่วแดงกวนห่อด้วย「แป้งโดเมียวจิ」ซึ่งเป็นข้าวโมจินึ่งตากแห้งและนำไปโม่

※2…มันจู : ขนมรูปร่างกลมที่ทำจากแป้งสาลีนวด ใส่วัตถุดิบ เช่น ถั่วแดงกวน ลงข้างในและนำไปนึ่ง

ว่ากันว่าแป้งโดเมียวจิมีต้นกำเนิดหลังจากเริ่มถูกนำมารับประทานในฐานะที่เป็นอาหารเก็บรักษาได้นานที่วัดโดเมียวจิในโอซาก้า จุดเด่นของซากุระโมจิที่ใช้แป้งโดเมียวจิอยู่ที่เราสามารถเพลิดเพลินกับรสสัมผัสกรุบกรอบของมันได้

โชเมจิกับโดเมียวจิแตกต่างกันทั้งรูปร่างหน้าตาและรสสัมผัส เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยก่อนแล้ว ในปัจจุบันเราสามารถหาทานซากุระโมจิทั้ง 2 แบบได้จากที่อื่นด้วยนะ... โดยเป็นขนมที่คุ้นเคยของคนญี่ปุ่นถึงขนาดว่าในฤดูใบไม้ผลิสามารถพบเห็นได้ตามร้านสะดวกซื้อและซุปเปอร์มาร์เก็ตทุกแห่งเลยทีเดียว ไม่เพียงแค่ร้านขนมญี่ปุ่นเท่านั้น

ห๊า... ทานใบซากุระได้ด้วยเหรอ?

และสิ่งที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่มักสงสัยตอนทานซากุระโมจิก็คือ「ทานใบซากุระได้ด้วยเหรอ? หรือต้องลอกออกก่อนทาน?」

ความจริงแล้วสามารถเลือกทานได้ตามความชอบเลยค่ะ ในกรณีที่ทานคู่กัน เราก็จะได้เพลิดเพลินกับรสสัมผัสที่เสริมรสเค็มของเกลือคู่กับกลิ่นหอมของใบซากุระ

แต่เนื่องจากกลิ่นหอมของใบซากุระนั้นติดอยู่กับตัวโมจิอยู่แล้ว ถึงแม้จะลอกออกก็ยังสามารถเพลิดเพลินกับกลิ่นหอมของใบมันได้อยู่

นอกจากนี้ยังมีการแต่งสีชมพูเพื่อให้ดูเหมือนกับดอกซากุระ แต่บางร้านก็ใส่วัตถุดิบทั้งอย่างนั้นเลยโดยไม่แต่งสีเพิ่มเติม ซากุระโมจิก็จะเป็นสีขาวโพลน

เอลิกก็บอกว่ารสชาติหวานๆเค็มๆอร่อยมาก ทั้ง 2 คนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า「คนที่ชอบรสหวานก็ทานแบบลอกใบออกได้ แต่ถ้าไม่ได้ชอบขนาดนั้นก็ขอแนะนำให้ทานคู่กับใบดีกว่า」

ถ้าใครมีโอกาสได้มาญี่ปุ่นช่วงฤดูใบไม้ผลิก็สามารถมาซื้อซากุระโมจิได้ตามร้านขายขนมญี่ปุ่น ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ อย่าลืมมาลองชิมซากุระโมจิที่มีกลิ่นหอมสไตล์ญี่ปุ่นกันดูนะคะ^^

Written by

อาศัยอยู่ในจังหวัดคานากาว่า ฉันเป็นนักเขียนที่ติดตามวรรณกรรมญี่ปุ่นดีๆ โดยไม่คำนึงถึงแนวเพลง ฉันเพลิดเพลินกับการเดินทางโดยมีธีมต่างๆ เช่น ศาลเจ้าและวัด น้ำพุร้อน บาร์เก่าแก่ และยานพาหนะ เช่น รถไฟ นอกเหนือจากการเดินทาง งานอดิเรกของฉันยังรวมถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดูซูโม่ ศิลปะ และอ่านหนังสือ

เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ