เมืองมุราคามิ จังหวัดนีงาตะ: ทัวร์ชมตุ๊กตาฮินะในมาชิยะ พร้อมเพลิดเพลินกับกิจกรรม ที่เที่ยว และอาหารท้องถิ่น

รวมข้อมูลเกี่ยวกับศาสนาในญี่ปุ่นทั้งศาลเจ้า วัด เครื่องราง และเซียมซี

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

บทความแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับศาสนาในญี่ปุ่น เช่น ความแตกต่างของวัดและศาลเจ้า วิธีการสักการะ วิธีการไหว้หลุมศพ และสินค้าที่จำหน่ายในศาลเจ้า เป็นต้น

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :

วัดและศาลเจ้าแตกต่างกันอย่างไร?

Temples, Shrines and Charms - A Summary of Japanese Religion

photo by Pixta

ถ้าจะให้พูดง่ายๆก็คือ “วัด” เป็นของศาสนาพุทธ ส่วน “ศาลเจ้า” เป็นของศาสนาชินโตนั่นเอง
ส่วนในเรื่องความแตกต่างทางรูปลักษณ์ภายนอก วัดจะมีพระพุทธรูปและหลุมศพ แต่ ศาลเจ้าจะมีเสาโทริอิ

ถ้าเอ่ยถึงภาพลักษณ์โดยทั่วไปแล้ว ศาลเจ้านั้นเป็นสถานที่สำหรับ สวดภาวนาและเฉลิมฉลอง ส่วนวัดนั้นเป็นสถานที่สำหรับ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้เสียชีวิตและไหว้บรรพบุรุษ

สำหรับข้อมูลความแตกต่างอย่างละเอียดสามารถเข้าไปดูได้จากบทความดังต่อไปนี้

วิธีการสักการะของวัดและศาลเจ้า

เนื่องจาก วัดและศาลเจ้าเป็นคนละศาสนากัน จึงย่อมมีวิธีการสักการะที่แตกต่างกันตามไปด้วย

วิธีการสักการะของศาลเจ้า

ขั้นตอนการสักการะ ศาลเจ้า มีดังต่อไปนี้

1. ล้างมือที่ซุ้มสำหรับล้างมือ

ก่อนอื่นก็จัดการล้างมือล้างปากเพื่อชำระล้างร่างกายให้บริสุทธิ์ตรงซุ้มสำหรับล้างมือหรือที่เรียกว่า “โจซุยะ” กันเป็นอย่างแรก

2. สั่นระฆังด้านหน้าวิหาร

ด้านหน้าวิหารจะมีระฆังขนาดใหญ่แขวนเอาไว้อยู่ โดยมีเชือกยาวห้อยลงมาจากระฆัง ถึงตรงนี้ก็จับเชือกแล้วสั่นระฆังได้เลยค่ะ

3. หยอดเหรียญบริจาคลงในกล่องด้านหน้าวิหาร

ผู้คนส่วนใหญ่มักจะโยนเงินบริจาคลงกล่องกันก็จริง แต่วิธี่ที่ถูกต้องจะเป็น การหยอดเหรียญลงกล่องเบาๆ นะจ๊ะ...

4. โค้งคำนับ 2 ครั้งและปรบมือ 2 ครั้ง

โค้งคำนับ 2 ครั้งและปรบมืออีก 2 ครั้ง

5. อธิษฐาน

การอธิษฐานให้พนมมือเหยียดตรงโดยไม่ต้องประสานนิ้วเข้าด้วยกัน ข้อนิ้วหย่อนเล็กน้อยแบบไม่ต้องตรงเป๊ะ

6. โค้งคำนับอีก 1 ครั้ง

สุดท้ายให้โค้งคำนับอีก 1 ครั้ง จำนวนครั้งในการปรบมือและโค้งคำนับอาจ แตกต่างกันไปตามศาลเจ้าแต่ละแห่ง สำหรับใครที่ต้องการสักการะศาลเจ้าอย่างถูกต้อง 100% ก็ลองสอบถามเจ้าหน้าที่ภายในศาลเจ้ากันดูเนอะ

ใครอยากรู้ขั้นตอนการสักการะกันแบบละเอียดยิ่งขึ้นสามารถเข้าไปดูได้จากบทความดังต่อไปนี้

วิธีการสักการะของวัด

ขั้นตอนการสักการะ วัด แบบคร่าวๆมีดังต่อไปนี้ ข้อแตกต่างที่สุดระหว่างวัดและศาลเจ้าอยู่ที่ วัดจะไม่มีการปรบมือ นี่แหละ

1. ล้างมือที่ซุ้มสำหรับล้างมือ

ในกรณีที่มีซุ้มสำหรับล้างมือ เหมือนกับศาลเจ้าก็จัดการล้างมือตรงซุ้มเลยค่ะ

2. อาบควันธูป

ในกรณีที่มีโจโคโระตั้งอยู่ภายในวัดด้วยก็อย่าลืมอาบควันธูปกันด้วยเนอะ โดยขั้นตอนนี้หมายถึง การชำระล้างร่างกายให้บริสุทธิ์ นั่นเอง “โจโคโระ” หมายถึง ซุ้มที่อบอวลไปด้วยควันธูปตามภาพเลยค่ะ

3. หยอดเหรียญบริจาคและอธิษฐาน

asakusa-kannon-sensoji-3

ขั้นตอนนี้ก็ทำแบบเดิมเลยแต่ไม่ต้องปรบมือ เพียงแค่พนมมือและโค้งคำนับลงไปทั้งอย่างนั้น

4. โค้งคำนับอีกครั้งหนึ่งและออกจากโบสถ์

เมื่ออธิษฐานกันเสร็จเรียบร้อยแล้วก็โค้งคำนับเบาๆ 1 ครั้งและออกจากโบสถ์ได้เลย

ตรวจสอบดวงชะตาด้วยเซียมซี?!

กิจกรรมอย่างหนึ่งที่คนญี่ปุ่นนิยมทำเมื่อมีโอกาสได้มากราบไหว้สักการะวัดและศาลเจ้าก็คือ การเสี่ยงเซียมซี นั่นเอง โดยเซียมซีเป็นอุปกรณ์ช่วยทำนายดวงชะตา

ถึงแม้ว่าจะได้เซียมซีไม่ดีก็ไม่ต้องกังวลกันนะจ๊ะ... เซียมซีเหล่านี้มีราคาเพียง 100 – 200 เยนเท่านั้นเอง ถือว่ามาลองเสี่ยงดวงเพื่อความสนุกกันก็ได้เนอะ

สำหรับใครที่อยากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับเซียมซีมากกว่านี้ก็สามารถเข้าไปดูได้จากบทความดังต่อไปนี้

ศาลเจ้ามีจำหน่ายสินค้ารูปสัตว์ด้วยเหรอเนี่ย?! “เอโตะ” คืออะไร?

ในญี่ปุ่นมีการแบ่งสัตว์ประจำของแต่ละปีที่เรียกว่า เอโตะ เหมือนกับการแบ่งจักรราศีตามแต่ละเดือนตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนธันวาคม สัตว์แบ่งออกเป็น 12 ชนิด โดยแต่ละปีจะมีสัตว์ประจำปีอยู่ 1 ชนิด

ดังนั้น เราจึงมักได้ยินคนญี่ปุ่นพูดคุยกันเกี่ยวกับเอโตะประจำของแต่ละปีอยู่บ่อยๆ

ภายในศาลเจ้ามีการจำหน่าย เครื่องราง ลวดลายสัตว์ประจำของแต่ละปี ถ้าเกิดพบกับสัตว์ประจำปีเกิดของตัวเอง บอกเลยว่าซื้อกลับไปเป็นของที่ระลึกก็เก๋ไก๋ไม่เบา

สำหรับใครที่อยากรู้ว่าตัวเองเกิดในปีของสัตว์ชนิดไหนก็สามารถเข้าไปดูได้ ที่นี่ (ภาษาอังกฤษ) เลยค่ะ (เว็บไซต์นอก)

เรียนรู้เกี่ยวกับ “เอโตะ” ให้ละเอียดยิ่งขึ้นจากบทความดังต่อไปนี้

พกติดตัวไว้สบายใจหายห่วง! “โอมาโมริ” คืออะไร?

“โอมาโมริ” หมายถึง เครื่องรางเสริมดวงชะตา ที่สามารถหาซื้อได้ตามวัดและศาลเจ้า โดยมีเครื่องรางหลากหลายแบบตามความปรารถนา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องรางที่ช่วยคุ้มครองให้แคล้วคลาดปลอดภัยหรือเครื่องรางที่ช่วยเรียกโชคลาภ เป็นต้น

สำหรับรายละเอียดสามารถเข้าไปดูได้จากบทความดังต่อไปนี้

ใครที่มีความปรารถนาบอกเลยว่าห้ามพลาด! “เอมะ” คืออะไร?

เอมะ หมายถึง แผ่นไม้ถวายวัดและศาลเจ้าที่ช่วยให้ความปรารถนากลายเป็นจริง ในปัจจุบันมักใช้เป็นเครื่องถวายเพื่อส่งความปรารถนาไปยังเทพเจ้า สำหรับข้อมูลรายละเอียดสามารถเข้าไปดูได้จาก สารานุกรมคำญี่ปุ่น「เอมะ・โกะริยะคุ」

สะสมตราประทับลายเซ็นของศาลเจ้าด้วย “หนังสือสะสมตราประทับ”!

โกะชุอิน หมายถึง ลายเซ็นรับรองการสักการะวัดและศาลเจ้า ใครที่ชื่นชอบทัวร์ไหว้พระตามวัดและศาลเจ้า บอกเลยว่าห้ามพลาด!

สำหรับรายละเอียดสามารถเข้าไปดูได้จาก

วิธีการเคารพหลุมศพ

ตามวัดจะมี หลุมศพ ตั้งอยู่ สำหรับใครที่วางแผนมาเคารพหลุมศพก็ขอแนะนำให้ศึกษาวิธีการเคารพหลุมศพที่ถูกต้องจากบทความ 【ฤดูร้อน】วิธีการ “เคารพหลุมศพ” รักษาขนบธรรมเนียมและอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษกันเถอะ เอาไว้ก่อนจะดีที่สุด

เป็นยังไงกันบ้างเอ่ย? หลายคนอาจรู้สึกว่ามีกฎเยอะแยะเหลือเกิน แม้แต่คนญี่ปุ่นเองก็มีคนที่เข้าใจกฎได้อย่างถูกต้อง 100 % ไม่มากนัก ยังไงก็ขอให้เพื่อนๆค่อยๆศึกษาวัดและศาลเจ้าในญี่ปุ่นโดย ไม่ต้องซีเรียส มากเกินไปนะคะ ^^

Written by

A Japanese teacher, calligrapher, singer in my room!

เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ