【จังหวัดมิยาซากิ】เพลิดเพลินไปกับทั้งภูเขาและท้องทะเล! ออกสำรวจมนต์เสน่ห์แห่งธรรมชาติที่ยังไม่ถูกค้นพบ

เกร็ดความรู้ภาษาญี่ปุ่น แผ่นป้ายขอพร "เอมะ" และ "โกะริยะคุ"

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

แนะนำเกร็ดความรู้ภาษาญี่ปุ่นที่จะช่วยให้เที่ยวญี่ปุ่นสนุกและลึกซึ้งยิ่งขึ้น! มารู้จักกับ "เอมะ" แผ่นป้ายขอพรตามศาลเจ้า และ "โกะริยะคุ" พรศักดิ์สิทธิ์จากเทพเจ้าทั้งหลาย

บทความโดย

นี่คือบัญชีของกองบรรณาธิการ MATCHA เราจะเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวอยากรู้ รวมถึงเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ของญี่ปุ่นที่ยังไม่มีใครรู้จัก

more

"เอมะ" หมายถึง แผ่นไม้ที่ถูกถวายโดยการแขวนที่วัดหรือศาลเจ้าเพื่อขอพรหรือเพื่อขอบคุณเทพเจ้าที่ดลบันดาลสมหวัง แต่ในปัจจุบันมักถูกใช้ถวายเพื่อขอพรจากเทพเจ้า

เมื่อสมัยก่อน ด้านบนของเอมะจะเป็นรูปทรงภูเขาและนิยมวาดรูปม้าลงไป
กลุ่มคนที่มักจะมาขอพรกับแผ่นป้ายขอพรเอมะคือนักเรียนเตรียมสอบ โดยเฉพาะในช่วงที่จะมีการสอบเข้าสถานศึกษาต่างๆ เรามักจะพบเอมะที่เขียนภาวนาว่า "ขอให้สอบติด" มาแขวนไว้มากมาย

จุดกำเนิดของ "เอมะ" มาจากม้าที่มีชีวิตนี่ล่ะ

ที่มี "ม้า" วาดไว้บนแผ่นป้ายเอมะ ก็เพราะสมัยก่อนผู้คนเชื่อว่าม้าคือสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นยานพาหนะของเทพเจ้า

hounou_horse_20151113

ญี่ปุ่นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 เวลาที่ใครต้องการให้พรที่ขอไว้สมปรารถนามักจะนำม้าตัวเป็นๆ ไปถวาย โดยมีความเชื่อว่า หากถวายม้าแล้ว เทพเจ้าจะมอบโชคลาภหรือความสุขให้กับมนุษย์กลับคืนมาในฐานะ "โกะริยาคุ (Goriyaku)" (การดลบันดาลให้สมหวัง)
แต่การถวายม้าราคาแพง นอกจากจะเป็นภาระทางการเงินอย่างหนักของคนที่จะถวายแล้ว ยังเป็นภาระในการดูแลม้าสำหรับศาลเจ้าอีกด้วย ดังนั้นจึงเปลี่ยนมาเป็นการถวายม้าขนาดเท่าของจริงที่ทำจากต้นไม้ ดิน หรือโลหะแทน

เกร็ดความรู้ภาษาญี่ปุ่น แผ่นป้ายขอพร

หลังจากนั้นมาก็มีการเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการวาดรูปม้าบนแผ่นไม้ จนในที่สุดก็ค่อยๆ กลายเป็นแผ่นป้าย "เอมะ" ที่มีราคาถูกและสะดวกสบายแทน

ด้านที่มีรูปต่างๆ บน "เอมะ" คือด้านหน้า ส่วนด้านหลังเอาไว้เขียนสิ่งที่ต้องการขอพรและชื่อ (เขียนแค่ชื่อย่อก็ได้) ลงไป การขอพรนั้นควรขอแค่ 1 ข้อเท่านั้น พอเขียนเสร็จให้นำไปแขวนไว้ในวัดหรือศาลเจ้า เมื่อพอพรที่ขอไว้สมหวัง ตามปกติจะต้องไปสักการะเพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณต่อเทพ แต่ก็มีบางคนที่เขียน "เอมะ" เพื่อขอบคุณเทพเจ้าเลยก็มี

มาดู "เอมะ" แปลกตาน่าสนใจกัน!

สมัยนี้มีเอมะรูปร่างและลวดลายใหม่เกิดขึ้นมากมาย นอกจากเอมะที่มีรูปม้าอยู่บนนั้นแล้ว ยังมีการพิมพ์รูปจากการ์ตูนต่างๆ หรือแผ่นป้ายเอมะที่มีรูปร่างเฉพาะตัวอีกด้วย

เกร็ดความรู้ภาษาญี่ปุ่น แผ่นป้ายขอพร

อย่างเช่น ศาลเจ้า "คาวาอิจินจะ" (Kawai Shrine) ที่เป็นส่วนหนึ่งของศาลเจ้าชิโมะกาโมะจินจะ (Shimogamo Shrine) หนึ่งในมรดกโลก UNESCO ในโตเกียว เทพเจ้าที่บูชาที่ศาลเจ้านี้ คือ "ทามะโยริฮิเมะ" (Tamayorihime) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความงามของหญิงสาว
แผ่นป้ายเอมะของที่นี่จึงเป็นรูปกระจกถือ และเรียกกันว่า "คากะมิ เอมะ" (Kagami Ema)
ที่เอมะจะมีคิ้ว ตา จมูก ปาก วาดเอาไว้อย่างเรียบง่ายแล้ว จากนั้นจึงให้ผู้มาไหว้พระวาดรูปหน้าตาที่ชอบหรืออยากเป็นลงไปพลางอธิษฐาน ก่อนนำไปแขวนถวาย

เกร็ดความรู้ภาษาญี่ปุ่น แผ่นป้ายขอพร

นอกจากนี้ในเกียวโตเช่นกัน ก็ยังมีศาลเจ้า "โทโยคุนิจินจะ" (Toyokuni Shrine) ศาลเจ้าแห่งนี้บูชา "โทโยโทมิ ฮิเดะโยชิ" (Toyotomi Hideyoshi) โชกุนผู้ครองใต้หล้าทั้งที่มีชาติกำเนิดจากเกษตรกร ที่นี่มีชื่อเสียงในเรื่อง "เฮียวตันเอมะ" (Hyoutan Ema) ซึ่งหมายถึง "เอมะน้ำเต้า"ที่ใช้ขอพรให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน
เวลาที่ฮิเดโยชิได้รับชัยชนะในการรบ จะนำผลน้ำเต้าที่ห้อยไว้ที่เอวยกขึ้นสูงเป็นสัญญาณ จากเรื่องเล่านี้นี่เองทำให้เกิดเอมะที่เป็นรูปน้ำเต้าขึ้นมา

พรที่เราอยากจะจากเทพเจ้านั้น ร้อยคนก็คงมีร้อยอย่าง แต่ด้วยการเขียนคำขอพรลงไปบนพื้นที่เล็กๆ ที่เรียกว่าแผ่นป้าย "เอมะ" นี้ จะทำให้เป้าหมายของแต่เราชัดเจนมากยิ่งขึ้นเพื่อจะได้ความพยายามกันต่อไปอีกด้วย
หากได้เจอแผ่นป้ายเอมะที่เหมาะกับตนเองที่ไหน ก็อย่าลืมลองเขียนความปรารถนาแล้วแขวนถวายดูนะคะ

First translated by : JansapKanwalai
Edited by : Kogetsu

บทความโดย

MATCHA

นี่คือบัญชีของกองบรรณาธิการ MATCHA เราจะเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวอยากรู้ รวมถึงเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ของญี่ปุ่นที่ยังไม่มีใครรู้จัก

more
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ