Unseen Japan สัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งฤดูหนาวของเมืองมัตสึโมโตะ 2 วัน 1 คืน

เกร็ดความรู้ภาษาญี่ปุ่น "เอโตะ - จูนิชิ" 12 นักษัตรของญี่ปุ่น

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

เอโตะ - จูนิชิ 12 นักษัตร ที่ใช้นับวัน เดือน ปี เวลา ทิศทาง ที่ชาวญี่ปุ่นถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณ

บทความโดย

นี่คือบัญชีของกองบรรณาธิการ MATCHA เราจะเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวอยากรู้ รวมถึงเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ของญี่ปุ่นที่ยังไม่มีใครรู้จัก

more

12 สัตว์นักษัตรของญี่ปุ่น

japanese zodiac

เอโตะ (干支 Eto) เป็นวัฒนธรรมที่แพร่จากประเทศจีนเข้ามาญี่ปุ่นในช่วงศตวรรษที่ 3 - 4 เดิมถูกใช้ในการนับวัน เดือน ปี เวลา ตำแหน่ง องศา และลำดับ

เอโตะ มีสัตว์ 12 อย่างเป็นตัวแทนเรียกว่า จูนิชิ หรือ 12 นักษัตร โดยจะเวียนเปลี่ยนไปปีละชนิดให้ครบรอบ 12 ปี

子 (เนะ) หนู
丑 (อุชิ) วัว
寅 (โทระ) เสือ
卯 (อุ) กระต่าย
辰 (ทัตสึ) มังกร
巳 (มิ) งู
午 (อุมะ) ม้า
未 (ฮิทสึจิ) แกะ
申 (ซารุ) ลิง
酉 (โทริ) ไก่
戌 (อินุ) สุนัข
亥 (อิ) หมูป่า

มองหาสัตว์ใน 12 นักษัตรที่ศาลเจ้าญี่ปุ่น

ศาลเจ้าหลายแห่งในญี่ปุ่นมีความเกี่ยวข้องกับสัตว์นักษัตรด้วย โดยมักจะมีรูปปั้นสัตว์วางอยู่ตามจุดต่างๆ เช่น ศาลเจ้าฮาคุโตะ จังหวัดทตโตริ เกี่ยวข้องกับกระต่าย ศาลเจ้าโกะโอ จังหวัดเกียวโต เกี่ยวข้องกับหมูป่า ถ้าได้ลองค้นประวัติของศาลเจ้าก็จะเจอเรื่องเล่าที่มาที่น่าสนใจ

เกร็ดความรู้ภาษาญี่ปุ่น

ช่วงปีใหม่ชาวญี่ปุ่นจะมีประเพณีฮัตสึโมเดะ การไหว้ขอพรรับปีใหม่ตามวัดและศาลเจ้า หลังจากไหว้ขอพรเสร็จก็มักจะเสี่ยงเซียมซีโอมิคุจิกันด้วย โอมิคุจิมีหลายแบบ อย่างทั่วไปคือแบบเขย่ากระบอกแล้วหยิบแท่งตัวเลข อีกแบบคือให้เลือกตามปีนักษัตรที่เกิด เรียกว่า เอโตะมิคุจิ

เอโตะมิคุจิของศาลเจ้าชิโมะกาโมะ และศาลเจ้าโทโยคุนิ ในเกียวโต จะมีกระดาษคำทำนายใส่ไว้ในรูปปั้นดินเผารูปสัตว์นักษัตรเล็กๆ น่ารัก สามารถเอากลับไปเป็นของประดับห้องได้เลย หรือพวกโอมาโมริ เครื่องรางที่ทำเป็นที่ห้อยกุญแจรูปนักษัตรก็มีหลายแบบให้เลือกซื้อ

เอโตะของปีใหม่

เกร็ดความรู้ภาษาญี่ปุ่น

ปัจจุบันคนญี่ปุ่นก็ไม่ได้ยึดติดกับเอโตะหรือปีนักษัตรนี้มากนัก แต่จะมีอยู่ช่วงนึงของปีที่ผู้คนจะใส่ใจกับปีนักษัตรเป็นพิเศษนั่นคือช่วงปีใหม่

คนญี่ปุ่นจะคุ้นเคยกับเอโตะที่อยู่บนเน็งกะโจ ไปรษณียบัตรส.ค.ส. อวยพรที่ส่งให้กันช่วงวันปีใหม่ โดยสัญลักษณ์สัตว์ของแต่ละปีจะถูกออกแบบเป็นลวดลายหน้าตาน่ารัก

ในช่วงปีใหม่จะมีความพิเศษสำหรับคนที่เกิดปีนักษัตรเดียวกับปีใหม่ที่มาถึง โดยจะเรียกผู้ชายว่า "โทชิโอโตโกะ" และเรียกผู้หญิงว่า "โทชิอนนะ" เชื่อกันว่าจะเป็นปีที่สำคัญและพิเศษของเจ้าตัว

บทความโดย

MATCHA

นี่คือบัญชีของกองบรรณาธิการ MATCHA เราจะเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวอยากรู้ รวมถึงเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ของญี่ปุ่นที่ยังไม่มีใครรู้จัก

more
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ