เมืองมุราคามิ จังหวัดนีงาตะ: ทัวร์ชมตุ๊กตาฮินะในมาชิยะ พร้อมเพลิดเพลินกับกิจกรรม ที่เที่ยว และอาหารท้องถิ่น

เที่ยวญี่ปุ่นปลอดภัยหายห่วง ข้อมูลเรื่องความปลอดภัยที่ควรรู้ก่อนไปเที่ยว

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

ญี่ปุ่น แม้จะเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ว่ากันว่ามีความปลอดภัยสูง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีเหตุด่วนเหตุร้ายเกิดขึ้นเลย เราจะแนะนำข้อมูลที่จะช่วยให้เพื่อน ๆ เที่ยวญี่ปุ่นได้อย่างสนุกสนานและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :

เรื่องความปลอดภัยที่ควรรู้ก่อนไปเที่ยวญี่ปุ่น


ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่รู้กันทั่วโลกว่าเป็น ประเทศที่มีความปลอดภัย

อัตราการเกิดการฆาตกรรมที่ประเทศญี่ปุ่น (จำนวนคดีฆาตกรรมต่อประชากร 100,000 คน) คือ 0.3 และค่าเฉลี่ย OECD คือ 4.1 แถมญี่ปุ่นยังเป็นอันดับ 3 ของ 38 ประเทศที่มีจำนวนคดีน้อยที่สุดอีกด้วย

โดยเฉพาะพวกอาชญากรรมที่ร้ายแรง (ฆาตกรรม,ปล้น,ข่มขืน) มีอัตราการเกิดขึ้นต่ำสุด สามารถสบายใจได้ในระดับหนึ่งว่า เวลาที่เพื่อน ๆ ไปเดินเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ แทบจะไม่มีภัยอันตรายใด ๆ ก็ว่าได้ เพียงแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีคดีเหล่านี้เกิดขึ้นเลยนะคะ

 เราก็เลยรวบรวมข้อมูลที่อยากให้เพื่อน ๆ ทราบก่อน เพื่อจะได้มาเที่ยวแบบปลอดภัยหายห่วงมาไว้ในบทความนี้ค่ะ

อ่านบทความเพิ่มเติม:

วิธีการรับมือในกรณีที่เกิดอาชญากรรมที่ญี่ปุ่น

ที่ไหนในญี่ปุ่นที่อันตราย?

ก่อนอื่นเราจะบอกข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภายในเมืองที่มีนักท่องเที่ยวและสถานท่องเที่ยวเยอะ ๆ อย่างโตเกียว โอซาก้า เกียวโตกันค่ะ ไม่ว่าจะเมืองไหนก็มีความปลอดภัยสูงสุด แต่ถ้าลองดูข้อมูลแล้วลองจัดอันดับอัตราการเกิดอาชญากรรมจากมากไปน้อย ก็จะเป็น โอซาก้า เกียวโต โตเกียว ตามลำดับค่ะ

ความปลอดภัยในโอซาก้า

เที่ยวญี่ปุ่นปลอดภัยหายห่วง ข้อมูลเรื่องความปลอดภัยที่ควรรู้ก่อนไปเที่ยว

เขตจูโอของโอซาก้า (ละแวกที่มีปราสาทโอซาก้า, โดทงโบริ) เป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเกิดอาชญากรรมสูงสุดในญี่ปุ่น ถ้าเปรียบเทียบกับเมืองใหญ่อื่น ๆ ในโอซาก้า จะมีอัตราการเกิดอาชญากรรมน้อยมาก แต่เพื่อน ๆ ก็ควรระวังตัวด้วยนะคะ

อาชญากรรมที่เกิดขึ้นมาในละแวกนี้คือ การช่วงชิงทรัพย์และการขโมยจักรยาน เมืองใหญ่ ๆ ที่มีชื่อเสียงในโอซาก้าก็คือ อุเมดะ, นัมบะ ดังนั้นเพื่อน ๆ ควรระวังตัวให้ดีในกรณีที่ต้องเดินคนเดียวในยามค่ำคืนค่ะ

อ่านบทความเพิ่มเติม:

รวม 11 แหล่งช็อปในโอซาก้า ที่อุเมดะ นัมบะ ชินไซบาชิ

ความปลอดภัยในโตเกียว

safety_tokyo

ย่านชุมชนหรือเมืองใหญ่ในโตเกียวก็คือ ชินจูกุ・ชิบูย่า・รปปงกิ และที่คาบุกิโจในชินจูกุ เป็นละแวกที่อยู่ห่างออกไปจากสถานีชินจูกุ ไม่นับว่าเป็นย่านที่มีความปลอดภัยมากนัก

ที่เขตเซตากายะ ที่อยู่ละแวกชินจูกุและชิบูย่าที่เป็นย่านชุมชนเมือง ก็เป็นละแวกที่มีอัตราอาชญากรรมเกิดขึ้นมากถ้าเทียบกับที่อื่น ๆ ถ้าต้องเดินฝ่าฝูงชน ก็อย่าลืมดูแลข้าวของตนเองให้ดี ๆ นะคะ

อ่านบทความเพิ่มเติมฃ:

แผนที่เดินทางในรปปงกิ สำหรับเวลาที่เกิดปัญหา

ทำอย่างไร เพื่อไม่ให้พบเจอกับสิ่งอันตราย?

ที่ย่านชุมชน

ตามร้านอาหารที่ย่านชุมชน มีร้านที่เรียกเก็บค่าบริการแพง ๆ อยู่ด้วย พยายามอย่าตามคนที่เชิญชวนให้เข้าไปนั่งในร้านไปง่าย ๆ นะคะ

เวลาที่จะหาร้านอาหารตามย่านชุมชน ให้หาข้อมูลจากไกด์บุ๊กหรือในอินเตอร์เน็ตไว้ล่วงหน้าก่อน หรือไม่ก็ไปที่ ๆ อยู่ใกล้สถานที่ท่องเที่ยวก็ได้

นอกจากนี้ แนะนำว่าพยายามอย่าไปตามตรอกซอยเล็ก ๆ หรือสถานที่ที่ห่างจากสถานีมากเกินไปจะดีกว่าค่ะ

ที่ละแวกที่พักอาศัย

แม้ในย่านที่พักอาศัย จำนวนอาชญากรรมก็มีอยู่มากกว่าที่คิด การช่วงชิงทรัพย์ก็เป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ พยายามอย่าไปเดินตามถนนที่ไม่ค่อยมีคนนะคะ

เวลาเดิน ควรถือกระเป๋าในฝั่งที่ไม่เปิดโล่ง ควรเตรียมโทรศัพท์มือถือให้สามารถใช้การได้เสมอ และเฝ้าระวังสถานการณ์รอบ ๆ

อื่น ๆ

ในรถไฟที่มีคนหนาแน่น หรือเวลาที่ไปงานอีเว้นท์ต่าง ๆ ควรเฝ้าระวังนักล้วงกระเป๋า ไม่ควรใส่กระเป๋าสตางค์หรือของมีค่าไว้ในกระเป๋ากางเกง ควรใส่ไว้ในกระเป๋า แล้วถือกอดกระเป๋าเอาไว้จะดีกว่าค่ะ

คือใครบางคนอาจจะอยากลองเล่นปาจิงโกะ ซึ่งเวลาที่เรากำลังใจจดใจจ่อเล่นปาจิงโกะหรือเล่นเกม ก็จะขาดความระมัดระวัง ดังนั้น เพื่อน ๆ ควรระมัดระวังให้มากค่ะ

การจราจรปลอดภัยหรือไม่?

เที่ยวญี่ปุ่นปลอดภัยหายห่วง ข้อมูลเรื่องความปลอดภัยที่ควรรู้ก่อนไปเที่ยว

แท็กซี่

รถแท็กซี่ที่ญี่ปุ่นจะมีมิเตอร์ติดอยู่ ถ้าขึ้นรถแท็กซี่ที่มีป้ายชื่อบริษัทแท็กซี่ติดอยู่ก็ไม่ต้องห่วงว่าจะถูกหลอกค่าโดยสาร

ข้อควรระวังคือ ราคาจะขึ้นอยู่กับระยะทางที่วิ่ง ไม่ใช่ละแวกที่วิ่ง ถ้าเป็นที่โตเกียว 2 กม.แรกจะราคา 730 เยน หลังจากนี้จะเพิ่มขึ้น 90 เยน ทุก ๆ 280 เมตร แต่นอกจากนี้จะมีราคาที่เพิ่มขึ้นขึ้นอยู่กับตอนที่รอสัญญาณไฟจราจร หรือช่วงเวลาที่ขึ้นรถด้วย

อ่านบทความเพิ่มเติม:

วิธีการขึ้นแท็กซี่ที่ญี่ปุ่น

รถไฟ・รถบัส

มักจะเป็นที่เลื่องลือกันว่ารถไฟและรถบัสของญี่ปุ่นสะอาด วิ่งตรงเวลา และปลอดภัย แต่ช่วง 7-9 โมงเช้าจะแน่นมาก ซึ่งในช่วงเวลานั้นมักจะมีพวกโรคจิตชอบแต๊ะอั๋งด้วย สาว ๆ ต้องระวังตัวนะคะ ในการท่องเที่ยวควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลาเร่งด่วนที่คนจะไปโรงเรียน ไปทำงานกันอย่างตอนเช้าและตอนเย็นค่ะ

พวกโรคจิตมักจะอยู่ใกล้ประตู เพื่อน ๆ ก็พยายามอย่าไปอยู่ใกล้ประตูแล้วกันค่ะ

และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ควรศึกษามารยาทและกฎข้อบังคับให้ขึ้นใจก่อนก็น่าจะดีนะ

สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับมารยาทและกฎบนรถไฟ ให้เข้าไปดูได้ที่ ว่าด้วยมารยาท 13 ประการพึงรักษาเมื่อใช้บริการรถไฟในญี่ปุ่น ได้เลย

อ่านบทความเพิ่มเติม:

ข้อควรรู้ก่อนขึ้นรถไฟญี่ปุ่น「มารยาทการใช้รถไฟ」
ข้อควรรู้ก่อนขึ้นรถไฟญี่ปุ่น「วิธีการขึ้นรถไฟ」

ระวังกฎการจราจรด้วยนะ!

ที่ญี่ปุ่นขับรถในเลนส์ซ้าย ถึงจะเหมือนกับเมืองไทยแต่ก็ต้องระวังเรื่องกฎการจราจรอีกหลาย ๆ อย่างนะคะ

บันไดเลื่อน

ถ้าจะหยุดยืนบนบันไดเลื่อน ให้ยืนทางด้านซ้าย เป็นเหมือนกฎที่ทุกคนรู้กันดี (ที่โอซาก้าจะหยุดยืนทางด้านขวา)

ฝั่งที่ว่างอยู่มักจะมีคนกึ่งเดินกึ่งวิ่งผ่านไปด้วยความรีบ ต้องคอยระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุด้วยค่ะ

อ่านบทความเพิ่มเติม:

4 ข้อควรรู้ก่อนไปเที่ยวญี่ปุ่นสำหรับนักท่องเที่ยว

เวลาเกิดปัญหาต้องไปที่ไหน

เที่ยวญี่ปุ่นปลอดภัยหายห่วง ข้อมูลเรื่องความปลอดภัยที่ควรรู้ก่อนไปเที่ยว

เวลาเกิดปัญหาขึ้น ลองไปตามสถานที่เหล่านี้ดูค่ะ

ป้อมตำรวจ

ป้อมตำรวจ เรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "โคบัง" ส่วนใหญ่จะอยู่หน้าสถานี มีเขียนเป็นตัวภาษาอังกฤษให้เข้าใจชัดเจนว่า KOBAN เวลาทำของหาย หรือหลงทาง ไม่รู้ทาง หรือมีปัญหาอะไร ก็ไปที่ป้อมตำรวจได้ค่ะ

ในรถไฟ ให้บอกนายสถานี

ถ้าเกิดปัญหาลืมของ ทำของหาย หรือขึ้นรถไฟผิดในสถานี ให้บอกนายสถานีให้ช่วยเหลือได้เลยค่ะ

มินิมาร์ท

ในการถามทางจากพนักงานตามร้านสะดวกซื้อ หรือแวะเข้าร้อนเมื่อเจอคนแปลกๆ เนื่องจากมินิมาร์ทมักจะมีความสว่างและมีคนอยู่เสมอ

ขอความช่วยเหลือทางโทรศัพท์

ในกรณีฉุกเฉินที่ต้องการเรียกตำรวจ หน่วยงานดับเพลิง หรือรถพยาบาล สามารถโทรไปที่สถานีตำรวจ เบอร์ 110 เบอร์รถพยาบาลเบอร์ 119

ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาสเปน และภาษาโปรตุเกส สามารถใช้บริการ ล่ามผ่านโทรศัพท์ คุยกัน 3 คนก็ได้ค่ะ

แค่นี้ก็เที่ยวสนุกสนานได้ แถมยังปลอดภัยอีกด้วยค่ะ!

อ่านบทความเพิ่มเติม:

วิธีรับมือเวลาเจอเหตุด่วนเหตุร้ายที่ญี่ปุ่น

แผนที่จุดอำนวยความสะดวกในรปปงหงิยามฉุกเฉิน

สำหรับยามคับขันในฮาราจูกุ แผนที่โรงพยาบาล, ห้องน้ำ, สถานีตำรวจ

แผนที่ชินจูกุสำหรับโรงพยาบาล ห้องน้ำ ตำรวจ แลกเงิน

แผนที่กินซ่า ในเวลาที่มีปัญหาเจ็บป่วย

แผนที่ชิบุย่า ในเวลาที่เกิดแผ่นดินไหว หรือมีการเจ็บป่วย

สำหรับยามคับขันในอุเอโนะ แผนที่โรงพยาบาล, ห้องน้ำ, สถานีตำรวจ

แผนที่อาซากุสะ ในเวลาที่เกิดแผ่นดินไหว หรือมีการเจ็บป่วย

Written by

A Japanese teacher, calligrapher, singer in my room!

เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ