【จังหวัดมิยาซากิ】เพลิดเพลินไปกับทั้งภูเขาและท้องทะเล! ออกสำรวจมนต์เสน่ห์แห่งธรรมชาติที่ยังไม่ถูกค้นพบ

【วันฝนพรำ】ความทรงจำที่ฝากไว้กับฝนต้นฤดูร้อนและความรู้สึกในใจของชาวญี่ปุ่นที่ถ่ายทอดเสียงฝนพรำเป็นโคลงกลอนวะกะ

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
【วันฝนพรำ】ความทรงจำที่ฝากไว้กับฝนต้นฤดูร้อนและความรู้สึกในใจของชาวญี่ปุ่นที่ถ่ายทอดเสียงฝนพรำเป็นโคลงกลอนวะกะ

การสื่อความรู้สึกลงในโคลงกลอนวะกะของชาวญี่ปุ่นที่มีมาแต่ช้านาน

บทความโดย

นี่คือบัญชีของกองบรรณาธิการ MATCHA เราจะเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวอยากรู้ รวมถึงเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ของญี่ปุ่นที่ยังไม่มีใครรู้จัก

more

ทิวทัศน์ที่งดงาม ท้องฟ้าที่สีไม่เคยซ้ำกันในแต่ละวันและความรู้สึกอยากพบเจอใครซักคนที่ซ่อนเร้นอยู่นี้ไม่ใช่สิ่งอื่นใดแต่เป็นรักที่หนักแน่น คุณผู้อ่านอย่าเพิ่งงงว่าผู้เขียนกำลังอินเลิฟหรืออะไร แต่นี่คือการสื่อความรู้สึกลงในโคลงกลอนวะกะของชาวญี่ปุ่นที่มีมาแต่ช้านานครับผม!

ด้วยความที่เป็นโคลงกลอนศัพท์แสงที่นำมาใช้จึงไม่ใช่คำที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน แต่เป็นคำศัพท์ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติและวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นได้ดีครับ อย่างเช่น หากเราจะพูดคำว่า “ฝน” ในภาษาญี่ปุ่นล่ะก็มีคำให้เลือกเป็นร้อยคำเลยครับ อย่างเช่นคำว่า “ฝนต้นฤดูร้อน (五月雨 อ่านว่า ซะมิดะเระ)” “ฝนที่ตกลงบนใบไม้อ่อน (翠雨 อ่านว่า ซุยอุ)” “ฝนตกปรอยๆ(霧雨 อ่านว่า คิริซะเมะ)” และ “ฝนที่ตกช่วงฤดูหนาว (時雨 อ่านว่าชิงุเระ)” เป็นต้นครับ

ด้วยเหตุนี้เองคำว่า “ฝน” ที่เห็นในโคลงกลอนวะกะจะแตกต่างกันไปขึ้นกับฤดู ลักษณะฝนที่ตกและความรู้สึกของนักกวี ณ ขณะที่กำลังจ้องมองฝน ด้วยความที่ฤดูกาลทั้ง 4 ในประเทศญี่ปุ่นมีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้วนี่เองจึงทำให้คนญี่ปุ่นมีความรู้สึกหวั่นไหวต่อสายฝนพอสมควร นี่ก็อธิบายมาซะเยอะแล้ว ไปดูตัวอย่างวรรณกรรมญี่ปุ่นกันดีกว่า!

ว่าด้วยกฎ และเทคนิคในการเขียนโคลงวะกะ

【雨の日】五月雨に託す想い。雨を詠った和歌に見る日本人の心情とは

Photo by Pixta

จากข้อมูลใน「ศิลปะที่เป็นตัวมันเองและเป็นผู้สืบทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น การแสดงเสน่ห์ของคำพูดด้วย “การเขียนพู่กัน” นั้นคือ
ทำให้เรารู้ว่าโคลงกลอนวะกะคือหนึ่งในโคลงกลอนของญี่ปุ่นมีกฎคือให้แต่งโดยมีรูปแบบจำนวนพยางค์ในแต่ละวรรคเป็น 5-7-5-7-7 ครับ โคลงกลอนวะกะมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมจากประเทศจีน และได้วิวัฒนาการขึ้นมาตามภาษาญี่ปุ่น ดังนั้นชื่อเรียกโคลงกลอน “วะกะ” นี้จึงแปลตรงๆว่า “กลอนญี่ปุ่น” ครับ (ส่วนโคลงกลอนญี่ปุ่นโบราณจะใช้คำว่า 大和 อ่านว่า ยามาโตะ แทน)

บทกวีบางบทก็ยึดธรรมเนียมในการพรรณนาถึงทิวทัศน์อย่างแม่นยำ บ้างก็ถูกนำไปใช้แทนจดหมายรักโดยชนชั้นขุนนางในอดีต บ้างก็ใช้คำศัพท์พิเศษจำพวก คำพ้องเสียง (掛詞 อ่านว่า คะเคะโคโตบะ) และการอ้างอิงถึงกวีบทอื่นๆ (本歌取り อ่านว่า ฮงกะโดริ)

ด้วยความที่โคลงกลอนวะกะจำกัดเพียง 31 พยางค์จึงทำให้โคลงกลอนนี้มีมนต์เสน่ห์ในการพรรณนาความรู้สึก และคำแนะนำที่ไม่อาจอธิบายได้แม้ใช้คำพูดเป็นพันคำผ่านจินตนาการ และการตีความของผู้อ่านซึ่งจะทำให้เราเข้าถึงความนึกคิดในใจที่ฝากไว้กับสายฝนเหล่านี้ครับ

ว่าแล้วมาดูตัวอย่างความสัมพันธ์อันแนบแน่นที่คนญี่ปุ่นมีต่อสายฝนผ่านโคลงกลอนวะกะกันดีกว่าครับ

[1] กวีพรรณนาทิวทัศน์

อุจิชิเมริ(うちしめり)
อะยะเมะ โซะ คะโอรุ(菖蒲(あやめ)ぞかをる)
โฮโตโตงิสึ(ほととぎす)
นะคุยะ ซัทสึกิ โนะ(鳴くや五月(さつき)の)
อะเมะ โนะ ยูงุเระ(雨の夕暮れ)
――― จาก “ชินโคะคินวะกะชู” โดยคุณโยชิทสึเนะ ฟุจิวะระ
(อากาศชื้นฉ่ำฝน กลิ่นหอมหวนจากดอกลิลลี่ เสียงร้องนกกาเหว่า เย็นย่ำฝนพรำในเดือนพฤษภาคม)


ดอกลิลลี่และนกกาเหว่าจัดเป็นคำสำคัญที่ทำให้ผู้อ่านรู้ได้ว่าโคลงกลอนนี้พูดถึงตอนต้นฤดูร้อน โดยในช่วงเย็นย่ำหลังสายฝนนั้นท้องฟ้าจะมืดลง แต่ประสาทสัมผัสต่างๆ กลับเริ่มตื่นตัวขึ้น

โคลงกลอนนี้จัดว่าเป็นโคลงกลอนที่สื่อถึงฤดูร้อนได้ดีมากโคลงหนึ่งซึ่งสื่อให้ผู้อ่านรู้สึกถึงความน่าเบื่อในตอนเย็นหน้าร้อนหลังฝนตก ผู้อ่านจะนึกถึงภาพดอกลิลลี่ที่กำลังรับเม็ดฝนที่โปรยปรายลงมาอย่างภาคภูมิโดยคงดอกไม้บานคลอเสียงร้องนกกาเหว่าที่ถูกท้องฟ้ามืดในหน้าร้อนดูดกลืนหายไป

[2] บทกวีแด่ฝนที่ตกติดต่อกันและความรัก

โอโฮคะตะ นิ(おほかたに)

สะมิดะรุรุโทะยะ(さみだるるとや)
โอโมฟุระมุ(思ふらむ)
คิมิโคฮิวะตะรุ(君恋ひわたる)
เคียว โนะ นางาเมะ โอะ(今日のながめを)
――― จาก “ไดอารีคุณอิซึมิ ชิคิบุ” / คุณหญิงอิซึมิ ชิคิบุ
(บางทีคุณอาจจะคิดว่าฝนที่ตกอยู่นี้เป็นเพียงฝนที่ตกตอนต้นฤดูร้อนทั่วๆไป แต่รู้ไหมสายฝนนี้คือน้ำตาผมที่ไหลรินขณะนึกคะนึงถึงคุณ)


โคลงกลอนข้างบนนี้ประพันธ์โดยชายผู้หนึ่งที่อยากไต่ถามว่า “ในวันที่ฝนต้นฤดูร้อนตกชวนให้เหงาหงอยเช่นนี้คุณทำอะไรบ้างครับ?” โคลงกลอนนี้จัดเป็นโคลงกลอนร่วมสมัยญี่ปุ่นโบราณในแง่ของการนำความรู้สึกรักใคร่มาผูกเข้ากับสายฝน ซึ่งเป็นโคลงกลอนที่เปี่ยมไปด้วยความเจ็บปวดของผู้ประพันธ์ที่คะนึงหาคนรักที่ไม่อาจพบกันได้เพราะฝนที่ตกติดต่อกันเป็นเวลานานนั่นเอง

คำว่า “นะงะเมะ (ながめ)” ในโคลงกลอนนี้เป็นคำพ้องเสียงจึงมี 2 ความหมาย นั่นคือ “ฝนที่ตกติดต่อกันเป็นเวลานาน (長雨 อ่านว่า นะงะอะเมะ)” และ “การครุ่นคิดอย่างหนัก (眺め อ่านว่า นะงะเมะ)” นอกจากนี้ยังมีคำพ้องเสียงอีกคำนั่นก็คือคำว่า “ซะมิดะรุรุ (さみだるる)” ซึ่งมีความหมาย 2 อย่างดังนี้ “ฝนต้นฤดูร้อน (五月雨 อ่านว่า ซะมิดะเระ)” และ “ความรู้สึกว้าวุ่นในใจ (乱れ อ่านว่า มิดะเระ)”

คุณผู้อ่านจะเห็นว่าภาษาญี่ปุ่นเองก็มีคำพ้องเสียงซึ่งไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่เพราะภาษาญี่ปุ่นเองมีเสียงน้อยกว่าภาษาไทยเราอยู่แล้ว แต่ตามหลักแล้วคำในโคลงกลอนวะกะควรมีความหมายเพียงความหมายเดียว แต่ผู้อ่านอาจลองจินตนาการสนุกๆได้เช่นกันว่าโคลงกลอนนี้มีความหมายอื่นแฝงอยู่หรือไม่โดยพยายามมองหาคำพ้องเสียงอย่างที่เราวิเคราะห์ให้คุณผู้อ่านดูที่ผ่านมานี้ครับ จะเห็นได้ว่าทุกพยางค์ในโคลงกลอนวะกะนี่สำคัญมากๆเลยล่ะครับ

แต่การนำเอาสายฝนมาเปรียบเปรยกับความรักที่ใครซักคนมีให้คนคนหนึ่งออกจะดูจริงจังมากไปหน่อย หากนำมาใช้ในยุคสมัยปัจจุบัน คุณผู้อ่านเห็นว่ายังไงบ้างครับ

[3] ขอบคุณสายฝนที่ทำให้เราไม่ต้องพรากจากกัน


วะงะยะโดะ นิ(我が宿に)
อะเมะทสึทสึ มิเซะโยะ(雨つつみせよ)
ซะมิดะเระ โนะ(さみだれの)
ฟุรินิชิโคะโตะ โมะ(ふりにしことも)
คะตะริ ทสึคุซะมุ(語りつくさむ)
――― จาก “อุเคะระงะฮานะ” / คุณจิคะเงะ ทาจิบานะ
(หากคุณไม่อาจจากไปได้ โปรดอยู่ที่บ้านฉันหลังนี้ตลอดไปได้ไหม ในฤดูฝนเช่นนี้ ให้เราได้คุยกันถึงเรื่องราวในอดีตได้เต็มที่)


นะรุคะมิ โนะ(鳴る神の)
สึโคะชิ โทะโยะมิเตะ(少し響(とよ)みて)
ซะชิคุโมะริ(さし曇り)
อะเมะ โมะ ฟุระนุคะ(雨も降らぬか)
คิมิ โอะ โทโดเมะมุ(君を留めむ)
――― จาก “มังโยะชู” / ไม่ทราบผู้ประพันธ์
(ฉันปรารถนาขอให้มีฟ้าผ่า ท้องฟ้าเมฆครึ้ม และฝนตกพรำ เพื่อให้เธออยู่กับฉันต่อไป)


โคลงกลอนทั้ง 2 โคลงที่ผ่านมานั้นต่างพรรณนาอยากให้ใครซักคนอยู่ด้วยกันให้นานกว่านี้แม้ซักนิดก็ยังดี โดยนำสายฝนมาผูกเป็นโคลงกลอนนั่นเองครับ

โคลงกลอนที่ผ่านมานี้แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี นั่นก็คือการอยู่ภายในบ้านในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันนานๆในฤดูฝน ส่วนโคลงกลอนโคลงหลังนี้เกี่ยวกับความรักที่ละเอียดอ่อน เป็นความรักที่ไม่อาจพูดออกไปได้ดั่งใจ ซึ่งไม่เกี่ยวว่าจะเป็นเพศไหน เชื้อชาติอะไร คุณผู้อ่านที่ได้อ่านแล้วรู้สึกเห็นใจตามแบบเราบ้างมั้ยครับเนี่ย

นอกจากนี้ มีคนแต่งโคลงกลอนโต้ตอบกับโคลงกลอน “มังโยะชู” นี้ด้วยล่ะครับ หากคุณผู้อ่านสนใจก็ลองไปค้นหาดูได้ครับ

โคลงกลอนวะกะอันเป็นกระจกสะท้อนจิตใจคนญี่ปุ่น

ช่างน่าเศร้าที่คนญี่ปุ่นรุ่นหลังๆไม่ค่อยนิยมอ่านโคลงกลอนวะกะกันเท่าไหร่แล้ว แต่ถึงอย่างนั้นหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับก็ได้บรรจุโคลงกลอนประเภทนี้ลงไปในหลักสูตร และบางทีก็มีการหยิบยกมาพูดถึงในสื่อต่างๆเช่นกัน ดังนั้นคนญี่ปุ่นทุกคนจึงยังรู้จักโคลงกลอนประเภทนี้ครับ

โคลงกลอนบทดังๆที่เป็นที่ชื่นชอบมาหลายยุคหลายสมัยได้ถูกบันทึกลงใน “มังโยะชู” และ “โคะคิน วะกะชู” หรือวรรณกรรมต่างๆเช่น ตำนานเก็นจิ และไดอารีของอิซึมิ ชิคิบุ ทางเราเชื่อว่ายิ่งคุณผู้อ่านได้เรียนรู้เกี่ยวกับโคลงกลอนนี้มากเท่าไหร่ก็จะยิ่งรู้สึกอัศจรรย์ใจแบบที่เราได้สัมผัสมาอย่างแน่นอนครับ อาจจะฟังดูยากพอประมาณ แต่เพียงแค่คุณผู้อ่านเกิดรู้สึกสนใจขึ้นมาบ้างเราก็ดีใจสุดๆแล้วล่ะครับผม

การได้ฟังเสียงบทโคลงกลอนวะกะในวันฝนพรำช่างฟินเสียนีกระไร ลองไปหามาอ่านดูบ้างสิครับ (ฝึกภาษาไปในตัวเนอะ)

อ้างอิง:http://www.shodo.co.jp/blog/miya/2009/06/post-137.html
Main image by Pixta

บทความโดย

MATCHA

นี่คือบัญชีของกองบรรณาธิการ MATCHA เราจะเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวอยากรู้ รวมถึงเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ของญี่ปุ่นที่ยังไม่มีใครรู้จัก

more
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ