เมืองมุราคามิ จังหวัดนีงาตะ: ทัวร์ชมตุ๊กตาฮินะในมาชิยะ พร้อมเพลิดเพลินกับกิจกรรม ที่เที่ยว และอาหารท้องถิ่น

เกร็ดความรู้ภาษาญี่ปุ่น "โอบ้ง" วันที่ผู้ล่วงลับจะกลับมา

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

ในฤดูร้อนอันปกคลุมด้วยเมฆก้อนโตและจักจั่นแข่งกันแผดเสียง นี่คือช่วงเวลาของ "โอบ้ง" ประเพณีหนึ่งของชาวญี่ปุ่นที่รอต้อนรับผู้ล่วงลับให้กลับมา

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :

เมื่อไหร่ชาวญี่ปุ่นถึงจะพูดว่านี่เข้าฤดูร้อนแล้ว ก็เมื่อมีเสียงจักจั่นแผดสนั่น เมื่อแสงอาทิตย์ร้อนแรงสาดส่องไม่หยุด เมื่อเมฆขาวก้อนโตดูปุกปุยราวกับขนมสายไหม และเมื่อผู้คนมากมายออกไปเคารพหลุมศพของบรรพบุรุษ

และนั่นก็คือเวลาของเทศกาลโอบ้ง หนึ่งในประเพณีที่เป็นสัญลักษณ์ของฤดูร้อน

ประเพณีระลึกถึงผู้ล่วงลับของญี่ปุ่น

ระยะเวลาในการจัดเทศกาลโอบ้ง ส่วนใหญ่มักจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 - 16 สิงหาคม บางภูมิภาคก็อาจจะต่างไปบ้าง แต่เล่าสืบต่อกันมาว่าในช่วงเวลาสั้นๆ นี้แหละที่วิญญาณของเหล่าบรรพบุรุษผู้ล่วงลับจะได้กลับมายังโลกมนุษย์ ฟังแล้วหลายคนก็คงร้องอ๋อ เพราะนี่เหมือนกับวันสารทไทย สารทจีนเลย

เพื่อให้บรรพบุรุษกลับมายังโลกได้อย่างราบรื่นและกลับสู่ภพโน้นได้อย่างสบายใจ ในช่วงเทศกาลโอบ้งจึงมีการเตรียมการต่างๆ นานาตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม

お盆

Photo by Pixta

อันดับแรกในวันก่อนเริ่มเทศกาลโอบ้ง จะมีการประดับแตงกวากับมะเขือม่วงเสียบตะเกียบหรือไม้จิ้มฟันเป็นรูปม้าและวัว ซึ่งนี่จะเป็นพาหนะสำหรับรรพบุรุษเรียกรวมกันว่า โชเรียวอุมะ แปลว่า ม้าวิญญาณ

โดยแตงกวาสื่อถึงม้าและมะเขือม่วงสื่อถึงวัว ความหมายก็คือ "ขามาให้บรรพบุรุษขี่ม้าจะได้กลับมายังโลกโดยเร็ว ส่วนขากลับก็ค่อยขี่วัวกลับช้าๆ"

13 สิงหาคม "ไฟต้อนรับ"

เกร็ดความรู้ภาษาญี่ปุ่น

ในวันที่ 13 สิงหาคมซึ่งเป็นวันเริ่มเทศกาลโอบ้ง จะหักกิ่งกัญชงวางสุมกันบนจานแล้วจุดไฟเพื่อให้เป็นควันนำทางบรรพบุรุษ ทำหน้าที่เหมือนป้ายบอกทาง

14 - 15 สิงหาคม "เคารพหลุมศพ"

เกร็ดความรู้ภาษาญี่ปุ่น

ช่วงนี้ผู้คนจะออกไปเคารพหลุมศพพร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว ทำความสะอาดหลุมศพและวางดอกไม้ จุดธูปและรดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ จากนั้นครอบครัวหรือญาติพี่น้องก็มารวมตัวกันทานอาหารและใช้เวลาร่วมกัน เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ทุกคนจะได้ระลึกถึงผู้ล่วงลับตามความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคน

16 สิงหาคม "ไฟส่งวิญญาณ"

เกร็ดความรู้ภาษาญี่ปุ่น

วันสุดท้ายของเทศกาลโอบ้ง เป็นวันที่ต้องจากลากับบรรพบุรุษอีกครั้ง มีการจุดไฟโอการะเหมือนกับวันแรก ผู้ล่วงลับจะกลับไปอีกภพหนึ่งอย่างราบรื่นด้วยควันไฟนี้

เกร็ดความรู้ภาษาญี่ปุ่น

ในฤดูนี้ของทุกปีที่เกียวโตจะมีงานเทศกาล โกะซัน โนะ โอคุริบิ (Gozan no okuribi) ที่จุดไฟบนเขาเป็นรูปตัวอักษร 大 (ได) หรือรูปเสาประตูโทริอิ จนกลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของหน้าร้อนในเกียวโตไปแล้ว

เกร็ดความรู้ภาษาญี่ปุ่น

ตามท้องถิ่นบางแห่งจะมีประเพณี โชโรนากาชิ หรือลอยโคมบนแม่น้ำเป็นการส่งวิญญาณ

แม้การจากลากับบรรพบุรุษที่กลับมายังโลกอีกครั้งจะอบอวลด้วยบรรยากาศน่าเศร้าอยู่บ้าง แต่ก็เป็นภาพอันงดงามราวกับความฝัน

จาก "ญี่ปุ่นหน้าร้อน มีอะไรให้ทำเยอะกว่าที่คิด มาแล้วจะติดใจ"

ที่ลืมไม่ได้ในเทศกาลโอบ้งคือ รำวงบงโอโดริ เป็นรำวงอุทิศส่วนกุศลและต้อนรับวิญญาณที่กลับมายังโลก ในปัจจุบันความหมายทางศาสนาดังกล่าวได้จางหายไปและกลายเป็นงานรื่นเริงประจำปีไปแล้ว

โอบ้ง สารทญี่ปุ่น

เทศกาลโอบ้งอาจมีจุดประสงค์หลักเพื่อระลึกถึงผู้ล่วงลับซึ่งอาจทำให้เราเศร้าขึ้นมา แต่ก็เป็นโอกาสอันดีที่เหล่าพี่น้องและคนในครอบครัวจะได้กลับมาเจอกันพร้อมหน้าพร้อมตา เหมือนได้มารื้อฟื้นความทรงจำที่มีต่อกันอีกครั้ง จากนั้นก็ร่วมกันเต้นรำไปตามเสียงเพลงอันครึกครื้นของรำวงบงโอโดริ นี่แหละเทศกาลโอบ้งของญี่ปุ่น

Written by

旅行と写真が好き。 バックパッカーの旅を通して、日本の素晴らしさを再確認。 もっと多くの人に日本の文化や美しさを知ってもらうために、日本の魅力を発信中。

เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ