เมืองมุราคามิ จังหวัดนีงาตะ: ทัวร์ชมตุ๊กตาฮินะในมาชิยะ พร้อมเพลิดเพลินกับกิจกรรม ที่เที่ยว และอาหารท้องถิ่น

7 วิธีใช้เน็ตในญี่ปุ่น! อันไหนสะดวกและคุ้มที่สุด

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

ในยุคนี้ สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการเดินทางไปญี่ปุ่นก็คือเน็ต บทความนี้ขอแนะนำ 7 วิธีในการใช้เน็ตในญี่ปุ่น ข้อดีและข้อด้อวยของแต่ละวิธี และบริการที่แนะนำ

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :

เน็ตถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการเดินทางไปญี่ปุ่น

ポケットWI-FI

Photo by Pixta

ปัจจุบัน เน็ตคือสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้เลยเมื่อเดินทางไปญี่ปุ่น ทั้งใช้ Google Maps หาจุดหมายที่จะไป ตรวจสอบที่พัก จองเที่ยวบิน และอื่นๆ

บทความนี้ ขอแนะนำวิธีใช้เน็ตในญี่ปุ่น และบริการแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ค้นหาซิมการ์ดและ Pocket Wi-Fi ได้ที่ Klook

สารบัญ

  • บทนำ: SIM หรือ Pocket Wi-Fi ที่แนะนำ
  • 7 วิธีใช้เน็ตในญี่ปุ่น

  • 1. Wi-Fi ฟรี
  • 2. Pocket Wi-Fi
  • 3. ซิมการ์ด
  • 4. eSIM
  • 5. โรมมิ่ง (Roaming)
  • 6. อินเตอร์เน็ตคาเฟ่
  • 7. เช่าสมาร์ตโฟน
  • เน็ตกรณีพักที่ญี่ปุ่นระยะยาว
  • บทนำ: SIM หรือ Pocket Wi-Fi ที่แนะนำ

    ในญี่ปุ่นสามารถใช้ Wi-Fi ฟรีได้บางแห่ง แถมยังมีข้อจำกัดอื่นๆ อย่างค่าบริการโรมมิ่งสูง เน็ตคาเฟ่ก็ไม่รองรับภาษาต่างประเทศ

    ดังนั้นจะให้ดีควรจอง Pocket Wi-Fi, ซิมการ์ด หรือ eSIM ล่วงหน้าเมื่อมาเที่ยวญี่ปุ่น หรือหากต้องเดินทางมาทำงานที่ญี่ปุ่น การเช่าสมาร์ตโฟนก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

    เปรียบเทียบ Pocket Wi-Fi / SIM / eSIM

    Pocket Wi-Fi Router SIM Card eSIM
    ผู้ใช้ที่แนะนำ ・ผู้ที่ต้องการใช้ปริมาณข้อมูลมาก
    ・เดินทางเป็นกลุ่ม
    ・ผู้ที่ต้องการลดสัมภาระที่ต้องขน ・ผู้ที่ต้องการลดสัมภาระที่ต้องขน
    ・ผู้ที่ต้องการสมัครก่อนเดินทางไปญี่ปุ่น
    ข้อดี ・ใช้ปริมาณข้อมูลมากได้
    ・เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลายเครื่อง
    ・ติดตั้งง่าย
    ・ราคาถูก
    ・พกพาสะดวก
    ・ขั้นตอนการใช้งานง่าย ๆ
    ・(เมื่อเทียบกับซิมการ์ด) ไม่จำเป็นต้องใส่หรือถอดการ์ดออก
    ข้อด้อย ・พกพาไม่ค่อยสะดวก ・ตั้งค่าเริ่มต้นค่อนข้างยุ่งยาก
    ・เปลี่ยนซิมการ์ดค่อนข้างยุ่งยาก
    ・ตั้งค่าเริ่มต้นค่อนข้างยุ่งยาก

    7 วิธีใช้เน็ตในญี่ปุ่น

    ต่อไปขอแนะนำ 7 วิธีใช้เน็ตในญี่ปุ่น

    1. Wi-Fi ฟรี

    ポケットWI-FI

    ปัจจุบันญี่ปุ่นมีหลายสถานที่ให้บริการ Wi-Fi ฟรี ไม่เพียงแค่ที่สนามบินและสถานีรถไฟหลักเท่านั้น แต่ยังรวมถึงที่พัก คาเฟ่ ชอปปิงมอล์ และอื่นๆ

    NTT บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมของญี่ปุ่นยังมีแอป Japan Wi-Fi auto-connect ที่รองรับการใช้งานในหลากหลายภาษา เมื่อดาวน์โหลดสามารถใช้ Wi-Fi ได้มากกว่า 50,000 จุดทั่วญี่ปุ่น

    แต่ Wi-Fi ฟรีใช้ได้เฉพาะบางจุดเท่านั้น ซึ่งไม่สะดวกสำหรับผู้ที่ต้องใช้ Google Maps แบบเรียลไทม์ในตอนที่กำลังเดินอยู่บนถนน

    แถม Wi-Fi ฟรี ยังต้องแชร์เครือข่ายกับผู้คนมากมายไม่ระบุจำนวนด้วย ดังนั้น จึงเป็นการดีที่สุดที่จะหลีกเลี่ยงการป้อนข้อมูลสำคัญ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต

    2. Pocket Wi-Fi

    ポケットWI-FI

    Photo by Pixta

    Pocket Wi-Fi Router เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กกว่าสมาร์ตโฟนเล็กน้อย จุดเด่นคือใช้งานง่าย แค่เปิดเครื่อง ป้อนรหัสผ่านไปยังอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อ ก็ใช้งานได้ทันที

    นอกจากปริมาณเน็ตที่ใช้งานทั่วไปได้มากแล้ว ยังสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หลายเครื่องได้ด้วย ดังนั้นจึงเหมาะกับผู้ที่เดินทางเป็นกลุ่ม ผู้ชื่นชอบเกม ผู้ที่มาติดต่องาน และอื่นๆ

    โดยทั่วไป Pocket Wi-Fi จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าซิมการ์ด แต่เมื่อใช้ส่วนลด NINJA WiFi อาจมีราคาถูกพอๆ กับ SIM

    ทว่า Pocket Wi-Fi Router โดยทั่วไปเป็นบริการแบบเช่า จำเป็นต้องส่งเครื่องคืนก่อนออกจากญี่ปุ่น จึงอาจมีความยุ่งยากเล็กน้อย อีกประเด็นที่ต้องพิจารณาคืออาจต้องซื้อประกันอุปกรณ์เสียหายด้วย

    3. ซิมการ์ด

    格安SIM

    Photo by Pixta

    เป็นซิมการ์ดที่ใช้เน็ตได้โดยใส่ลงในสมาร์ตโฟนแบบปลดล็อคซิมแล้ว (Unlocked Phone) ต่างจาก Pocket Wi-Fi ตรงที่พกพาสะดวกแค่ใส่ลงสมาร์ตโฟน แถมราคายังถูก แต่ปริมาณเน็ตที่ใช้ได้ทั่วไปน้อยกว่า Pocket Wi-Fi

    ทว่ายังมีข้อด้อยอย่างจำเป็นต้องปลดล็อกการใช้ซิมสมาร์ตโฟนล่วงหน้า และการเปลี่ยนซิมการ์ดค่อนข้างยุ่งยาก

    บางคนอาจประสบปัญหาในการตั้งค่าเริ่มต้น (การตั้งค่า APN) ผู้เขียนเองเคยใช้ซิมการ์ดเมื่อเดินทางไปต่างประเทศหลายครั้ง แต่ใช้เวลาในการหาวิธีตั้งค่า APN เกือบ 30 นาที

    4. eSIM

    eSIM. japan

    Photo by Pixta

    eSIM ย่อมาจาก Embedded SIM (ต่างจากซิมการ์ดโทรศัพท์โดยทั่วไป คือเป็นซิมการ์ดที่ฝังอยู่ในฮาร์ดแวร์ของโทรศัพท์ ไม่สามารถถอดออกได้ ข้อมูลไม่ได้ถูกจัดเก็บไว้ในตัวการ์ด แต่เก็บไว้ในชิปที่ปลอดภัยแทน)

    สำหรับซิมการ์ดโทรศัพท์โดยทั่วไป (Physical SIM) ต้องถอดซิมออกแล้วใส่การ์ด ดังนั้นจึงไม่เพียงแต่ต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนซิมการ์ด แต่ยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้ซิมการ์ดสูญหายหรือเสียหายด้วย

    ส่วน eSIM ใช้งานได้ง่ายๆ เพียงแค่เปลี่ยนการตั้งค่าบนอุปกรณ์ ไม่จำเป็นต้องใส่หรือถอดซิมใดๆ ออก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายพอๆ กับซิมการ์ด แถมยุ่งยากน้อยกว่าซิมการ์ด จึงเป็นอีกบริการที่แนะนำ

    แต่เรื่องที่ต้องพึงระวังคือ eSIM อาจใช้ไม่ได้กับสมาร์ตโฟนรุ่นเก่า

    โดยพื้นฐานแล้วทั้งซิมการ์ดและ eSIM ใช้งานได้เฉพาะเน็ตเท่านั้น ไม่สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้ ทว่าเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2024 Sakura Mobile เริ่มให้บริการ SIM/eSIM พร้อมฟังก์ชันโทรศัพท์ Sakura Mobile เป็นบริการซึ่งได้รับการยอมรับอย่างสูงจากนักท่องเที่ยวที่สื่อสารภาษาอังกฤษกัน

    นอกจากนี้ยังมีบริการต่างๆ เช่น GTN Prepaid eSIM ของ GTN ที่ให้บริการต่างๆ สำหรับชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่น

    5. โรมมิ่ง (Roaming)

    スマートフォン

    โรมมิ่งช่วยให้สามารถใช้บริการของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งทำสัญญาอยู่ได้แม้ในต่างประเทศ จุดเด่นคือใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก

    โดยทั่วไปค่าบริการมักสูง แต่บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละแห่งจะมีแพ็กเกจให้บริการต่างกัน

    แถมความสามารถในการโทรศัพท์และรับส่งข้อความยังขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประการ เช่น ไม่สามารถรับส่งข้อมูลอื่นๆ ได้

    6. เน็ตคาเฟ่

    インターネットカフェ

    รูปของร้านเน็ตคาเฟ่เป็นเพียงภาพตัวอย่างประกอบบทความเท่านั้น Photo by Pixta

    ทั่วญี่ปุ่นมีเน็ตคาเฟ่ที่สามารถใช้คอมพิวเตอร์และเน็ตได้แบบมีค่าบริการ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ

    เน็ตคาเฟ่ของญี่ปุ่น มีจุดเด่นอย่างหนึ่งคือร้านส่วนใหญ่เปิดเป็นร้านมังงะ ซึ่งมีการ์ตูนมังงะมากมายให้บริการด้วย ที่พิเศษสุดๆ คือมีดื่มเครื่องให้บริการแบบไม่อั้นด้วย

    ในญี่ปุ่นมีร้านเน็ตคาเฟ่เฟรนไซด์ชื่อดังหลายแห่งอย่าง Kaikatsu CLUB และ Jiyu Kukan

    ค่าบริการทั่วไปสำหรับการใช้บริการพื้นที่โอเพ่นสเปชอยู่ที่ราว 3 ชั่วโมง 700 เยน หากต้องการห้องที่เป็นแบบส่วนตัว มีกุญแจล็อค ราคาก็สูงขึ้น

    ทว่ามีข้อพึงระวังในการใช้บริการคือร้านเน็ตคาเฟ่ส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นไม่รองรับการใช้งานในภาษาต่างประเทศ

    7. เช่าสมาร์ตโฟน

    インターネット

    Photo by Pixta

    ในญี่ปุ่นก็มีบริการให้เช่าอุปกรณ์สมาร์ตโฟนด้วยเช่นกัน

    Softbank มีบริการให้เช่าสมาร์ตโฟนในราคาวันละ 550 เยน (ปริมาณเน็ตคิดค่าบริการแยกต่างหากวันละ 0 - 990 เยน)

    ซิมการ์ดหรือ Pocket Wi-Fi ของญี่ปุ่นไม่สามารถใช้โทรออกได้ ยกเว้นบางบริการ ถึงเชื่อมเน็ตได้ แต่ก็โทรออกไม่ได้ หากอยากโทรออกก็มีอีกทางเลือกคือเช่าสมาร์ตโฟนทั้งเครื่อง

    เน็ตกรณีพักที่ญี่ปุ่นระยะยาว

    東京インターネット

    Photo by Pixta
    บทความนี้แนะนำบริการต่างๆ สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวญี่ปุ่นระยะสั้นๆ เป็นหลัก

    แต่หากพักในโตเกียว 6 เดือนถึง 1 ปีเพื่อเรียนหรือทำงาน ยังมีบริการอื่นๆ ในญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน

    Pocket Wi-Fi

    หากอยู่ญี่ปุ่น 6 เดือนถึง 1 ปีเพื่อเรียนหรือทำงาน ควรมีทั้งซิมการ์ดและ Pocket Wi-Fi ไว้ใช้

    mobal และ Sakura Mobile ให้บริการ Pocket Wi-Fi ที่สะดวกสบายในราคาสุดคุ้มสำหรับการพักระยะกลางถึงระยะยาว

    การต่อเน็ตบ้าน

    หากพำนักอยู่ในญี่ปุ่นนานกว่า 1 ปี ลองพิจารณาติดตั้งเน็ตบ้านเพื่อใช้เน็ตปริมาณมากในราคาที่ถูกลง

    บทความ MATCHA ต่อไปนี้ขอแนะนำบริการเน็ตหลักๆ โดยเฉพาะ Sakura Mobile มีบริการที่สามารถสมัครได้เฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น นอกจากนี้ GTN ยังให้บริการในหลากหลายภาษานอกเหนือจากภาษาอังกฤษด้วย อย่างภาษาเวียดนาม จีนตัวเต็ม จีนตัวย่อ และเกาหลี

    การใช้บริการสมาร์ตโฟนราคาถูกสำหรับชาวญี่ปุ่น

    วิธีหนึ่งคือการใช้สมาร์ตโฟนและซิมราคาถูกสำหรับชาวญี่ปุ่น จากการแก้ไขกฎหมายและข้อบังคับ ปัจจุบันญี่ปุ่นมีบริการราคาประหยัดเปิดให้บริการมากมาย

    หลายแห่งการสมัครมีเฉพาะภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น แต่หากเริ่มคุ้นเคยกับภาษาญี่ปุ่นหรือมีเพื่อนชาวญี่ปุ่นช่วยก็น่าลองสมัครดู

    คำถามที่พบบ่อย

    จะใช้เน็ตในญี่ปุ่นได้อย่างไร?

    มี 7 วิธีใช้เน็ตในญี่ปุ่นได้
    1. ใช้ Wi-Fi ฟรี
    2. ใช้ Pocket Wi-Fi
    3. ใช้ซิมการ์ด
    4. ใช้ eSIM
    5. เปิดโรมมิ่ง
    6. ไปเน็ตคาเฟ่
    7. เช่าสมาร์ตโฟน

    การใช้เน็ตในญี่ปุ่นโอเคไหม?

    ปัจจุบันญี่ปุ่นมีเน็ตให้บริการในเกือบทุกพื้นที่ยกเว้นเกาะไร้คนอยู่อาศัยซึ่งมีคนน้อยมาก และเมื่อเร็วๆ นี้การเชื่อมต่อเน็ตภายในรถไฟใต้ดินก็โอเคขึ้นมาก

    ที่ญี่ปุ่นมี Wi-Fi ฟรีไหม?

    ในญี่ปุ่นมีให้บริการ Wi-Fi ฟรีที่สนามบิน สถานีรถไฟหลัก คาเฟ่ และโรงแรมหลายแห่ง Wi-Fi ฟรีเชื่อมต่อได้สบายๆ โดยเฉพาะที่ McDonald's และ Starbucks

    นำสมาร์ตโฟนที่ใช้อยู่จากไทยไปใช้ในญี่ปุ่นได้หรือไม่?

    บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่หลายแห่งในไทยมีบริการการโทรระหว่างประเทศและการโรมมิ่งเน็ตที่ใช้ในต่างประเทศได้ แต่ละบริษัทมีแพ็กเกจต่างกัน ดังนั้นกรุณาตรวจสอบข้อมูลจากบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้บริการอยู่

    ปริมาณเน็ตที่เพียงพอในการเที่ยวญี่ปุ่น

    ปริมาณเน็ตที่เพียงพอในการเที่ยวขึ้นอยู่กับการใช้งาน ลองใช้ข้อมูลต่อไปนี้เป็นแนวทางในการพิจารณาดู

    ปริมาณเน็ตมาตรฐานในญี่ปุ่น (สำหรับ 1 GB)
    ส่งอีเมล: 2,090 ฉบับ (ฉบับละประมาณ 500 KB)
    รับชมวิดีโอ: คุณภาพปานกลางได้ราว 4 ชั่วโมง 16 นาที
    Google Map: ค้นหาได้ราว 1,432 ครั้ง (ครั้งละ 10 นาที)
    อ้างอิง: https://www.wifi-rental.com
    อ้างอิง: https://www.wifi-rental.com

    เลือกใช้บริการที่เหมาะกับตัวเรา

    เมื่อพูดถึงบริการเน็ต สิ่งสำคัญคือต้องเลือกบริการที่เหมาะกับตนเอง ซึ่งก็รวมถึงความสะดวกในการใช้งาน และปริมาณเน็ตที่ใช้ได้ด้วย

    ลองใช้บทความนี้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการพิจารณาใช้บริการเน็ตเพื่อเที่ยวญี่ปุ่นครั้งต่อไปกัน

    Written by

    Avatar

    Mizzochi

    Mitoyo, Kagawa, Japan

    ก่อนที่จะเข้าร่วม MATCHA เมื่อตุลาคม 2017 ฉันเคยทำงานในหน่วยงาน PR สำหรับ IR/CSR ของ บริษัท และ สำนักพิมพ์ที่เปิดตัวนิตยสารที่เน้นไปที่การร่วมมือระหว่างประเทศก่อนที่มีการย้ายมาอยู่ที่นครมิโตโยะ จังหวัดคาการะในเมษายน 2019 ฉันเขียนบทความสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมประเทศญี่ปุ่น และยังมีส่วนร่วมในการเร่งการดำเนินงานเพื่อวางการบริการของอินเทอร์เน็ต การเช่ารถ โรงแรม และสถานที่ท่องเที่ยวทางตอนตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น
    เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
    นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

    อันดับ

    ไม่พบบทความ