Start planning your trip
รวมซิมเน็ตมือถือราคาถูก อัพเดทล่าสุดปี 2024 พร้อมเปรียบเทียบจุดเด่นของแต่ละเจ้า
มือถือถือเป็นปัจจัยที่ 5 สำหรับชีวิตของผู้คนยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็นที่ ไทย ญี่ปุ่น และทั่วโลก แล้วที่ญี่ปุ่นมีบริษัทมือถือและแพ็กเกจแบบไหนให้บริการบ้าง บทความนี้จะมาแนะนำบริษัทและแพ็กเกจที่น่าสนใจให้รู้ก่อนตัดสินใจกัน
3 บริษัทมือถือยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น
ก่อนที่จะมีซิมโทรศัพท์มือถือราคาถูก เดิมทีผู้ให้บริการมือถือในญี่ปุ่นจะมีแค่เจ้าใหญ่ๆ 3 เจ้าเท่านั้น คือ NTT Docomo, au และ SoftBank เทียบกับไทยก็คล้ายๆ กับ AIS, DTAC และ Truemove H
ทั้ง 3 เจ้านี้มีร้านสาขาเยอะ บริการพร้อม สัญญาณโทรศัพท์กับสัญญาณเน็ตก็ดี เหมาะสำหรับคนที่เน้นคุณภาพสัญญาณเป็นหลัก
1. NTT Docomo
Picture courtesy of PR TIMES
NTT Docomo เป็นเครือข่ายที่มีผู้ใช้มากที่สุดในญี่ปุ่น ข้อดีคือคุณภาพสัญญาณที่ครอบคลุมที่สุด ไม่ว่าจะในเมืองหรือออกไปต่างจังหวัด
มีระบบสะสมแต้มที่เรียกว่า d POINT เป็นของตัวเอง จะได้แต้มสะสมทุกครั้งที่จ่ายค่าโทรศัพท์ หรือซื้อของในร้านค้าที่ร่วมรายการ
NTT Docomo | |
เว็บไซต์ | https://www.nttdocomo.co.jp/ |
นัดวันไปร้าน | https://www.nttdocomo.co.jp/support/shop/service/reserve_shop/ |
ค้นหาร้านสาขา | https://www.nttdocomo.co.jp/support/shop/ |
ค้นหาพื้นที่รองรับบริการ | https://www.nttdocomo.co.jp/area/ |
2. au
Picture courtesy of PR TIMES
au เครือข่ายที่ครองยอดผู้ใช้ทั่วญี่ปุ่นเป็นอันดับ 2 ตอนนี้มีโฆษณาโทรทัศน์ชุด ซันทาโร่ ที่ได้ดารานักแสดงชื่อดังมาสวมบทบาทเป็นตัวละครในนิทานพื้นบ้านญี่ปุ่นทั้งหลาย เช่น โมโมทาโร่ อุราชิมะทาโร่ คินทาโร่ เจ้าหญิงกระบอกไม้ไผ่ ทำเอาคนที่ไม่ได้ใช้มือถือค่ายนี้ก็ยังติดตามโฆษณากันเป็นประจำ
ของ au เองก็มีพื้นที่บริการครอบคลุม และมีแพ็กเกจหลากหลายให้เลือกตามสไตล์การใช้งานและราคา
au | |
เว็บไซต์ | https://www.au.com/ |
นัดวันไปร้าน | https://www.au.com/aushop/reservation/ |
ค้นหาร้านสาขา | https://www.au.com/aushop/ |
ค้นหาพื้นที่รองรับบริการ | https://www.au.com/mobile/area/ |
3. SoftBank
Picture courtesy of PR TIMES
ไปไหนมาไหนถ้าได้เห็นรูปเจ้าหมาสีขาวก็ต้องนึกถึง SoftBank เทียบกับสองเจ้าข้างบนแล้วถือว่ามาทีหลังแต่ความนิยมก็ตามมาติดๆ มีทั้งบริการเครือข่ายมือถือ อินเตอร์เน็ตบ้าน และเป็นเจ้าของทีมเบสบอลด้วย
SoftBank เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทมีเดียยักษ์ใหญ่อย่าง Yahoo! JAPAN เลยได้รับสิทธิ์ประโยชน์พิเศษ Yahoo! Premium เวลาซื้อของหรือไปท่องเที่ยว (ขึ้นอยู่กับแพ็กเกจที่ใช้บริการ)
SoftBank | |
เว็บไซต์ | https://www.softbank.jp/ |
นัดวันไปร้าน | https://www.softbank.jp/shop/reserve/ |
ค้นหาร้านสาขา | https://www.softbank.jp/shop/ |
ค้นหาพื้นที่รองรับบริการ | https://www.softbank.jp/mobile/network/area/ |
ข้อควรระวัง
1. เครือข่ายของทั้ง 3 เจ้านี้ ถ้าเป็นในเมืองใหญ่จะไม่มีปัญหาอะไร แต่พื้นที่ชนบทบางแห่งอาจมีปัญหาเรื่องสัญญาณอ่อน ลองค้นหาดูจากพื้นที่รองรับบริการของแต่ละเจ้าก่อนเพื่อความชัวร์
2. ทั้ง 3 เจ้าค่อนข้างได้รับความนิยม เวลาที่จะไปติดต่อที่ร้านโดยตรง หรือจะไปทำสัญญาอาจต้องใช้เวลารอพอสมควร ตอนที่ไปก็อย่าลืมเตรียมเอกสารที่จำเป็น เช่น บัตรประจำตัวคนต่างชาติ (ไซริวการ์ด) พาสปอร์ต บัตรเงินสดสำหรับหักเงินค่าบริการ
ซิมราคาถูก
ถ้าเลือกใช้ซิมของ 3 เจ้าใหญ่ๆ ก็อาจต้องเสียค่าบริการรายเดือนแพง เพราะมีบริการเสริมอื่นๆ ที่มากเกินจำเป็น อีกทางเลือกคือซิมราคาถูกจากบริษัททางเลือกใหม่ๆ ซึ่งญี่ปุ่นจะเรียกว่า 格安スマホ เริ่มต้นที่ราวๆ 2,000 เยนต่อเดือน
ตารางนี้เป็นค่าบริการรายเดือนและจำนวนอินเตอร์เน็ตที่ให้ความเร็วสูงสุดก่อนลดความเร็ว สำหรับโปรพื้นฐานของแต่ละเจ้า บางทีก็จะมีโปรโมชั่นหรือสิทธิประโยชน์พิเศษออกมาก็ยิ่งถูกไปอีก ตอนที่จะสมัครก็ลองดูจากเว็บไซต์ของแต่ละเจ้ากันก่อนได้
- 3. LINEMO
- 4. ahamo
- 5. HIS Mobile
- 6. Y!mobile
- 7. UQ mobile
- 8. povo
- 9. IIJmio
บริษัท | ค่ารายเดือน | ปริมาณเน็ต | โทรในประเทศ |
1. GTN MOBILE | 1,200 เยน | 3 GB | 22 เยน/ 30 วินาที |
2. Rakuten Mobile | 1,078 เยน | 0 - 3 GB | โทรฟรี |
|
2,728 เยน | 20 GB | 22 เยน/30 วินาที |
|
2,970 เยน | 20 GB | 22 เยน/30 วินาที |
|
290 เยนขึ้นไป | 1 - 50 GB | 9 เยน/30 วินาที |
|
2,365 เยน | 4 GB | 22 เยน/30 วินาที |
|
2,365 เยน | 4 GB | 22 เยน/30 วินาที |
|
ค่าบริการพื้นฐาน 0 เยน | บริการเสริม | 22 เยน/30 วินาที |
|
850 เยนขึ้นไป | 2 GBขึ้นไป | 11 เยน/30 วินาที |
* ราคานี้ไม่รวมค่าเปิดบริการ
1. GTN MOBILE
Picture courtesy of GTN MOBILE
GTN MOBILE เป็นบริการเฉพาะสำหรับชาวต่างชาติที่อาศัยในญี่ปุ่น มีบริการในหลากหลายภาษา สมัครได้ด้วยใบทะเบียนบ้านและบัตรนักเรียนจึงสะดวกมากๆ
แพ็กเกจยอดฮิตคือ Eazy SIM ซึ่งมีค่าบริการรายเดือนถูก มีปริมาณเน็ต 4 แบบให้เลือกตั้งแต่ 3GB ถึง 50GB ตามการใช้งาน ข้อดีอีกอย่างคือไม่มีสัญญาผูกมัดเรื่องระยะการใช้งานด้วย เหมาะกับคนที่มาเรียนภาษาแค่ 1 ปี มาพักผ่อนช่วงหยุดงาน หรือมาอยู่ระยะสั้น
ตัวอย่างแพ็กเกจ Eazy SIM | |
3 GB ขึ้นไป | 1,200 เยน/เดือน |
โทรในประเทศ | 22 เยน/30 วินาที |
ที่สำคัญคือจ่ายค่าบริการรายเดือนที่ร้านสะดวกซื้อได้ ไม่จำเป็นต้องมีบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิต ส่วยใครที่มีบัญชีก็สามารถเลือกหักจากบัญชีได้เพื่อความสะดวกสบาย
2. Rakuten Mobile
Picture courtesy of PR TIMES
Rakuten เป็นเว็บขายของออนไลน์ชื่อดังของญี่ปุ่น บริการล่าสุดที่เค้าเลือกคือซิมมือถือราคาถูก Rakuten Mobile หากใช้แอป Rakuten Link ไม่เพียงโทรหาผู้ใช้ Rakuten Mobile ได้เท่านั้น แต่ยังโทรหาผู้ใช้มือถือค่ายอื่น รวมถึงโทรศัพท์บ้านได้ด้วย
ตัวอย่างแพ็กเกจ Rakuten SAIKYO Plan | |
เน็ตไม่จำกัด | 3,278 เยน/เดือน |
โทรในประเทศ | โทรฟรี (* 1) |
* 1: โทรฟรีเมื่อโทรผ่านแอปพลิเคชัน Rakuten Link
ค่าบริการขึ้นอยู่กับปริมาณเน็ตที่ใช้ในแต่ละเดือน หากปริมาณเน็ตไม่เกิน 3GB ค่าบริการจะอยู่ที่ 1,078 เยน ค่าบริการจะถูกลง จึงไม่สิ้นเปลืองเงิน
3. LINEMO
Picture courtesy of PRTIME
LINEMO สมัครทางออนไลน์ได้ ทั้งแพ็กเกจและบริการเสริมรออกแบบให้เลือกง่ายและใช้งานสะดวก
ตัวอย่างแพ็กเกจ | |
20 GB | 2,728 เยน/เดือน |
โทรในประเทศ | 22 เยน/30 วินาที |
เนื่องจากไม่กินเน็ตเมื่อใช้ LINE จึงเหมาะกับคนที่ใช้ LINE บ่อย
4. ahamo
Picture courtesy of ahamo
ahamo สมัครทางออนไลน์ได้ ทั้งแพ็กเกจและบริการเสริมรออกแบบให้เลือกง่ายและใช้งานสะดวก
ตัวอย่างแพ็กเกจ | |
20 GB | 2,970 เยน/เดือน |
โทรในประเทศ | โทรฟรี 5 นาที จากนั้นคิด 22 เยน/30 วินาที |
เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตบ่อยๆ
5. HIS Mobile
HIS Mobile ชื่อนี้คุ้นๆ กันมั๊ย นี่คือบริษัททัวร์เจ้าใหญ่ของญี่ปุ่นที่มีสาขาอยู่ที่ไทยด้วย นอกจากซิมราคาถูกที่ใช้ในญี่ปุ่นเองแล้วยังมีขายซิมสำหรับใช้ในต่างประเทศได้ด้วย
ตัวอย่างแพ็กเกจ 自由自在290プラン (Free 290 Plan) | |
ใช้เน็ตไม่เกิน 100MB | 290 เยน/เดือน |
โทรในประเทศ | 9 เยน/30 วินาที |
มีแพ็กเกจปริมาณเน็ตสูงสุด 3GB (770 เยน) และปริมาณเน็ตสูงสุด 7GB (990 เยน) แต่สำหรับคนใช้เน็ตอย่างเดียวและใช้ไม่เยอะ ขอแนะนำแพ็กเกจปริมาณเน็ตสูงสุด 100MB เริ่มต้นเพียง 290 เยน/เดือน
6. Y!mobile
Picture courtesy of PR TIMES
นอกจากร้านค้าของ Y!mobile สามารถไปใช้บริการในร้านบางแห่งของ SoftBank ได้ด้วย
Simple S plan | |
4GB | 2,365 เยน/เดือน |
โทรในประเทศ | 22 เยน/30 วินาที |
สำหรับคนที่สมัครใหม่ ถ้าสมัครพร้อมเน็ตบ้าน SoftBank HIKARI หรือ SoftBank Air จะได้ส่วนลดค่าบริการพื้นฐาน คุ้มสุดๆ
7. UQ mobile
Picture courtesy of PR TIMES
UQ mobile ได้ชื่อว่าเป็นเครือข่ายที่สัญญาณเร็วที่สุดในบรรดาซิมราคาถูกทั้งหมด มีระบบต่างๆ ที่ช่วยให้ใช้งานได้อย่างคุ้มค่า เช่น โหมดประหยัดที่ช่วยให้ใช้งานโซเชียลมีเดียได้โดยไม่กินเน็ต
Mini Mini Plan | |
4GB | 2,365 เยน/เดือน |
โทรในประเทศ | 22 เยน/30 วินาที |
8. povo
Picture courtesy of PR TIMES
จุดเด่นใหญ่ที่สุดของ povo แพ็กเกจออนไลน์ของ au คือค่าบริการพื้นฐาน 0 เยน มีการกำหนดราคายืดหยุ่นสูง ค่าบริการรายเดือนจะขึ้นกับปริมาณเน็ตและระยะเวลาการใช้งานที่เลือกจาก “บริการเสริม” ต่างๆ
ตัวอย่างแพ็กเกจ | |
ค่าบริการรายเดือน | ค่าบริการพื้นฐาน 0 เยน + บริการเสริม (เริ่มต้นที่ 1GB/7 วัน ในราคา 390 เยนขึ้นไป) |
โทรในประเทศ | 22 เยน/30 วินาที |
มีบริการเสริมให้เลือกหลากหลาย เช่น ปริมาณเน็ต 1GB (7 วัน) ในราคา 390 เยน และ 20GB (30 วัน) ในราคา 2,700 เยน
8. IIJmio
IIJmio ซิมราคาถูกเจ้าเก่าแก่ที่เริ่มบริการมาตั้งแต่ปี 2012 มีแพ็กเกจราคาถูก นักเรียนต่างชาติเลยนิยมใช้กันเยอะ โดดเด่นด้วยแพ็กเกจที่ยืดหยุ่น สามารถเลือกปริมาณเน็ตได้ตั้งแต่ 2GB - 50GB
ตัวอย่างแพ็กเกจ | |
2 GB | 850 เยน/เดือน |
โทรในประเทศ | 11 เยน/30 วินาที |
เลือกซิมเจ้าที่ชอบในราคาที่ใช่
ไม่ว่าจะเจ้าเล็กเจ้าใหญ่ก็มีทั้งข้อดีข้อเสียเหมือนกัน จะให้ดีก็เลือกดูจากการใช้งานของเราเป็นหลักดีกว่า แพ็กเกจไหนที่ออปชั่นเยอะแต่เราไม่จำเป็นต้องใช้ก็อย่าไปเลือก เอาแค่ที่จำเป็นก็พอ และยังช่วยประหยัดเงินได้ด้วย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
Main image courtesy of pixta
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง