เมืองมุราคามิ จังหวัดนีงาตะ: ทัวร์ชมตุ๊กตาฮินะในมาชิยะ พร้อมเพลิดเพลินกับกิจกรรม ที่เที่ยว และอาหารท้องถิ่น

รวบรวมงานประเพณีในรอบปีของญี่ปุ่นที่แสนภาคภูมิใจ สู่สายตาชาวโลก

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีเทศกาลประเพณีมากมายในแต่ปี ทั้งยังมีเอกลักษณ์และช่วยถ่ายทอดความงดงามในแบบญี่ปุ่นสู่สายตาชาวโลกอีกด้วย สำหรับชาวญี่ปุ่นแล้วคงคุ้นเคยกับภาพงานประเพณีต่างๆมาตั้งแต่เด็ก แต่สำหรับชาวต่างชาติแล้วคงภาพที่แปลกตาอย่างแน่นอน

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีเทศกาลประเพณีมากมายในแต่ปี ทั้งยังมีเอกลักษณ์และช่วยถ่ายทอดความงดงามในแบบญี่ปุ่นสู่สายตาชาวโลกอีกด้วย สำหรับชาวญี่ปุ่นแล้วคงคุ้นเคยกับภาพงานประเพณีต่างๆมาตั้งแต่เด็ก แต่สำหรับชาวต่างชาติแล้วคงภาพที่แปลกตาอย่างแน่นอน คนญี่ปุ่นเองก็ควรต้องทำความรู้จักกับงานประเพณีของประเทศตนเองไว้เหมือนกันนะ และในครั้งนี้จะพาเพื่อนๆไปทำความรู้จักกับงานเทศกาลประเพณีตลอดปีของญี่ปุ่น โดยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนไปตามลำดับ ไปชมพร้อมๆกันเลยจ้า

ฤดูใบไม้ผลิ

เทศกาลชมดอกซากุระ ปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน

DSC07302

ภาพถ่าย:[SAKURA] เพลิดเพลินประหนึ่งหลุดเข้าไปในโลกแห่งซากุระได้ที่จิโดริงะฟุจิ

ซากุระถือเป็นดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น การบานของดอกซากุระจะแตกต่างไปตามละพื้นที่ แต่ที่แถบโตเกียวจะบานเต็มที่ในช่วงราวๆปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน และชาวญี่ปุ่นจะชมดอกซากุระภายใต้ต้นซากุระที่บานเต็มที่แล้วนั่นเอง

พิธีเปิดภาคการศึกษา・พิธีต้อนรับเข้าประจำบริษัท ต้นเดือนเมษายน

เดือนเมษายนที่ญี่ปุ่นถือเป็นเดือนที่เริ่มเข้าสู่การเริ่มต้นชีวิตและความฝันใหม่ๆ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับดอกซากุระที่กำลังเบ่งบาน การยึดถือเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนที่เริ่มต้นเข้าสู่ปีใหม่ถือเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างนึงของประเทศญี่ปุ่น

โกลเด้นวีค

โดยปกติแล้วจะเป็นวันหยุดสามวันติดต่อกันโดยตรงกับวันที่ 3 พฤษภาคม(วันรัฐธรรมนูญ)วันที่ 4 พฤษภาคม(วันสีเขียว)วันที่ 5 พฤษภาคม(วันเด็ก)แต่ถ้าเป็นวันหยุดเสาร์อาทิตย์และเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน(วันโชวะ)ติดต่อกันจะทำให้กลายเป็นวันหยุดติดต่อกันอย่างยาวนาน ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีการคมนาคมหนาแน่นมากเนื่องจากเป็นช่วงที่คนญี่ปุ่นวางแผนไปเที่ยวหรือเดินทางกลับบ้านกัน

วันเด็กผู้ชาย วันที่ 5 พฤษภาคม

รวบรวมงานประเพณีในรอบปีของญี่ปุ่นที่แสนภาคภูมิใจ สู่สายตาชาวโลก

Photo by Pixta
เทศกาลฮินะตรงกับวันที่ 3 มีนาคม และเป็นวันของเด็กผู้หญิง แต่วันที่ 5 พฤษภาคมจะเป็นวันเเด็กผู้ชายเป็นวันที่จัดขึ้นเพื่ออธิษฐานความสุขความสมบูรณ์ให้กับเด็กผู้ชาย โดยเมื่อหลานชายคนแรกถือกำเนิดขึ้นมา คุณปู่และคุณย่าก็จะให้โค่ยโนโบริ(*1)เพื่อนำไปประดับไว้ในบริเวณบ้าน บางบ้านอาจมีการนำหมวกและชุดเกราะซามูไรมาประดับตกแต่งด้วย

(*1)โค่ยโนโบริ:ธงที่วาดรูปปลาคาร์ป

จงโบยบินให้ทั่วเมือง!ธงรูปปลาคาร์ปที่แหวกว่ายอยู่บนท้องฟ้าในฤดูใบไม้ผลิ ภาพทิวทัศน์ที่คุ้นตาในวันเด็กผู้ชาย

ฤดูฝน เดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฏาคม

รวบรวมงานประเพณีในรอบปีของญี่ปุ่นที่แสนภาคภูมิใจ สู่สายตาชาวโลก

Photo by Pixta
ในฤดูทั้ง 4 ฤดูของญี่ปุ่น ราวเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฏาคมจะเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีฝนตกชุกมาก ถ้าเทียบกับฤดูฝนของประเทศอื่น ฤดูฝนของญี่ปุ่นฝนจะตกไม่หนักแต่จะตกแบบกระปริบกระปรอยเป็นระยะเวลานาน แต่ก็ทำให้ดอกอะซิไจเริ่มบานเนื่องจากได้รับความชุ่มชื้นจากฝนไปด้วย ดอกอะจิไซเป็นดอกไม้ที่หาชมได้ในช่วงฤดูฝนของญี่ปุ่น

ฤดูร้อน

ทานาบาตะ วันที่ 7 กรกฏาคม

รวบรวมงานประเพณีในรอบปีของญี่ปุ่นที่แสนภาคภูมิใจ สู่สายตาชาวโลก

Photo by Pixta

เป็นงานประเพณีที่มีมาตั้งแต่เดิมของญี่ปุ่นผสมผสานกับงานประเพณีที่สืบทอดมาจากประเทศจีนตั้งแต่ยุคสมัยนารา จนเกิดเป็นงานเทศกาลทานาบาตะในปัจจุบันขึ้น

ตามเรื่องเล่าที่ญี่ปุ่นนั้น เจ้าหญิงทอผ้าโอริฮิเมะและชายเลี้ยงวัวฮิโคโบชิได้พบและตกหลุมรักกัน ภายหลังจากที่ทั้งคู่ได้แต่งงานกันแล้วได้ละเลยหน้าที่การงานของตนเอง พระเจ้าเมื่อได้ทราบเรื่องจึงโกรธมากจึงแยกทั้งคู่ให้อยู่ห่างกัน แต่จะสามารถพบกันได้เพียงปีละครั้งเท่านั้นในวันทานาบาตะ วันที่ 7 กรกฏาคม โดยทั้งคู่จะข้ามแม่น้ำสวรรค์เพื่อมาพบกัน

โดยตามประเพณีในงานเทศกาลทานาบาตะนั้น จะเขียนคำอธิษฐานลงไปทันซาคุ(*2)แล้วนำไปแขวนไว้กับใบไผ่เพื่อให้คำอธิษฐานเป็นจริง ซึ่งเป็นประเพณีที่มีต้นกำเนิดมาจากงานเย็บทอผ้าซึ่งเป็นงานของเจ้าหญิงโอริฮิเมะ ในอดีตนั้นเป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่ออธิษฐานขอให้งานด้านเย็บทอผ้าและสิ่งทอเจริญเติบโตก้าวหน้า แต่ในสมัยเอโดะจะเป็นการอธิษฐานเพื่อขอให้เรื่องของงานศิลปะและศิลปะการเขียนอักษรจีนประสบความสำเร็จเจริญก้าวหน้า แต่ในปัจจุบันนั้นไม่จำเป็นต้องเขียนคำอธิษฐานแต่เฉพาะเรื่องของการเย็บทอผ้าหรือศิลปะการเขียนอักษร ผู้เขียนสามารถเขียนคำอธิษฐานเรื่องใดก็ได้ตามที่ตนเองปรารถนาลงในทันซาคุ

(*2)ทันซาคุ : คือกระดาษที่มีรูปทรงเรียวยาวไว้ใช้เขียนคำอธิษฐาน ในอดีตใช้สำหรับเขียนกลอนไฮกุหรือบทกวี

งานเทศกาลดอกไม้ไฟ เดือนกรกฏาคมถึงเดือนสิงหาคม

11381457316_fb46bfbf8d_b

by Nithin Selaraju

ถ้าพูดถึงฤดูร้อนของญี่ปุ่นคงต้องนึกถึงภาพงานเทศกาลดอกไม้ไฟอย่างแน่นอน ซึ่งความสวยงามของดอกไม้ไฟญี่ปุ่นนั้นไม่แพ้ชาติไหนในโลก ใครมีเพื่อนชาวต่างชาติก็อย่าลืมชวนให้มาดูดอกไม้ไฟที่สวยงามของญี่ปุ่นให้ได้นะ ที่โตเกียวนั้นสถานที่ชมดอกไม้ไฟที่มีชื่อเสียงคือ แม่น้ำสุมิดะ

งานเทศกาลฤดูร้อน เดือนกรกฏาคมถึงเดือนสิงหาคม

7643525562_5383e2acd8_b

งานเทศกาลฤดูร้อนคืองานขนบธรรมเนียมเก่าแก่ดั้งเดิมของญี่ปุ่น ซึ่งจะขาดไม่ได้สำหรับฤดูร้อนที่ญี่ปุ่น โดยหญิงสาวจะใส่ชุดยูกาตะ(*3)และผู้ชายจะใส่ชุดจินเบ(*4)เดินเข้าร่วมตามงานวัดและงานเต้นรำในเทศกาลโอบ้งต่างๆ ต้นกำเนิดของงานเทศกาลฤดูร้อนมาจากพื้นที่เขตหมู่บ้านชาวนา โดยจัดขึ้นเพื่อต้องการผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยจากงานด้านเกษตรกรรม ส่วนเขตตัวเมืองนั้นจัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่มักจะพบเจอบ่อยในฤดูร้อน เช่น ไฮเปอร์เทอเมีย โรคแพ้แดด เป็นต้น

(*3) ยูกาตะ: เป็นชุดแบบญี่ปุ่นชนิดหนึ่งแต่เนื้อผ้าจะบางกว่าชุดกิโมโน ชาวญี่ปุ่นจะใส่กันมากในช่วงฤดูร้อน
(*4) จินเบ: เป็นชุดแบบญี่ปุ่นสำหรับผู้ชายใส่ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยปกติมักจะใส่คู่กับกางเกงขาสั้น

เทศกาลไหว้บรรพบุรุษ วันที่ 15 สิงหาคม

ญี่ปุ่นมีรากฐานตามแบบขนมธรรมเนียมทางศาสนาพุทธ จึงได้มีการจัดเทศกาลไหว้บรรพบุรุษขึ้นในวันที่ 15 สิงหาคม เพื่อเป็นการรำลึงถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยคนในครอบครัวจะมารวมตัวกันและใช้เวลาอยู่ด้วยกันในวันนี้

อาจแตกต่างกันไปในแต่ละปี แต่โดยปกติจะเป็นวันหยุดอยู่ระหว่างวันที่ 13 – 15 สิงหาคม ซึ่งจะเหมือนกับช่วงวันหยุดปีใหม่ที่ผู้คนต่างพากันเดินทางกลับบ้านเกิด ทำให้การคมนาคมหนาแน่นมาก ร้านค้าส่วนใหญ่ก็จะปิดด้วยเช่นกัน หากมีกำหนดจะไปซื้อของร้านไหนในช่วงนี้ แนะนำว่าควรจะต้องติดต่อสอบถามล่วงหน้ากับทางร้านด้วยจะดีกว่า

ฤดูใบไม้ร่วง

การชมพระจันทร์ ประมาณช่วงกลางเดือนกันยายน

เป็นประเพณีชมพระจันทร์ที่สุกสกาวใหญ่โตในช่วงกลางฤดูใบไม้ผลิ โดยจะนำขนมดังโงะและหญ้าซุซูกิมาประดับเพื่อใช้ในการบวงสรวงพระจันทร์

โมมิจิ(ใบไม้แดง) ประมาณเดือนพฤศจิกายน

รวบรวมงานประเพณีในรอบปีของญี่ปุ่นที่แสนภาคภูมิใจ สู่สายตาชาวโลก

Photo by Pixta

ถ้าพูดถึงฤดูใบไม้ผลิก็ต้องดอกซากุระ แต่ถ้าพูดถึงฤดูใบไม้ร่วงก็ต้องใบไม้แดง โดยในช่วงก่อนที่ใบไม้จะร่วงทั้งหมดอันเป็นสัญญาณเข้าสู่ฤดูหนาว ใบเมเปิ้ลจะกลายเป็นสีแดงหรือสีเหลือง ที่คามาคุระซึ่งอยู่ใกล้กับโตเกียวเป็นสถานที่ๆมีชื่อเสียงมากในการชมใบไม้แดง และที่ศาลเจ้าเมจิก็ยังสามารถชมใบไม้แดงได้เช่นกัน

ชิจิโกะซัง (งานเทศกาลฉลองสำหรับเด็กอายุ 3 ขวบ 5 ขวบ และ 7 ขวบ ) เดือนพฤศจิกายน

รวบรวมงานประเพณีในรอบปีของญี่ปุ่นที่แสนภาคภูมิใจ สู่สายตาชาวโลก

Photo by Pixta
by einharch

เป็นงานฉลองการเติบโตสำหรับเด็ก โดยเมื่อเด็กผู้หญิงมีอายุครบ 3 หรือ 7 ขวบ ส่วนเด็กผู้ชาย เมื่อมีอายุครบ 5 ขวบ จะสวมใส่ฮาเระกิ(เสื้อผ้าแบบญี่ปุ่นชนิดหนึ่งนิยมใส่ออกงานเทศกาลต่าง) และพ่อแม่จะพาไปขอพรที่ศาลเจ้า

ลูกอมจิโตะเสะอะเมะที่ให้สำหรับเด็กในวันชิจิโกะซังนั้น เป็นลูกอมที่มีลักษณะเป็นแท่งเรียวยาว โดยมีความหมายว่าอยากให้ลูกเติบโตและอายุยืนยาวเหมือนลูกอมแท่งนี้ ส่วนถุงที่ไว้ใส่ลูกอมจิโตะเสะอะเมะจะมีรูปวาดของเต่าและนกกระเรียนหรือต้นสน ต้นไผ่ และ ต้นบ๊วย โดยมีความหมายสื่อถึงความเป็นสิริมงคลที่ดีงาม

ฤดูหนาว

วันคริสต์มาส วันที่ 24 ,25 ธันวาคม

รวบรวมงานประเพณีในรอบปีของญี่ปุ่นที่แสนภาคภูมิใจ สู่สายตาชาวโลก

Photo by Pixta
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ไม่มีรากฐานมาจากศาสนาคริสต์ แต่กับมีงานกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวันคริสมาสต์เหมือนกับประเทศอื่นๆ แต่ความรู้สึกของชาวญี่ปุ่นทั่วไปที่มีต่อวันคริสต์มาสนั้น มักจะคิดว่าเป็นวันที่ไว้สำหรับออกเดทกับคนรักหรือกินเลี้ยงเฮฮากับเพื่อนฝูง มากกว่าจะเป็นวันที่ไว้สำหรับจัดงานปาร์ตี้ภายในครอบรัว

เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ - วันปีใหม่ วันที่ 31 ธันวาคมถึงวันที่ 3 มกราคม

รวบรวมงานประเพณีในรอบปีของญี่ปุ่นที่แสนภาคภูมิใจ สู่สายตาชาวโลก

Photo by Pixta

วันที่ 31 ธันวาคม ซึ่งตรงกับวันสิ้นปี ตามประเทศต่างๆทั่วโลกก็คงมีงานกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แน่นอน แต่สำหรับที่ญี่ปุ่นนั้น โดยปกติจะเป็นการกินโซบะข้ามปีหรือดูการประกวดร้องเพลงประจำปีทาง NHK ซะมากกว่า

โซบะข้ามปี คืออาหารที่แฝงคำอธิษฐานที่ว่า「ขอให้มีอายุยืนยาว」และวันที่ 1- 3 จะเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ส่วนอาหารที่นิยมทานกันในช่วงปีใหม่คือ โอะโซนิ(*5)และโอเสะจิ(*6)

ในช่วงปีใหม่จะมีการไปวัดหรือศาลเจ้าอีกด้วย เพื่อเป็นการขอบคุณสำหรับ 1 ปีที่ผ่านมา และเพื่ออธิษฐานต่อพระเจ้าเพื่อขอให้ปีใหม่นี้สามารถดำเนินชีวิตไปได้อย่างสงบสุขและราบรื่น

(*5) โอะโซนิ:คือ ซุปที่ใส่โมจิ รสชาติและเครื่องปรุงของโอะโซนิจะแตกต่างกันไปตามแต่ละครอบครัวและภูมิภาค เป็นอาหารที่แสดงถึงลักษณะพิเศษและขนมธรรมเนียมประเพณีของแต่ละภูมิภาค
(*6) โอะเสะจิ :เป็นอาหารชุดที่คนในครอบครัวจะทานร่วมกันในวันปีใหม่ โดยจะใช้วัตถุดิบอาหารชั้นดีและมีความหมายเป็นศิริมงคลหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น ไข่ปลาแฮร์ริ่ง คินตง อาหารห่อสาหร่าย นามะสุ เป็นต้น นำมาจัดเป็นชุดใส่กล่องอาหารแบบญี่ปุ่น โดยอาหารแต่ละชนิดที่อยู่ในกล่องก็จะมีความหมายที่เป็นศิริมงคลแตกต่างกันไป

ศาลเจ้าเมจิ ศาลเจ้าที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น จำนวนผู้ไปสักการะในช่วงปีใหม่มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของญี่ปุ่น!

วันเฉลิมฉลองบรรลุนิติภาวะ วันจันทร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม

รวบรวมงานประเพณีในรอบปีของญี่ปุ่นที่แสนภาคภูมิใจ สู่สายตาชาวโลก

Photo by Pixta
แม้ว่างานเทศกาลช่วงปีใหม่จะจบไปแล้ว แต่งานเทศกาลของเดือนมกราคมก็ยังไม่หมดเพียงแค่นี้ ในวันพิธีเฉลิมฉลองบรรลุนิติภาวะ ผู้หญิงจะใส่ฟุริโซเดะ(*7) ส่วนผู้ชายจะใส่ฮากามะ(*8) หรือชุดสูทเข้าร่วมพิธี เหล่าหนุ่มสาวที่มีอายุครบ 20 ปี จะมารวมตัวกันในงานพิธีที่จัดขึ้นตามแต่ละภูมิภาคทั่วประเทศญี่ปุ่น และอาจมีการจัดงานเลี้ยงรุ่นไปพร้อมๆกันด้วย

ตามแต่ละประเทศต่างๆก็น่าจะมีงานวันเฉลิมฉลองบรรลุนิติภาวะด้วยเช่นกัน แต่สำหรับประเทศญี่ปุ่นแต่เดิมแล้ว วันที่ 15 มกราคม จะถูกกำหนดให้เป็นวันเฉลิมฉลองบรรลุนิติภาวะ แต่ปัจจุบันต้องการให้เป็นวันหยุดยาวต่อเนื่อง จึงได้กำหนดให้เป็นวันจันทร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม แต่ก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละปี

(*7) ฟุริโซเดะ: คือชุดกิโมโนแขนยาวที่จะสวมใส่โดยผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานเท่านั้น หลังจากแต่งงานแล้วจะใส่โดยการตัดแขนเสื้อทิ้ง
(*8) ฮากามะ: คือกางเกงแบบญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง โดยจะสวมใส่เลยเอวขึ้นไปเพื่อปกปิดร่างกายส่วนล่าง

เซ็ทสึบึน วันที่ 3 กุมภาพันธ์

เป็นเทศกาลโปรยถั่วพร้อมกับตะโกนว่า「โชคลาภจงเข้ามา ปีศาจจงออกไป」เพื่อเป็นการขับไล่ความชั่วร้ายก่อนวันย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ โดยปกติแล้วจะกินถั่วตามจำนวนเท่ากับอายุของตัวเองอีกด้วย และตอนที่ทานซูชิที่มีชื่อว่า เอะโฮมาคิ จะทานพร้อมกับการหันไปทางทิศที่เชื่อว่ามีพระเจ้าสถิตอยู่ โดยทิศทางจะแตกต่างกันไปทุกๆปี และในระหว่างทานอยู่ห้ามพูดคุยด้วยเพราะการพูดในระหว่างทานอยู่นั้นจะถือเป็นการขับไล่สิริมงคลที่ดีงามออกไป

วันวาเลนไทน์ วันที่ 14 กุมภาพันธ์

วันวาเลนไทน์เป็นวันแห่งความรักที่ทั่วโลกรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่ที่ญี่ปุ่นนั้นฝ่ายหญิงจะเป็นฝ่ายให้ช๊อคโกแลตแก่ฝ่ายชาย และไม่เพียงแค่คู่รักเท่านั้น ที่ญี่ปุ่นยังมีธรรมเนียมการให้ช๊อคโกแลตแก่เพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานที่บริษัทอีกด้วย

เทศกาลตุ๊กตาฮินะ วันที่ 3 มีนาคม

เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นเพื่ออวยพรให้เด็กผู้หญิงมีความสุขและความเจริญเติบโต มีอีกชื่อเรียกว่าเทศกาลเด็กผู้หญิง โดยจะมีการนำตุ๊กตาที่มีชื่อว่าตุ๊กตาฮินะ มาประดับตกแต่ง และทานซุปหอยกาบและจิราชิซูชิเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองด้วย

พิธีจบการศึกษา เดือนมีนาคม

เดือนมีนาคม เป็นช่วงเวลาสำเร็จการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น วันจัดพิธีสำเร็จการศึกษาจะแตกต่างไปกันตามระดับชั้น เช่น ประถมศึกษา มัธยมต้น มัธยมปลาย และมหาวิทยาลัย แต่โดยส่วนมใหญ่แล้วมักจะจัดขึ้นในช่วงราวๆกลงเดือนมีนาคม สำหรับเด็กชั้นประถมจะใส่ชุดเครื่องแบบของนักเรียนชั้นมัธยมต้นที่ศึกษาต่อและเข้าร่วมพิธี แต่ระเบียบข้อบังคับของพิธีจบการศึกษาก็อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ และเพลงที่ใช้ร้องในพิธีจบการศึกษาคงเป็นเพลงแห่งความทรงจำของนักเรียนในทุกยุคทุกสมัยอย่างแน่นอน

ไวท์เดย์ วันที่ 14 มีนาคม

ไวท์เดย์ ตอนนี้ได้กลายเป็นวัฒนธรรมที่กระจายไปตามประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเซีย เพื่อนๆหลายคนอาจจะทราบกันอยู่แล้วว่าไวต์เดย์เป็นวัฒนธรรมที่มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น โดยฝ่ายชายจะให้ลูกวาดหรือของขวัญคืนแก่ฝ่ายหญิงที่ให้ช็อกโกแลตแก่ตนในวันวาเลนไทน์

20 สุดยอดขนมทําจากชาเขียวมัทฉะที่ MATCHA ภูมิใจนําเสนอ

สุดท้ายนี้

เป็นอย่างไรบ้างเอ่ยกับบทความนี้ งานเทศกาลประเพณีของญี่ปุ่นมีอะไรบ้างนะ? ตอนที่ถูกถามคำถามแบบนี้ หลายๆครั้งก็คงนึกไม่ออกใช่ไหมหละ แต่ถ้าครั้งต่อไปถูกถามคำถามนี้จากเพื่อนชาวต่างชาติ ก็อย่าลืมนำเรื่องราวงานเทศกาลประจำปีต่างๆของญี่ปุ่นจากบทความนี้แนะนำให้เพื่อนชางต่างชาติให้ได้รับรู้กันนะ เพราะถือเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมอันดีงามของญี่ปุ่นไปในตัวอีกด้วยเช่นกัน

Written by

นี่คือบัญชีของกองบรรณาธิการ MATCHA เราจะเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวอยากรู้ รวมถึงเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ของญี่ปุ่นที่ยังไม่มีใครรู้จัก

เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ