【จังหวัดมิยาซากิ】เพลิดเพลินไปกับทั้งภูเขาและท้องทะเล! ออกสำรวจมนต์เสน่ห์แห่งธรรมชาติที่ยังไม่ถูกค้นพบ

เกร็ดเล็กน้อยในบริการพัสดุไปรษณีย์ญี่ปุ่น ของมาส่งตอนไม่อยู่ทำไงดี? ตู้รับของ? ข้อควรระวังตอนส่งพัสดุ?

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

พัสดุไปรษณีย์ญี่ปุ่นบริการที่แสนสบาย แต่ถ้ารู้เกร็ดเหล่านี้ไว้จะยิ่งช่วยให้สะดวกยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นใบแจ้งส่งของที่มาส่งตอนเราไม่อยู่บ้านรับของ การแจ้งให้ไปรษณีย์มาส่งของอีกครั้ง ตู้รับของที่จะช่วยรับพัสดุแทนเราตอนไม่อยู่ และข้อควรระวังตอนส่งพัสดุ

บทความโดย

2015年嫁來日本,喜歡觀察&記錄生活 粉絲專頁 https://www.facebook.com/watanabe1108/ 部落格 http://watanabe1108.pixnet.net/blog

more

บริการส่งพัสดุไปรษณีย์ของญี่ปุ่น

ในการใช้ชีวิตที่ประเทศญี่ปุ่น บริการพัสดุไปรษณีย์ต่างๆ นั้นจะช่วยให้ชีวิตของเราสะดวกสบายขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับของหรือส่งของ นอกจากบริการจากไปรษณีย์ญี่ปุ่นแล้ว ยังมีบริการเอกชนชื่อดังทั้งบริษัทแมวดำหรือชื่อจริงคือยามาโตะ (Yamato Transport) และบริษัทซากาวะคิวบิง (Sagawa Express)

วิธีการใช้บริการพัสดุไปรษณีย์หรือที่เรียกว่า "ทาคุไฮบิน (Takuhai-bin 宅配便)" มีอยู่หลายข้อ แต่บทความนี้จะขอแนะนำเกร็ดที่ควรรู้เอาไว้ค่ะ

ส่วนใครอยากรู้เรื่องบริการแสนสะดวกเกี่ยวกับการท่องเที่ยว สามารถอ่านจากบทความด้านล่างได้เลย

1. ส่งพัสดุพร้อมกับจดหมายได้ไหม

日本的宅配二三事

ไม่สามารถส่งพร้อมกันได้ค่ะ

เวลาส่งพัสดุเป็นของขวัญไปให้ใคร เราก็คงอยากแนบจดหมายไปกับสิ่งของด้วย แต่ความเป็นจริงแล้วไม่สามารถทำได้ค่ะ
ตามกฏหมายไปรษณีย์ญี่ปุ่นมาตราที่ 4 ระบุเอาไว้ว่าจดหมายต้องส่งผ่านบริษัทไปรษณีย์ญี่ปุ่นเพียงเท่านั้น หากไม่กระทำตามจะมีโทษปรับทั้งผู้ส่งและผู้ให้บริการไปรษณีย์

แต่กฏข้อนี้มีข้อยกเว้น หากตรงตามเงื่อนไขทั้ง 4 ข้อดังต่อไปนี้ก็สามารถส่งสิ่งที่อยู่ในรูปจดหมายแนบไปได้

1. จดหมายจะต้องผนึกอยู่กับสิ่งของที่จะส่ง
2. สิ่งของที่ส่งต้องเป็นหลัก และจดหมายเป็นสิ่งพ่วงไปด้วยเท่านั้น
3. เนื้อความในจดหมายต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ส่งอย่างมาก
4. จดหมายต้องไม่ใส่ซอง หรือไม่ปิดผนึก

日本的宅配二三事

เช่น หากคุณแม่จะส่งลูกพลับกับจดหมายไปให้ลูกชายที่อยู่ห่างกัน

หากจดหมายนั้นส่งไปรวมกับลูกพลับ โดยมีลูกพลับเป็นเรื่องหลักในการส่ง จดหมายแค่ติดไปด้วย เนื้อความในจดหมายเกี่ยวกับลูกพลับ และจดหมายไม่ได้ใส่ซอง กรณีนี้ถือว่าแนบจดหมายส่งไปด้วยได้

เหมือนเวลาที่เราซื้อจองทางเน็ทแล้วมีเอกสารรายละเอียดหรือใบเสร็จแนบมาในซองใสพร้อมกับสิ่งของ เพราะร้านค้าเหล่านี้ก็ใช้วิธีการอ้างอิงตามกฏหมายนั่นเอง

2. แกล้งโกหกพนักงานส่งของผิดหรือไม่

日本的宅配二三事

หากแกล้งโกหก เช่น จงใจบอกทางผิดแก่พนักงานส่งของ จะถือว่าเป็นการกระทำรบกวนการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งมีโทษตามกฏหมายอาญามาตรา 233 จำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 500,000 เยน

ฉะนั้นเมื่อพนักงานส่งของถามอะไรมา ถ้าไม่รู้ก็ให้ตอบไปตามตรงเลยว่าไม่รู้จะดีกว่า หากเราไม่ได้จงใจจะแกล้งเพื่อให้พนักงานเกิดปัญหา ก็ไม่ต้องกลัวจะผิดกฏหมายค่ะ

3. รู้จักกับตู้รับพัสดุเวลาไม่อยู่ (Takuhai Box)

宅配ボックス

สำหรับคนที่ต้องออกจากบ้านไปทำงานหรือไปโรงเรียน อาจจะมีปัญหาในการอยู่รอรับพัสดุที่มาส่ง สิ่งที่จะช่วยอำนวยความสะดวกได้ก็คือตู้รับพัสดุ (Takuhai Box - 宅配ボックス)

อาคารที่อยู่อาศัยใหม่ๆ มักจะมีการตั้งตู้รับพัสดุเอาไว้ที่ชั้น 1 ใกล้กับตู้รับจดหมายของแต่ละห้อง โดยตู้รับพัสดุจะมีขนาดใหญ่กว่าตู้จดหมายส่วนตัว และไม่มีการระบุว่าตู้ไหนเป็นของห้องไหน แต่จะใช้รวมกันโดยเมื่อมีพัสดุมาถึง พนักงานส่งของจะนำพัสดุใส่ในตู้ แล้วออกใบแจ้งหมายเลขตู้กับรหัสเปิดตู้ จากนั้นนำใบแจ้งใส่ในตู้รับจดหมายส่วนตัวของผู้รับ
เมื่อผู้รับของมาถึงบ้าน เปิดตู้จดหมายเจอใบแจ้ง ก็นำรายละเอียดในใบแจ้งไปกดเปิดเอาพัสดุจากตู้รับพัสดุได้เลยค่ะ

ยกเว้นในกรณีของพัสดุแช่เย็นหรือพัสดุที่มีขนาดใหญ่เกินจะใส่ตู้ได้ พนักงานส่งก็จะออกใบแจ้งผู้รับไม่อยู่แล้วสอดในตู้จดหมายตามปกติ

4. ทำอย่างไรเมื่อได้รับ "ใบแจ้งผู้รับไม่อยู่ (不在連絡票)"

日本的宅配二三事

ในกรณีที่มีการส่งพัสดุ แต่ผู้รับไม่อยู่บ้าน ไม่สามารถเอาของใส่ตู้รับพัสดุได้หรือไม่มีตู้รับพัสดุ พนักงานส่งของจะทำการออก "ใบแจ้งผู้รับไม่อยู่ (Fuzai Renraku Hyou - 不在連絡票)" (*) ใส่ลงในตู้จดหมายของเรา
* ภาษาอังกฤษแต่ละเจ้าใช้ต่างกัน ไปรษณีย์ญี่ปุ่นใช้คำว่า Undeliverable Item Notice ส่วนแมวดำยามาโตะจะใช้คำว่า Attempted Delivery Notice ซากาวะใช้คำว่า Message of non delivery

เมื่อได้รับใบแจ้งผู้รับไม่อยู่แล้ว ในนั้นจะมีวิธีการติดต่อให้พนักงานมาส่งของอีกครั้งทั้งทางออนไลน์ QR code และทางโทรศัพท์ ช่วงเวลาที่ติดต่อได้จะต่างกันแล้วแต่บริษัท ลองเช็คจากใบแจ้งหรือเว็บไซต์ดูู บางบริษัทอาจติดต่อเพื่อรับของในวันนั้นได้ถึงเวลาราว 17:00 เลยทีเดียว

พัสดุไปรษณีย์ญี่ปุ่นที่ระบบต่างจากไทย

日本的宅配二三事

กฏหรือรายละเอียดเกี่ยวกับพัสดุไปรษณีย์ของญี่ปุ่นมีทั้งส่วนที่เหมือนและแตกต่างจากไทย
ลองจำเกร็ดเล็กน้อยจากบทความนี้เอาไปใช้ประโยชน์ในการรับส่งพัสดุไปรษณีย์ในญี่ปุ่นกันดูนะ!

บทความโดย

Watanabe

2015年嫁來日本,喜歡觀察&記錄生活 粉絲專頁 https://www.facebook.com/watanabe1108/ 部落格 http://watanabe1108.pixnet.net/blog

more
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ