สถานที่ท่องเที่ยวแนะนำในอิบารากิ สัมผัสกับประเพณีญี่ปุ่นและวัฒนธรรมใหม่

สอนดูป้ายราคาที่ญี่ปุ่น ต้องจ่ายราคาไหน? อาหารซุปเปอร์ลดราคาเท่าไหร่? มีคำตอบให้!

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

เวลาไปเที่ยวช้อปที่ญี่ปุ่น เคยสงสัยไหมคะว่าทำไมบางป้ายมีสองตัวเลข แถมเวลาไปเดินซื้ออาหารลดราคาในซุปเปอร์ตอนค่ำๆ เห็นสติ๊กเกอร์แปะแล้วก็งงว่าลดเท่าไหร่กันแน่ บทความนี้รวบรวมทุกคำตอบไว้ให้แล้ว!

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :

ตั้งแต่เดินออกนอก ตม. ของญี่ปุ่น หลายคนอาจจะอยากพุ่งตัวไปซื้ออะไรรองท้องหรือคลายกระหายน้ำตามร้านขายของต่างๆ หรือแวะทานข้าวในสนามบินเลย ตั้งแต่ตอนนั้นที่เราจะได้เห็น "ป้ายราคา" สไตล์ญี่ปุ่น ที่หลายครั้งก็สร้างความมึนงงให้กับนักท่องเที่ยวมานักต่อนักแล้ว ไม่ว่าจะ ... ทำไมบางทีมีตัวเลขสองแบบ? ทำไมถือไปจ่ายแล้วจะจ่ายราคาไหนดี?
แถมด้วยเวลาไปช้อปของลดราคา ซื้ออาหารกล่องในซุปเปอร์มาร์เก็ตตอนค่ำๆ เห็นราคาที่แปะแล้วก็งงๆ ว่าตกลงลดไหม แล้วลดเท่าไหร่?

บทความนี้มีทุกคำตอบให้!
เตรียมตัวไว้ก่อน ตอนไปญี่ปุ่นจะได้ช้อปได้ไม่ต้องเกรงใจใคร ... แต่เกรงใจกระเป๋าตังนิดนึงก็ดีนะ!

ทำไมมีสองราคา? คำตอบของปริศนาคือ "ภาษี"

เวลาไปเดินตามร้านสะดวกซื้อหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต บางทีเราอาจจะเจอป้ายราคาที่มีตัวเลขด้วยกันถึงสองชุด!?

หรือเวลาไปเดินตามร้านขายของทั่วไป เห็นราคาของแล้วถูกใจก็ถือวิ่งไปจ่ายเงิน
คว้าเงินออกมาวางแปะที่แคชเชียร์! แล้ว ... เขาก็บอกว่าเงินไม่พอ เพราะราคาที่ต้องจ่ายกลับสูงกว่า

牛乳パックスイーツ

ภาพจากบทความ "ซื้อของฝากจากญี่ปุ่นในราคาสุดคุ้มที่ Gyomu Super!"

คำตอบของปริศนากวนใจนี้ก็คือ "ภาษีมูลค่าเพิ่ม" ค่ะ
ตัวอย่างที่ยกมาแล้วน่าจะเห็นภาพที่สุดก็คือ ... ร้าน 100 เยนของญี่ปุ่นนั้น ตอนไปจ่ายเงินจริงกลับเป็นราคา 110 เยน
ส่วนที่แพงขึ้นมาคือภาษีตัวนี้นั่นเองค่ะ

ฉะนั้นพูดง่ายๆ ก็คือ ร้านที่ป้ายมีเขียนไว้สองราคาก็คือ ทางร้านแสดงทั้งราคาก่อนรวมภาษีและราคาหลังรวมภาษีค่ะ
เวลาเจอป้ายราคาแบบนี้ให้คิดง่ายๆ คือ "จ่ายเลขที่แพงกว่า" 

ซึ่งภาษีมูลค่าเพิ่ม 10% ตัวนี้ก็คือภาษีที่เราจะได้คืนจากการทำลดหย่อนภาษี (Tax free / Duty free) นั่นเอง!

วิธีส่องป้ายราคา รวมภาษีหรือยังไม่รวม?

ถ้าเจอป้ายมีสองราคา ก็กำเงินเท่าตัวเลขที่มากกว่าไปจ่ายเงินได้
แต่ถ้าเจอเลขเดียว จะรู้ได้อย่างไรว่าตกลงนี่ราคารวมภาษีหรือยัง?
เกิดคว้าไปจ่ายเงินแล้วพลาด จะเขินแคชเชียร์หนุ่มหล่อสาวสวยคนนั้นไหมนะ!?

วิธีสังเกตก็ง่ายนิดเดียวค่ะ!

วิธีดูป้ายราคาสินค้าที่ญี่ปุ่น

ให้มองท้ายตัวเลขว่ามีคำว่า 税込 (เซโคมิ - Zeikomi) หรือไม่ คำนี้แปลว่า "รวมภาษีแล้ว
ซึ่งตั้งแต่ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2021 กฏหมายญี่ปุ่นระบุให้ร้านค้าต้องแปะราคาแบบรวมภาษีแล้ว (ส่วนราคาก่อนรวมภาษีจะระบุไว้หรือไม่ระบุก็ได้)
ฉะนั้นใครมาเที่ยวญี่ปุ่นก่อนหน้านี้แล้วงงเรื่องทำไมถือของไปจ่ายเงินแล้วแพงขึ้น ก็เป็นเพราะว่าเมื่อก่อนบางครั้งร้านจะแปะราคาก่อนรวมภาษีไว้ค่ะ
ต่อจากนี้ไปจะไม่มีแบบนั้นแล้ว ทำให้เข้าใจง่ายขึ้นเยอะ!

ใครอยากรู้รายละเอียดของที่มาที่ไป อ่านได้จากบทความนี้เลย

ป้ายลดราคาปริศนาในซุปเปอร์มาร์เก็ต!?

ใครหลงไหลการซื้อของราคาถูกสุดคุ้มหรือมาเที่ยวแบบประหยัด ต้องชื่นชอบการแวะไปหามื้อเย็น มื้อค่ำ ไปจนถึงเผื่อมื้อเช้าที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตตอนค่ำๆ แน่นอน

แต่ตอนไปถึงอาจจะงงๆ สักนิด นอกจากที่จะต้องรีบคว้าแข่งกับพ่อหนุ่มพนักงานกินเงินเดือนคนข้างๆ หรือคุณป้าที่จ้ำมาด้วยความไวแสงแล้ว ยังต้องเจอกันสติกเกอร์บอกราคาแบบปริศนาด้วย!
วันนี้เรามาไขปริศนากัน ให้คราวหน้าเพื่อนๆ รีบซื้อของอร่อยได้อย่างสบายใจเลยค่ะ

"半額" ป้ายนี้ให้รีบคว้า! เพราะมันลดครึ่งราคา!

วิธีดูป้ายราคาสินค้าที่ญี่ปุ่น

ป้ายแรกที่ต้องรีบบอกเลยก็คือเจ้าคำว่า "半額" ค่ะ ถ้าเจอสติกเกอร์นี้ให้รีบคว้า! เพราะคำนี้แปลว่า "ครึ่งราคา (Hangaku)" นั่นเอง ราคาบนกล่องเขียนอยู่เท่าไหร่ หารสองได้เลย ถือว่าคุ้มค่าราคามากมาย

ตัวเลขตัวเดียวกับตัวอักษร 割 ลดมากน้อย ขึ้นอยู่กับตัวเลข

วิธีดูป้ายราคาญี่ปุ่น

สติกเกอร์แบบนี้สร้างความงุนงนฉงนฉงายมานับครั้งไม่ถ้วน! แต่จริงๆ แล้วมันดูง่ายมากค่ะ เพราะ หากมีตัวเลขตัวเดียวกับอักษร 割 หรือ 割引 จะมีความหมายว่าลดไป (ตัวเลข)สิบเปอร์เซ็นต์

วิธีดูป้ายราคาสินค้าที่ญี่ปุ่น

อย่างถ้าเจอแปะไว้ว่า 2割 จะหมายถึง "ลดราคา 20%" หรือถ้าเป็น 4割 ก็คือ "ลดราคา 40%" ค่ะ

ひき หรือ 引 คำนี้แปลว่าลดราคา

วิธีดูป้ายราคาสินค้าที่ญี่ปุ่น

ถ้าเราไม่เจอสองแบบบน แต่เจอตัวเลขตามมาด้วยคำว่า ひき หรือ 引 แทน อันนี้ก็เข้าใจง่ายๆ เลยค่ะว่า "ลดราคา" เท่ากับตัวเลขที่เขียนเอาไว้เลย
เช่น หากสติกเกอร์แปะไว้ว่า 100円ひき ก็จะหมายถึง "ลดราคา 100 เยน"
(円 หมายถึง "เยน")
แต่ถ้าเขียนเอาไว้ว่า 50%引 ก็จะหมายถึง "ลดราคา 50%" นั่นเองค่ะ

มีแค่ตัวเลข ไม่มีตัวอักษรญี่ปุ่น ก็คว้าจ่ายเท่านั้นเลย

วิธีดูป้ายราคาสินค้าที่ญี่ปุ่น

หากมองหารอบป้ายแล้ว มองแล้วมองอีก ยังไม่เจอตัวอักษรอะไรเป็นพิเศษนอกจากตัวเลขตามมาด้วย  ที่แปลว่า "เยน" แล้วก็มักจะแปลว่าสินค้านั้นลดราคาให้เหลือเท่ากับตัวเลขนั้นค่ะ
อย่างในภาพก็คือสินค้าราคาเต็ม 509 เยน (ตัวเล็กๆ ในสติ๊กเกอร์) ลดราคาเหลือแค่ 160 เยนเท่านั้น!!

ช้อปของลดราคาในร้านขายของและซุปเปอร์ญี่ปุ่นแสนสบายใจ

การตามหาของลดราคาในซุปเปอร์มาร์เก็ต ก็สามารถสังเกตตัวอักษรตามที่เล่ามาได้เลยค่ะ
แนะนำอีกนิดคือ บุ๊คมาร์คหน้านี้เก็บไว้เลยก็ดี! จะได้เอาไว้เปิดเช็คตอนไปเดินตามร้านขายของ

อีกอย่างก็คือนอกจากซุปเปอร์มาร์เก็ตแล้ว พวกร้านขายยา ขายเครื่องสำอางค์ เวลาเซลล์สินค้าตกรุ่น บางทีก็จะติดสติกเกอร์เช่นนี้เหมือนกันนะ
ทั้งนี้หน้าตาของสติกเกอร์ ฟอนท์ สี อาจจะแตกต่างกันไปตามแต่ละร้าน รวมถึงวิธีการเขียนอาจจะแตกต่างกันเล็กน้อย และราคาที่ลดราคามักจะเป็นราคาก่อนรวมภาษีค่ะ

ราคาอยู่ตรงไหน!? เมื่อเมนูมีมาแต่ตัวอักษรญี่ปุ่นอ่านไม่ออก

แถมให้อีกหน่อยก็คือ บางทีเวลาเราไปร้านอาหารสไตล์ญี่ปุ่น ท้องร้องน้ำลายสอเต็มที่แล้ว กะจะสั่งให้เต็มคราบ!
ปรากฏว่าเจอเมนูที่มีมาแต่ภาษาญี่ปุ่น! อ่านเมนูไม่ออกก็แย่แล้ว ดูราคาไม่ได้นี่ยิ่งหวาดระแวง กลัวทานเสร็จคืนพรุ่งนี้จะต้องนอนสวนสาธารณะแทนโรงแรมเพราะหมดตัว
เลยจะมาแนะนำวิธีดูราคาในเมนูพวกนี้อีกนิดค่ะ

วิธีดูป้ายราคาสินค้าที่ญี่ปุ่น

หากเมนูเขียนแนวนอน ให้มองไปทางขวามือ หากเขียนแนวตั้ง (แบบในรูป) ให้มองลงไปข้างล่าง จ้องหาตัวอักษร 円 เพราะตัวนี้คือคำว่า "เยน" จะลงท้ายหลังราคาค่ะ
เมื่อเจอแล้วมองมาด้านหน้าของตัวอักษรนี้ โดยปกติแล้วจะเป็นตัวเลขราคาที่เขียนเป็นตัวอักษรคันจิ ก็ลองเทียบตามตารางนี้ได้เลย!

ตัวอักษรญี่ปุ่น เลข
1
2
3
4
5
6
7
8
9
〇  0

เมื่อเทียบตามตารางแล้ว อย่างเมนูซ้ายมือสุดที่มีเขียนไว้ว่า "一,七〇〇円" นั่นก็หมายถึงราคา "1,700 เยน" นั่นเองค่ะ

เพียงเท่านี้เชื่อว่าเพื่อนๆ ก็ช้อปปิ้งหรือทานอาหารกันได้สบายใจขึ้นอีกเป็นกองแล้วล่ะค่ะ!

Written by

Avatar

Kogetsu

Tokyo, Japan

สาวชาวบางกอกที่มาหลงอยู่ในโตเกียวมาแล้วหลายปี แต่ยังแพ้รถไฟในเวลา Rush Hour ลัลล้ากับการทำงาน ว่างๆ ก็แว่บไปเที่ยว ชิมของอร่อย เที่ยวติ่งตามรอย
ชอบบรรยากาศของศาลเจ้าเป็นพิเศษ สนใจวัฒนธรรมญี่ปุ่น รวมไปถึง Pop culture~♥
เจอแมวเป็นไม่ได้ ต้องทักทายเหมียวๆ ใส่ประจำ
มีประสบการณ์แปลมากกว่า 10 ปี (เราจะไม่พูดเรื่องอายุ ...) ชอบงานขีดๆ เขียนๆ เลยมาเป็นบรรณาธิการเว็บไซต์

Facebook / Twitter ส่วนตัวที่เขียนเกี่ยวกับญี่ปุ่นเป็นงานอดิเรก ปัจจุบัน (12/2019) มีผู้ติดตามอย่างละราวๆ 40,000 คน ก็เรียกว่าเป็นบล๊อกเกอร์ตัวจ้อยๆ ได้ ... ล่ะมั้ง?

เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ