Start planning your trip
ส่งตรงความอร่อยจากนากาโนะ! ทั้งแยม เยลลี่ผลไม้และสุดยอดโซบะ จาก "Miyagetto"
การได้พบกับของอร่อยประจำท้องถิ่นนั้นๆ ถือเป็นหนึ่งในความสนุกที่ขาดไม่ได้ของการท่องเที่ยว! เราขอแนะนำของดีสุดยอดประจำจังหวัดที่สั่งซื้อมาทานที่บ้านได้ของจังหวัดนากาโนะ มาทานของอร่อยจากนากาโนะอยู่ที่บ้านพลางวางแผนเที่ยวทริปหน้ากันดูไหมคะ
อยากทัวร์กินต้องไปนากาโนะ คลังแห่งของอร่อย!
ภาพจากบทความ : คามิโคจิ (Kamikochi) เที่ยว 2 วัน 1 คืน นั่งบัสจากโตเกียวไปสวรรค์บนดินที่นากาโนะ (Nagano)
ปี 2020 นี้เกิดปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เราไม่สามารถออกจากบ้านไปเที่ยวหรือเดินทางไปไหนได้อย่างอิสระ สำหรับคนที่ชอบท่องเที่ยวอาจจะมีเวลาที่นั่งนึกว่าหากเหตุการณ์สงบลงดีแล้วจะไปที่ไหนดีใช่ไหมคะ
หากอยากจะคลายความเหนื่อยล้าจากการทำงานหรือเก็บตัวอยู่บ้าน ทริปกินของอร่อยๆ ท่ามกลางธรรมชาติ จะช่วนให้เรากลับมามีเรี่ยวแรงทั้งกายและใจเลย
จังหวัดนากาโนะเป็นจังหวัดน่าเที่ยวที่ถูกล้อมรอบด้วยเทือกแขกแอลป์ญี่ปุ่น อุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ที่หาไม่ได้ในเมือง และยังมีอาหารเลิศรสให้ชิมได้ทั้งปีไม่ว่าจะเป็นผลไม้ตามฤดูกาลหรือชินชูโซบะ
ในคราวนี้เราขอแนะนำของดีของกากาโนะที่เกิดจากความรักของผู้ผลิตทั้ง 3 เจ้า ซึ่งพวกเขาจะมาบอกเล่าเสน่ห์แห่งรสชาติของจังหวัดให้ฟัง และแน่นอนว่าสินค้าเหล่านี้หาซื้อส่งมาที่บ้านได้ด้วย รวมถึงเราจะแนะนำให้รู้จักกับบริการออนไลน์สำหรับซื้อของดีให้กับตัวเองหรือส่งเป็นของขวัญให้ผู้อื่นก็เหมาะอย่าง "Miyagetto"
สารบัญ
- 1. เยลลี่ผลไม้เนื้อเน้นๆ อร่อยกับผลไม้ได้ทั้งปีกับ "ชินชูคาวานากาจิมะไดระ แฟคตอรี่"
- 2. โซบะเลิศรสที่เติบโตบนที่ราบสูง "คิริชินะ"
- 3. ส่งพลังแห่งความร่าเริงจากหมู่บ้านแอปริคอตอันดับหนึ่ง "โคโบอาปริโกะ"
- 4. อยากรู้จักของดีทั่วญี่ปุ่นต้องดูที่ "Miyagetto"
1. เยลลี่ผลไม้เนื้อเน้นๆ อร่อยกับผลไม้ได้ทั้งปีกับ "ชินชูคาวานากาจิมะไดระ แฟคตอรี่"
Picture courtesy of Shinshu Kawanakajimadaira Factory
จังหวัดนางาโนะถือเป็นจังหวัดในญี่ปุ่นที่มีการปลูกผลไม้มาก เช่น แอปเปิ้ล องุ่น และอื่นๆ เนื่องจากมีช่วงเวลาที่มีแสงแดดนาน มีความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างตอนกลางวันและกลางคืนสูง แถมยังมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ที่ไหลจากบรรดาภูเขาของเทือกเขาแอลป์ญี่ปุ่น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการปลูกผลไม้ให้หวานอร่อยเลย
เพียงแต่ฤดูกาลของผลไม้แต่ละอย่างที่จะได้ทานผลไม้เหล่านี้อย่างอร่อยที่สุดนั้นช่างสั้น คนที่อาศัยในจังหวัดที่ห่างไกลหรือโตเกียวนั้นยากจะหาสุดยอดผลไม้ที่มีความอร่อยของผลไม้เก็บใหม่ๆ มาทานได้
ส่งต่อเสน่ห์แท้จริงของผลไม้ที่ไม่ใช่เพียงความหวาน
Picture courtesy of Shinshu Kawanakajimadaira Factory
องค์กร NPO ชินชูคาวานากาจิมะไดระ แฟคตอรี่ (Shinshu Kawanakajimadaira Factory) แห่งเมืองคาวาจิมะ จังหวัดนากาโนะ คือผู้ผลิตและจำหน่ายเยลลี่จูเล่จากผลไม้ตามฤดูกาลซึ่งเป็นผลไม้ของดีประจำเมืองทั้ง ลูกพีชขาว แอปเปิ้ล ลูกแพร์ลาฟรานส์
คุณมิยาซากิผู้บริหารองค์กรได้เล่าถึงสาเหตุที่เริ่มผลิตเยลลี่ผลไม้ว่า
"ผลไม้จะอร่อยที่สุดก็ตอนที่สุกบนต้นครับ ไม่ใช่แค่มีรสหวานมากเท่านั้น แต่ยังมีกลิ่นหอมหวล เนื้อแน่นยังเป็นองค์ประกอบของความอร่อยด้วย แต่การจะให้คนทั่วประเทศมีโอกาสทานผลไม้สดๆ ในสภาพนั้นเป็นเรื่องยากครับ ด้วยความคิดนี้เยลลี่ที่อร่อยเหมือนทานผลไม้สดๆ จึงกำเนิดขึ้น"
Picture courtesy of Shinshu Kawanakajimadaira Factory
ผลไม้ที่ส่งไปขายตามซุปเปอร์มาร์เกตจะคัดผลที่มีสี รูปร่างใกล้เคียงกัน แต่ยังมีผลไม้อีกมากที่ไม่ได้ถูกส่งไปถึงมือลูกค้าแม้จะมีคุณภาพเหมือนกัน เพียงเพราะมีรูปร่างแตกต่างไป คุณมิยาซากิเองก็รู้สึกผิดต่อผลไม้เหล่านั้น ไอเดียในการนำผลไม้หั่นชิ้นมาใช้ในเยลลี่จึงมาช่วยแก้ปัญหานี้ด้วย
เยลลี่ผลไม้สุกที่สำเร็จจากการลองผิดลองถูกนับไม่ถ้วน
Picture courtesy of Shinshu Kawanakajimadaira Factory
ผลไม้แปรรูปต่างๆ โดยปกติแล้วจะใช้ผลไม้ก่อนสุกงอมแล้วเพิ่มสารให้ความหวานลงไป แต่เยลลี่ที่คุณมิยาซากิทำนั้นให้ความสำคัญกับ "รสชาติราวกับกินผลไม้สดๆ หั่นชิ้น" และใส่สารปรุงแต่งให้น้อยที่สุด
"มีการใส่น้ำตาลลงไปก็จริง แต่ก็ใส่เพราะหวังผลด้านการถนอมอาหาร ไม่ได้ใส่เพื่อเพิ่มรสหวาน หรือในขั้นตอนให้ความร้อน เราก็ระมัดระวังไม่ให้เสียรสสัมผัสของผลไม้เก็บใหม่ไปครับ"
เยลลี่ที่ได้ออกมานั้นสมกับคำกล่าวของคุณมิยาซากิ ผลไม้ในขนมยังหลงเหลือเปลือกกรอบขององุ่นไชน์มัสแคทและเนื้อแน่นของลูกพีชขาวของดีแห่งคาวานากาจิมะ
Picture courtesy of Shinshu Kawanakajimadaira Factory
"พวกเราแปรรูปผลไม้ที่เก็บได้และเก็บเอาไว้ในกระปุกแก้วประมาณ 2 เดือนเพื่อให้สุกงอม ด้วยวิธีนี้ทำให้ทั้งรสชาติ กลิ่น และสีของผลไม้ซึมไปจนทั่วเนื้อเยลลี่ด้วยครับ"
สินค้ายอดนิยมเยลลี่นากาโนะเพอร์เพิล (Nagano Purple) เป็นทั้งขนมหรูหรามีสีม่วงสดใส หรือจะนำไปใช้เป็นน้ำสลัด ใส่ในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติล้ำลึกก็ยังได้
ความรู้สึกของชาวเกษตรกรท้องถิ่นที่อยากให้ทุกคนได้ทานผลไม้อร่อยตามฤดูกาลถูกอันแน่นอยู่ในเยลลี่ที่คุณมิยาซากิผลิตขึ้นเลยค่ะ
เว็บไซต์ทางการของชินชูคาวานากาจิมะได้ระ แฟคตอรี่ : http://npo-skdf.com/en/index.html (ภาษาอังกฤษ)
2. โซบะเลิศรสที่เติบโตบนที่ราบสูง "คิริชินะ"
Picture courtesy of Kirishina Co., Ltd.
หากพูดถึงของอร่อยประจำนากาโนะแล้วจะลืมโซบะที่เรียกว่าชินชูโซบะ (Shinshu Soba) ไม่ได้เลย แต่ละส่วนในจังหวัดนากาโนะมีโซบะชื่อดังของแต่ละท้องถิ่นอีก แต่เราจะมาแนะนำให้รู้จักกับ "คิริชินะ (Kirishina)" ซึ่งมีโรงงานอยู่บนที่ราบสูงไคดะ (Kaida)
Picture courtesy of Kirishina Co., Ltd.
บนความสูงกว่า 1,200 เมตรของราบสูงไคดะมีสวนโซบะแผ่กว้างอยู่ เป็นดินแดนแห่งโซบะแสนงามที่มองเห็นวิวอันยิ่งใหญ่ของยอดเขาองตาเกะ (Ontake)
นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ยอดนิยมในหมู่นักปีนเขาและมีชื่อเสียงในฐานะบ้านเกิดของม้าสายพันธุ์ญี่ปุ่น "คิโซมะ (Kisoma)"
ความตั้งใจจริงในการทำโซบะที่เริ่มบนที่ราบสูง
Picture courtesy of Kirishina Co., Ltd.
"คิริชินะ" ตั้งโรงงานบนที่ราบสูงไคดะในปี 1992 ประธานบริษัทในสมัยนั้นเริ่มต้นกิจการโซบะด้วยความตั้งใจอันแน่วแน่ว่า "จะผลิตเส้นโซบะที่อร่อยอย่างแท้จริงในชินชูซึ่งเป็นภูมิภาคแห่งโซบะ" เขาออกเดินทางไปตามย่านต่างๆ จนในที่สุดก็มาถึงที่ราบสูงไคดะ
คุณฮตตะจากฝ่ายขายได้บอกเราถึงเงื่อนไขในการผลิตโซบะให้อร่อยว่า
"หากอุณหภูมิในตอนกลางวันและกลางคืนต่างกันมาก เมล็ดโซบะจะค่อยๆ สุกงอม ทำให้มีกลิ่นและรสหวานชัดเจน ที่ราบสูงไคดะนั้นในฤดูหนาวอุณหภูมิอาจต่ำสุดถึง -20 องศาเซลเซียส ในฤดูร้อนก็เย็นสบาย เหมาะอย่างยิ่งในการปลูกโซบะครับ"
Picture courtesy of Kirishina Co., Ltd.
คุณฮตตะยังเล่าอีกว่าน้ำที่ใช้ในการนวดเส้นโซบะยังมีผลต่อความอร่อยของเส้นเป็นอย่างมาก
"น้ำที่ไหลจากยอดเขาองตาเกะสู่ที่ราบสูงไคดะมีความกระด้างต่ำกว่า 10 เรียกว่าเป็นน้ำอ่อนมากในแม้เทียบกับน้ำอ่อนก็ตาม น้ำอ่อนที่มีส่วนผสมของแร่ธาตุน้อยมีส่วนช่วยดึงรสชาติของวัตถุดิบออกมา"
สวนโซบะบนที่ราบสูงที่มีขนาดเล็กในตอนเริ่มก่อตั้งโรงงานเองก็ค่อยๆ เติบโตขึ้นไปพร้อมกับการผลิตโซบะของคิริชินะ
"เราอยากให้คนหันมาสนใจที่ราบสูงไคดะผ่านเส้นโซบะครับ ต่อจากนี้ไปเราจะร่วมมือกับเกษตรกรในท้องถิ่นและหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวเพื่อส่งต่อเสน่ห์ของพื้นที่นี้ต่อไปครับ!"
วิธีการนวดเส้นที่เป็นเอกลักษณ์
Picture courtesy of Kirishina Co., Ltd.
เอกลักษณ์ในการผลิตเส้นโซบะของคิริชินะสังเกตได้ที่เส้น ด้วยวิธีการผลิตเส้นแห้งเฉพาะตัวแบบ "มิดาเระซึคุริ (ผลิตแบบไม่เสถียร)" ทำให้แต่โซบะละเส้นมีร่องและมีการบิดตัว ได้สัมผัสลื่นทานง่ายเหมือนเส้นที่นวดด้วยมือ
คุณฮตตะแนะนำว่า "สำหรับผู้ที่ทานเป็นครั้งแรกอยากให้ลองทานเส้นโซบะแบบกึ่งสดครับ" ที่คิริชินะจะทำการฆ่าเชื้อก่อนบดเมล็ดโซบะเป็นผง จึงไม่ต้องใส่สารกันบูดในโซบะ ลูกค้าก็ทานได้อย่างสบายใจ
"จริงๆ แล้วการใช้สารกันบูดจะทำให้สูญเสียกลิ่นรสไปครับ แต่เส้นแบบกึ่งสดของเราแค่เปิดซองออกมาก็ได้กลิ่นหอมของโซบะแล้ว! ขอให้ลองทานดู จะได้กลิ่นหอมของโซบะกับเส้นเหนียวนุ่มครับ"
คุณฮตตะให้เทคนิคอีกว่าควรลวกเส้นโซบะด้วยน้ำเดือดปริมาณมากๆ เมื่อสุกแล้วยกขึ้นล้างน้ำ ก่อนจะนำไปใส่ในน้ำผสมน้ำแข็งเพื่อให้เส้นเย็นลง การลวกแบบนี้จะทำให้เส้นมีความเหนียวนุ่มอย่างน่าตกใจเลยทีเดียว!
โรงงานบนที่ราบสูงไคดะนั้นเปิดให้ชมโรงงาน ชิมโซบะ(*) และตักน้ำใต้ดินจากเขาองตาเกะได้ หากสถานการณ์เอื้ออำนวยให้เที่ยวแล้ว ลองมาชมกันดูนะคะ
เว็บไซต์ทางการของคิริชินะ : http://www.kirishina.co.jp/ (ภาษาญี่ปุ่น)
* ขณะนี้ทางโรงงานหยุดกิจกรรมชิมโซบะเนื่องจากไวรัสโควิด-19 สามารถติดตามข้อมูลอัพเดทได้ทางเว็บไซต์ของโรงงาน
3. ส่งพลังแห่งความร่าเริงจากหมู่บ้านแอปริคอตอันดับหนึ่ง "โคโบอาปริโกะ"
ต้นแอปริคอตที่กำลังมีดอกเบ่งบาน (Picture courtesy of ⒸShinshu Chikuma Tourism Bureau)
เมืองจิคุมะ (Chikuma) ในจังหวัดนากาโนะเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นแหล่งผลิตแอปริคอตชั้นนำของญี่ปุ่น โดยเฉพาะในเขตโมริ (Mori) ซึ่งมีสวนแอปริคอตเป็นจำนวนมากจนถูกเรียกว่าหมู่บ้านแอปริคอตอันดับ 1 ของญี่ปุ่น บนพื้นที่ลาดเอียงเล็กน้อยมีต้นแอปริคอตปลูกเรียงรายจะถูกแต่งแต้มด้วยดอกไม้ดอกเล็กๆ สีชมพูอ่อนเมื่อฤดูใบไม้ผลิตมาเยือน
แต่ช่วงหลายปีมานี้สภาพเมืองกลับค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุและการขาดแคลนผู้สืบทอดทำให้มีคนเลิกกิจการสวนผลไม้เพิ่มขึ้น
กลุ่มสตรีผู้ลุกขึ้นเพื่อทำให้บ้านเกิดคึกครื้น
Picture courtesy of Kobo Aprico
ผู้ที่ลุกขึ้นมาเพื่อทำให้หมู่บ้านแอปริคอตที่กำลังเปลี่ยนแปลงให้สดใสขึ้นก็คือเหล่าผู้หญิงที่อาศัยอยู่บนผืนดินนี้มาเป็นเวลานาน พวกเธอริเริ่ม "โคโบอาปริโกะ (Kobo Aprico)" ซึ่งแปลว่าโรงงานแอปริคอต นำแอปริคอตที่เก็บได้ในท้องถิ่นมาทำเป็นแอปริคอตเชื่อม ผลไม้แห้ง แยมและอื่นๆ จัดจำหน่าย
ในปัจจุบันนี้พวกเธอทำงานกัน 6 คนโดยมีคุณคนโดเป็นหัวหน้า และที่น่าตกใจคือสมาชิกทุกคนมีอายุมากกว่า 70 ปีแล้ว!
"โคโบอาปริโกะ" เริ่มต้นขึ้นในปี 2016 โดยคุณคนโด แม้ว่าเธอจะไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับการผลิตหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารมาก่อนเลย
"ตอนแรกไม่รู้อะไรเลย ลำบากมากค่ะ ก็ได้ความร่วมมือจากสหกรณ์การเกษตรและบริษัทผลิตอาหารในเมืองช่วยกันสร้างสินค้าออกมา หากการที่พวกเราพยายามอย่างขันแข็งให้คนทั่วประเทศได้ทานแอปริคอตจากเขตโมริ จะเป็นการช่วยปลุกเมืองให้ครึกครื้นขึ้นได้ก็คงดีค่ะ"
คุณคนโดกล่าวด้วยท่าทางสนุกสนาน
สูตรที่เต็มไปด้วยความรู้และความรักของคุณแม่
Picture courtesy of ⒸShinshu Chikuma Tourism Bureau
ฤดูกาลที่ดีที่สุดของแอปริคอตคือช่วงปลายเดือนมิถุนายนแค่ราวๆ 2 สัปดาห์เท่านั้น คนแถบนี้จึงมีวัฒนธรรมในการทำแยมแอปริคอตและแอปริคอตเชื่อมหยั่งรากมาแต่อดีต
และในปัจจุบัน ทั้งแยมแอปริคอต แอปริคอตเชื่อม แอปริคอตแห้ง และอื่นๆ ที่ผลิตขายโดยโคโบอาปริโกะนั้นทำโดยอ้างอิงสูตรลับที่สืบทอดมาในแต่ละครัวเรือนของสมาชิก
แอปริคอตที่ใช้มีหลายพันธ์ เช่น เฮวะมารุ ชินซังมารุ ชินชูโอมิ เป็นต้น โดยเลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะกับแต่ละผลิตภัณฑ์ เช่น "เฮวะมารุ" ที่มีความเปรี้ยวหวานสมดุลย์เหมาะจะทำเป็นแยมที่สุด
Picture courtesy of Kobo Aprico
"เราอยากคงรสชาติของแอปริคอตเอาไว้อย่างนั้น จึงใส่น้ำตาลน้อย และไม่ใส่สารกันบูดเลย"
เช่นเดียวกับที่คุณคนโดพูด แอปริคอตเชื่อมที่ผลิตจากผลแอปริคอตที่เก็บสดๆ ในวันนั้นมีความอร่อยของผลไม้ที่เก็บสดใหม่ มีความโดดเด่นที่รสชาติของผลไม้ตามธรรมชาตินั้นซาบซึมไปจนถึงน้ำเชื่อมเลยทีเดียว"
"จะนำน้ำเชื่อมไปราดน้ำแข็งใสหรือผสมเหล้าดื่มก็อร่อยค่ะ"
ผลไม้แห้งนั้นผลิตด้วยเครื่องจักรที่มีเพียงไม่กี่เครื่องในจังหวัดนากาโนะ ทำให้ประสบความสำเร็จในการบีบอัดความอร่อยตามธรรมชาติของผลไม้เอาไว้ภายในได้ ผลไม้แห้งที่มีเนื้อหนานุ่มแน่นนั้นแสนอร่อย และความอร่อยนี้เองที่เรียกคำชมให้ผู้คนจำนวนมากสั่งซื้อไปทานอีกเรื่อยๆ
ผลิตภัณฑ์ของ "โคโบอาปริโกะ" นั้นเต็มไปด้วยความรักและความรู้ของเหล่าคุณแม่ที่เชี่ยวชาญด้านอาหารจริงๆ ค่ะ!
เว็บไซต์ทางการของโคโบอาปริโกะ : https://sinshu-aprico.com/ (ภาษาญี่ปุ่น)
4. อยากรู้จักของดีทั่วญี่ปุ่นต้องดูที่ "Miyagetto"
Picture courtesy of Gift Pad Co, Ltd
หากใครอยากจะรู้เรื่องเกี่ยวกับสินค้าที่แนะนำในบทความนี้หรือว่าอยากลองทานดู เราขอแนะนำให้เปิดเว็บไซต์ "Miyagetto" ที่ให้บริการของฝากออนไลน์
ที่ Miyagetto เราสามารถเช็คสินค้าน่าสนใจจากเว็บ แล้วเลือกซื้อแคตตาล็อกเป็นคอร์สราคา 500 เยน 1,000 เยน 2,000 เยน 3,000 เยน 4,000 เยน หรือ 5,000 เยน ก่อนจะเลือกสินค้าที่สนใจตามราคาได้
ในการซื้อคอร์สที่ Miyagetto หากเราซื้อให้ผู้อื่น เราไม่จำเป็นต้องกรอกที่อยู่ของผู้รับก็ได้ ขอเพียงเรามีวิธีติดต่อเช่นอีเมล์ หรือโซเชียลต่างๆ ก็สามารถส่งของฝากของขวัญให้กับเพื่อนหรือครอบครัวที่ไม่ค่อยเจอกันได้ค่ะ
และเรายังไม่ต้องกังวลว่าของฝากที่เลือกจะถูกใจผู้รับหรือไม่ เพราะผู้รับสามารถเลือกของจากแคตตาล็อกได้ด้วยตนเอง และไม่ต้องเป็นห่วงว่ากระเป๋าจะเต็มจนใส่ของฝากกลับไปไม่ได้ด้วย นอกจากจะใช้ส่งของฝาก เราจะใช้ส่งของขวัญหรือของเยี่ยมแต่ละฤดูกาลก็ได้เหมือนกันค่ะ
เว็บไซต์ทางการ Miyagetto ของจังหวัดนากาโนะ : https://giftpad.jp/lp/miyaget_nagano/ (ภาษาญี่ปุ่น)
ส่งของฝากง่ายๆ ทางสมาร์ทโฟนกันเถอะ
Photo by Pixta
ไลฟ์สไตล์ของคนสมัยนี้เปลี่ยนไปมาก ไม่แปลกเลยหากบางคนอาจมีเพื่อนที่ติดต่อกันทางโซเชียลเท่านั้น บริการที่ช่วยให้ส่งของฝากหลังเที่ยวหรือส่งของขวัญเล็กๆ น้อยให้แก่กันผ่า่นเว็บแคตตาล็อกโดยไม่ต้องเจอหน้าแบบนี้ถือว่าเป็นบริการที่เหมาะกับยุคสมัยทีเดียว
ตอนนี้ Miyagetto มีจังหวัดต่างๆ เข้าร่วมให้บริการแล้วนอกจากจังหวัดนากาโนะ ก็ยังมีจังหวัดวากายามะ เอฮิเมะ เฮียวโกะ ขายสินค้างานฝีมือประจำจังหวัดหรืออาหารที่ทำด้วยหัวใจของผู้ผลิตในท้องที่นั้น ถึงแม้เราจะไม่ได้เดินทางไปถึงที่ แต่เราก็ยังสามารถเป็นกำลังใจให้กับผู้ผลิตของท้องที่นั้นๆ ได้ เป็นเรื่องที่น่ายินดีนะคะ!
มาสัมผัสความรู้สึกเหมือนไปเที่ยวผ่านแคตตาล็อกสินค้าที่จะทำให้เวลาที่บ้านสนุกสนานขึ้นกันค่ะ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
Main image courtesy of Shinshu Kawanakajimadaira Factory
อาศัยอยู่ที่โตเกียว งานอดิเรกของฉันคือท่องเที่ยวและชื่นชมงานศิลปะ ฉันมองหาอาหารอร่อยๆ และหลังจากใช้ชีวิตในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เป็นเวลาห้าปี ฉันก็ค้นพบความอร่อยของหม้อไฟ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง