เมืองมุราคามิ จังหวัดนีงาตะ: ทัวร์ชมตุ๊กตาฮินะในมาชิยะ พร้อมเพลิดเพลินกับกิจกรรม ที่เที่ยว และอาหารท้องถิ่น

เที่ยวอาซากุสะให้สนุกขึ้น ด้วยประวัติความเป็นมาของประตูคามินาริมง (Asakusa)

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

มาโตเกียวแล้วยังไงก็ต้องมาวัดเซ็นโซจิ ที่อาซากุสะ และที่ต้องไม่พลาดคือมาถ่ายรูปกับโคมยักษ์สีแดงตรงประตูคามินาริมงด้านหน้า แล้วรู้ไหมครับว่าประตูนี้มีที่มายังไง เดี๋ยวจะมาเล่าให้ฟังครับ

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :

ประตูคามินาริมง แห่งวัดเซ็นโซจิจิ

ถ้ามาอาซากุสะ (Asakusa) เชื่อว่าหลายๆ คนต้องมาเที่ยววัดเซ็นโซจิจิ (Senso-ji Temple) กันแน่นอน และอย่างแรกที่ต้องทำเมื่อมาถึงก็คือถ่ายรูปกับโคมแดงตรงประตูคามินาริมง

ชื่ออย่างเป็นทางการของประตูคามินาริมง

อันที่จริงแล้วประตูคามินาริมงนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่าประตูฟูไรจินมง (Furaijinmon : 風雷神門)ครับ

雷門

Photo by Pixta

ที่ด้านข้างโคมแดง ฝั่งขวาจะมีรูปปั้นของ ฟูจิน ฝั่งซ้ายจะมีรูปปั้นของ ไรจิน ประตูนี้จึงได้รับชื่อเรียกว่าประตูฟูไรจินมง

ฟูจิน (Fujin : 風神) คือ วายุเทพ (เทพแห่งลม)
ไรจิน (Raijin : 雷神) คือ อัสนีเทพ (เทพแห่งสายฟ้า)
ส่วน มง (Mon : 門) แปลว่า ประตู รวมกันเป็น ประตูแห่งวายุเทพและอัสนีเทพ

เมื่อเวลาผ่านไปจากชื่อยาวๆ ก็ถูกเรียกสั้นลงๆ จนท้ายที่สุดก็เหลือแค่ตัวคันจิ สายฟ้า (雷 เสียงอ่านมีทั้ง ไร และ คามินาริ) กับ ประตู (門) แค่ 2 ตัวอักษรกลายเป็น คามินาริมง (Kaminarimon : 雷門) ที่ทุกคนคุ้นเคย

เดี๋ยวมาดูประวัติความเป็นมาและเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับประตูคามินาริมงกันครับ

ประวัติของคามินาริมง

เพื่ออธิบายประวัติของประตูคามินาริมง ก่อนอื่นขออธิบายประวัติความเป็นมาของวัดเซ็นโซจิก่อนเล็กน้อย

ในปี 628 ชาวประมงสองพี่น้องที่ตกปลาในแม่น้ำสุมิดะ ได้พบพระพุทธรูปติดอยู่ในแห หลังจากนั้นสองพี่น้องได้ตัดสินใจออกบวชและเปลี่ยนบ้านที่อาศัยอยู่ให้เป็นวัด แและกลายเป็นจุดเริ่มต้นของวัดเซ็นโซจิในปัจจุบัน

雷門

Photo by Pixta

雷門

Photo by Pixta

ว่ากันว่าพระพุทธรูปที่ถูกพบนั้นประดิษฐานอยู่ในโบสถ์โคมากาตะ ที่อยู่ใกล้ๆ กับประตูคามินาริมงครับ

โคมแดงแห่งคามินาริมง

โคมแดงขนาดใหญ่ที่ถูกแขวนอยู่ตรงประตูคามินาริมงนี้ ถือเป็นสัญลักษณ์ที่ไม่ว่าใครเห็นก็ต้องนึกถึงอาซากุสะ โคมนี้สูง 3.9 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.3 เมตร และหนักราว 700 กิโลกรัม

โครงทำด้วยไม้ไผ่จากเขตทัมบะของเกียวโต ด้านนอกปิดทับด้วยกระดาษญี่ปุ่นที่ทำจากโคโซ (พืชตระกูลหม่อน) 100% ประมาณ 300 แผ่น เป็นโคมที่ทำจากวัตถุดิบในญี่ปุ่นและฝีมือของช่างญี่ปุ่นล้วนๆ

ตั้งแต่ปี 1971 เป็นต้นมา โคมไฟนี้ถูกสร้างโดยร้านทาคาฮาชิโชจิน ร้านโคมไฟในเขตชิโมะเคียว ของจังหวัดเกียวโต และจะเปลี่ยนใหม่ทุกๆ 10 ปี

รูปแกะสลักมังกรที่ด้านล่างของโคมไฟ

浅草の雷門の歴史と背景を知り、浅草観光をさらに楽しもう!

Photo by Pixta

หลายคนอาจจะแค่มาถ่ายรูปกับโคมไฟแล้วเดินเลยเข้าไปข้างในเลย แต่ที่จริงยังมีจุดน่าสนใจอยู่ใต้โคมไฟด้วย นั่นคือประติมากรรมของมังกร

ตอนที่พระพุทธรูปติดขึ้นมากับแหนั้นมีตำนานเล่าว่าได้ปรากฏเทพเจ้ามังกรส่องแสงทองสว่างไสว และในฐานะที่เป็นหนึ่งในเทพเจ้าที่เฝ้าวัดเซ็นโซจิ จึงยังมีประติมากรรมของมังกรหลงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบัน

อีกความเชื่อเกี่ยวกับมังกรคือชาวญี่ปุ่นสมัยก่อนเชื่อว่ามังกรที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรจะมีพลังเรียกเมฆเรียกฝนได้ ในอดีตอาซากุสะเต็มไปด้วยอาคารไม้หนาแน่น ง่ายต่อการเกิดไฟไหม้ แต่ก็มีมังกรที่คอยทำให้ฝนตกเพื่อปกป้องผู้คนและบ้านเรือน มังกรจึงได้รับการยกย่องให้เหมือนเป็นเทพเจ้า

Panasonic และความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับวัดเซ็นโซจิ

รู้ไหมครับว่าวัดเซ็นโซจิเคยอยู่โดยไม่มีประตูคามินาริมงถึง 95 ปี เพราะถูกเพลิงไหม้เสียหายไปตั้งแต่ปี 1865 ผู้ที่ทำให้เราได้เห็นประตูยักษ์นี้อีกครั้งคือบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าพานาโซนิค (Panasonic)

เรื่องราวเริ่มในปี 1960 ผู้ก่อตั้งบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้ามัตสึชิตะ (บริษัทพานาโซนิคในปัจจุบัน) คุณมัตสึชิตะ โคโนสุเกะ ประสบกับโรคภัย จึงได้มาไหว้พระขอพรที่วัดเซ็นโซจิ หลังจากนั้นก็หายจากอาการป่วย จึงได้สร้างประตูและโคมยักษ์ถวายเป็นการขอบคุณ และกลายเป็นประตูคามินาริมงที่เห็นนี้

ที่ฐานของโคมยังคงมีชื่อของคุณมัตสึชิตะ โคโนสุเกะ สลักเอาไว้อยู่ครับ

รูปปั้นสองรูปที่ด้านหลังคามินาริมง

浅草の雷門の歴史と背景を知り、浅草観光をさらに楽しもう!

Photo by Pixta

เมื่อลอดประตูคามินาริมงเข้ามาแล้วหันกลับไปดูด้านหลังของประตู จะเห็นรูปปั้นเท็นริว (รูปปั้นผู้ชาย) ที่ด้านซ้ายและคินริว (รูปปั้นผู้หญิง) ที่ด้านขวา

คินริวกับเทนริวนั้นเป็นเทพเจ้ามังกรที่ควบคุมน้ำ ถือเป็นเทพเจ้าที่ปกป้องพุทธศาสนา จึงถูกนำมาตั้งไว้เพื่อให้สมดุลย์กับฟูจินและไรจิน

จากเอกสารของวัดเซ็นโซจิกล่าวว่า ตามปกติเทพเจ้ามังกรจะช่วยปกป้องผู้คนจากภัยพิบัติของทะเล และยังช่วยให้พืชพรรณเจริญเติบโตอย่างอุดมสมบูรณ์ ส่วนวัดเซ็นโซจิเชื่อว่าเทพเจ้ามังกรคือผู้ปกป้องพุทธศาสนาและผู้ปกป้องประตูคามินาริมง

คำว่าคินริวซันหน้าชื่อวัดเซ็นโซจิ ก็แสดงให้เห็นว่ามีการอ้างอิงมาจากชื่อของเทพเจ้ามังกร เท็นริวและคินริว ที่เป็นรูปปั้นรูปชายหญิงด้านหลังประตูคามินาริมง ส่วนหลักฐานที่ว่ารูปปั้นชายหญิงนี้เป็นร่างแปลงของเทพเจ้ามังกรก็คือตรงก้นจะมีหางมังกรโผล่ออกมาด้วยครับ

เรื่องราวของประตูคามินาริมง

เป็นไงบ้างครับ พอได้รู้เรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้แล้วน่าจะทำให้การเที่ยวที่ต่างๆ สนุกขึ้นนะครับ เชื่อว่าคราวหน้าที่ได้ไปเยือนวันเซ็นโซจิ ความรู้สึกของทุกคนที่มีต่อประตูคามินาริมงอาจจะเปลี่ยนไปก็ได้ครับ อย่าลืมลองสังเกตุรายละเอียดต่างๆ ดูนะครับ

Written by

Hello, I'm Keisuke. living Asakusa Tokyo Japan. Love triathlon(Ironman), traveling, reading, eating and my job. I really really like Japan but I think Japan should be more kindly to traveler. https://www.facebook.com/keisukeyamada84

เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ