Unseen Japan สัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งฤดูหนาวของเมืองมัตสึโมโตะ 2 วัน 1 คืน

ชาเขียวแสนอร่อยเริ่มต้นจากถ้วยชา ภาชนะสำหรับดื่มด่ำรสชาติชาเขียว

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

บทความนี้ขอแนะนำภาชนะที่ขาดไม่ได้ในการดื่มชาเขียว จะกล่าวถึงลักษณะของยุโนมิ เซ็นจะวัง กาน้ำชา และจานรองถ้วยชา รวมถึงสถานที่จำหน่าย ยังมีเกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับความแตกต่างของกาน้ำชาและทีพอต ที่ญี่ปุ่นไม่ใช่แค่เรื่องชาเขียวเท่านั้นแต่ลองมาให้ความสนใจกับภาชนะแสนสวยดูกันบ้างสินะ

บทความโดย

Previous experience as an editor at a women's media company in Japan. I lived in Australia for a while and joined MATCHA after returning to Japan. In charge of editing, promoting sponsored content, and creative direction. I love watching Western TV series.
more

ภาชนะสำหรับชาเขียว

おいしいお茶は器から。緑茶を楽しむためのテーブルウェア

ถ้าพูดถึงชาเขียว ทุกคนนึกถึงอะไรกันคะ?

สำหรับคนไทยเราก็ต้องชาเขียวพร้อมดื่มในขวดพลาสติก ไม่ก็ขนมหวานแสนอร่อยที่ผสมชาเขียว ส่วนคนญี่ปุ่นก็อาจจะนึกไปถึงประเภทของใบชา อย่างเช่น เซ็นฉะ เกียวคุโระ หรือ โฮจิฉะ

ของหวานที่ทำจากชาเขียวหรือใบชาเป็นของฝากที่หลายคนเลือกซื้อยามมาเที่ยวญี่ปุ่น แต่สิ่งที่ผู้เขียนอยากแนะนำที่สุดคือถ้วยชาญี่ปุ่นแสนสวยค่ะ

บทความนี้ขอแนะนำประเภทของภาชนะที่ใช้ตอนดื่มชาเขียว ที่จะช่วยแต่งแต้มสีสันสวยงามให้กับช่วงเวลาทีไทม์ของทุกคน

ยุโนมิ เซ็นฉะวัง แก้ว

อย่างแรกที่อยากจะให้เลือกหากันก็คือถ้วยสำหรับดื่มชาที่เรียกว่า ยุโนมิ หรือ เซ็นฉะวัง

おいしいお茶は器から。緑茶を楽しむためのテーブルウェア

ยุโนมิ เป็นถ้วยรูปกระบอกทรงสูง มักใช้ดื่มชาเขียวในบ้านเรือนทั่วไป เนื่องจากเก็บความร้อนได้ดีจึงเหมาะแก่การเพลิดเพลินกับการดื่มชาอย่างช้าๆ

おいしいお茶は器から。緑茶を楽しむためのテーブルウェア

ส่วนเซ็นฉะวัง ปากถ้วยจะกว้างกว่า ดูคล้ายกับถ้วยชาแบบฝรั่งแต่ไม่มีหูจับ มีทั้งแบบที่วาดด้วยลวดลายงดงามหรือแบบที่เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบผิวมันวาวสีสันสวยงาม มักใช้ยามต้อนรับแขก

おいしいお茶は器から。緑茶を楽しむためのテーブルウェア

การได้จิบชาเย็นๆ ในหน้าร้อนเป็นอะไรที่ทำให้ชื่นใจมาก ยิ่งถ้าได้แก้วสวยๆ ด้วยแล้วยิ่งดีใหญ่ อย่างแก้วคิริโกะลวดลายตาราง ทำโดยการเจียรแก้วส่วนที่มีสีด้านนอกสุดออกไปจนเกิดเป็นลวดลาย

กาน้ำชาคิวซุ

おいしいお茶は器から。緑茶を楽しむためのテーブルウェア

เพียงแค่มียุโนมิหรือเซ็นฉะวังก็สามารถสัมผัสกับบรรยากาศสไตล์ญี่ปุ่นได้แล้ว แต่ถ้าอยากเพิ่มความเป็นญี่ปุ่นอีกสักหน่อย ลองหากาน้ำชาคิวซุมาเพิ่มสักใบดูสิคะ

คิวซุเป็นกาสำหรับชงชาญี่ปุ่น ต่างจากกาน้ำชาแบบฝรั่งตรงที่คิวซุจะเตี้ยและมีขนาดเล็กกว่า

おいしいお茶は器から。緑茶を楽しむためのテーブルウェア

ใบชาเขียวถ้าแช่ในน้ำร้อนนานจะทำให้รสฝาดออกมา คิวซุจึงมีขนาดเล็กเพื่อให้รินน้ำชาใส่ถ้วยได้หมดในหนึ่งครั้ง ซึ่งต่างจากชาฝรั่งที่จะแช่ใบชาในกาไว้ตลอดและรินลงถ้วยเฉพาะปริมาณที่จะดื่ม

อย่างในรูปจะเห็นว่าที่จับกาน้ำชาอยู่ด้านข้างปากกา ที่จริงก็มีทั้งแบบที่อยู่ด้านบนและด้านหลังตรงข้ามกับปากกาด้วย

กาน้ำชาของประเทศจีนหรือไต้หวันที่มีวัฒนธรรมการดื่มชาเหมือนกันมักมีที่จับอยู่ด้านหลัง แต่ของญี่ปุ่นมักมีที่จับอยู่ด้านข้าง ช่วยให้เอียงการินชาได้ง่ายจนหยดสุดท้าย

จานรองถ้วยชาและถาด

おいしいお茶は器から。緑茶を楽しむためのテーブルウェア

หากคนที่ยังต้องการภาชนะของชาเขียวมากขึ้นไปอีก ขอแนะนำให้ลองหาซื้อจานรองถ้วยชาและถาด

จานรองถ้วยชาคือจานรองเล็กๆ ที่เอาไว้วางถ้วยชา เปรียบแล้วก็เหมือนชุดถ้วยกับจานรองแบบตะวันตก จานรองก็ถือเป็นหนึ่งในสิ่งแสดงความใส่ใจเมื่อต้อนรับแขก

おいしいお茶は器から。緑茶を楽しむためのテーブルウェア

ถาดก็เช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่จะใช้ตอนที่เสิร์ฟชาให้กับแขกที่มาเยือน

มีถาดหลากหลายชนิดอย่างเช่น ถาดไม้ที่เห็นลายชัดเจน ถาดที่เคลือบอุรุชิ (รัก) สีแดงหรือสีดำ และถาดที่ประดับตกแต่งด้วยมุก ไม่ว่าจะเป็นถาดแบบไหนก็สามารถดึงความสวยงามของถ้วยชาออกมาได้อย่างดีเลยทีเดียว

สถานที่ที่สามารถซื้อถ้วยชาได้

おいしいお茶は器から。緑茶を楽しむためのテーブルウェア

ภาชนะสำหรับดื่มชาที่ได้แนะนำจนถึงตอนนี้ สามารถหาซื้อได้ง่ายในญี่ปุ่น

ร้านขายอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัว และห้างสรรพสินค้า

おいしいお茶は器から。緑茶を楽しむためのテーブルウェア

กาน้ำชาและยุโนมิ ที่มีราคาสบายกระเป๋าตังค์ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 1,000 ถึง 3,000 เยนนั้น จะวางขายอยู่ตามร้านขายอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัว แต่ที่ นิโตริ (Nitori) ร้านเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านขนาดใหญ่ หรือ มูจิรุชิเรียวฮิน (MUJI) ที่เป็นร้านขายสินค้าเบ็ดเตล็ดในชีวิตประจำวันก็มีวางจำหน่ายเช่นเดียวกัน ใครที่สนใจก็ลองไปเลือกชมได้ที่ร้านค้าโดยตรงหรือตามร้านค้าออนไลน์ก็ได้นะคะ

นอกจากนี้ ตามห้างสรรพสินค้าจะมีถ้วยชาจากแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาซึ่งเป็นที่ขึ้นชื่อของญี่ปุ่นวางจำหน่าย ราคาประมาณ 3,000 ถึง 10,000 เยน ซึ่งเป็นราคาที่ค่อนข้างสูงเล็กน้อย สำหรับใครที่ต้องการหาของฝากให้คนที่สำคัญหรือต้องการจะมีถ้วยชาไว้ใช้เอง ก็ขอแนะนำให้ไปเลือกซื้อยังแผนกขายอุปกรณ์จานชาม

แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา

おいしいお茶は器から。緑茶を楽しむためのテーブルウェア

ยุโนมิแบบคุทานิยากิ ที่วาดลวดลายด้วยสีทอง (แบบคินสึกิ)

สำหรับคนที่ต้องการพบกับถ้วยชาที่สวยงาม ลองไปเยือนถึงโรงงานผลิตและหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาของแต่ละพื้นในญี่ปุ่นดูไหมคะ

เครื่องปั้นดินเผาคุทานิยากิ ของจังหวัดอิชิกาวะที่มีการลงสีเป็นลวดลายบนพื้นสีขาว เครื่องปั้นดินเผาชิการากิ ของจังหวัดชิกะที่ดูอบอุ่นเรียบง่าย เครื่องปั้นดินเผาฮากิยากิ ของจังหวัดยามากุจิที่มีสีสบายตาอย่างสีชมพูอ่อนหรือสีเขียวมรกตอ่อน ทั้งคุณภาพ ลวดลาย และสีของเครื่องปั้นดินเผาจะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่

เที่ยวชมหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาหาถ้วยชาเฉพาะของตัวเองคงดีไม่น้อย

มาเรียนรู้เรื่องประวัติความเป็นมาของชาผ่านถ้วยชาอันสวยงาม

おいしいお茶は器から。緑茶を楽しむためのテーブルウェア

วัฒนธรรมการดื่มชานั้นญี่ปุ่นได้รับมากจากประเทศจีนผ่านนักบวชญี่ปุ่นและคณะทูตจากพระราชสำนักที่เดินทางไปศึกษาวัฒนธรรมอันรุ่งเรืองของราชวงศ์ถังในประเทศจีนช่วงศตวรรษที่ 7-9 หลังจากนั้น กล่าวกันว่าวัฒนธรรมการดื่มชาก็ได้เสื่อมไปครั้งหนึ่ง

ช่วงศตวรรษที่ 12 สไตล์การดื่มโดยบดชาเป็นผงแล้วละลายน้ำร้อนได้มีการแพร่เข้ามาจากประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960 - 1279) หลังจากนั้นก็กลายมาเป็นมัทฉะของญี่ปุ่น ตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 12 มัทฉะที่ใช้ในพิธีชงชาก็ได้เริ่มแพร่หลายในหมู่นักรบและนักบวช

おいしいお茶は器から。緑茶を楽しむためのテーブルウェア

อีกด้านหนึ่ง ชาเขียวเริ่มแพร่หลายสู่ชาวบ้านในช่วงสมัยเอะโดะ ชาวบ้านดื่มชาเขียวที่ได้จากการต้มใบชา ในช่วงนี้สีชาจึงเป็นสีน้ำตาล

ศตวรรษที่ 18 ผู้ผลิตชาในเมืองอุจิ เกียวโตได้คิดค้นกรรมวิธีผลิตชาให้สีของชาเป็นสีเขียว จึงเกิดชาเขียวเรียวคุฉะที่รู้จักกันในปัจจุบัน

เทียบกับมัทฉะที่แพร่หลายในหมู่ชนชั้นสูง ชาเขียวมีความใกล้ชิดและเป็นที่คุ้นเคยของชาวบ้านทั่วไปมากกว่า ทำให้ถ้วยถาดสำหรับดื่มชาทั้งหลายแฝงไปด้วยโยโนะบิ (用の美) หรือ ความงามของการใช้ ไม่ใช่ความงามที่ถูกจับวางขึ้นหิ้ง แต่เป็นความงามในสิ่งของทั่วไปซึ่งมีทั้งประโยชน์ใช้สอยและสุนทรียภาพ

นอกจากตัวชาเขียวเองแล้ว คราวหน้าลองมองหาเหล่าภาชนะ แล้วมาดื่มด่ำไปกับความอร่อยกลมกล่อมของชาเคล้าความงามอันแสนเรียบง่ายของภาชนะกันนะคะ

เอกสารอ้างอิง : เซ็นจะโดโตเกียว (Senchadoutoukyou) "長くて短い日本茶の歴史。抹茶と煎茶のルーツと発展を辿る", ยามามาซะโกะยามาเอ็น (Yamamasa Koyamaen) "抹茶の歴史", อิโตเอ็น (Itoen) "日本でのお茶の歴史"

All photos by Pixta

บทความโดย

Mayu

Previous experience as an editor at a women's media company in Japan. I lived in Australia for a while and joined MATCHA after returning to Japan. In charge of editing, promoting sponsored content, and creative direction. I love watching Western TV series.
more
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ