เมืองมุราคามิ จังหวัดนีงาตะ: ทัวร์ชมตุ๊กตาฮินะในมาชิยะ พร้อมเพลิดเพลินกับกิจกรรม ที่เที่ยว และอาหารท้องถิ่น

หรือว่าเราจะใช้ตะเกียบผิดวิธีมาตลอด?! ว่าแล้วมาเรียนรู้มารยาทบนโต๊ะอาหารของชาวญี่ปุ่นกัน!

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

บทความรอบนี้เราจะแนะนําคุณผู้อ่านให้ได้รู้จักกับมารยาทบนโต๊ะอาหาร ที่ชาวญี่ปุ่นยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกัน ใครที่ยังไม่รู้หรือไม่แม่นเป๊ะ ก็ตามมาเลย!

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :

บทความรอบนี้เราจะแนะนําคุณผู้อ่านให้ได้รู้จักกับมารยาทบนโต๊ะอาหาร
ที่ชาวญี่ปุ่นยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกัน ใครที่ยังไม่รู้หรือไม่แม่นเป๊ะ ก็ตามมาเลย!

มารยาทขั้นต้น

「結わえる本店」で日本人の健康を支える食文化に触れよう!

ก่อนเริ่มทานอาหาร

ให้พูดว่า “อิทาดาคิมัส(いただきます。)” ก่อนจะลงมือทาน
เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณต่อส่วนประกอบอาหารทั้งหลาย
และผู้ที่ปรุงอาหารให้เราได้ทาน นอกจากนี้ยังถือเป็นมารยาทที่ดีงามอีกด้วย

สิ่งแรกที่เราเห็นจากในภาพเลยคือตะเกียบวางโดยด้านจับหันไปทางขวา
ชามข้าววางอยู่ทางซ้ายมือของผู้ทาน ส่วนถ้วยซุปวางอยู่ทางขวามือของผู้ทาน
ซึ่งหากถ้วยหนักจะใช้มือทั้งสองข้างยกตอนทานก็โอเค
อันนี้เหมือนของไทย คือไม่ควรวางศอกบนโต๊ะ

และควรทานอย่าให้มีเสียง หากจะพูดคุยให้เคี้ยวอาหารให้หมดก่อนจึงค่อยเริ่มพูด
แต่จะว่าไปของอย่างพวกผลไม้และซูชิก็ไม่ได้ใช้ตะเกียบทานนี่เนอะ
แล้วก็หากมีอาหารหลายอย่าง หลายจานให้ค่อยๆทานทีละนิดนะ

การทานข้าวให้หมดก็จัดเป็นหนึ่งในธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันทั่วไป
ด้วยความเชื่อที่ว่ากว่าจะได้ข้าวแต่ละเม็ดต้องผ่านการเพาะปลูก
ที่มีด้วยกันกว่า 88 ขั้นตอน
นั่นเอง ทานเหลือล่ะเสียดายแย่เลย

เมื่อทานเสร็จ

เมื่อคุณผู้อ่านทานเสร็จให้กล่าวว่า “โกะจิโซซามะเดชิตะ (ごちそうさまでした。)”
เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณอีกครั้งนั่นเอง

คําว่า “โกจิโซซามะ” สะกดด้วยคันจิจะได้ว่า “御馳走様” ซึ่งตรงคําว่า
“จิโซ” (馳走) มีความหมายถึงสภาพการวิ่งวุ่น และวลีนี้เริ่มถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย
ในช่วงปลายยุคเอโดะเพื่อเป็นการกล่าวขอบคุณแก่ผู้คนที่ได้วิ่งวุ่นเพื่อจัดเตรียมมื้ออาหารให้แก่เรา
จาก「วิธีการสั่งอาหารในร้านข้าวหน้าเนื้อมัทสึยะ」(อ้างอิง:語源由来辞典

การใช้ตะเกียบ

เป็นที่รู้กันดีว่าชาวญี่ปุ่นใช้ตะเกียบในการทานอาหาร ดังนั้นร้านอาหาร
ในญี่ปุ่นส่วนมากมักจะจัดเตรียมตะเกียบไม้เอาไว้ให้เราใช้ทานนั่นเอง

ซึ่งก็มีกฎข้อพึงระวังเกี่ยวกับการใช้ตะเกียบอยู่หลายข้อ เช่นอย่าคีบอาหาร
ส่งให้คนอื่นด้วยตะเกียบของตัวเองโดยตรง เพราะมีลักษณะคล้ายคลึงกับการส่งต่ออัฐิ
ในพิธีกรรมงานศพของญี่ปุ่นนั่นเอง นอกจากนี้ยังห้ามปักตะเกียบลงไปในอาหาร
โดยเฉพาะชามข้าว เนื่องจากเป็นการมอบอาหารให้ผู้เสียชีวิตในงานศพญี่ปุ่นครับ
ทีนี้เราก็ได้รู้วิธีใช้ตะเกียบกันไปแล้ว อย่าไปโชว์เปิ่นตอนลงสนามจริงล่ะคร้าบ

เครื่องปรุงที่เห็นนี่มีอะไรบ้าง?

หรือว่าเราจะใช้ตะเกียบผิดวิธีมาตลอด?! ว่าแล้วมาเรียนรู้มารยาทบนโต๊ะอาหารของชาวญี่ปุ่นกัน!

จากภาพเครื่องปรุงด้านบนที่เราเห็นได้ทั่วไปตามร้านอาหารในญี่ปุ่น
เรียงจากซ้ายไปขวามีดังนี้ ไม้จิ้มฟัน พริกป่น พริกไทยดํา น้ำมันพริกจีน
และน้ำส้มสายชู ในขณะที่บางร้านจะเตรียมซอสโชยุ ซอสทงคัตสึสําหรับของทอด
เกลือ พริกไทย และไม้จิ้มฟันไว้บริการลูกค้าแทน นอกจากนี้บางร้านอาจจะเตรียมพริกชิจิมิ
(七味 แปลตรงๆว่าเจ็ดรสชาติ) อันเกิดจากการผสมกันระหว่างพริกป่นและเครื่องเทศต่างๆอีกด้วย

มารยาทการทานอาหารญี่ปุ่นคร่าวๆก็มีเท่านี้ครับ ทีนี้พอเราไปถึงญี่ปุ่นจริง
จะได้หลิ่วตาตามคนท้องถิ่นแอบกลืนๆ ไปได้บ้างล่ะเนอะ อิอิ

Written by

นี่คือบัญชีของกองบรรณาธิการ MATCHA เราจะเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวอยากรู้ รวมถึงเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ของญี่ปุ่นที่ยังไม่มีใครรู้จัก

เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ