เมืองมุราคามิ จังหวัดนีงาตะ: ทัวร์ชมตุ๊กตาฮินะในมาชิยะ พร้อมเพลิดเพลินกับกิจกรรม ที่เที่ยว และอาหารท้องถิ่น

สารานุกรมคำญี่ปุ่น 「เกตะ・โซริ」

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

「เกตะ」และ「โซริ」เป็นรองเท้าสไตล์ญี่ปุ่นที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ คนญี่ปุ่นสมัยก่อนใช้ใส่เพื่อไปข้างนอกในสมัยที่รองเท้ายังไม่เข้ามาเผยแพร่จากประเทศแถบตะวันตก เราได้รวบรวมความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเกตะและโซริมาไว้ในบทความนี้แล้วค่ะ

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :

ทั้ง「เกตะ」และ「โซริ」เป็นชนิดของรองเท้าสไตล์ญี่ปุ่นที่มีมาแต่ตั้งสมัยโบราณ ก่อนที่วัฒนธรรมตะวันตกจะเผยแพร่เข้ามาในญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นจะสวมใส่เกตะ หรือโซริ แทนรองเท้าเวลาออกไปนอกบ้าน ในปัจจุบัน เวลาที่ใส่ชุดประจำชาติของญี่ปุ่นก็จะขาดเกตะและโซริไปไม่ได้เลย

เราได้รวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเกตะและโซริ รองเท้าสไตล์ญี่ปุ่นมาไว้ในบทความนี้แล้วค่ะ

「เกตะ」และ「โซริ」

รูปร่างหน้าตาของเกตะและโซริจะเหมือนกันมาก แต่ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดจะอยู่ใต้พื้นรองเท้า ใต้รองเท้าของเกตะจะมีสิ่งที่เรียกว่า「ฮะ(ฟัน)」ยื่นออกมา 2 อัน แต่ก็มีเกตะแบบที่ไม่มี「ฮะ」 และแบบส้นหนาด้วย แต่โดยภาพรวมแล้วรองเท้าที่ทำจากไม้จะเรียกกันว่า เกตะ ในทางกลับกัน ใต้พื้นรองเท้าของโซริจะเป็นแบบเรียบ วิธีการสวมใส่เกตะและโซริจะเหมือนกันทั้งคู่ คือจะมี「ฮานาโอะ(หูหนีบ)」อยู่ตรงที่สวมใส่ เหมือนรองเท้าแตะหูหนีบที่เราใช้กันในปัจจุบัน สวมใส่ไม่ยากค่ะ

ใส่เกตะตอนไหน?

 

ในสมัยที่ถนนหนทางยังไม่ดีเหมือนในปัจจุบันนี้ ฟันที่อยู่ใต้พื้นเกตะช่วยให้คนสมัยนั้นเดินเหินได้อย่างปลอดภัย แม้ในวันที่ฝนตกและถนนลื่น นอกจากนี้ยังช่วยทำให้กิโมโนไม่เลอะเทอะด้วย ในสมัยนี้ มักจะใส่เกตะคู่กับ「ชุดยูกาตะ」ด้วยค่ะ ซึ่งมักจะพบได้ตามเทศกาลฤดูร้อน หรือเทศกาลดอกไม้ไฟค่ะ หรือตามเมืองออนเซ็น ที่เรียวกังบางที่จะมียูกาตะและเกตะให้ยืมใส่ด้วย เสียงฟันเกตะสัมผัสกับพื้นหินหรือคอนกรีต ก๊อก แก๊ก ก๊อก แก๊ก เป็นเสียงที่เป็นจุดเด่นของเกตะค่ะ เกตะแบบที่มีพื้นรองเท้าหนาใหญ่ ซึ่งเรียกว่า「ป๊กคุริเกตะ」ซึ่งไมโกะ หรือเด็กผู้หญิงมักใส่คู่กับชุดตามประเพณีในงานชิจิโกะซัง

ใส่โซริตอนไหน?

 

โซริที่มีใช้ในยุคที่มีหนัง ผ้า พลาสติคต่าง ๆ เป็นวัตถุดิบในการทำรองเท้า โดยทั่วไปมักจะนิยมใส่ในงานพิธีของญี่ปุ่น ในสมัยโบราณ ผู้คนนิยมใส่「วาระโซริ」รองเท้าที่ทำจากฟางมาสานกัน ในสมัยที่รองเท้าแบบชาวตะวันตกยังไม่เผยแพร่เข้ามา ก็จะมีการสานรองเท้าฟางเองที่บ้าน เรียกกันว่า「วาระจิ」เป็นอีกชนิดหนึ่งของ「เซตตะ(รองเท้าแตะผู้ชาย)」 หูหนีบแบบสีขาวจะใช้ในงานมงคล ส่วนหูหนีบสีดำจะใช้ในโอกาสทั่ว ๆ ไป จุดเด่นจะอยู่ตรงที่การแบ่งแยกการใช้งานจากสีของหูหนีบค่ะ การใช้เกตะเดินบนถนนที่มีหิมะตก ทำให้มีหิมะเข้าไปติดตรงฟันของเกตะได้ง่าย ทำให้เริ่มมาจากเซตตะกันมากขึ้น ทั้งใส่ง่าย ทนทาน ถอดหรือใส่ก็สะดวก ทำให้นิยมใช้ในการปฏิบัติงานด้วยค่ะ

การเลือกใส่

เราจะแนะนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับคนที่จะซื้อเกตะหรือโซริเป็นครั้งแรกค่ะ

อันดับแรก เลือกที่หูหนีบ เลือกได้ง่าย ๆ โดยดูจากสีและลายของหูหนีบ ให้เข้ากับสีและลายของโอบีของกิโมโน และเพื่อป้องกันไม่ให้เสียดสีกับเท้าจนเจ็บ ให้เลือกดูอันที่ค่อนข้างใหญ่และไม่มีรอยตะปุ่มตะป่ำ ต่อไปให้ดูขนาด ในกรณีที่จะนำไปใส่กับชุดญี่ปุ่น ควรเหลือให้ส้นเท้ายื่นออกมาสัก 1cm เพราะถ้าเลือกแบบที่พอดีเท้า ชายชุดกิโมโนหรือเสื้อผ้าที่ใส่อาจจะเข้าไปติดและทำให้เราเหยียบได้โดยไม่ทันระวังตัวค่ะ แล้วถ้าด้านหน้าเท้าเกินรองเท้าออกไปจะทำให้เดินได้ยากด้วย ถ้าซื้อเป็นครั้งแรก ก็ลองสวมใส่เพื่อเลือกหาคู่ที่ใส่สบายดูนะคะ

หลังจากซื้อมาแล้ว เรามาลองปรับหูหนีบกันดูค่ะ ใช้นิ้วบีบตรงส่วนหูหนีบที่ต้องใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้เท้าหนีบ เพื่อทำให้นิ่มลง หลังจากนั้นให้ปรับสายไปขึ้นลงให้เหมาะกับรูปเท้าและความสูงของเท้าเพื่อน ๆ เกตะที่ซื้อมาใหม่มักจะมีหูหนีบที่ค่อนข้างแข็ง ถ้ารีบใส่มากไปอาจจะทำให้บิดเสียรูปได้ค่ะ แล้วถ้าใส่แบบเสียรูปไปเรื่อย ๆ อาจจะทำให้ใส่ไม่สบายได้ ยังไงก็ค่อย ๆ สวมกันนะคะ แล้วก็อาจจะเอาแป้งฝุ่นหรือสบู่มาถูที่ง่ามเท่าระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ เพื่อป้องกันไม่ให้รองเท้ากัดได้ค่ะ

เกตะบางชนิดจะมีตัวปรับ 3 ระดับที่หูหนีบด้วย สามารถนำไปล็อคหูหนีบให้พอดีที่ร้านเกตะโดยเฉพาะได้ ถ้าเป็นแบบหูหนีบยาง จะไม่สามารถปรับได้ค่ะ ที่ร้านเกตะอาจจะดูเหมือนแพง แต่มีข้อดีตรงที่ที่ร้านจะปรับขนาดให้เหมาะกับรูปเท้าของเพื่อน ๆ ค่ะ

Written by

日本への訪日外国人の方が、もっと増えますように!

เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ