เมืองมุราคามิ จังหวัดนีงาตะ: ทัวร์ชมตุ๊กตาฮินะในมาชิยะ พร้อมเพลิดเพลินกับกิจกรรม ที่เที่ยว และอาหารท้องถิ่น

3 คาเฟ่ดังในโตเกียวที่ผู้คนทั่วไป รวมทั้งนักเขียนชื่อดังและซุปเปอร์สตาร์ต่างชื่นชอบ! สัมผัสประสบการณ์วามอร่อยกว่า 100 ปี

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

เมื่อ 100 ปีก่อน ชาวญี่ปุ่นได้เริ่มสัมผัสวัฒนธรรมตะวันตก ในยุคนั้น มีร้านไหนที่ผู้คนได้ลิ้มรสอาหารรสเลิศแปลกใหม่กันบ้าง? มีเมนูไหนยอดฮิต? บทความนี้จะพาไปรู้จัก 3 ร้านดังซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนยาวนานหลายรุ่น ไปสัมผัสวิถีชีวิตร่วมสมัยในโตเกียวสมัยก่อนกัน!

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :

โตเกียว "ล้ำสมัย" เมื่อ 100 ปีก่อน

เมื่อราว 100 ปีก่อน ตั้งแต่ปลายสมัยเมจิจนถึงสมัยไทโชและต้นสมัยโชวะ หนังสือพิมพ์และวิทยุเริ่มเป็นที่แพร่หลายในญี่ปุ่น ประชาชนทั่วไปได้สัมผัสกับข่าวสารและความรู้จากทั่วโลก ตามท้องถนนจึงมีแฟชั่นและสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานวัฒนธรรมตะวันตกแพร่หลาย ทำให้ภายในเมืองมีชีวิตชีวาขึ้น

กรุงโตเกียวมีอาคารแสนโรแมนติกที่ผสานสถาปัตยกรรมสไตล์ญี่ปุ่นกับตะวันตกเรียงราย ตามถนนหนทางมีผู้คนที่สวมเสื้อผ้าสไตล์ตะวันตกที่ดูหรูเพิ่มขึ้น และแฟชั่นยอดฮิตในยุคนั้นก็คือทรงผมสั้นน่ารักๆ ของ "สาวทันสมัย" และแว่นตาทรงกลมกับหมวกดาร์บี้ที่ "หนุ่มสมัยใหม่"

ในยุคสมัยแห่งสีสันนี้ ร้านอาหารนานาชาติและคาเฟ่ก็เริ่มได้รับความสนใจ มีร้านอาหารและคาเฟ่จำหน่ายผลไม้คุณภาพพรีเมี่ยม ขนมปัง อาหารสไตล์ตะวันตก กาแฟ และอื่นๆ ที่ไม่เคยมีในญี่ปุ่นมาก่อนผุดขึ้นเรื่อยๆ

จิบกาแฟที่ข้ามน้ำข้ามทะเลจากแดนไกล สัมผัสกลิ่นอายวัฒนธรรมต่างชาติที่ Café Paulista

Cafe Paulista 門口

คาเฟ่สาขาหลักย้ายมาที่กินซ่าฮาจิโจเมะ (Ginza 8-chome) ในปี 1970 และได้รับการปรับปรุงใหม่ในปี 2014

คาเฟ่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่นคือ Café Paulista ในย่านกินซ่า

คุณมิซึโนะ ริว ประธานคนแรกเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการย้ายถิ่นฐานของคนญี่ปุ่นไปยังบราซิล อันเนื่องมาจาก ณ ขณะนั้นการขาดแคลนอาหารที่เกิดจากจำนวนประชากรญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น และการว่างงานของทหารที่กลับจากสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (ค.ศ. 1904 - 1905) ได้กลายเป็นปัญหาสังคม

เริ่มแรกคุณมิซึโนะ ริวคิดว่า ถ้าบราซิลมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ผู้อพยพจะใช้ชีวิตได้อย่างมั่งคั่ง แต่ชาวญี่ปุ่นที่อพยพไปบราซิลส่วนใหญ่กลับต้องทำงานหนักในไร่กาแฟและใช้ชีวิตยากจนข้นแค้น ตัวคุณมิซึโนะ ริวเองก็ขาดทุนในธุรกิจการย้ายถิ่นฐานของชาวญี่ปุ่นไปต่างประเทศอย่างมากด้วย

เพื่อแสดงความขอบคุณและช่วยเหลือธุรกิจการย้ายถิ่นฐานของคุณมิซึโนะ ริว รัฐบาลซานเปาโลของประเทศบราซิลจึงมอบเมล็ดกาแฟให้ฟรี และมอบความไว้วางใจให้เป็นผู้เผยแพร่และจำหน่ายกาแฟบราซิลในญี่ปุ่นด้วย

จากนั้นในปี 1911 คุณมิซึโนะ ริวได้เปิด Café Paulista ในกินซ่าฮาจิโจเมะ เพื่อจำหน่ายและเผยแพร่เมล็ดกาแฟบราซิล

การพลิกแพลงปรับเปลี่ยนที่ทำให้กาแฟได้รับความนิยม

ในยุคที่กาแฟยังเป็นของแปลกใหม่ Café Paulista เป็นผู้ที่ช่วยเผยแพรวัฒนธรรมกาแฟและร้านคาเฟให้เป็นที่รู้จัก

ทางร้านได้ดำเนินกิจกรรมเผยแพร่ต่างๆ เช่น คิดสโลแกนโฆษณาว่า "ดำเหมือนปีศาจ หวานดั่งความรัก และร้อนดั่งนรก" ให้ผู้ชายและเด็กหนุ่มหน้าตาดีสวมเสื้อโค้ตยืนแจกบัตรชิมกาแฟฟรีที่ถนนสายหลักของกินซ่า แล้วให้หญิงสาวที่มีการศึกษาดีไปแนะนำวิธีการดื่มกาแฟที่บ้านของครอบครัวชนชั้นสูง

รูปแบบของคาเฟ่ก็มีสไตล์ที่แตกต่างเช่นกัน ในยุคนั้น พนักงานเสิร์ฟของคาเฟ่ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง แต่ Café Paulista ฉีกแนวออกไปโดยให้เด็กหนุ่มหน้าตาดีสวมเครื่องแบบทหารเรือมาเสิร์ฟกาแฟเป็นจุดขาย

นอกจากกิจกรรมโฆษณาที่ดึงดูดใจ ว่ากันว่า ทางร้านยังจำหน่ายกาแฟในราคาย่อมเยาเพียงถ้วยละ 5 เซ็นต์ (เทียบเท่ากับ 900 เยนในปัจจุบัน) ทำให้มีลูกค้าเต็มร้านตั้งแต่เช้าจรดค่ำ วันที่ขายได้เยอะๆ จะขายกาแฟได้มากกว่าวันละ 4,000 ถ้วย

Cafe Paulista 店內

ตอนแรกที่เปิด คาเฟ่ตั้งอยู่ใกล้สวนฮิบิยะ (Hibiya Park) และโรงแรมอิมพีเรียล (Imperial Hotel) ในละแวกใกล้เคียงมีบริษัทหนังสือพิมพ์และห้างร้านต่างชาติมากมาย ทำให้คาเฟ่แห่งนี้กลายเป็นสถานที่ซึ่งนักศึกษาและปัญญาชนมารวมตัวพูดคุยและจิบกาแฟกัน

คำว่า "กินบุระ" เป็นคำที่พูดฮิตในหมู่นักศึกษามหาวิทยาลัยเคโอที่มักแวะมากินซ่าระหว่างทางกลับบ้าน มีความหมายว่า "ดื่มกาแฟบราซิลที่กินซ่า"

約翰藍儂簽名

รูปภาพเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่มีลายเซ็นของจอห์น เลนนอนและโอโนะ โยโกะ ภรรยา

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา บรรดาบุคคลที่มีชื่อเสียงมากมายต่างแวะเวียนมาที่คาเฟ่แห่งนี้อย่างอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์เชิงทฤษฎี, อาคุตากาวะ ริวโนะซึเกะ นักเขียนชื่อดัง, จอห์น เลนนอน และโอโนะ โยโกะ ภรรยา

โดยเฉพาะอาคุตากาวะ ริวโนะซึเกะมักพบปะกับนักข่าวหนังสือพิมพ์ที่คาเฟ่นี้บ่อยๆ

Cafe Florestal กาแฟออร์แกนิกที่ช่วยปกป้องระบบนิเวศ

Cafe Paulista 森之咖啡

ทาง Cafe Paulista จะไปเยี่ยมชมไร่กาแฟในบราซิลที่ปลูกเมล็ดกาแฟด้วยตัวเอง เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของเมล็ดกาแฟและแนวคิดการจัดการไร่กาแฟที่ถูกต้องของเจ้าของไร่

หลังจากสร้างความเชื่อถือไว้วางใจกับเจ้าของไร่ ทางร้านจึงจะนำเข้าเมล็ดกาแฟ ดูแลการคั่วและความสดใหม่ของเมล็ดกาแฟที่โรงงานในญี่ปุ่นของทางร้านเอง

คาเฟ่มีเมล็ดกาแฟหลากชนิด แต่ที่แนะนำที่สุดคือ Cafe Florestal (Mori no Coffee) เมล็ดกาแฟที่ปลูกแบบออร์แกนิกในไร่ที่ประเทศบราซิล Cafe Florestal มีกลิ่นหอมหวาน รสชาติเข้มข้น ความเปรี้ยวกำลังดี ดื่มแล้วสดชื่น

Cafe Paulista 咖啡凍

เค้กและขนมหวานแบบโฮมเมดก็ได้รับความนิยมเช่นกัน

หนึ่งในเมนูเด็ดของร้านคือเยลลี่กาแฟเสิร์ฟพร้อมครีมสด ที่จะได้ดื่มด่ำกับกาแฟหอมเข้มข้นและครีมสดเนื้อนุ่มเนียน

Shinjuku TAKANO Fruit Parlor Main Store: เติมผลไม้ให้กับชีวิตประจำวัน

新宿高野本店 水果甜點吧

Shinjuku TAKANO (ชินจูกุ ทาคาโนะ) เปิดทำการในปี 1885 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่สถานีชินจูกุของบริษัทรถไฟนิปปอน (Nippon Railway) สร้างเสร็จ (ปัจจุบันคือสถานี JR ชินจูกุ) การเติบโตและการพัฒนาของย่านชินจูกุ ส่งผลให้ธุรกิจของร้าน Shinjuku TAKANO ดีขึ้นตามไปด้วย

ในปี 1926 ทางร้านได้เปิด TAKANO Fruit Parlor สาขา Shinjuku Main Store ขึ้นที่ Shinjuku TAKANO Main Store ซึ่งจำหน่ายผลไม้ที่สุกพร้อมรับประทานและขนมหวานที่ตกแต่งด้วยผลไม้ต่างๆ ทำให้ความนิยมของร้านเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

新宿高野本店 水果甜點吧fruit parlor

ตั้งแต่เปิดกิจการมาจนถึงปัจจุบัน ร้าน TAKANO Fruit Parlor สาขา Shinjuku Main Store ให้ความสำคัญกับแหล่งเพาะปลูก สายพันธุ์ และความสุกได้ที่ของผลไม้ นักออกแบบผู้เชี่ยวชาญด้านผลไม้ (Fruit Couturier) เป็นผู้รับผิดชอบการออกแบบรูปลักษณ์ของขนมหวาน ที่ได้รับการฝึกฝนทักษะและเทคนิคการจัดเสิร์ฟด้วย

เมื่อมีการพัฒนาขนมชนิดใหม่ด้วยผลไม้ตามฤดูกาล ประธานบริษัทและนักออกแบบผู้เชี่ยวชาญด้านผลไม้จะร่วมกันทดสอบรสชาติ หากไม่ได้รับการยอมรับจากทั้งสองฝ่ายก็จะไม่นำใส่ไว้ในเมนูของทางร้าน

水果甜點吧fruit parlor 岡山桃子百匯

ขนมหวานยอดนิยมของร้าน TAKANO Fruits Parlor สาขา Shinjuku Main Store คือพาร์เฟต์ผลไม้ตามฤดูกาล

แม้เป็นผลไม้ชนิดเดียวกันแต่แหล่งปลูกต่างกัน เวลาที่นำมาทำเป็นพาร์เฟ่ต์ก็ให้รสชาติที่ต่างกันออกไป ถึงขนาดมีผู้ที่ชื่นชอบขนมหวานที่เดินทางจากที่ไกลๆ เพื่อมากินพาร์เฟ่ต์ของทางร้านที่ใช้ผลไม้จากแหล่งปลูกเฉพาะ รูปด้านบนคือพาร์เฟ่ต์ลูกพีชซึ่งเป็นหนึ่งในผลไม้ประจำจังหวัดโอคายามะที่ได้รับการขนานนามว่า ดินแดนแห่งแสงตะวัน (The Land of Sunshine OKAYAMA)

ครีมชีสมูส (Fromage Mousse) อยู่บนเยลลี่ลูกพีชแสนสดชื่น มีชั้นของกรานิต้า (Granita) (*) ที่ละลายทันทีที่เข้าปาก และตกแต่งด้านบนด้วยลูกพีชชิ้นขนาดพอดีคำ

เป็นพาร์เฟ่ต์ที่มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติของลูกพีชอบอวลทั่วปาก และมีเนื้อสัมผัสที่หลากหลาย (วางจำหน่ายเฉพาะในฤดูร้อนเท่านั้น)
*: กรานิต้า.....หวานเย็นสไตล์อิตาเลียน ทำจากน้ำผลไม้แช่แข็งที่ขูดเป็นเกล็ดน้ำแข็งขนาดเล็กละเอียด นุ่มกว่าน้ำแข็งไสธรรมดา ความหวานน้อย กรุบกรอบ และสดชื่น

新宿高野本店 水果甜點吧fruit parlor 水果三明治

นอกจากพาร์เฟ่ต์ ยังมีเมนูยอดฮิตอีกอย่างคือแซนด์วิชผลไม้

ทางร้านจะใช้ผลไม้รสหวานหอมอย่างกล้วย สตรอเบอร์รี่ กีวี กับวิปครีมทำเองเนื้อฟูแน่น

มีรสชาติอร่อย รับประทานแล้วสดชื่น เหมาะอย่างยิ่งสำหรับมื้อเช้า

RESTAURANT&CAFÉ Manna by Shinjuku Nakamuraya: แกงกะหรี่สไตล์อินเดียที่คนทุกรุ่นต่างชื่นชอบ!

新宿中村屋Manna 店門口

ถ้าพูดถึงขนมปังในแบบฉบับของญี่ปุ่นก็จะนึกถึงขนมปังไส้ถั่วแดง ขนมปังไส้แยม และขนมปังไส้ครีม แต่จริงๆ แล้ว ขนมปังไส้ครีมนั้นคิดค้นขึ้นโดยร้าน Shinjuku Nakamuraya (ชินจูกุ นากามุรายะ) ซึ่งเปิดกิจการขึ้นในปี 1901

นับตั้งแต่เปิดกิจการ ขนมปังของที่นี่ก็ได้รับความนิยมมากๆ เมื่อลูกค้าต้องการให้มีคาเฟ่พักผ่อนนั่งจิบชาหรือกาแฟสักถ้วยในร้านด้วย ทางร้านได้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าโดยเปิดร้านคาเฟ่ขึ้นในปี 1927

ร้านคาเฟ่ให้บริการ "แกงกะหรี่สไตล์อินเดียแท้ๆ" ซึ่งเป็นเมนูที่หากินยากมากในสมัยนั้น แกงกะหรี่ที่นิยมในญี่ปุ่นยุคนั้น เป็นแกงกะหรี่สไตล์ยุโรปซึ่งเป็นซอสข้นๆ ที่ใส่แป้งสาลี

純印度咖哩

แรงบรรดาใจที่เป็นจุดเริ่มต้นของแกงกะหรี่สไตล์อินเดียแท้ๆ นี้ก็คือการที่คุณโซมะและภรรยาซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งร้าน Nakamuraya ได้พบกับคุณรัช บิหารี บอส (Rash Behari Bose) นักเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพของอินเดีย คุณโซมะและภรรยาได้ช่วยให้คุณบอสลี้ภัยมาที่ญี่ปุ่น

เมื่อคุณโซมะและภรรยาลังเลว่าจะเริ่มต้นร้านคาเฟ่ยังไง คุณบอสได้แนะนำว่า "เพื่อบอกเล่ารสชาติของอาหารอินเดียซึ่งเป็นบ้านเกิดของผมในญี่ปุ่น มาทำร้านคาเฟ่ที่มีแกงกะหรี่สไตล์อินเดียแท้ๆ เป็นเมนูขึ้นชื่อของร้านกัน" คุณโซมะและภรรยาจึงเปิดร้านคาเฟ่ในบริเวณร้านเบเกอรี่ของเขา

ดังนั้น ร้านคาเฟ่นี้จึงให้บริการแกงกะหรี่สไตล์อินเดียแท้ๆ ที่มีเนื้อไก่ติดกระดูกและรสชาติที่เข้มข้นของเครื่องเทศ แม้ลูกค้าบางคนจะไม่คุ้นกับรสชาติสไตล์นี้ แต่ความอร่อยของเมนูนี้ก็ค่อยๆ แพร่กระจายปากต่อปากออกไปจนกลายเป็นเมนูขายดีของร้าน Shinjuku Nakamuraya

新宿中村屋Manna 印度咖

แกงกะหรี่ของทางร้านประกอบด้วยเครื่องเทศกว่า 20 ชนิดที่ผสานกันอย่างลงตัวได้เป็นแกงกะหรี่รสชาติรสละเมียดที่มีความเผ็ดร้อน ความหวานของแกงกะหรี่มาจากหัวหอมใหญ่ที่มีปริมาณน้ำตาลสูงซึ่งปลูกบนเกาะอาวาจิ (Awaji Island)

ด้วยความร่วมมือจากเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ Shinjuku Nakamuraya จึงซื้อไก่ทั้งตัวแทนการซื้อเฉพาะส่วนดังนั้น เมื่อลูกค้าสั่งแกงกะหรี่ ก็จะได้เพลิดเพลินกับอกไก่ไม่ติดมันและเนื้อสะโพกไก่เนื้อเด้งชุ่มน้ำซอส

แกงกะหรี่สไตล์อินเดียแท้ๆ เสิร์ฟพร้อมกับเครื่องปรุงและเครื่องเคียงต่างๆ ประกอบด้วย ชัทนีย์ (*) 3 ชนิด (มะนาว มะม่วง หัวหอม) ชีสขูด รัคเคียว (พืชตระกูลต้นหอม) และแตงกวาดองสไตล์รัสเซีย ที่ช่วยเสริมรสชาติแกงกะหรี่ให้เพลิดเพลินได้หลากหลายรสชาติความอร่อย

เพราะมีเครื่องปรุงและเครื่องเคียงให้ลองมากจริงๆ ถึงขนาดลูกค้าบางคนอยากให้เสิร์ฟอันที่ตัวเองชื่นชอบเพียงอย่างเดียวแบบเติมได้ด้วย
*: ชัทนีย์ (chutney)…..เป็นเครื่องปรุงรสที่มีต้นกำเนิดจากอินเดียตะวันออก วัตถุดิบหลักคือผลไม้ ที่นำมาสับละเอียดผสมกับสมุนไพรและเครื่องเทศต่างๆ ปรุงรสด้วยน้ำตาลและน้ำส้มสายชู มีรสหวาน เปรี้ยว และเผ็ดร้อน

新宿中村屋Manna 店內

Shinjuku Nakamuraya เป็นร้านเก่าแก่ที่มีรสชาติแห่งความทรงจำของครอบครัวลูกค้ามาตลอดหลายรุ่น

มาสัมผัสรสชาติความอร่อยของร้านเก่าแก่กัน

แต่ละร้านที่แนะนำมาล้วนเป็นร้านที่เปิดกิจการมานานกว่า 100 ปีแล้ว และเป็นผู้มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นในช่วงเวลาดังกล่าว

กว่าหนึ่งศตวรรษ ที่ร้านค้าเก่าแก่เหล่านี้กล้าเผชิญความท้าทายใหม่ๆ ในการสร้างร้านคาเฟ่และนำเสนอเมนูใหม่ๆ ที่มีเอกลักษณ์ โดยไม่จมดิ่งลงไปกับยุคสมัย แต่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงขณะที่ยังดำรงรักษาประเพณีดั้งเดิมไว้

ลองแวะมาลิ้มลองรสชาติความอร่อยที่ยาวนานกว่า 100 ปีกันนะ

In cooperation with GINZA CAFE PAULISTA, TAKANO Fruit Parlor Shinjuku Main Store, and Restaurant&Cafe Manna by Shinjuku Nakamuraya.

Written by

Avatar

miho

東京

เกิดที่ไต้หวัน ปัจจุบันกำลังอาศัยอยู่ที่โตเกียว เป็นบรรณาธิการหลักของเว็บไซต์ของ MATCHA ที่เน้นเกี่ยวกับไฮลิฟสไตล์ทายว้าวสำหรับชาวไต้หวัน ในอดีต曾เป็นบรรณาธิการของนิตยสารแฟชั่นญี่ปุ่น ติวเข้าเรียนภาษาญี่ปุ่นในโรงเรียนมัธยมส่วนตัวในไทเป, เป็นล่ามสำหรับบริษัทไชเซโดะและบริษัทอื่นๆ จากญี่ปุ่นและไต้หวัน มีประสบการณ์ในการเขียนโฆษณาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงหน้าใน เพจ Facebook 'Tokyo beyond studying abroad' 東京、不只是留學(留学だけじゃなくて)จำนวนผู้ติดตามมีจำนวน 120,000 คน เป็นบล็อกเกอร์ที่มีผู้อ่านจากไต้หวัน ฮ่องกง และญี่ปุ่น โดยผู้อ่านในเพียง 70% ของสาวสมาชิก ฉันมีบทความที่พิจารณาเกี่ยวกับสถานที่และร้านค้าในอดีตมากกว่า 300 แห่ง เขียนเกี่ยวกับแนวโน้มล่าสุด สถานที่ที่ไม่ค่อยได้รับการนำเสนอ และวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม เผยแพร่หนังสือเล่มที่ 6 เกี่ยวกับญี่ปุ่นในไต้หวันและเอเชีย Facebook → https://www.facebook.com/filmmiho/ Instagram → @mihowang47

เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ