【จังหวัดมิยาซากิ】เพลิดเพลินไปกับทั้งภูเขาและท้องทะเล! ออกสำรวจมนต์เสน่ห์แห่งธรรมชาติที่ยังไม่ถูกค้นพบ

เกร็ดความรู้ภาษาญี่ปุ่น "เซ็ตสึบุน" เทศกาลปาถั่วไล่ยักษ์ร้าย

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

เซ็ตสึบุน (Setsubun : 節分) วันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิของชาวญี่ปุ่น ในวันนี้มีประเพณีมาเมะมาคิ ปาถั่วไล่ยักษ์และสิ่งชั่วร้ายให้ออกไปด้วย

บทความโดย

นี่คือบัญชีของกองบรรณาธิการ MATCHA เราจะเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวอยากรู้ รวมถึงเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ของญี่ปุ่นที่ยังไม่มีใครรู้จัก

more

เซ็ตสึบุน วันแบ่งฤดูของญี่ปุ่น

เซ็ตสึบุน (Setsubun : 節分) แปลว่าการแบ่งฤดูกาล ใช้เรียกวันสุดท้ายของฤดูนั้นๆ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นฤดูใหม่ในวันถัดไป ซึ่งฤดูของญี่ปุ่นมี 4 ฤดูคือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว เพราะงั้นจริงๆ แล้วจะมีวันที่เรียกว่าเซ็ตสึบุนถึง 4 ครั้งในหนึ่งปี แต่ชาวญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับวันเซ็ตสึบุนที่แบ่งฤดูหนาวกับฤดูใบไม้ผลิมากเป็นพิเศษ

การกำหนดวันเปลี่ยนฤดูนี้ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนที่แบ่งเวลาในหนึ่งปีออกเป็น 24 ช่วงโดยอิงตามการเคลื่อนที่และตำแหน่งของพระอาทิตย์ โดยเรียกวันที่เริ่มเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิว่า ริชชุน (Risshun : 立春) ส่วนใหญ่จะอยู่ราววันที่ 2 - 4 ของเดือนกุมภาพันธ์ เป็นวันที่เวลาระหว่างกลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน นับจากวันนี้ช่วงเวลากลางวันจะเริ่มยาวขึ้นเรื่อยๆ

เซ็ตสึบุน ทำไมต้องมียักษ์กับถั่ว?

เกร็ดความรู้ภาษาญี่ปุ่น

การมาถึงของวันเซ็ตสึบุนนี้เป็นเรื่องน่ายินดีเพราะหมายความว่าช่วงเวลาแห่งความหนาวกำลังจะหมดไป แต่ในปัจจุบันนี้พอพูดถึงวันเซ็ตสึบุน คนญี่ปุ่นจะนึกถึงยักษ์และถั่ว!

ทำไมถึงมียักษ์ล่ะ เพราะมีความเชื่อว่าในช่วงเปลี่ยนฤดู เป็นช่วงที่ยักษ์ (สิ่งชั่วร้าย, โรคระบาด, ภัยพิบัติ, ความทุกข์ยาก) จะถือโอกาสเข้ามา จึงต้องทำการขับไล่ยักษ์ออกไป ซึ่งชาวญี่ปุ่นในสมัยโบราณเชื่อว่าถั่วมีพลังช่วยขับสิ่งชั่วร้ายจึงถูกนำมาใช้ในการนี้

ยักษ์ร้ายจงออกไป! โชคลาภจงเข้ามา!

เกร็ดความรู้ภาษาญี่ปุ่น

Photo by Pixta
ในวันนี้จะทำมาเมะมากิหรือการปาถั่วกัน ตามบ้านจะเปิดประตูหน้าต่าง แล้วพูดว่า "โอนิวะโซโตะ! ฟุคุวะอุจิ!" แปลว่ายักษ์ร้ายจงออกไป โชคลาภจงเข้ามา พร้อมกับปาถั่วไปด้วย บางที่ก็จะมีคนสวมหน้ากากรับบทเป็นยักษ์ แล้วเราก็จะปาถั่วไล่ให้ยักษ์หนีไปด้วย ซึ่งเด็กๆ จะชอบใจกับการเล่นปาถั่วใส่ยักษ์มากเป็นพิเศษ

まっちゃん 節分 豆まき 恵方巻き

ถั่วที่ใช้ปานี่บังคับว่าต้องเป็นถั่วที่คั่วแล้ว แล้วหลังจากจบงานก็ต้องเก็บกวาดให้สะอาดเรียบร้อย เพราะว่ากันว่าถ้าใช้เมล็ดถั่วดิบแล้วเมล็ดงอกขึ้นมาจะเหมือนกับมีความโชคร้ายเกิดขึ้นนั่นเอง แล้วก็ให้กินถั่วจำนวนมากกว่าอายุตัวเอง 1 เม็ดเพื่อเป็นการขอให้สุขภาพแข็งแรงปราศจากโรคภัยในหนึ่งปีนี้ หลังๆ มาคนเลยเปลี่ยนจากการใช้เมล็ดถั่วเปลือยๆ มาเป็นถั่วแบบบรรจุถุงเล็กๆ ปาแทน เพราะเก็บง่าย เมล็ดถั่วก็ไม่สกปรกด้วย

เอโฮมากิ ข้าวห่อสาหร่ายโชคดี

เกร็ดความรู้ภาษาญี่ปุ่น

ผู้คนในแถบภูมิภาคคันไซนิยมทานฟุโตมากิ (ข้าวห่อสาหร่าย) ในวันเซ็ตสึบุน ทางร้านสะดวกซื้อเลยทำสินค้าออกขายในขนาดที่เล็กและสั้นกว่าฟุโตมากิพร้อมตั้งชื่อว่า เอโฮมากิ (Ehomaki : 恵方巻) หลังจากนั้นก็เริ่มนิยมไปทั่วประเทศ จนกลายเป็นอีกหนึ่งธรรมเนียมของวันเซ็ตสึบุน ที่ทุกคนจะหันหน้าไปยังทิศโชคดี (เปลี่ยนทุกปี) แล้วทานเอโฮมากิให้หมดแท่งในครั้งเดียวโดยห้ามพูดอะไรจนกว่าจะทานหมดด้วย เชื่อว่าจะทำให้โชคดีตลอดปี

節分 เซ็ตสึบุน setsubun ทิศโชคดี

ทิศโชคดีจะยึดเอาตามทิศที่เทพโทชิโทคุจิน เทพเจ้านำโชคประจำปีประทับอยู่ ตำแหน่งจะเปลี่ยนไประหว่าง 4 ทิศขึ้นอยู่กับปีนักษัตรนั้นๆ ทั้ง 4 ทิศได้แก่ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือเยื้องตะวันออก (東北東) ทิศตะวันตกเฉียงใต้เยื้องตะวันตก (西南西) ทิศตะวันออกเฉียงใต้เยื้องใต้ (南南東) และทิศตะวันตกเฉียงเหนือเยื้องเหนือ (北北西)

ที่เที่ยวในช่วงเทศกาลเซ็ตสึบุน

เกร็ดความรู้ภาษาญี่ปุ่น

ถ้าอยากไปสัมผัสบรรยากาศเทศกาลในวันเซ็ตสึบุน ลองไปตามวัดและศาลเจ้าต่างๆ ได้เลย เพราะจะมีการจัดงานโปรยถั่วและซองโชคดีไม่ก็เครื่องรางโอมาโมริ เช่น วัดเซ็นโซจิ (Sensoji Temple) ที่อาซากุสะ (Asakusa) หรือถ้าเป็นที่วัดนาริตะซัน (Naritasan Shinsho-ji Temple) จังหวัดชิบะ ก็มักจะมีนักแสดงคาบูกิมาร่วมงานด้วย กับอีกที่คือวัดฮมมงจิ (Hanmon-ji Temple) ตรงคามาตะ (Kamata) ที่มีนักมวยปล้ำมาร่วมงานทุกปี

ถ้าได้มาเที่ยวญี่ปุ่นในช่วงวันเซ็ตสึบุนพอดี ก็อย่าลืมมาลองสัมผัสประเพณีญี่ปุ่นอันครึกครื้นนี้กัน

บทความโดย

MATCHA

นี่คือบัญชีของกองบรรณาธิการ MATCHA เราจะเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวอยากรู้ รวมถึงเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ของญี่ปุ่นที่ยังไม่มีใครรู้จัก

more
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ