AEON MALL Tokoname ศูนย์การค้าที่มีออนเซ็นและสนามแข่งรถ! เดินทางจากสนามบินนานาชาติชูบุเซ็นแทรร์มาแค่ 3 นาที

สารานุกรมคำญี่ปุ่น “ดาชิ (เกี้ยว)” 〜ความแตกต่างกับมิโกชิ・งานเทศกาลที่มีดาชิ〜

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

บทความแนะนำเกี่ยวกับเกี้ยวดาชิและยาไตที่มักจะโผล่ออกมาให้เห็นกันตามงานเทศกาลญี่ปุ่น ในครั้งนี้เราก็ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเกี้ยวดาชิไม่ว่าจะเป็นชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ความแตกต่างกับมิโกชิ และงานเทศกาลที่มีดาชิมาไว้ที่นี่เรียบร้อยแล้ว

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :

“ดาชิ・ยาไต” คืออะไร?

“ดาชิ・ยาไต” คือ เกี้ยวประดับขนาดยักษ์ที่ปรากฎให้เห็นกันทั่วไปตามงานเทศกาลในญี่ปุ่น โดยอาศัยแรงงานของผู้คนจำนวนมากในการลากให้เคลื่อนที่ ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีลักษณะเป็นทรงสูงขึ้นไป ส่วนความสูงก็มีมากมายหลากหลายแบบตั้งแต่เกี้ยวที่สูงกว่า 1 เมตรไปจนถึงเกี้ยวสูงมากกว่า 10 เมตรเลยทีเดียว

ดาชิและยาไตนั้นมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่นและงานเทศกาลต่าง ๆ

คาซาโบโกะ……งานเทศกาลจิจิบุโยะในจ.ไซตามะ

ดันจิริ……ชื่อเรียกโดยทั่วไปในภูมิภาคคันไซ เช่น งานเทศกาลคิชิวาดะดันจิริ

ยามาโฮโกะ……เช่น งานเทศกาลกิองในเกียวโต

ยามากาสะ……งานเทศกาลฮากาตะกิองยามากาสะในฟุกุโอกะ

ฮิกิโมโนะ……เช่น งานเทศกาลคันดะในโตเกียวและงานเทศกาลนางาซากิกุนจิในนางาซากิ

นอกจากนี้ก็ยังมีบางท้องถิ่นเรียกกันว่า “ฮิกิยามะ” และคำเดี่ยว ๆ อย่าง “ยามะ” อีกด้วย

ข้อควรระวังเรื่อง “ยาไต”คำพ้องเสียงแต่ต่างความหมาย

ร้านค้าเคลื่อนที่ที่จำหน่ายของว่างอย่างยากิโซบะ, น้ำตาลสายไหม และแอปเปิลเชื่อมก็เรียกกันว่า “ยาไต” เช่นเดียวกัน ทั้งสองคำเขียนโดยใช้คันจิตัวเดียวกัน (屋台) แถมยังออกเสียงเหมือนกันอีกต่างหาก แต่เนื่องจากมีความหมายแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จึงระวังกันด้วยนะจ๊ะ...

ความแตกต่างระหว่าง “ดาชิ” และ “มิโกชิ”

ส่วนใหญ่แล้วตามงานเทศกาลในญี่ปุ่นมักใช้เป็น “มิโกชิ” ซะมากกว่า โดยความแตกต่างระหว่าง “มิโกชิ” และ “ดาชิ” คือ...

・“ดาชิ” คือ เกี้ยวที่ใช้คนลาก ส่วน “มิโกชิ” คือ เกี้ยวที่ใช้คนแห่ / แบก

・“ดาชิ” คือ เกี้ยวที่เราสามารถให้คนขึ้นไปยืนหรือนั่งข้างบนได้ ส่วน “มิโกชิ” คือ เกี้ยวที่ไม่สามารถให้คนขึ้นไปยืนหรือนั่งข้างบนได้

ความแตกต่างเหล่านี้ส่งผลถึงเรื่องความแตกต่างทางโครงสร้างของดาชิและมิโกชิด้วยนะเออ...

โครงสร้างและเอกลักษณ์ของดาชิ

งานเทศกาลฮากาตะกิองยามากาสะ

©︎JNTO

แต่เดิมแล้ว “ดาชิ” เป็นเกี้ยวที่สร้างเลียนแบบมาจากเทือกเขา โดยเป็นร่องรอยของมินคังชิงเคียว (※1) ในสมัยก่อนซึ่งเชื่อกันว่าบนภูเขามีเทพเจ้าสิงสถิตอยู่ คนญี่ปุ่นเชื่อกันว่าเทพเจ้าเสด็จลงจากท้องฟ้ามาสิงสถิตอยู่ในต้นไม้และโขดหินบนยอดเขาในฐานะที่เป็นโยริชิโระ (※2)

เกี้ยวดาชิตามงานเทศกาลเป็นโยริชิโระที่เทพเจ้าเสด็จลงมาสิงสถิตอยู่ หอกและดาบที่อยู่บนเกี้ยวดาชิเป็นจุดสังเกตเพื่อให้เทพเจ้าสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย โดยคนสามารถขึ้นไปนั่งอยู่บนดาชิเพื่อเป็นการสรรเสริญต้อนรับเทพเจ้าได้

※1:มินคังชิงเคียว……ความเชื่อท้องถิ่นแบบไม่มีองค์กร
※2:โยริชิโระ……สถานที่หรือสิ่งของซึ่งเป็นที่สิงสถิตของวิญญาณ

โครงสร้างและเอกลักษณ์ของมิโกชิ

日本のことば事典:山車・屋台とは〜山車が出るお祭り5選〜

แต่ มิโกชิ นั้นปรากฏให้เห็นกันตามงานเทศกาลของชินโตเป็นหลัก เทพเจ้าที่สักการะบูชากันตามศาลเจ้ามักจะเป็นตัวละครที่ปรากฏอยู่ตามตำนานเทพเจ้าของญี่ปุ่นและเทพเจ้าผู้ปกปักรักษาคนที่เติบโตขึ้นมาภายในท้องถิ่น เช่น อุจิกามิ เป็นต้น “มิโกชิ” จึงเรียกได้ว่าเป็นเกี้ยวพาหนะสำหรับพาเทพเจ้าตระเวนไปตามพื้นที่บริเวณโดยรอบศาลเจ้านั่นเอง

คนญี่ปุ่นเชื่อกันว่าถ้าเกิดพาเทพเจ้าขึ้นเกี้ยวมิโกชิตระเวนไปตามสถานที่ต่าง ๆ ภายในเมืองจะช่วยปัดเป่าความสกปรกต่ำช้าและแบ่งปันความสุขมาให้ชาวเมือง เนื่องจากมิโกชิเป็นพาหนะอันศักดิ์สิทธิ์ คนอย่างเรา ๆ จึงไม่สามารถขึ้นไปนั่งข้างบนได้

Next Page ในหน้าถัดไป เราจะมาแนะนำงานเทศกาลที่มีเกี้ยวดาชิปรากฎออกมาให้เห็นกันค่ะ!

Written by

Previous experience as an editor at a women's media company in Japan. I lived in Australia for a while and joined MATCHA after returning to Japan. In charge of editing, promoting sponsored content, and creative direction. I love watching Western TV series.
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ