AEON MALL แหล่งชอปปิงที่เป็นมิตรกับเด็ก มีบริการมากมายสำหรับเด็ก ทั้งสนามเด็กเล่นและห้องให้นมบุตร

ข้อมูลพื้นฐานของการแข่งขันซูโม่และวิธีการซื้อตั๋วเข้าชม

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

บทความแนะนำข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ「ซูโม่」กีฬาประจำชาติญี่ปุ่น, วิธีการเข้าชมการแข่งขันซูโม่ระดับสูงที่สนามกีฬาแห่งชาติเรียวโกกุ และวิธีการชมซูโม่ให้สนุก

บทความโดย

旅行が趣味の22歳です。日本の魅力をお届けします。

more

“ซูโม่” กีฬาประจำชาติญี่ปุ่นคืออะไรกันนะ?

ซูโม่」เป็นกีฬาประจำชาติญี่ปุ่น โดยเป็นกีฬายอดนิยมไกลถึงต่างประเทศถึงขนาดว่ามีนักซูโม่ชาวต่างชาติมาเล่นซูโม่ในญี่ปุ่นเลยทีเดียว ในครั้งนี้เราก็ได้รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของซูโม่และการแข่งขันซูโม่ ไม่ว่าจะเป็นซูโม่คืออะไร? เราสามารถชมการแข่งขันซูโม่ได้ที่ไหนในญี่ปุ่น? ข้อควรระวังคืออะไร? มาให้เพื่อนๆชาว MATCHA กันแล้วล่ะค่ะ ^^

“ริกิชิ” คืออะไร? มีริกิชิหญิงรึเปล่า?

両国国技館で相撲を楽しもう!大相撲の基本情報とチケットの購入方法

“ซูโม่” เป็นการแข่งขันต่อสู้หรือปลุกปล้ำกันระหว่างนักกีฬา 2 คนที่พันอุปกรณ์ที่เรียกว่า “มาวาชิ” เอาไว้ตรงเอวภายในพื้นที่เส้นผ่าศูนย์กลาง 4.55 เมตรที่เรียกว่า “โดเฮียว” โดยเราจะเรียกนักกีฬาซูโม่ว่า「ริกิชิ」
การแข่งขันซูโม่ได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการราวศตวรรษที่ 17 ในปัจจุบันมีนักซูโม่ชาวต่างชาติเยอะแยะเลยทีเดียว แต่เดิมแล้วเป็นทั้งงานพิธีทางศาสนาด้วย แม้แต่ในปัจจุบันก็ยังคงมีธรรมเนียมการฝังเหล้าญี่ปุ่น・ข้าว・เกลือลงในเวทีในวันแรกที่เริ่มการแข่งขันเพื่อต้อนรับเทพเจ้าแห่งซูโม่และส่งกลับในวันสุดท้ายหรือที่เรียกว่า「เซ็นชูราคุ」กันอยู่ ด้วยภูมิหลังทางประวัติศาสตร์แบบนั้น ทำให้ซูโม่ฝังรากลึกลงในวีถีชีวิตและจิตใจของคนญี่ปุ่นในฐานะที่เป็น「กีฬาประจำชาติ」ญี่ปุ่นมาโดยตลอด

นักซูโม่หญิงเมื่อเทียบกับจำนวนนักซูโม่ชายแล้วเรียกได้ว่าแทบไม่มีเลยจะดีกว่า แถมนักซูโม่หญิงระดับมืออาชีพก็ไม่มีด้วย แต่ชมรมกีฬาสมัครเล่นบางแห่ง เช่น ชมรมซูโม่ของมหาวิทยาลัย ก็ยังมีนักซูโม่เด็กสาวที่แข่งขันกันในหมู่สาวๆอยู่บ้าง

“บันทสึเกะ” คืออะไร?

両国国技館で相撲を楽しもう!大相撲の基本情報とチケットの購入方法

ซูโม่ของญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย「โอซูโม่」และ「ซูโม่」ถ้าจะให้อธิบายง่ายๆก็คือ โอซูโม่เป็นการแข่งขันระดับมืออาชีพ ส่วน ซูโม่เป็นการแข่งขันระดับมือสมัครเล่น นั่นเอง แต่ที่ได้รับความนิยมทั่วญี่ปุ่นจะเป็น “โอซูโม่” ซึ่งได้รับการถ่ายทอดทางโทรทัศน์นี่แหละ
“โอซูโม่” นักซูโม่แต่ละคนจะมี “บันทสึเกะ” เป็นของตัวเอง แต่เดิมแล้ว “บันทสึเกะ” หมายถึง ตารางจัดอันดับนักซูโม่ ประกอบด้วยระดับ “โยโกทสึนะ”, “โอเซกิ”, “เซกิวาเคะ”, “โคมุซุบิ” และ “มาเอกาชิระ” ไล่ลงมาจากข้างบนตามลำดับ นักซูโม่เหล่านี้เรียกว่า “มาคุอุจิ (นักซูโม่ระดับสูง)” ส่วนต่อจากนั้นก็จะเป็น “จูเรียว” และ “มาคุชิตะ” ตามลำดับ โดยเราจะเรียกนักซูโม่ระดับล่างที่เอาชนะนักซูโม่ระดับสูงกว่าตัวเองได้ว่า「บังคุรุวาเสะ」

ไปชมการแข่งขันซูโม่ระดับสูงในโตเกียวกันดีกว่า!

両国国技館で相撲を楽しもう!大相撲の基本情報とチケットの購入方法

และสถานที่ที่เราสามารถชมการแข่งขันซูโม่ระดับสูงในโตเกียวได้มีเพียงแค่「Ryōgoku Kokugikan (สนามกีฬาแห่งชาติเรียวโกกุ)」เท่านั้น “สนามกีฬาแห่งชาติเรียวโกกุ” เป็นสนามแข่งขันกีฬาขนาดใหญ่ที่มาความจุกว่า 11,100 ที่นั่ง โดยสร้างขึ้นเมื่อปี 1985 นอกจากการแข่งขันซูโม่แล้วก็ยังมีจัดการต่อสู้อย่างมวยและยูโดด้วย
การแข่งขันซูโม่ระดับสูงทั่วไปจะจัดขึ้น 6 ครั้ง / ปี โดยสนามกีฬาแห่งชาติเรียวโกกุจะจัดขึ้น 3 ครั้งในเดือนมกราคม・เดือนพฤษภาคม・เดือนกันยายน บอกเลยว่าการได้เข้าไปชมในสนามกีฬาจริง เราจะยิ่งทึ่งกับพละกำลังของนักซูโม่อาชีพยิ่งกว่าดูตามโทรทัศน์อย่างแน่นอน เสียงของร่างกายที่ปะทะกัน, เหงื่อที่ไหลกระเซ็น และบรรยากาศการปลุกปล้ำกันอย่างมุ่งมั่นตั้งใจเป็นอะไรที่น่าประทับใจสุดๆ สำหรับใครที่สนใจซูโม่ระดับสูงก็ขอแนะนำให้ไปดูการแข่งขันสดให้ได้สักครั้งเลยค่ะ!

เช็คช่วงเวลาจัดการแข่งขันและวิธีการซื้อตั๋วล่วงหน้ากันก่อนดีกว่า

“โอซูโม่” ไม่ได้จัดขึ้นที่สนามกีฬาแห่งชาติเรียวโกกุในโตเกียวตลอดทั้งปี ตามที่ได้บอกไว้ก่อนหน้านี้ว่าสนามกีฬาแห่งชาติเรียวโกกุนั้นจะจัดเฉพาะในเดือนมกราคม・เดือนพฤษภาคม・เดือนกันยายนเท่านั้น ช่วงเวลาจัดการแข่งขันจะกินระยะเวลาประมาณ 2 อาทิตย์ เนื่องจากในโอซาก้า ไอจิ และฟุโอกะก็มีจัดการแข่งขันด้วย ยังไงก็เข้าไปเช็คกำหนดการแข่งขันจาก เว็บไซต์หลัก กันเนอะ
ปี 2017 มีกำหนดการแข่งขันดังนี้
เดือนมกราคม : 8 – 22 มกราคม
เดือนพฤษภาคม : 14 – 28 พฤษภาคม
เดือนกันยายน : 10 – 24 กันยายน

ที่นั่งชมการแข่งขันซูโม่แบ่งออกเป็น “ที่นั่งเดี่ยว” ที่เรียกว่า「ทามาริเซกิ」และ “ที่นั่งภายในโซนที่จัดไว้สำหรับผู้ชมมากกว่า 1 คนซึ่งต้องถอดรองเท้าชม” ที่เรียกว่า「มาสุเซกิ」ส่วนราคายิ่งใกล้เวทีมากเท่าไหร่ก็ยิ่งแพงมากเท่านั้น
“ทามาริเซกิ” เป็นที่นั่งใกล้เวทีมากที่สุดและมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับ “มาสุเซกิ” ราคา 14,800 เยน〜 / คน ส่วนมาสุเซกิจะมีราคาแตกต่างกันตามความกว้างและระยะห่างจากเวที 9,500 เยน〜 / คน และที่นั่งห่างจากเวทีไปอีกก็จะมี “เก้าอี้นั่ง” ด้วย เก้าอี้นั่งราคา 2,200 – 8,500 เยน
เราสามารถซื้อตั๋วเข้าชมได้ทั้งทาง เว็บไซต์จำหน่ายตั๋วหลักของสมาคมซูโม่แห่งประเทศญี่ปุ่น และทางโทรศัพท์ เนื่องจากทางเว็บไซต์จำหน่ายตั๋วหลักมี เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ ด้วย สำหรับใครที่สนใจบอกเลยว่าพลาดไม่ได้ ซื้อตั๋วได้สบายๆ
นอกจากนี้ ทามาริเซกิและมาสุเซกิบางส่วนก็ถึงขนาดมีการจับสลากกันเลยทีเดียว แถมยังขายหมดไวมากค่ะ ตั๋วเข้าชมซูโม่จึงขอแนะนำให้ซื้อตั้งแต่วันแรกที่จำหน่ายเลยจะดีที่สุด
เราสามารถซื้อตั๋วเข้าชมซูโม่ในวันแข่งขันจริงที่เคาน์เตอร์ของสนามกีฬาแห่งชาติได้เช่นกัน แต่แน่นอนว่าในวันจริงจะเต็มไปด้วยผู้คนแน่นเอี๊ยดสุดๆ ยังไงก็ซื้อเอาไว้ล่วงหน้าดีกว่า

พิเศษส่วนลด 5% สำหรับผู้อ่านของ MATCHA เท่านั้น!

โปรโมชั่นพิเศษส่วนลด 5% สำหรับผู้อ่านของ MATCHA เมื่อใช้บริการเว็บไซต์จองตั๋วร้านค้าและกิจกรรม Voyagin เพียงกรอกโค้ด "voyaginmatcha" ในหน้าชำระเงินของ Voyagin รับไปเลยส่วนลด 5% (ยกเว้นดิสนีย์แลนด์และดิสนีย์ซี)

ซื้อบัตรจาก Voyagin ได้ที่นี่

Get Tickets for the Sumo Wrestling Tournament in Tokyo

Watch Early Morning Sumo Training in Tokyo at a Sumo Stable

การเข้าชมการแข่งขันซูโม่

両国国技館で相撲を楽しもう!大相撲の基本情報とチケットの購入方法

ลานแข่งขันของสนามกีฬาแห่งชาติในวันที่มีโทริคุมิ (※1) จะเปิดให้เข้าตั้งแต่ 8 โมงเช้า เมื่อซื้อตั๋วเรียบร้อยแล้ว เราสามารถเข้าชมการแข่งขันได้ตลอดทั้งวันตั้งแต่เริ่มยันจบ การแข่งขันของเหล่านักซูโม่ระดับล่างจะเริ่มตั้งแต่ราว 9 โมงเช้า ช่วงเวลาที่เหล่านักซูโม่ที่แข็งแกร่งอย่าง「จูเรียว」หรือ「มาคุอุจิ」รวมถึงโยโกทสึนะปรากฎตัวขึ้นบนเวทีมาต่อสู้กันอย่างดุเดือดจะเริ่มประมาณบ่าย 2 โมงและจบลงเวลา 6 โมงเย็น

การเข้าชมการแข่งขันซูโม่ไม่ได้มีมารยาทการแต่งกายอะไรเป็นพิเศษ เพียงแค่ห้ามสูบบุหรี่ภายในสนามแข่งขัน แต่บางแห่งภายในอาคารก็มีโซนสูบบุหรี่จัดเตรียมไว้ให้บ้าง เพื่อนๆเคยเห็นฉากตอนที่โอเซกิหรือโยโกทสึนะแพ้แล้วโดนผู้ชมโยนเบาะรองนั่งขึ้นไปบนเวทีกันรึเปล่าเอ่ย? ความจริงแล้วก่อนหน้านี้เคยมีคนโยนเบาะรองนั่งขึ้นไปแล้วโดนนักซูโม่ด้วย ด้วยเหตุผลเรื่องความอันตรายจึงมีการตั้งกฎห้ามไว้เหมือนกัน ยังไงเพื่อนๆก็ชมการแข่งขันซูโม่ให้สนุกโดยรักษากฎกติกามารยาทกันด้วยเนอะ
※1:โทริคุมิ……การแข่งขันซูโม่

เว็บไซต์อ้างอิง:เว็บไซต์ของสมาคมซูโม่แห่งประเทศญี่ปุ่นเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:

สัมผัส 7 วัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น~เกอิชา,ซูโม่,คาบูกิ ฯลฯ~

สัมผัสวัฒนธรรม ญป กับคนท้องถิ่น!! ได้ที่「Emblem hostel Nishiarai」

ย้อนไปสมัยเอโดะ! โอนิเฮ เอโดะ โดโคโระ บนลานจอดรถฮานิว

บทความโดย

Sawada Tomomi

旅行が趣味の22歳です。日本の魅力をお届けします。

more
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง