Start planning your trip

โรงกลั่นเหล้ามัตสึนามิเปิดกิจการในคาบสมุทรโนโตะ จังหวัดอิชิกาวะ มาตั้งแต่ปี 1868 ผลิตเหล้าญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องด้วยกรรมวิธีดั้งเดิม มีการทดลองชิมซ้ำๆ เพื่อให้ถูกปากคนสมัยใหม่ ให้กำเนิดเหล้าญี่ปุ่นหลากหลายรูปแบบ หากเดินทางไปเที่ยว ก็อย่าลืมแวะที่นี่นะ
โรงกลั่นเหล้ามัตสึนามิก่อตั้งขึ้นในปี 1868 เป็นตระกูลที่ดูแลกิจการผลิตเหล้าที่สืบทอดต่อๆ กันมา ในปัจจุบันบริหารโดยผู้สืบทอดรุ่นที่ 6 มีบรรยากาศเรียบง่ายสไตล์ชนบท เช่นโครงสร้างอาคารที่ประกอบไปด้วยหลังคากระเบื้องสีดำ ของขึ้นชื่อในโนโตะ และประตูบานเลื่อนไม้(※1)
ตอนที่ไปเก็บข้อมูล คุณคินชิจิ เซโกะ โอคามิสาว(※2)ยืนรอต้อนรับเราด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้ม คุณคินชิจิกับพนักงานคนอื่นๆ จะเป็นผู้นำทางด้านในโรงกลั่นให้กับพวกเรา
การเข้าไปทัศนศึกษาโรงกลั่นมีจัดเกือบจะทุกสัปดาห์ตลอดทั้งปี ยกเว้นช่วงตั้งแต่ฤดูหนาวที่เป็นช่วงพีคสุดไปจนถึงช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ จะจำกัดจำนวนรอบของการชมโรงงาน การทัศนศึกษาไม่มีค่าใช้จ่าย และใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 30 นาที จำเป็นต้องจองก่อน 1 สัปดาห์ล่วงหน้า ตอนที่จองจะต้องกรอกรายละเอียดการติดต่อ, วันที่อยากจะเข้ามาทัศนศึกษา, เวลา และจำนวนคนด้วย เกี่ยวกับวิธีการจองจะอยู่ใน Information ในตอนท้ายของบทความนี้
※1:ประตูบานเลื่อน……ประตูที่เปิดปิดโดยขยับไปทางซ้ายขวา
※2:โอคามิ……เจ้าของธุรกิจผู้หญิงที่บริหารเรียวคังหรือร้านอาหาร เป็นต้น ถ้ายังมีอายุน้อยจะเรียกว่าโอคามิสาว (ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า วาคะโอคามิ)
สนับสนุนภาพประกอบโดย:โรงกลั่นเหล้ามัตสึนามิ
วัตถุดิบหลักๆ ของเหล้าญี่ปุ่นคือข้าวกับน้ำ การใช้ข้าวกับน้ำที่ดี จะทำให้คุณภาพของเหล้าเปลี่ยนไป เตรียมข้าวที่เก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ร่วงในพื้นที่ผลิตเหล้าที่มีขนาดกว้างขวาง และจะเริ่มกระบวนการต้มกลั่นในช่วงต้นฤดูหนาว
ฤดูหนาวในคาบสมุทรโนโตะที่มีความชื้นสูง และมีอากาศเย็น ว่ากันว่าเหมาะสมในการผลิตเหล้าญี่ปุ่นให้มีรสอร่อย
หลังจากสีข้าวที่เตรียมไว้เสร็จแล้วก็นำมาล้าง และนำมานึ่งในเตาเผาที่มีขนาดใหญ่มหึมา ว่ากันว่าเตานี้สามารถหุงข้าวได้ 700 กิโลกรัมในหนึ่งครั้ง นอกจากคุณคินชิจิจะอธิบายโลกของเหล้าญี่ปุ่นที่มีความน่าสนใจอย่างมาก ยังอธิบายเกี่ยวกับเครื่องมือหลายๆ อย่างและประสบการณ์ของคุณคินชิจิด้วย
ในแต่ละจุดที่ผลิตเหล้าจะมีภาพประกอบกระบวนการต้มกลั่นติดไว้ หากไปเยือนในช่วงที่ไม่มีการผลิตเหล้า ภาพประกอบก็จะช่วยให้เห็นภาพมากขึ้น
สนับสนุนภาพประกอบโดย:โรงกลั่นเหล้ามัตสึนามิ
โคเมะโคจิ(※3)ที่ใช้ในการผลิตเหล้าญี่ปุ่นจะทำขึ้นในห้องที่เรียกว่า "ห้องโคจิ" ที่มีการปรับอุณหภูมิ จะใช้เวลา 2 วันในการทำโจไม(※4) และผสมกับเชื้อราโคจิ
※3:โคเมะโคจิ……แบคทีเรียที่ใช้ในการผลิตอาหารหมักดอง เช่น เหล้าญี่ปุ่นหรือข้าวมิโสะ เป็นต้น
※4:โจไม……ข้าวที่ได้จากการนำข้าวไปนึ่ง
สนับสนุนภาพประกอบโดย:โรงกลั่นเหล้ามัตสึนามิ
นำโคเมะโคจิ, ข้าวนึ่ง และน้ำไปผสมกันในถังที่มีขนาดใหญ่ และบ่มยีสต์ที่จำเป็นต้องใช้ในการหมัก จะต้องคอยดูถังประมาณ 2 สัปดาห์ ช่างจะคอยมาคนให้เข้ากันอย่างสม่ำเสมอ และคอยเช็คสภาพของการหมัก และบางครั้งต้องคอยควบคุมโดยการปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม หลังจากนั้นสิ่งที่จะได้ก็คือวัตถุที่เป็นของแข็ง เรียกว่า "โมโรมิ"
สนับสนุนภาพประกอบโดย:โรงกลั่นเหล้ามัตสึนามิ
สินค้าแต่ละชนิดทำจากความพิถีพิถันซึ่งใช้ประสบการณ์กับเทคนิคดั้งเดิมที่สืบทอดต่อๆ กันมา ที่โรงกลั่นเหล้ามัตสึนามิไม่พึ่งพาเครื่องจักร โดยหลักๆ แล้วจะกำหนดคุณภาพสินค้ากับรสชาติโดยการผลิตด้วยมือ
สนับสนุนภาพประกอบโดย:โรงกลั่นเหล้ามัตสึนามิ
คุณภาพสินค้าและรสชาติจะกำหนดโดยโทจิ หากกำหนดเรียบร้อยแล้ว ก็จะย้ายโมโรมิจากถังไปใส่ในถุงขนาดใหญ่ที่ทำจากผ้าฝ้าย และนำถุงไปเรียงในภาชนะที่ทำจากไม้ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "โอเขะ"
ภายในโรงกลั่นเย็นมาก พวกคุระบิโตะ(※5)ต้องทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนี้นานหลายวัน โรงกลั่นเหล้ามัตสึนามิผลิตเหล้าญี่ปุ่นแสนอร่อย โดยได้รับแรงสนับสนุนจากความมุ่งมั่นตั้งใจจากคุระบิโตะที่ทำงานในสภาพแวดล้อมเข้มงวด
เมื่อถึงเวลา 3 วัน เหล้าญี่ปุ่นก็จะเริ่มย้อยออกมาจากถุงที่เรียงกันไว้ภายในโอเขะทีละน้อย ในตอนแรกก็สามารถไหลออกมาจากโมโรมิได้ แต่หลังจากนั้น จะต้องใช้แรงดัน 1.5 ตันอัดไปที่โมโรมิ และเมื่อเข้าสู่กระบวนการสุดท้าย ก็จะฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ตัวเหล้า บรรจุลงขวด และนำไปเก็บในคลัง
※5:คุระบิโตะ……ช่างผลิตเหล้าญี่ปุ่นรองจากโทจิ
เหล้าโอเอยามะของโรงกลั่นเหล้ามัตสึนามิมีหลายประเภท โดยหลักๆ แล้วจะมีจุนไมฉุ, คินโจฉุ และฮนโจโซ เป็นต้น ในประเภทเหล่านั้นก็มีเหล้าผสมออริจินัลที่ทำจาก Liqueur (ลิคเคอร์=เหล้าหวาน) ที่ทำจากผลไม้หรือผักที่เป็นผลผลิตในโนโตะด้วย
ณ มุมชิมเหล้าที่อยู่ในตอนท้ายของการทัศนศึกษา เราสามารถชิมเหล้าหลายๆ ชนิดเพื่อเปรียบเทียบรสชาติกันได้ โดยใช้โอโจะโกะน่ารักๆ
คาคิชุ หรือเหล้าลูกพลับขวดนี้ ผสม ลิเคียวลูกพลับกับเหล้าโอเอยามะเข้าด้วยกัน ลูกพลับที่ใช้เก็บเกี่ยวในช่วงฤดูใบไม้ร่วงในโรงกลั่นเหล้ามัตสึนามิ ในส่วนของ ลิเคียวก็ผลิตในโรงกลั่นเหล้ามัตสึนามิเช่นกัน
ความเข้ากันดีของเหล้าที่ทำจากลูกพลับโนโตะกับปูโนโตะยอดเยี่ยมที่สุด!
นอกจากนั้น เนื่องจากมีการผลิตเหล้าในแต่ละฤดูกาล เช่น เหล้าบ๊วย, เหล้ามะเขือเทศ, เหล้าโกโบ(Burdock)เป็นต้น จึงมีงานยุ่งตลอดทั้งปี
เหล้าโอเอยามะก็มีขายในต่างประเทศด้วย เทคนิคดั้งเดิมกับสภาพแวดล้อมเรียบง่ายเป็นส่วนสำคัญในการผลิตเหล้าออริจินัลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะด้วยคุณภาพระดับสูงของโรงกลั่นเหล้ามัตสึนามิ คุณคินชิจิบอกว่า "เหล้าของโรงกลั่นมัตสึนามิ ที่อยากบอกให้ทั้งประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลกได้รู้จัก"
※บทความนี้แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาญี่ปุ่น
บทความโดย
A freelance nomad (lost) translator and nerd at heart.