ความจริง 5 อย่างที่รู้จากการเข้าไปในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่ 1 ในปัจจุบัน

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่ 1 ที่เกิดเหตุปี 2011 ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง? ด้านในดูเหมือนสถานที่ก่อสร้างทั่วไป? ไม่ต้องใส่หน้ากากก็เดินข้างในได้แล้ว? มาฟังเสียงจากชาย 2 คนที่เข้าไปชมสถานที่จริงอย่างใกล้ชิด ไปจนถึงเสียงจากผู้อยู่อาศัยโดยรอบกัน

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :

พื้นที่รอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่ 1 ตอนนี้เป็นอย่างไร?

福島

อยากรู้เรื่องของฟุกุชิมะมากขึ้นอีก

คุณโคลกับคุณแฟรงค์จึงออกจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่ 1 แล้วมายังเมืองรอบๆ

1 : คลีนิคทันตกรรมโทโยชิมะ / 2 : โอดากะเวิร์คเกอร์เบส

ดูตามในแผนที่นี้จะเห็นว่าบริเวณโดยรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่ 1 ถึงวันนี้ยังมีเขตที่ระบุให้อพยพอยู่

ในครั้งนี้เราได้ไปเยี่ยม คลีนิคทันตกรรมโทโยชิมะ และ โอดากะเวิร์คเกอร์เบส สถานที่ทั้ง 2 แห่งนี้อยู่ในรัศมี 20 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่ 1 ทั้งสองสถานที่ถูกกำหนดให้เป็นเขตที่ระบุให้อพยพหลังเกิดเหตุ ปัจจุบันได้ถูกยกเลิกคำสั่งแล้วและกลายเป็นพื้นที่ที่สามารถเข้าไปอยู่อาศัยได้

สารบัญ

  • 1. ตำบลนามิเอะ : ทันตแพทย์กับคลีนิกใหม่ในรอบ 7 ปีครึ่ง และบทบาทใหม่ในฐานะที่ปรึกษา
  • 2. ตำบลโอดากะ อำเภอมินามิโซมะ : "แนวพรมแดน" ในรัศมี 20 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
  • 1. ตำบลนามิเอะ : ทันตแพทย์กับคลีนิกใหม่ในรอบ 7 ปีครึ่ง และบทบาทใหม่ในฐานะที่ปรึกษา

    福島

    บริเวณใกล้ชายฝั่งของตำบลนามิเอะ เคยมีชุมชนที่ประสบกับภัยสึนามิ ปัจจุบันกลายเป็นที่ร้าง

    ที่แรกที่เรามาถึงคือตำบลนามิเอะ (Namie)

    จุดที่ใกล้โรงไฟฟ้าที่สุดในตำบลห่างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่ 1 ราว 4 กิโลเมตร หลังเกิดเหตุทั้งตำบลถูกสั่งให้อพยพทันที

    福島

    บริเวณส่วนกลางของตำบลประกาศถอนคำสั่งอพยพเมื่อเดือนมีนาคม 2017 มีผู้คนทยอยกลับเข้ามาอยู่อาศัยราว 900 คน

    ชายผู้เปิดร้านขายของชำในตำบลนามิเอะรำพึงว่า "ตอนนี้สิ่งที่ขาดแคลนคือโรงพยาบาล ถ้ามีหมอกลับมาบ้างจะดีใจมาก"

    และหนึ่งในนั้นคือ คลีนิคทันตกรรมโทโยชิมะ

    รีบอพยพออกมาโดยไม่ได้เปลี่ยนชุด

    福島

    ทันตแพทย์โทโยชิมะ ฮิโรชิ (Toyoshima Hiroshi) คุณหมอเจ้าของคลีนิคทันตกรรมโทโยชิมะ

    คลีนิคนี้อยู่ห่างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่ 1 ราว 9 กิโลเมตรเท่านั้น เปิดให้บริการในตำบลนามิเอะมายาวนานกว่า 70 ปีแล้ว เป็นคลีนิคที่คนในพื้นที่คุ้นเคยที่สุดแต่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการอพยพในเดือนมีนาคม 2011 ได้

    "วันรุ่งขึ้นถัดจากวันที่แผ่นดินไหว มีประกาศ 'ให้อพยพออกไปพ้นรัศมี 10 กิโลเมตร' ผมคิดว่าอีกไม่นานคงได้กลับบ้าน ..."

    คุณหมอรีบอพยพออกจากบ้านทันทีโดยไม่มีเวลาแม้แต่จะเปลี่ยนชุดหรือเก็บของ นับจากวันนั้นเวลาก็ผ่านไป 6 ปี

    กลับมาเปิดคลีนิกอีกครั้งหลังปิดไป 7 ปีครึ่ง

    福島

    คลีนิคทันตกรรมโทโยชิมะที่เปิดกิจการใหม่

    ระหว่างนั้นคุณหมอโทโยชิมะได้ไปเปิดคลีนิคที่ฮอกไกโดเพราะมีคนรู้จักอยู่ จนในปี 2017 ที่มีการยกเลิกคำสั่งอพยพ จึงคิดถึงการกลับมาเปิดคลีนิคที่ตำบลนามิเอะอีกครั้ง
    "ผมดีใจนะครับที่จะได้กลับมาเปิดคลีนิคที่นามิเอะอีกครั้ง"

    และในเดือนสิงหาคม 2018 คลินิคทันตกรรมโทโยชิมะจึงกลับมาเปิดใหม่ในตำบลนามิเอะหลังปิดไป 7 ปีครึ่ง

    "คนไข้เปลี่ยนไปจากเดิมไหมครับ?" คุณโคลถาม

    福島

    "ก็มีทั้งคนไข้เก่าเจ้าประจำและคนไข้ใหม่ด้วย หลายคนก็พูดว่า 'ดีจังเลยที่คุณหมอมาเปิดคลีนิคอีกครั้ง' ไม่ก็ 'ดีจังที่มีหมอฟันอยู่ใกล้ๆ' พอได้ยินแล้วก็ชื่นใจครับ"

    สถานที่ที่สามารถไปหาได้ถ้ามีความกังวลเรื่องสุขภาพก็ได้กลับมาสู่เมืองนี้อีกครั้ง

    คุณหมอโทโยชิมะกล่าวว่า "อาจดูเป็นเรื่องปกตินะครับ แต่ก็ต้องบอกว่าการมีหมออยู่ในระยะทางที่เดินมาหาได้นี่เป็นเรื่องสำคัญมาก"

    ทันตแพทย์ผู้รับฟังปัญหาคนไข้

    福島

    ก่อนเกิดแผ่นดินไหว วันหนึ่งมีคนไข้มาประมาณ 30- 40 คน แต่ตอนนี้มีมาเพียงประมาณ 10 คน แต่ก็ทำให้มีเวลาดูแลคนไข้คนหนึ่งได้ถึงประมาณ 1 ชั่วโมง
    หมอโทโยชิมะเล่าไปยิ้มไป "บางคนก็นั่งคุยสัพเพเหระสักครึ่งชั่วโมงค่อยกลับ"

    "แต่นั่นก็ดีนะครับ นอกจากเรื่องปวดฟัน ถ้าได้คุยได้ระบายเรื่องที่ไม่สบายใจ กังวลใจ หรือปัญหาในการใช้ชีวิตทั้งหลาย คนไข้ก็จะสบายใจขึ้น ผมคิดว่าการไดเพบได้พูดคุยกับคนไข้นี่สำคัญกว่าเรื่องการรักษาเสียอีก"

    คลินิคทันตกรรมโทโยชิมะที่ดูแลรักษาไปถึงจิตใจของผู้คน ในตำบลนามิเอะจึงค่อยๆ ก่อเกิดเป็นชุมชนที่สัมผัสได้ถึงความอบอุ่นของผู้คน

    คุณหมอยังได้กล่าวถึงการฟื้นฟูตำบลที่จะเริ่มขึ้นต่อจากนี้
    "สิ่งที่สำคัญ คือ ไม่เพียงฟื้นฟูตำบลเหมือนที่ผ่านมาแต่ต้องสร้างเมืองขึ้นใหม่ เช่น ตำบลที่เป็นแบบอย่างในด้านการป้องกันภัย ผมคิดว่าเราจำเป็นต้องสร้างตำบลนี้ให้แตกต่างจากนามิเอะที่เคยประสบภัยมา"

    ตำบลโอดากะ อำเภอมินามิโซมะ : "แนวพรมแดน" ในรัศมี 20 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

    福島

    โอดากะเวิร์คเกอร์เบส

    แนวคิดในการสร้างเมืองขึ้นมาใหม่จากพื้นที่ที่เสียหาย คำใบ้ของแนวคิดนี้อยู่ที่ตำบลโอดากะ อำเภอมินามิโซมะ ที่อยู่ในรัศมี 20 กิโลเมตรจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

    ทั้งตำบลโอดากะและตำบลนามิเอะต่างถูกสั่งให้เป็นเขตที่ระบุให้อพยพ และถูกยกเลิกคำสั่งไปเมื่อปี 2016 สิ่งที่กำลังทำให้เกิดความเคลื่อนไหวใหม่ในตำบลนี้ คือ "โอดากะเวิร์คเกอร์เบส (Odaka Worker's Base)"

    福島

    พอเข้าไปด้านใน จะพบพื้นที่โล่งตรงกลาง และขั้นบันไดขนาดใหญ่

    จริงๆ แล้วที่นี่คือ โคเวิร์คกิ้งสเปซ (co-working space) ที่สามารถนั่งทำงานตรงบันไดได้ เป็นสถานที่ที่จัดเตรียมขึ้นมาใหม่เพื่อเชิญชวนให้นักลงทุน ผู้ประกอบการหันมาเปิดบริการใหม่ๆ ในพื้นที่แห่งนี้

    ชุมชนใหม่ที่เกิดขึ้นในโอดากะ

    福島

    ผู้ที่มาเล่าให้เราฟัง คือ คุณวาดะ โทโมยูคิ (Wada Tomoyuki) ซึ่งเป็นตัวแทนของโอดากะเวิร์คเกอร์เบส เขาเกิดที่ตำบลโอดากะ หลังจากมีคำสั่งให้อพยพ เขาก็อพยพจากไประยะหนึ่ง และเขาคิดว่าต้องทำอะไรบางอย่างให้กับตำบลนี้ จึงย้อนกลับมาที่โอดากะแล้วเริ่มกิจการนี้ขึ้น

    "เทียบกับเมื่อก่อน ร้านค้าและคนมีจำนวนน้อย อาจทำให้คิดว่าโอดากะดูเหมือนเมืองที่ไม่มีอะไร แต่ถ้ามองกลับด้านแล้วที่นี่ก็คือ ตลาดใหม่ (blue ocean) ที่น่าบุกเบิก มีโอกาสในการทำธุรกิจมากมาย อยากเริ่มทำอะไรก็ได้ พูดอีกอย่างก็เปรียบได้กับแนวพรมแดน (frontier) ไปสู่ธุรกิจใหม่ๆ เพียงแห่งเดียวในญี่ปุ่น" น้ำเสียงของเขานุ่มนวลแต่คำพูดกลับเต็มไปด้วยพลัง

    คุณวาดะเริ่มก่อตั้ง "โอดากะเวิร์คเกอร์เบส" ในปี 2014 ที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงโคเวิร์คกิ้งสเปซเท่านั้น แต่เขาได้สร้างสิ่งที่จำเป็นต่อตำบล เช่น โรงอาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ตชั่วคราว นั่นไม่เพียงแค่เกิดการจ้างงานของชาวเมือง แต่ยังเกิดเป็นชุมชนใหม่ขึ้นมาด้วย

    福島

    ธุรกิจหนึ่งที่โอดากะเวิร์คเกอร์เบสทำ คือ "ฮาริโอ แลมป์เวิร์ค แฟกทอรี่ โอดากะ (HARIO Lampwork Factory Odaka)" ในอาคารเดียวกัน ที่นี่ทำการผลิตและจำหน่ายเครื่องประดับจากแก้ว

    คนทำงานเป็นกลุ่มผู้หญิงในพื้นที่ มีพนักงาน 4 คน ทุกคนไม่เคยมีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน

    福島

    เราสามารถดูบรรยากาศการทำงานผ่านหน้าต่างจากด้านนอกได้

    "เมื่อมีผู้สูงวัยเพิ่มมากขึ้น ผู้คนที่ออกมาเดินตามถนนก็น้อยลง แต่ถ้าได้เห็นภาพของกลุ่มผู้หญิงนั่งทำงานกันอยู่อย่างนี้ ผมคิดว่ามันช่วยทำให้บรรยากาศของตำบลนี้เปลี่ยนไป" คุณวาดะกล่าว และดูเหมือนว่าสิ่งที่เขาทำจะก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์จากคนที่เดินไปมาในเมืองได้จริงเสียด้วย

    จากนี้ไปชุมชนแห่งใหม่จะเริ่มต้นขึ้น

    福島

    "โอดากะสโตร์" ซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งใหม่ในตำบลโอดากะ เปิดเดือนธันวาคม ปี 2018

    หลังจากยกเลิกคำสั่งอพยพแล้ว ตอนนี้ประชาชนราว 3,100 คนได้กลับมาสู่ตำบลโอดากะ

    "ตอนนี้คนที่มาอยู่ในตำบลโอดากะ ล้วนเป็นคนที่ตัดสินใจเลือกกลับมากันเอง ไม่มีใครที่มาแบบจำใจเลย" คุณวาดะเล่าขึ้น

    ยิ่งไปกว่านั้นคนที่ร่วมมือกับคุณวาดะและคนที่สัมผัสถึงเสน่ห์ของดินแดนนี้ต่างมารวมตัวกันจากทั่วทุกมุมของประเทศ และดูเหมือนเขากำลังจะวางระบบรองรับนักลงทุนที่สนใจจะ "มาเริ่มธุรกิจที่ตำบลโอดากะ" อยู่

    福島

    คุณวาดะพูดสรุปทิ้งท้ายเอาไว้ว่า

    "ไม่จำเป็นต้องลงทุนอะไรใหญ่โต ขอเพียงทุกคนค่อยๆ สร้างชุมชนเล็กๆ มากมายที่เชื่อมโยงกันแล้วทำให้มันคึกคัก เพียงเท่านี้ก็จะเกิดงานใหม่ๆ เมื่อกระบวนการแบบนี้ดำเนินไปเรื่อยๆ ผมคิดว่าสีสันของเมืองใหม่จะเกิดขึ้นเอง"

    เมื่อผู้คนย้อนกลับมาสู่เมืองร้าง ธุรกิจใหม่ๆ และชุมชนก็เริ่มก่อตัวขึ้นอีกครั้ง

    ข้ามกาลเวลา 1,000 ปี

    福島

    เมื่อคุณโคลกับคุณแฟรงค์สิ้นสุดการเดินทางที่ฟุกุชิมะ ก็ได้มานมัสการวัดแห่งหนึ่งในตำบลโอดากะ

    福島

    วัดไดฮิซัน จิโทคุจิ (Daihisan-Jitokuji Temple) มีพระพุทธรูปหินที่อยู่คู่กับดินแดนนี้มานับ 1,000 ปีในชื่อว่า พระพุทธรูปหินแห่งไดฮิซัง

    福島

    พระพุทธรูป 8 องค์ที่ได้รับการสลักขึ้นจากผนังศิลากว้าง 15 เมตร สูง 5.5 เมตร ไม่มีใครรู้ว่าใครเป็นคนสร้าง และสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร

    รู้แต่เพียงว่าพระพุทธรูปเหล่านี้ได้รับการเคารพกราบไหว้จากผู้คนที่อาศัยในพื้นที่นี้มาแล้วนับ 1,000 ปี

    福島

    ใกล้กับพระพุทธรูปหินมีต้นสนญี่ปุ่นขนาดใหญ่สูงกว่า 45 เมตร ต้นไม้ต้นนี้ก็คาดกันว่ามีอายุกว่า 1,000 ปีมาแล้วเช่นกัน

    ทั้งพระพุทธรูปหินและต้นสนญี่ปุ่นขนาดใหญ่ต่างได้รับการเคารพกราบไหว้จากท้องถิ่นนี้และคอยปกปักพิทักษ์ชาวบ้านตลอดมา รวมถึงหลังเกิดแผ่นดินไหวหรืออุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ด้วย

    福島

    โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่ 1 และเมืองรอบๆ

    ยิ่งเดินก็ยิ่งเห็นสิ่งต่างๆ มากมาย และยิ่งเห็นก็ยิ่งอยากรู้ให้มากขึ้นอีก

    福島

    ระหว่างขากลับ ขณะมองดูพระอาทิตย์ตกดิน คุณโคลก็พูดขึ้นว่า

    "ผมไม่รู้มาก่อนเลยว่าฟุกุชิมะเป็นสถานที่ที่สวยขนาดนี้ ผมรู้สึกซาบซึ้งในธรรมชาติอันแสนงดงามของฟุกุชิมะเป็นอย่างมาก ทำให้ผมคิดถึงบ้านเกิดของผมเองที่เป็นหมู่บ้านเกษตรกรเลยครับ"

    ฟุกุชิมะนี้ดูราวกับเป็นบ้านเกิดของผม ความหวาดหวั่น ความไม่สบายใจอันคลุมเครือก่อนมาที่นี่ได้ละลายหายไปจดหมดสิ้นตั้งแต่เมื่อไรไม่รู้

    ทิวทัศน์ที่งดงามนี้สรรค์สร้างตัวตนขึ้นมาท่ามกลางวันคืนอันยาวนาน และคอยปกป้องเฝ้ามองการดำเนินชีวิตของผู้คนต่อไป สิ่งที่เปลี่ยนแปลงและสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงอาศัยอยู่ร่วมกัน ผสมผสานปนเปกัน

    และตำนานบทใหม่ของฟุกุชิมะก็ได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง ...

    Photos by Shiho Kito

    In cooperation with TEPCO, คลินิคทันตกรรมโทโยชิมะ และโอดากะเวิร์คเกอร์เบส

    Sponsored by กระทรวงเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม

    raw output

    raw output

    Written by

    Avatar

    MATCHA-PR

    Tokyo, Japan

    บัญชีส่งเสริมการขายของ MATCHA สำหรับการโฆษณาองค์กรและรัฐบาลท้องถิ่น เรามุ่งมั่นที่จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านของเราอย่างสนุกสนาน

    เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
    นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง