Unseen Japan สัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งฤดูหนาวของเมืองมัตสึโมโตะ 2 วัน 1 คืน

ไปสัมผัสวิถีเซ็น ผ่านการอมลูกอมใน 7 นาที ที่วัดไทโซอิน เกียวโต (Taizoin Temple, Kyoto)

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

วัดไทโซอิน ซึ่งมีทั้งภาพพู่กันที่เป็นสมบัติชาติและสวนญี่ปุ่นที่ชมดอกไม้ได้ในทั้ง 4 ฤดู เปิดให้สัมผัสวิถีเซ็นโดยใช้ลูกอม นั่งกำหนดลมหายใจให้จิตใจสงบ มาก้าวสู่ประตูแห่งโลกของเซ็นท่ามกลางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ด้วยการสัมผัสรสชาติของลูกอมกันค่ะ

บทความโดย

Miho Moriya

Tokyo,Japan

MATCHA editor and freelance writer. Born, raised, and currently living in Tokyo. Have visited over 30 countries and lived in four different prefectures. I have traveled to almost all 47 prefectures in Japan! I try to create articles that help convey the charms of a destination through words and pictures. I love forests, temples, and camels.
more

สัมผัสวิถีเซ็นผ่านลูกอม

退蔵院

กินข้าวไปดูทีวีไป ฟังเพลงระหว่างเดินทางไปทำงาน เดินไปเล่นสมาร์ทโฟนไป ในชีวิตประจำวันเรามักทำกิจกรรมหลายอย่างควบคู่ในเวลาเดียวกัน

มีคำพูดหนึ่งในของพุทธศาสนาคือ เกียวจูซากะ (Gyojuzaga) หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันอย่างการเดินการนั่ง พุทธศาสนาโดยเฉพาะโลกของเซ็น (*1) กำหนดว่าการทำอากัปกิริยาเหล่านี้ล้วนเป็น "การฝึกบำเพ็ญ" และสิ่งสำคัญคือการรวบรวมสมาธิไปที่ การเดินว่าเดิน การนั่งว่านั่ง

*1:เซ็น (Zen)……เป็นนิกายหนึ่งในพุทธศาสนา

ที่วัดไทโซอิน (Taizoin Temple) วัดเซ็นที่เกียวโตซึ่งอยู่ภายในวัดเมียวชินจิ (Myoshinji Temple) นั้น เราสามารถไปฝึกบำเพ็ญแบบเซ็นซึ่งเป็นการตั้งสมาธิกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ โดยที่นี่จะให้ลูกอมมาใช้ในการฝึก การอมลูกอมจนกว่าจะละลายจนหมดจะใช้เวลาประมาณ 7 นาที ลองก้าวเข้าสู่ประตูแห่งโลกของเซ็นกันเถอะค่ะ

รวบรวมสมาธิต่อการกระทำเพียงอย่างเดียวต่อหน้าธรรมชาติ

退蔵院
退蔵院

หลังจากเดินเข้าไปเรื่อยๆ ภายในบริเวณวัดจะพบกับวิหารหลัก ด้านหน้าวิหารหลักจะมี เอ็งกาวะ (Engawa) หรือเฉลียงไม้กระดานของบ้านญื่ปุ่นที่กว้างขวาง ด้านหน้าเอ็งกาวะมีกระถางใบบัวขนาดใหญ่ตั้งเรียงราย เป็นสวนที่เต็มไปด้วยต้นไม้เขียวขจี ที่นี่คือบริเวณที่เราทดลองฝึกฮิโตสึบุ โนะ เซ็น (Hitotsubu no Zen) โดยใช้ลูกอม

退蔵院

"ฮิโตสึบุ โนะ เซ็น" เป็นการฝึกรวบรวมสมาธิให้อยู่กับการอมลูกอมเพียงอย่างเดียว เป็นการทดลองฝึกบำเพ็ญแบบเซ็นตามคำสอนเรื่อง "เกียวจูซากะ" เริ่มจากซื้อชุดทดลอง (ราคา 300 เยน) ที่วางอยู่ตรงเอ็งกาวะกันก่อนค่ะ ข้างในมีแผ่นพับคำอธิบายและวิธีการฝึกพร้อมลูกอม 1 เม็ด คำอธิบายมีภาษาอังกฤษเขียนกำกับด้วย

退蔵院

หลังจากนั้นนั่งหันหน้าไปที่สวนและยืดหลังให้ตรง ปล่อยเท้าอยู่ในท่าที่ผ่อนคลาย หายใจเข้าออกช้าๆ ใน 1 นาที ให้ได้ประมาณ 4-5 รอบ เมื่อรู้สึกว่าจิตใจสงบลงแล้ว ก็เริ่มอมลูกอมไว้ในปาก แล้วตั้งสมาธิไปที่การอมลูกอม

ลูกอมทำมาจากน้ำมันของส้มยูซุที่เก็บได้ที่วัดไทโซอิน และบัวบกสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการทำสมาธิ ส่วนไส้ของลูกอมเป็นผงต้นสน เมื่อลูกอมกลิ้งอยู่ในปาก จะมีรสชาติเปรี้ยวๆ หวานๆ แบบส้มกระจายอยู่ภายในปาก หลังจากอมไปสักพักจะรู้สึกถึงรสสัมผัสแบบสากๆ แล้วก็ค่อยๆ หายไป

พอเพ่งสมาธิไปที่ลูกอม ทำให้วิวหรือเสียงรอบข้างเริ่มเลือนหายไป เหมือนตอนถ่ายภาพที่เราปรับโฟกัส คุณจะรู้สึกถึงลมที่พัดมาสัมผัสผิวและเสียงใบไม้ไหวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

退蔵院

ในพุทธศาสนายังมีคำสอนอื่นอีกว่า เน้นประสบการณ์มากกว่าคำพูด หรือฟุริวมนจิ (Furyumonji ตื่นรู้เกิดจากใจกับใจ ไม่ใช่จากคำพูด)

สิ่งที่นำมาบอกเล่าในบทความนี้เป็นความรู้สึกและบรรยากาศที่ผู้เขียนได้สัมผัสตอนที่ไปเก็บข้อมูล แต่ความรู้สึกที่ได้สัมผัสย่อมแตกต่างกันในแต่ละบุคคล จึงอยากให้ลองไปสัมผัสโลกแห่งเซ็นกันดูนะคะ

เดินเล่นภายในวัด พร้อมฟังออดิโอไกด์ฟรีไปด้วย

ขอแนะนำออดิโอไกด์ฟรี ON THE TRIP แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน เพื่อการมาไหว้ขอพรที่วัดไทโซอิน รองรับทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่น ผู้บรรยายคือคุณไดโกะ มัตสึยาม่า รองเจ้าอาวาส ทำให้เราสามารถเพลิดเพลินไปกับเรื่องราวเกี่ยวกับวัดไทโซอิน เช่น "ฮิโตสึบุ โนะ เซ็น" ได้

"เฮียวเน็นซึ (Hyonenzu)" ภาพเขียนพู่กันหมึกจีนที่เป็นสมบัติชาติ อยู่ด้านหน้าวิหารหลัก

ในการฝึกบำเพ็ญตนแบบเซ็น อาจารย์จะตั้งปุจฉา (คำถาม) ให้วิสัชนา (คำตอบ) ในระหว่างที่นั่งซาเซ็น (Zazen) (*2) คำตอบมีเพียงคำตอบเดียวซึ่งมีเพียงอาจารย์เท่านั้นที่รู้ พระที่บำเพ็ญตนจะใคร่ครวญเกี่ยวกับคำถามไปเรื่อยๆ จนได้คำตอบออกมา

*2: ซาเซ็น…..การนั่งสมาธิแบบเซ็น เป็นการฝึกบำเพ็ญตนด้วยการนั่งหลังตรงแล้วรวบรวมสมาธิ

瓢鮎図

ในศตวรรษที่ 15 มีพระกะโซ (*3) ชื่อว่า โจเซ็ตสึ (Josetsu) ได้วาดภาพพู่กันที่ชื่อว่า "เฮียวเน็นซึ" เป็นภาพชายคนหนึ่งพยายามจับปลาดุกในแม่น้ำด้วยเฮียวตัน (*4)

ภาพนี้แสดงปุจฉาที่ว่า "จะจับปลาดุกตัวลื่นด้วยเฮียวตันที่ผิวลื่นได้อย่างไร" โดยด้านบนของภาพเป็นวิสัชนาที่ตัวแทนพระของนิกายเซ็นในเกียวโต 31 รูป เขียนไว้

การจะจับปลาดุกด้วยเฮียวตัน หากคิดตามตรรกะแล้วเป็นเรื่องที่ยาก แต่ถ้าคิดแบบข้ามกรอบของตรรกะไป เหล่าพระในนิกายเซ็นตอบคำถามนี้อย่างไร ภายในภาพที่อัดแน่นไปด้วยปัญญาความรู้ของพระในนิกายเซ็น ภาพนี้จึงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกชาติ

พอเข้าสู่ยุคประมาณศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีกฎว่าไม่เปิดเผยปุจฉาและวิสัชนาแก่คนอื่น เพราะว่าการที่รู้วิสัชนาไม่ได้หมายความว่าเข้าใจจริงๆ แต่เราควรคิดด้วยตนเองจนพบวิสัชนา นี่เป็นการสะท้อนถึงคำสอน "ฟุริวมนจิ" นั่นเอง

*3:กะโซ……พระที่สามารถวาดภาพได้

*4:เฮียวตัน (น้ำเต้า)……พืชในตระกูลแตง มีลักษณะพิเศษคือด้านบนและล่างโค้งออก ในขณะที่ตรงกลางเว้าโค้งเข้าไป

สวนเซ็นญี่ปุ่นที่สื่อถึงความสวยงามที่เป็นอนิจจัง ไม่เปลี่ยนแปลง

退蔵院の桜

Picture courtesy of Taizoin

退蔵院の秋

Picture courtesy of Taizoin

สวนญี่ปุ่นหลายแห่งในวัดไทโซอินก็มีเสน่ห์เช่นกัน ในฤดูใบไม้ผลิมีซากุระพันธุ์กิ่งย้อย (Shidarezakura) ในฤดูใบไม้ร่วงมีใบไม้เปลี่ยนสีที่ร้อนแรงราวไฟที่ลุกโชน แต่งแต้มสีสันให้กับสวน

สวนโยโคเอ็น (Yokoen) ที่อยู่ด้านในสุดของวัดมีบ่อน้ำเฮียวตันซึ่งมีรูปร่างเหมือนเฮียวตันอยู่ ว่ากันว่าที่นี่มีปลาดุก 2 ตัวอาศัยอยู่ เป็นแสดงความสร้างสรรค์ต่อปุจฉาในภาพ "เฮียวเน็นสึ" ให้เห็นว่า "สามารถจับปลาไว้ในเฮียวตันได้" นั่นเอง

退蔵院

ที่สวนโยโคเอ็นปลูกดอกไม้ในสี่ฤดู ลักษณะของสวนจึงเปลี่ยนไปในแต่ละฤดูกาล ต่างกับสวนโมโตะโนบุ (Motonobu) สวนหินญี่ปุ่นหรือคาเรซังซุย (Kareisansui) ที่สามารถชมได้เฉพาะในช่วงการมาไหว้ขอพรพิเศษอย่างในฤดูซากุระบานนั้น ไม่ว่ามากี่ครั้งก็มีลักษณะเช่นเดิม กล่าวคือ สวนแห่งนี้สร้างขึ้นจากแนวความคิดของ "ความงามที่ไม่เปลี่ยนแปลง" ที่ดึงเอาคุณค่าจากสิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงออกมานั่นเอง

ที่วัดไทโซอินคุณสามารถสัมผัสได้ทั้งความไม่เที่ยงที่เปลี่ยนแปลงเสมอและความงามที่ไม่มีวันเปลี่ยน

ชิมชาและขนมญี่ปุ่นที่ห้องชา

退蔵院

ถ้าสั่งเมนูที่ร้านค้าในสวน จะนั่งพักกินชิมมัทฉะและขนมญี่ปุ่น (เซ็ทละ 500 เยน) ได้ที่ไดคิวอัน (Daikyuan) ขนมน่ารักๆ ที่มีรูปเฮียวตันและปลาดุก ด้านในสอดไส้ผลไม้แห้งตามฤดูกาล มีรสชาติเปรี้ยวๆ หวานๆ เป็นขนมออริจินัลของวัดไทโซอิน

退蔵院

ถ้านั่งที่ริมหน้าต่างจะสามารถชมวิวของสวนโยโคเอ็นได้ ตอนที่ผู้เขียนไปเก็บข้อมูลเป็นช่วงเดือนมิถุนายนที่ต้นไม้เขียวชอุ่ม ได้ยินเสียงน้ำทำให้รู้สึกสบายใจ

มีของฝากออริจินัลให้เลือกซื้อกันอย่างเต็มที่

ที่วัดไทโซอินมีของฝากที่วางขายแค่ที่นี่เท่านั้นมากมาย

"เครื่องรางแบบสายคล้องรูปปลาดุก" หน้าตาน่ารักๆ

退蔵院

เครื่องรางแบบสายคล้องรูปปลาดุกเป็นไม้แกะสลักด้วยมือ (ชิ้นละ 800 เยน) หนวดปลาดุกทำจากเชือก แม้ดูเรียบง่ายแต่เป็นของฝากที่เต็มไปด้วยความหมาย หน้าตาของปลาแต่ละตัวจะแตกต่างกันเล็กน้อย ลองเลือกปลาดุกตัวที่ชอบดูนะคะ

"น้ำหอมแบบทา" กลิ่นแบบญี่ปุ่น หอมติดทน

退蔵院

น้ำหอมแบบทา: 800 เยน/ชิ้น

เครื่องรางที่เป็นน้ำหอมแบบทามี 2 กลิ่น ได้แก่ กลิ่นซากุระและมัทฉะ ทั้งหมดได้ผ่านการปลุกเสก (*5) มาแล้ว เป็นเครื่องรางที่พกติดตัวง่าย หรือใช้เติมกลิ่นให้กับกระดาษชิ้นเล็กๆ เพื่อวางไว้ในจดหมายให้หอมที่เรียกกันว่า ฟุมิโค (Fumiko)

*5:การปลุกเสก…..เป็นพิธีสวดอธิษฐานเพื่อให้ได้รับพรและการคุ้มครองจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามแบบพุทธศาสนานิกายเซ็น

"สบู่" ที่สายออร์แกนิคต้องดีใจ

退蔵院

สบู่ส้มยูซุ (ราคา 300 เยน) สบู่ซากุระ (400 เยน) สบู่ดอกบัว (500 เยน)

เป็นสบู่ที่พัฒนาและผลิตขึ้นด้วยความร่วมมือกับ "เกียวโตชะบงยะ (Kyoto Shabonya)" ร้านเครื่องสำอางออร์แกนิคในเกียวโต ส้มยูซุและดอกบัวเป็นวัตถุดิบเก็บได้จากวัดไทโซอิน ส่วนกลิ่นซากุระผลิตขึ้นในธีมของซากุระพันธุ์กิ่งย้อยที่บานอยู่ในวัดไทโซอิน

นอกจากนี้ยังมีของฝากในแบบของวัดไทโซอินอื่นๆ อีก เช่น เสื้อยืดลายปลาดุกน่ารักๆ และ "โบคุเซคิ (Bokuseki)" ภาพเขียนพู่กันญี่ปุ่นที่เจ้าอาวาสเป็นผู้เขียน

บทส่งท้าย

退蔵院

รองเจ้าอาวาสมัตสึยามะกล่าวว่า "การจดจ่อกับกระทำแต่ละอย่างๆ ตั้งใจ เช่น แค่การอมลูกอม แค่การกินข้าว จะทำให้เราสัมผัสได้ถึงความหวานของลูกอมหรือความอร่อยของอาหารได้ ถ้าเราตั้งสมาธิกับสิ่งที่ทำอยู่ในขณะนี้ เราจะรับรู้ได้ถึงความดีงามของสิ่งนั้นซึ่งปกติไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อนก็เป็นได้"

เมื่อเราเพ่งมองการกระทำของตัวเอง เราอาจได้เห็นตัวเองในด้านที่ไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อน ลองสัมผัสกับความรู้สึกเช่นนี้ผ่านลูกอม 1 เม็ดดูนะคะ

ข้อมูลประกอบ

ค่าเข้าไหว้สักการะ: ผู้ใหญ่ 600 เยน เด็กนักเรียนประถมและมัธยม 300 เยน

In cooperation with Taizoin, ON THE TRIP

บทความโดย

Miho Moriya

Tokyo,Japan

MATCHA editor and freelance writer. Born, raised, and currently living in Tokyo. Have visited over 30 countries and lived in four different prefectures. I have traveled to almost all 47 prefectures in Japan! I try to create articles that help convey the charms of a destination through words and pictures. I love forests, temples, and camels.
more
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ