AEON MALL แหล่งชอปปิงที่เป็นมิตรกับเด็ก มีบริการมากมายสำหรับเด็ก ทั้งสนามเด็กเล่นและห้องให้นมบุตร

สารานุกรมคำญี่ปุ่น “ซาโด (พิธีชงชา)”

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

บทความไขข้อข้องใจคำศัพท์เฉพาะหรือภาษาญี่ปุ่นยากๆสำหรับนักท่องเที่ยว ในครั้งนี้เราจะมาพูดถึง “ซาโด” ศิลปวัฒนธรรมการดำรงชีวิตของคนญี่ปุ่นที่ไม่ได้เพียงแค่เพลิดเพลินกับการดื่มชาเท่านั้น แต่ยังบ่งบอกถึงปรัชญาการใช้ชีวิตและธรรมเนียมการรับรองแขกอีกด้วย

บทความโดย

นี่คือบัญชีของกองบรรณาธิการ MATCHA เราจะเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวอยากรู้ รวมถึงเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ของญี่ปุ่นที่ยังไม่มีใครรู้จัก

more

ซาโด」คือ ธรรมเนียมการชง มัจฉะ (ชาเขียว) รับรองแขกดั้งเดิมของญี่ปุ่น “มัจฉะ” คือ ใบชาจากต้นอ่อนบดเป็นผงรสชาติขมสดชื่น

“ซาโด” ของญี่ปุ่นได้รับการพัฒนาขึ้นจนกลายเป็นศิลปวัฒนธรรมการดำรงชีวิตที่ครอบคลุมหลากหลายด้านไม่ใช่เพียงแค่เพลิดเพลินกับการดื่มชาเท่านั้น แต่ยังบ่งบอกถึงศาสนา-ปรัชญาการใช้ชีวิต, ธรรมเนียมการรับรองแขกด้วยใจ, อุปกรณ์การชงชาและผลงานศิลปหัตถกรรมตกแต่งห้องน้ำชา, ห้องน้ำชาและสวน รวมถึงอาหารการกินอย่างขนมญี่ปุ่นและอาหารคอร์สในพิธีชงชาอีกด้วย

วัฒนธรรมการชงชาที่คิดค้นขึ้นโดย “เซนโนะริคิว”

สารานุกรมคำญี่ปุ่น “ซาโด (พิธีชงชา)”

จาก ร่วมกิจกรรมทำ “ขนมเกียวโต” แสนสนุกที่「คันชุนโด」ในเกียวโต!

ว่ากันว่าธรรมเนียมการดื่มชามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนตั้งแต่ก่อนคริสตกาล โดยในสมัยนั้นใช้ดื่มเป็นยามากกว่าเครื่องดื่มทั่วไป

หลังจากนั้นก็แพร่หลายเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นราวศตวรรษที่ 7 จากการที่พระนิกายเซน (※1) นำเข้ามาจากประเทศจีน (สมัยราชวงศ์ถัง) นั่นเอง เมื่อย่างเข้าสู่ศตวรรษที่ 12 ธรรมเนียมการดื่มชาก็เริ่มแพร่หลายไปทั่วญี่ปุ่นพร้อมกับนิกายเซนจนทำให้วัดนิกายเซ็นในสมัยนั้นกลายเป็นศูนย์รวมวัฒนธรรมล่าสุดแหล่งรวมผู้คนชั้นสูงไปโดยปริยาย

สารานุกรมคำญี่ปุ่น “ซาโด (พิธีชงชา)”

จาก ปรับปรุงร้านอาหารเก่าแก่ สัมผัสความรู้สึกโรแมนติกแบบไทโชที่ “อะกะริมาโด้” อะกะสะกะ

ต่อมา ในศตวรรษที่ 16 “เซนโนะริคิว” พ่อค้าแห่งเมืองซาไกในโอซาก้าก็คิดค้นรูปแบบการชงชาในปัจจุบันขึ้นมาได้สำเร็จ ว่ากันว่าริคิวเป็นคนชงชาประจำตัวของ “โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ” ผู้ทรงอำนาจที่สุดในสมัยนั้นและได้ลูกศิษย์เป็นนายพลมากมายเลยทีเดียว เขาไม่ได้เพียงแค่ปรับท่วงทาในการชงชาให้ง่ายขึ้นเท่านั้น แต่ยังสั่งห้องน้ำชาและอุปกรณ์ชงชาที่เคยต้องนำเข้ามาจากประเทศจีนเท่านั้นมาผลิตในญี่ปุ่นอีกด้วยจนส่งอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อศิลปหัตถกรรมญี่ปุ่น

※1……นิกายเซน : หนึ่งในนิกายของศาสนาพุทธซึ่งมีวิธีการปฏิบัติธรรมพื้นฐานคือ「ซาเซ็น」หรือการนั่งสมาธิรวมจิตวิญญาณให้เป็นหนึ่งเดียว

ความหมายของ「道 (โด)」ในคำว่า “ซาโด”

มาถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า “ซาโด” มีความเกี่ยวข้องกับนิกายเซนอย่างลึกซึ้งมากแค่ไหน ริคิวได้สร้างคอนเส็ปต์แห่งความงามสุดเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นที่เรียกว่า “วาบิ・ซาบิ” ขึ้นมา “วาบิ” หมายถึง “สุนทรียะแห่งความงามอันเงียบสงบ” ส่วน “ซาบิ” หมายถึง “ความงดงามที่ค้นพบในความแห้งเหี่ยว ไม่สมบูรณ์”

お抹茶1

จาก มาชงชามัจฉะกันเถอะ กับวิธีเพลิดเพลินไปกับชาเขียวมัจฉะแบบง่าย ๆ ที่บ้าน

โดยเราสามารถค้นพบความงดงามแบบ “วาบิ・ซาบิ” ได้จากห้องชาอันแสนเรียบง่ายและเงียบสงบซึ่งเป็นสถานที่ที่แขกจะได้สงบจิตสงบใจ ตั้งสติพิจารณาตนเอง ขัดเกลาจิตใจให้สูงส่ง และเชื่อมต่อจิตใจกับเจ้าบ้านผ่านการชงชา

นอกจากนี้ ในญี่ปุ่น “บูโด (วิถีแห่งนักรบ)” ที่มีคำว่า「道 (โด)」พ่วงท้ายมาด้วยก็มีมาตั้งแต่โบราณ เช่น ยูโด, เคนโด้ และไอคิโด เป็นต้น “ซาโด” ไม่ใช่วิถีแห่งนักรบแต่เป็นหนึ่งในวิถีแห่งศิลปะเหมือนกับ “คาโด (การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น)” และ “โชโด (การเขียนพู่กันจีน)” ซึ่งแน่นอนว่ามีคำว่า「道 (โด)」ติดมาด้วย โดยบ่งบอกถึงแนวคิดการฝึกฝนจิตวิญญาณผ่านการซ้อมขัดเกลาฝีมือเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จทางบุคลิกภาพนั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ “ซาโด” จึงหมายรวมถึงค่านิยมอันลึกซึ้งทางปรัชญาที่แตกต่างจากพฤติกรรมการดื่มชาเพราะว่าคอแห้งเหมือนกับวิถีชีวิตทั่วไปด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง:สารานุกรมคำญี่ปุ่น「ชาโนะยุ (ธรรมเนียมการชงชา)」

บทความโดย

MATCHA

นี่คือบัญชีของกองบรรณาธิการ MATCHA เราจะเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวอยากรู้ รวมถึงเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ของญี่ปุ่นที่ยังไม่มีใครรู้จัก

more
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ