เมืองมุราคามิ จังหวัดนีงาตะ: ทัวร์ชมตุ๊กตาฮินะในมาชิยะ พร้อมเพลิดเพลินกับกิจกรรม ที่เที่ยว และอาหารท้องถิ่น

สารานุกรมคำญี่ปุ่น「ซะบุตง」

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

「ซะบุตง」เป็นเบาะรองนั่งหน้าตาคล้ายหมอนที่มักจะเห็นตอนที่ไปเรียวกังหรือห้องแบบญี่ปุ่น เรื่องสนุก ๆ ของเบาะรองนั่งของญี่ปุ่นอยู่ตรงที่มีข้อจำกัดว่าวางตรงไหน ต้องเป็นเบาะรองไหนไซส์ไหน หรือสีอะไร เนื้อผ้าอะไร

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :

ซะบุตง」เป็นเบาะรองนั่งหน้าตาคล้ายหมอนที่มีใช้มาแต่ยุคดั้งเดิมของญี่ปุ่น แน่นอนว่าเจ้าเบาะที่แสนสะดวกสบายนี้ มีความแตกต่างอยู่ที่เนื้อผ้าและลวดลาย ที่ให้เพื่อน ๆ ได้ลองสังเกตกันเล่น ๆ

ความแตกต่างระหว่างซะบุตงและหมอนสี่เหลี่ยม

ซะบุตงหน้าตาเหมือนหมอนสี่เหลี่ยม แต่การใช้งานจะแตกต่างกันออกไป หมอนสี่เหลี่ยมมักจะใช้อิงหลังหรือเอว โดยการวางไว้ข้าง ๆ แต่ซะบุตงจะใช้วางบนพื้นเพื่อรองนั่ง โดยจะสัมผัสกับบริเวณก้นและเท้า ไม่เพียงแต่ช่วยให้นั่งสบายมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยปรับสมดุลให้กับอุณหภูมิร่างกายเวลาที่ต้องนั่งกับพื้น ความหนาก็ไม่หนาเท่าหมอนสี่เหลี่ยม ขนาดไม่กี่เซ็นติเมตรเท่านั้น รูปทรงส่วนใหญ่จะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสค่ะ

รูปร่างหน้าตาก็เหมือนกับผ้านวมขนาดเล็ก จะพับเป็น 2 ทบแล้วหนุนแทนหมอน หรือทำเป็นผ้ารองเพื่อวางเด็กเล็ก ๆ ก็ได้ค่ะ

สถานที่ที่ใช้ซะบุตง

ซะบุตงจะถูกใช้ตามสถานที่ที่ทำให้เป็นคอนเซปต์ดั้งเดิมของญี่ปุ่น อย่างเช่นห้องญี่ปุ่นของเรียวกัง หรือร้านอาหารสไตล์ญี่ปุ่นที่ปูเสื่อทาตามิ หรือคาเฟ่ที่ดัดแปลงให้ดูเหมือนร้านในสมัยก่อน

หลากหลายคาเฟ่ที่เขตนาคะเกียว จังหวัดเกียวโต อย่างเช่น「โอโมะ คาเฟ่(omo café)」ที่ดัดแปลงร้านจาก มาจิยะ ซึ่งทำให้มีโอกาสได้ทดลองนั่งบนซะบุตงเพิ่มมากขึ้นค่ะ

นอกจากนี้ ทอล์คโชว์สไล์ญี่ปุ่นก็ขาดซะบุตงไม่ได้เลย ผู้แสดงจะนั่งบนซะบุตง แล้วทำท่าทางต่าง ๆ พร้อมเล่าเรื่องตลก ๆ ให้ผู้คนฟัง

ซะบุตงไม่ได้มีไว้สำหรับใช้นั่งอย่างเดียวนะคะ ยังใช้วางรองของประดับได้ด้วย อย่างเช่น ด้านใต้มาเนคิเนโกะ(แมวกวัก) ของวางประดับเพื่อให้ทำมาค้าขึ้น ก็มีซะบุตงวางไว้ จะเห็นได้ว่าไม่เพียงแต่เป็นของที่เอาไว้ใช้ในชีวิตประจำวันเท่านั้น ซะบุตงยังเป็นของที่ใช้คู่กับของทางวัฒนธรรมด้วยค่ะ

การใช้งาน

ในการนั่งบนซะบุตง จะนั่งท่าเทพธิดาหรือนั่งขัดสมาธิ การนั่งท่าเทพธิดาของญี่ปุ่นก็เหมือนกับของไทยคือนั่งทับบนขาสองข้างของตัวเอง

นอกจากนี้ การเดินย่ำหรือใช้เท้าเหยียบบนซะบุตงก็เป็นข้อห้ามทางมารยาท เหตุผลก็เพราะว่าซะบุตงมีไว้เพื่อรองนั่งค่ะ ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่า การเหยียบย่ำบนซะบุตงที่เอาไว้นั่ง ก็เหมือนกับการเหยียบย่ำแขกหรือลูกค้าที่มาด้วย ดังนั้นในการนั่งบนซะบุตงจึงต้องเริ่มจากการนั่งท่าเทพธิดาก่อน แล้วค่อยใช้มือจับซะบุตงไว้แล้วเปลี่ยนท่าค่ะ

ซะบุตงเป็นไอเท็มที่ผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมและไลฟ์สไตล์ของญี่ปุ่นเข้าด้วยกัน ถ้าไปพักหรือทานข้าวที่ไหนที่มีซะบุตง ก็อย่าลืมมารยาทในการนั่งซะบุตงที่อ่านจากบทความของเราวันนี้นะคะ

อ่านเพิ่มเติม:
สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการเที่ยวแนวประหยัด!! แนะนำเกรซเฮ้าส์ในเกียวโต6แห่ง
รับเช้าวันใหม่แสนสดใสด้วยการเข้าร่วมนั่งสมาธิฟรีที่วัดเอนงะคุ
“โรงแรมไทโต” (ไทโตเรียวคัง) บ้านพักที่ก่อสร้างตั้งแต่ปี 1950 แห่งนี้ จะเปิดโอกาสให้คุณได้สัมผัสกับญี่ปุ่นในยุคเก่า
【วันฝนพรำ】ประสบการณ์การนั่งสมาธิที่ “เรียวโซคุอิน” แห่งเกียวโตที่ศักดิ์สิทธิ์ที่คุณจะไม่ได้ยินแม้แต่เสียงหยาดฝน

Written by

日本への訪日外国人の方が、もっと増えますように!

เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ