【จังหวัดมิยาซากิ】เพลิดเพลินไปกับทั้งภูเขาและท้องทะเล! ออกสำรวจมนต์เสน่ห์แห่งธรรมชาติที่ยังไม่ถูกค้นพบ

สาราณุกรมคำญี่ปุ่น「ไดเมียว」

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

สาราณุกรมคำญี่ปุ่นเป็นการอธิบายคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นยากๆหรือว่าคำที่มีเฉพาะในภาษาญี่ปุ่น ให้สำหรับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะ โดยคราวนี้จะเป็นคำศัพท์คำว่าไดเมียว ซึ่งมีความสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นค่ะ

บทความโดย

นี่คือบัญชีของกองบรรณาธิการ MATCHA เราจะเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวอยากรู้ รวมถึงเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ของญี่ปุ่นที่ยังไม่มีใครรู้จัก

more

สำหรับคำว่าไดเมียว」นั้น แต่เดิมแล้วเป็นชื่อที่ใช้เรียกผู้มีอิทธิพลในภูมิภาคนั้นๆ แต่ต่อมาในสมัยที่ที่ซามุไรมีความรุ่งเรื่องในศตวรรตที่14นั้น ไดเมียว นั้นมีความหมายถึง ซามุไรที่ดูแลเปกครองเมืองที่ตกอยู่ใต้อาณานิคมและดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา

3ประเภทของ「ไดเมียว」ในสมัยเอโดะ

Ieyasu_Tokugawa_20151112

Photo By Rita Willaert

ในช่วงก่อนปี1603ก่อนที่โทคุงาวะ อิเอยาสึจะขึ้นปกครองประเทศ(ทคุงาวะ อิเอยาสึ:รูปภาพ) มีซามุไรที่ถูกเรียกว่าไดเมียวอยู่หลายคนอย่างเช่น「ชุโกะไดเมียว」ที่เติบโตในเกียวโตหรือ 「เซนโกะคุไดเมียว」ที่พยายามรวบรวมเมืองต่างๆให้เป็นของตนเองอย่าง แต่ในความคิดของคนญี่ปุ่นสมัยนี้นั้น ถ้าพูดถึง「ไดเมียว」ส่วนมากก็จะนึกถึงจิโฮเรียวชุที่เป็นผู้นำกองกำลังทหารจำนวนประมาณ200คน(รวมพลเรือน)ในสมัยหลังจากปี 1603 เป็นต้นไปค่ะ

samurai_20151112

Photo By Esther Moved to Ipernity

ไดเมียวนั้น ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยตระกูลโทคุงาวะนั้นเป็น「ชิยพัง ไดเมียว」,ส่วนลูกน้องพวกพ้องของตนที่อยู่กันมาตั้งแต่สมัยเก่าก่อนจะถูกเรียกว่า「ฟุได ไดเมียว」,ส่วนลูกน้องที่เพิ่งเข้ามาใหม่นั้นจะเรียกว่า「โทะซามะ ไดเมียว」ตามลำดับ และการปกครองก็จะแบ่งออกไปอย่างเมืองสำคัญๆก็จะปกครองโดยชิยพัง ไดเมียวหรือฟุได ไดเมียว ส่วนเมืองที่ใกล้จากเอโดะ(โตเกียวสมัยปัจจุบัน)ก็จะให้โทะซามะ ไดเมียวเป็นผู้รับผิดชอบปรกครองไป

「ขบวน ไดเมียว」คือการเคลื่อไหวครั้งใหญ่ของหมู่นักรบ

Sankin_kotai_20151112-1

Photo By Wikimedia Commons

ในหมู่ของ ไดเมียว นั้นจะมีกฏหมายที่ชื่อ「บุเคะโชะฮัตโตะ」เอาไว้คอยควบคุมดูแลอยู่ ในกฏหมายที่่ว่านั้น มีอยู่ข้อหนึ่งที่ว่าที่เรียกกันว่า「ซันคินโคทัย」มีหลักเกณฑ์ที่ว่าในทุกๆหนึ่งปี1จะต้องมีการสลับสับเปลี่ยนกันระหว่างอยู่ที่เอโดะกับเมืองที่ตัวเองปกครองอยู่

ทำให้ทุกๆครั้งจะต้องพาเอาข้าทาสบริวานจำนวนมากๆติดสอยห้อยตามมาด้วย และในการขนเอาข้าทาสบริวารมาก็ต้องมีค่าไปจ่ายทั้งไปและกลับจากเอโดะ ด้วยเรื่องเงินทองค่าใช้จ่ายในการเดินทางนี้ทำให้เหล่าไดเมียวทั้งหลายนั้นมีความลำบากเป็นอย่างมาก เหตุที่ต้องมีการตั้งกฏแบบนี้ไม่ใช่เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกินการรัฐประหารเรื่องเงินและผู้คนเพียงอย่างเดียว ยังมีข้อดีคือ การเดินทางไปกลับหลายๆครั้งระหว่างเมืองตัวเองกับเอโดะยังให้การคมนาคมเจริญก้าวหน้าขึ้นด้วย และทำให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างเมืองต่างๆภายในประเทศด้วย

「ไดเมียว」คำที่ยังคงหลงเหลือจนถึงทุกวันนี้

ในสมัยปัจจุบันนี้แม้ว่าในประเทศญี่ปุ่นจะไม่มี「ไดเมียว」อยู่แล้ว แต่ยังมีคำที่เกี่ยวข้องกับไดเมียวอยู่ เช่น คำว่า「ไดเมียว เรียวโคว」หมายถึงการท่องเที่ยวแบบหรูหราฟุ่มเฟีอย,「ไดเมียว กัย」การซื้อของราคาเต็มแบบไม่ต่อรอง,「ไดเมียวโอโรชิ」เป็นชื่อในการแล่ปลาชนิดหนึ่ง โดยเป็นการแล่ปลาโดยไม่ใช้มีดแล่ระหว่างหลังกับช่องท้อง จะเป็นการแล่แบบผ่าระหว่างกระดูกตรงกลางกับเนื้อปลาเลย ทำให้มีเนื้อปลาติดอยู่ที่ก้างเป็นจำนวนมาก เป็นวิธีการทำปลาที่ค่อนข้างสิ้นเปลือง ฟุ่มเฟือย เป็นต้น

ซึ่งการใช้คำว่าไดเมียวนำหน้าคำอะไรจะเป็นการแสดงให้เห็นว่าสิ่งเหล่านั้นหรือการกระทำนั้นมีความหรูหรา ฟุ่มเฟือย มั่งคั่งอยู่ในตัวนั่นเองค่ะ

บทความโดย

MATCHA

นี่คือบัญชีของกองบรรณาธิการ MATCHA เราจะเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวอยากรู้ รวมถึงเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ของญี่ปุ่นที่ยังไม่มีใครรู้จัก

more
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ