เมืองมุราคามิ จังหวัดนีงาตะ: ทัวร์ชมตุ๊กตาฮินะในมาชิยะ พร้อมเพลิดเพลินกับกิจกรรม ที่เที่ยว และอาหารท้องถิ่น

รู้ไว้อุ่นใจกว่า! คันจิควรรู้ 15 ตัวเมื่อได้มาเที่ยวญี่ปุ่น

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

“คันจิ” นับเป็นปัญหาหนักอกของใครหลายคนเวลาเดินทางมาเที่ยวญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ ในครั้งนี้เราจะมาสอนคันจิยอดฮิต 15 ตัวที่ต้องเจอแน่นอนเมื่อมาเที่ยวญี่ปุ่นกันค่ะ รับรองว่าจะช่วยให้เที่ยวญี่ปุ่นได้อย่างสบายมากขึ้นอย่างแน่นอน!

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :

“คันจิ” นับเป็นปัญหาหนักอกของใครหลายคนเวลาเดินทางมาเที่ยวญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ ในครั้งนี้เราจะมาสอนคันจิยอดฮิต 15 ตัวที่ต้องเจอแน่นอนเมื่อได้มาเที่ยวญี่ปุ่นกันค่ะ รับรองว่าจะช่วยให้เพื่อน ๆ เที่ยวญี่ปุ่นได้อย่างสบายมากขึ้นอย่างแน่นอน!

อาหารการกิน

1.注文

เสียงอ่าน:chuumon (จูมง)

“chuumon (จูมง)” คือ การสั่งอาหารหรือสินค้าตามร้านค้า ในกรณีที่เป็นร้านแฟรนไชส์ทั่วไปจะสั่งอาหารโดยใช้ตั๋วอาหารหรือผ่านหน้าจอทัชสกรีน ถ้าเกิดต้องการสั่งอาหารให้พูดว่า “注文いいですか? (จูมงอี้เดสก๊ะ? = ขอสั่งอาหารได้มั้ยครับ/คะ?)”

2.薬味

เสียงอ่าน:yakumi (ยาคุมิ)

“yakumi (ยาคุมิ)” ที่มักจะตั้งเอาไว้บนโต๊ะตามร้านอาหารญี่ปุ่น เช่น ร้านราเม็งหรือร้านอาหารชุด เป็นเครื่องปรุงรสอย่างอาหารทะเลอบแห้งหรือพืชผักสำหรับเติมในอาหาร โดยไม่ได้เพียงแค่ช่วยเพิ่มรสชาติอาหารเท่านั้น แต่ยังช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอมขึ้นและมีรสชาติดีขึ้นอีกด้วย ยาคุมิขึ้นชื่อที่ใช้กันบ่อย ๆ ในอาหารญี่ปุ่นประกอบด้วยต้นหอม, ใบมิตสึบะ, ขิง, วาซาบิ, กระเทียม, ใบกะเพรา และหัวไชเท้า เป็นต้น

สำหรับรายละเอียดสามารถเข้าไปดูได้จาก 日本のことば事典「薬味」

3.替玉

เสียงอ่าน:kaedama (คาเอดามะ)

“kaedama (คาเอดามะ)” หมายถึง การสั่งเส้นเพิ่ม (ไม่รวมน้ำซุปและท็อปปิ้ง) โดยเราสามารถซื้อคาเอดามะได้ที่ตู้จำหน่ายตั๋วอาหารอัตโนมัติหรือว่าที่โต๊ะเลยก็ได้เหมือนกัน แต่ว่าไม่ใช่การเพิ่ม 「玉子」“ไข่” นะจ๊ะ...

4.仕度中

เสียงอ่าน:shitakuchuu (ชิตาขุจู)

คำว่า “shitakuchuu (ชิตาขุจู)” สามารถพบเห็นได้บ่อยตามประตูทางเข้าร้านอาหารญี่ปุ่นทั่วไป โดยหมายความว่าอยู่ในช่วงเตรียมร้านซึ่งลูกค้ายังไม่สามารถเข้าร้านได้ตรงข้ามกับคำว่า “営業中 (เอเกียวจู)” ซึ่งหมายถึงอยู่ในระหว่างเปิดทำการ

ช้อปปิ้ง

5.徳用

เสียงอ่าน:tokuyou (โทคุโย)

“tokuyou (โทคุโย)” หมายถึง ของดี ราคาถูก และมีจำนวนหรือปริมาณมาก สำหรับใครที่ชอบการกว้านซื้อสินค้าครั้งละเยอะ ๆ ในครั้งเดียวก็ขอแนะนำให้จำคำนี้เอาไว้ให้ดีเวลาไปช้อปปิ้งเลยค่ะ!

6.手数料

เสียงอ่าน:tesuuryou (เทะซูเรียว)

“เทะซูเรียว” เป็นคำศัพท์ที่สามารถพบเห็นได้บ่อยเวลาช้อปปิ้งตามอินเตอร์เน็ต โดยหมายความว่าจำเป็นต้องจ่ายเงินค่าดำเนินการหรือเรียกตามภาษาบ้านเราว่า “ค่าธรรมเนียม” นั่นเอง นอกจากเวลาช้อปปิ้งควรเช็คว่าราคานี้รวมภาษีผู้บริโภคแล้วหรือยังแล้วก็อย่าลืมเช็คด้วยว่าต้องเสียค่าธรรมเนียมรึเปล่า

7.完売

เสียงอ่าน:kanbai (คัมไบ)

“kanbai (คัมไบ)” หมายถึง จำหน่ายหมดแล้ว เมื่อเห็นป้ายนี้แล้วคงรู้สึกผิดหวังกันไปตาม ๆ กัน ส่วน “在庫あり (ไซโกะอาริ)” หมายถึง ยังมีสินค้าอยู่

8.格安

เสียงอ่าน:kakuyasu (คาคุยาสึ)

“kakuyasu (คาคุยาสึ)” หมายถึง ราคาถูกกว่าปกติ นอกจากนี้ก็ยังมีคำว่า “激安 (คาคุยาสึ)” ซึ่งหมายความราคาถูกสุด ๆ อีกด้วย

9.両替

เสียงอ่าน:ryougae (เรียวกาเอะ)

“ryougae (เรียวกาเอะ)” หมายถึง การแลกแบงค์ใหญ่เป็นเศษเหรียญ ตามศูนย์การค้าในญี่ปุ่นไม่ค่อยมีบริการเรียวกาเอะเท่าไหร่นัก นอกจากนี้ก็ยังมีความหมายอีกอย่างหนึ่งว่า “外貨両替 (ไกกะเรียวกาเอะ)” หรือการแลกเงินตราต่างประเทศอีกด้วย เพราะฉะนั้น ถ้าเกิดพบเห็นตัวอักษรนี้ตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น สนามบิน ก็แสดงว่าสามารถแลกเงินสกุลต่างประเทศได้นั่นเอง

Next Page ในหน้าถัดไป เราจะมาแนะนำตัวอักษรคันจิเกี่ยวกับโรงแรมที่พักและการเดินทางกันค่ะ!

Written by

Avatar

miho

東京

เกิดที่ไต้หวัน ปัจจุบันกำลังอาศัยอยู่ที่โตเกียว เป็นบรรณาธิการหลักของเว็บไซต์ของ MATCHA ที่เน้นเกี่ยวกับไฮลิฟสไตล์ทายว้าวสำหรับชาวไต้หวัน ในอดีต曾เป็นบรรณาธิการของนิตยสารแฟชั่นญี่ปุ่น ติวเข้าเรียนภาษาญี่ปุ่นในโรงเรียนมัธยมส่วนตัวในไทเป, เป็นล่ามสำหรับบริษัทไชเซโดะและบริษัทอื่นๆ จากญี่ปุ่นและไต้หวัน มีประสบการณ์ในการเขียนโฆษณาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงหน้าใน เพจ Facebook 'Tokyo beyond studying abroad' 東京、不只是留學(留学だけじゃなくて)จำนวนผู้ติดตามมีจำนวน 120,000 คน เป็นบล็อกเกอร์ที่มีผู้อ่านจากไต้หวัน ฮ่องกง และญี่ปุ่น โดยผู้อ่านในเพียง 70% ของสาวสมาชิก ฉันมีบทความที่พิจารณาเกี่ยวกับสถานที่และร้านค้าในอดีตมากกว่า 300 แห่ง เขียนเกี่ยวกับแนวโน้มล่าสุด สถานที่ที่ไม่ค่อยได้รับการนำเสนอ และวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม เผยแพร่หนังสือเล่มที่ 6 เกี่ยวกับญี่ปุ่นในไต้หวันและเอเชีย Facebook → https://www.facebook.com/filmmiho/ Instagram → @mihowang47

เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ