เมืองมุราคามิ จังหวัดนีงาตะ: ทัวร์ชมตุ๊กตาฮินะในมาชิยะ พร้อมเพลิดเพลินกับกิจกรรม ที่เที่ยว และอาหารท้องถิ่น

สารานุกรมคำญี่ปุ่น「โซนิ」

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

โซนิคือน้ำซุปที่ใส่โมจิเป็นอาหารญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม อธิษฐานขอพรให้มีความสุขทั้งปีในวันขึ้นปีใหม่วางคู่กับอาหารปีใหม่ค่ะ เราจะมาแนะนำว่าแต่ละภูมิภาคและบ้าน เค้ามีรูปร่างโมจิและชนิดน้ำซุป วัตถุดิบที่ใส่ในโซนิแตกต่างกันอย่างไรค่ะ

วันที่ปรับปรุงล่าสุด :

โซนิคืออะไร?

undefined

โอะโซนิเป็นน้ำซุปที่มีโมจิเป็นส่วนประกอบหลักทานด้วยถ้วยเครื่องเขิน อธิษฐานขอพรในวันปีใหม่ให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ดีและครอบครัวปราศจากอันตรายใดๆ จะทานเป็นอาหารเช้าสามวันแรกของปีใหม่ (1 มกราคม 2 มกราคม 3 มกราคม) น้ำซุปจะเป็นซุปมิโซะบ้างซุปสุมะชิ (โชยุ, เกลือ, น้ำซุป)บ้าง ส่วนผสมก็จะมีผัก, อาหารทะเล, ไก่ประกอบกันค่ะ ส่วนใหญ่ในแต่ละท้องถิ่นจะใช้วัตถุดิบที่ผลิตเฉพาะในท้องถิ่นตน ถือว่าเป็น「รสชาติบ้านเกิด」สำหรับคนญี่ปุ่นค่ะ

ต้นกำเนิดของโซนิ?

日本のことば事典「雑煮」

มีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของโซนิ มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ว่ากันว่าตั้งแต่สมัยเฮอัน (ปี794~1185)สำหรับคนญี่ปุ่นที่เป็นเกษตรกรแล้วโมจิที่ทำจากข้าวเป็นตัวแทนอาหารเฉพาะพิเศษที่จะใช้ในการเฉลิมฉลอง อย่างคะกะมิโมจิ (※1) โมจิ หัวไชเท้า แครอทและเผือกถวายแก่เทพเจ้า ว่ากันว่าการรินน้ำครั้งแรกในปีนั้นและใช้ไฟประกอบอาหารครั้งแรกนั้นเป็นเรื่องที่มาของโอโซนินั่นเอง
※1:คะกะมิโมจิ(Kagami Mochi)……โมจิขนาดใหญ่และขนาดเล็กลักษณะแบนเป็นวงกลมที่ซ้อนกันเป็นสองชั้นหรือสามชั้น ตกแต่งโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายพระในวันขึ้นปีใหม่

ในแต่ละท้องถิ่นโอะโซนิจะแตกต่างกัน

เราจะมาแนะนำความแตกต่างของรสชาติของโอะโซนิและวัตถุดิบในแต่ละภูมิภาค

ความแตกต่างของโมจิ

ในภูมิภาคคันไซความกลมเกลียว(ทำเป็นวงกลมให้สามัคคีปรองดองกัน)」โมจิวงกลมของมงคลของที่ประดับไว้เพื่อความเป็นมงคล ในภูมิภาคคันโตในภูมิภาคโทโฮคุ มักจะใช้โมจิแบบเป็นเหลี่ยม ส่วนในฮอกไกโดและในภูมิภาคโฮคุริคุ ไม่ได้แบ่งโมจิแบบวงกลมหรือแบบเหลี่ยมอย่างใดอย่างหนึ่งค่ะ

นอกจากนี้ในภาคตะวันออกของญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะนำโมจิไปย่างเพื่อให้มีกลิ่นหอม ภูมิภาคคันไซ・ภูมิภาคชูโกะคุ (ยกเว้นฮิโรชิม่า)ปกติจะใช้โดยไม่ย่างค่ะ
ทว่า ที่โอกินาว่าไม่มีประเพณีการทานโซนิค่ะ

ความแตกต่างของรสชาติ

ภูมิภาคคันไซเป็นรสมิโซะ: มักจะทำจาก (มิโซะ:เครื่องปรุงรสที่ใช้ถั่วเหลืองและกับวัตถุดิบ) โดยเฉพาะในเกียวโตมักจะใช้มิโซะขาว แถวญี่ปุ่นตะวันตก(ภูมิภาคชูโกะคุ・ภูมิภาคชิโกกุภูมิภาคคิวชู)ยกเว้นญี่ปุ่นตะวันออกและแถบคันไซ โดยทั่วไปน้ำซุปสกัดจากคมบุและคะสึโอะค่ะ บางส่วนในคาบสมุทรโนะโทะและภูมิภาคอิสุโมะจะทานซุปถั่วแดงกันค่ะ

ความแตกต่างของส่วนผสม

ในส่วนผสมจะมีผลผลิตของท้องถิ่นนั้นๆผักต่างๆเช่น หัวไชเท้าแครอทเผือกโกะโบมิซึบะในจังหวัดนีงะตะไข่ปลาและปลาแซลมอนในจังหวัดชิบะ สาหร่ายในจังหวัดฮิโรชิม่าหอยนางรมในจังหวัดชิมาเนะหอยฮะมะกุริ(hamakuri)เป็นต้น ในพื้นที่แถบภูเขาจะใช้ เห็ดและพืชป่าค่ะ

อันที่แปลกไม่เหมือนใครอยู่ในจังหวัดอิวาเตะ พื้นที่ชายฝั่งทะเล「โซนิวอลนัท」อันนี้จะเป็นซุปรสโชยุใส่พืชป่า ผักและเต้าหู้ หรือทานเปล่าๆเลยก็ได้ค่ะ ชามที่แยกน้ำจิ้มวอลนัทหวานๆไว้ต่างหาก หยิบโมจิจากโอะโซนิออกมาจิ้มกับน้ำจิ้มก็อร่อยสองต่อเลยล่ะค่ะ
ในจังหวัดคากาวะมีโอะโซนิส่วนผสมผัก และโคะโระโมจิในน้ำซุปมิโสะขาว
ในจังหวัดฟุกุอิมีโอะโซนิที่ง่ายมากๆ ใส่โมจิในซุปมิโสะแล้ววางคัดสึโอะฟูฟ่องไว้ข้างบนไม่ได้ใส่วัตถุอะไรเลย ว่ากันว่าเพราะว่ามีอาหารปีใหม่แล้วจึงไม่จำเป็น สามารถลิ้มรสความอร่อยซุปและโมจิได้อย่างแท้จริงค่ะ
ในแต่ละภูมิภาคของประเทศญี่ปุ่นมีโอะโซนิเฉพาะแบบไม่ซ้ำกันลองทานโอะโซนิหลายๆแบบดูนะคะ

Written by

日本への訪日外国人の方が、もっと増えますように!

เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ