Unseen Japan สัมผัสมนต์เสน่ห์แห่งฤดูหนาวของเมืองมัตสึโมโตะ 2 วัน 1 คืน

SASHIMA ชาญี่ปุ่นรายแรกที่ส่งออกไปยังอเมริกา - ดื่มด่ำเสน่ห์ของชาได้ที่ Tea Cafe & Shop Chabaco หนึ่งในสถาปัตยกรรมของคุมะ เค็งโกะ

บริการนี้รวมโฆษณาที่ได้รับการสนับสนุน
article thumbnail image

เมื่อพูดถึงแหล่งปลูกชา ก็ต้องเป็นเมืองอุจิในเกียวโตและชิซุโอกะ แต่จริงๆ ใบชารายแรกที่ข้ามทะเลไปอเมริกาหลังญี่ปุ่นเปิดประเทศในปี 1854 ก็คือ "ชาซาชิมะ" ที่ปลูกในอิบารากิ Tea Cafe & Shop Chabaco คาเฟ่ซึ่งออกแบบโดยคุมะ เค็งโกะ ที่เราจะได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ และดื่มด่ำกับชาจากใบชาซาชิมะและวาโคฉะกัน

บทความโดย

miho

東京

เกิดที่ไต้หวัน ปัจจุบันกำลังอาศัยอยู่ที่โตเกียว เป็นบรรณาธิการหลักของเว็บไซต์ของ MATCHA ที่เน้นเกี่ยวกับไฮลิฟสไตล์ทายว้าวสำหรับชาวไต้หวัน ในอดีต曾เป็นบรรณาธิการของนิตยสารแฟชั่นญี่ปุ่น ติวเข้าเรียนภาษาญี่ปุ่นในโรงเรียนมัธยมส่วนตัวในไทเป, เป็นล่ามสำหรับบริษัทไชเซโดะและบริษัทอื่นๆ จากญี่ปุ่นและไต้หวัน มีประสบการณ์ในการเขียนโฆษณาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงหน้าใน เพจ Facebook 'Tokyo beyond studying abroad' 東京、不只是留學(留学だけじゃなくて)จำนวนผู้ติดตามมีจำนวน 120,000 คน เป็นบล็อกเกอร์ที่มีผู้อ่านจากไต้หวัน ฮ่องกง และญี่ปุ่น โดยผู้อ่านในเพียง 70% ของสาวสมาชิก ฉันมีบทความที่พิจารณาเกี่ยวกับสถานที่และร้านค้าในอดีตมากกว่า 300 แห่ง เขียนเกี่ยวกับแนวโน้มล่าสุด สถานที่ที่ไม่ค่อยได้รับการนำเสนอ และวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม เผยแพร่หนังสือเล่มที่ 6 เกี่ยวกับญี่ปุ่นในไต้หวันและเอเชีย Facebook → https://www.facebook.com/filmmiho/ Instagram → @mihowang47

more

ซาชิมะ ชาที่สร้างรากฐานการค้าชาระหว่างประเทศของญี่ปุ่น

ซาชิมะคือชาอะไร?

หลายคนที่ได้ยินชื่อนี้คงมีคำถามแบบนี้ ชาซาชิมะ (Sashima Tea) เป็นชาที่ทำจากใบชาที่มีแหล่งเพาะปลูกอยู่บนที่ราบสูงซาชิมะทางตะวันตกของจังหวัดอิบารากิ ด้วยสภาพภูมิอากาศบนภาคพื้นทวีปที่ฤดูร้อนก็ร้อน ส่วนฤดูหนาวก็หนาวเย็น ทำให้ใบชาของแถบนี้มีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ

ที่ราบสูงซาชิมะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของการขนส่งทางน้ำในสมัยเอโดะ หลังจากเอโดะบาคุฟุ (รัฐบาลเอโดะ) เปิดท่าเรือเพื่อทำการค้า การปลูกชาก็เป็นที่นิยมในหมู่เกษตรกรที่ร่ำรวยของท้องถิ่นนี้ ดังนั้น ชาซาชิมะจึงเป็นที่รู้จักในฐานะชาญี่ปุ่นชนิดแรกที่ส่งออกไปอเมริกา ว่ากันว่า ชานี้เป็นผู้วางรากฐานการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมชาญี่ปุ่นในสมัยเมจิ

จากความหลงใหลในชา หลังทำงานเป็นพนักงานบริษัทนาน 10 ปี จึงเปลี่ยนมาบริหารสวนชา

長野園chabaco 花水先生與長野小姐

คู่สามีภรรยาฮานามิซุ (จากซ้าย คุณมิจิโอะและคุณอากิโกะ)

คุณฮานามิซุ มิจิโอะ ผู้บริหาร Tea Cafe & Shop Chabaco คาเฟ่ชาในจังหวัดอิบารากิ เป็นผู้หนึ่งที่หลงใหลในความอร่อยของชาซาชิมะ ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่โลกแห่งชา เขาทำงานเป็นพนักงานในบริษัทแห่งหนึ่งราว 10 ปี เขากล่าวว่า "ตอนที่เป็นพนักงานบริษัท ส่วนใหญ่ผมจะดื่มกาแฟบ่อยกว่าชาครับ"

แต่เมื่อเขาได้พบกับคุณอากิโกะ ลูกสาวเจ้าของนากาโนะเอ็น (Naganoen) สวนชาในจังหวัดอิบารากิ ก็เริ่มสนใจชามากขึ้นเรื่อยๆ

อุตสาหกรรมชาในจังหวัดอิบารากิกำลังเผชิญกับปัญหาต่างๆ อย่างการขาดแคลนผู้สืบทอด เมื่อเทียบกับแหล่งปลูกชาที่มีผู้ผลิตเครื่องดื่มจำนวนมากและการผลิตครั้งละมากๆ รองรับแล้ว อุตสาหกรรมชาในอิบารากิถือว่าไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเท่าไหร่ แม้คุณมิจิโอะรู้ถึงสถานการณ์ดังกล่าว แต่ก็ไม่อาจหยุดความสนใจของเขาได้

เขาเรียนรู้เรื่องชาตั้งแต่ศูนย์ ปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านชาที่ดีที่สุดคนหนึ่ง

การปลูกต้นชาที่ทำวาโคฉะ (ชาฝรั่งแบบญี่ปุ่น) โดยใช้ประโยชน์จากสภาพภูมิอากาศในท้องถิ่น

長野園 茶包

ปัจจุบันเครื่องดื่มชาเขียวบรรจุขวดพลาสติกที่ราคาไม่แพงและอร่อยครองตลาด ผู้ที่ไปร้านน้ำชาเพื่อดื่มชาที่ชงจากใบชาลดลง และคนที่ชงชาดื่มที่บ้านก็น้อยลง

เส้นทางแห่งความหวังที่คุณมิจิโอะพบในสถานการณ์นี้คือการส่งเสริมการผลิตโคฉะ (ชาฝรั่งหรือชาดำ) ในประเทศ

ปัจจุบันโคฉะในญี่ปุ่นส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ ไม่มีแหล่งปลูกโคฉะโดยเฉพาะในญี่ปุ่น แต่จากการตรวจสอบพบว่า สภาพภูมิอากาศของท้องถิ่นซึ่งผลิตชาซาชิมะนี้เหมาะกับการปลูกใบชาสำหรับทำโคฉะ (*)
* โคฉะ ... เป็นใบชาที่ผ่านการบ่มที่อุณหภูมิหนึ่ง เพื่อให้คลอโรฟิลล์สลาย และเกิดการออกซิเดชั่นได้สารแทนนิน โคฉะโดดเด่นที่ช่วยในการย่อยอาหาร ลดคอเลสเตอรอล และลดการดูดซึมไขมันในลำไส้ บ้านเรามักเรียกว่า ชาฝรั่ง ยังนิยมนำมาแต่งกลิ่นเป็นรสชาติใหม่ๆ อาทิ ชาเอริลเกรย์ (Earl Grey)

คุณมิจิโอะที่สังเกตเห็นสิ่งนี้ได้ทำการวิจัยค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ได้รับการสอนสิ่งต่างๆ จากผู้ผลิตวาโคฉะชั้นนำในแต่ละพื้นที่ของญี่ปุ่น โดยอ้างถึงเทคนิคการผลิตชาของอินเดียและไต้หวัน และใช้เวลาตลอด 10 ปี พัฒนาแบรนด์ SASHIMA CRAFT TEA โคฉะจากใบชาหลากหลายสายพันธุ์ของ Naganoen เอง ซึ่งมีสายพันธุ์ 3 ชนิดที่ได้รับรางวัลจาก Premuim Tea Contest การประกวดโคฉะที่ผลิตในญี่ปุ่น

สร้างคาเฟ่ชาเพียงหนึ่งเดียวบนที่สถานที่ซึ่งออกแบบโดยคุมะ เค็งโกะ

蒙特內哥羅會館 隈研吾

ตำบลซาไก (Sakai) เขตซาชิมะ (Sashima) มีอาคารทั้งหมด 6 หลังที่ออกแบบและก่อสร้างโดยศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง-คุมะ เค็งโกะ (KENGO KUMA AND ASSOCIATES) ท่านที่ต้องการเพลิดเพลินกับชาซาชิมะของสวนชา Naganoen ในอาคารนี้ ให้ไปที่มอนเตเนโกรไคกัน (Montenegro Hall) ซึ่งเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนกันยายน 2020

เดิมที่นี่เป็นสถานที่ฝึกอบรมยุวชนที่สร้างขึ้นในปี 1937 เพื่อการแลกเปลี่ยนมิตรภาพกับประเทศอาร์เจนตินา หลังผ่านมากว่า 80 ปี ปัจจุบันอาคารได้รับการปรับปรุงใหม่โดยคุณคุมะ เค็งโกะ เพื่อเป็นหลักแสดงถึงมิตรภาพอันยั่งยืนระหว่าง 2 ประเทศ และการรับมือกับความล้าสมัยของอาคาร

蒙特內哥羅會館 外觀紀念碑

อาคารนี้ได้นำไม้เก่าแก่จากสถานที่ต่างๆ มาใช้ใหม่ได้อย่างวิจิตร มีการจัดตั้งอนุสาวรีย์และนำกระเบื้องหลังคาเก่าแก่มาประดับไว้ตรงทางเข้า เป็นการผสานวัสดุที่แสดงถึงยุคสมัยต่างๆ ที่เข้ากันได้อย่างเป็นธรรมชาติ

chabaco內觀

Naganoen ได้รับการร้องขอจากรัฐบาลท้องถิ่นของตำบลซาไก คุณมิจิโอะกล่าวว่า "ผมคิดว่าเป็นโอกาสที่หายาก จึงตอบตกลงทันที" และตัดสินใจเปิด Tea Cafe & Shop Chabaco คาเฟ่ชาที่เต็มไปด้วยบรรยากาศอบอุ่นซึ่งทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายราวกับอยู่บ้านขึ้น

蒙特內哥羅會館 長野園店內

บนผนังทั้งสองด้านของร้าน มีการแนะนำประวัติความเป็นมาของ Montenegro Hall และจัดแสดงภาพถ่ายกิจกรรมการแลกเปลี่ยนกับประเทศอาร์เจนตินา

คำอธิบายระบุว่า จุดเริ่มต้นในการแลกเปลี่ยนระหว่างตำบลซาไกและประเทศอาร์เจนตินาย้อนกลับไปในช่วงเวลาที่นายพล แมตธิว เพอร์รี (Matthew C. Perry) นำกองเรือรบสีดำมาเทียบน่านน้ำญี่ปุ่น ว่ากันว่าในปี 1853 ได้เริ่มการแลกเปลี่ยนครั้งแรกโดยลูกเรือชาวอาร์เจนตินากับขุนนางของแคว้นเซคิยาโดะที่มีถิ่นกำเนิดในตำบลซาไก ผู้รับผิดชอบดูแลการบันทึกเอกสาร

ชาและขนมอร่อยๆ ที่คอยต้อนรับผู้มาเยือน

煎茶碳酸氣泡飲

คาเฟ่มีเมนูเครื่องดื่มเกือบ 20 รายการ หลังจากที่ผู้เขียนลังเลแล้วลังเลอีก จึงเลือก Sencha Sparkling Iced Tea หรือชาเขียวโซดาเย็น (ราคาไม่รวมภาษี 480 เยน) และโคฉะร้อน SASHIMA CRAFT TEA (ราคาไม่รวมภาษีชุดละ 700 เยน) ทุกเมนูล้วนทำจากใบชาที่ทางร้านปลูกเอง

เราสามารถนั่งดูการชงชาบนเก้าอี้สตูลในร้าน ว่ากันว่า เก้าอี้สตูลที่จัดวางอยู่ในร้านทำขึ้นจากการนำกล่องไม้ที่ใช้เก็บใบชามาปรับแต่งใหม่

ใบชาที่ใช้ในเมนู Sencha Sparkling Iced Tea ทำจากชานึ่งรสกลมกล่อมจากสวนชาของทางร้านเองผสานกับตะไคร้เพื่อเพิ่มรสชาติและกลิ่นหอม โดดเด่นที่ดื่มง่ายสดชื่นไม่บาดคอ เหมาะกับฤดูใบไม้ที่อบอุ่นและฤดูร้อนที่อบอ้าว!

長野園 紅茶

SASHIMA CRAFT TEA มีรสชาติหรูหรากลมกล่อม สัมผัสได้ว่าเป็นชาที่คู่ควรกับรางวัลจริงๆ

甘酒奶油紅豆吐司

ขนมหวานที่คุณอากิโกะพัฒนาเป็นสินค้ายอดนิยมเช่นกัน เธอคัดสรรวัตถุดิบและเครื่องปรุงรสที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่กินได้สบายใจไม่เป็นภาระต่อร่างกาย

เช่น อังโกะ (ถั่วแดงกวน) ทำมือไม่ใส่น้ำตาลเพื่อเพิ่มความหวานแต่ดึงความหวานที่มีอยู่ในถั่วแดงออกมา ในภาพเป็นขนมปังปิ้งหน้าเนยอามาซาเกะอังโกะ (ราคาไม่รวมภาษี 550 เยน) เนยหมักที่ให้กลิ่นหอมตามธรรมชาติเข้ากันได้ดีกับอังโกะ ผู้เขียนเพิ่งเคยกินขนมปังปิ้งอร่อยกินได้ไม่เบื่อเป็นครั้งแรกเลย!

百花杯子蛋糕

ฟลาวเวอร์เค้กหรือเค้กดอกไม้ (ราคาไม่รวมภาษี 500 เยน) สวยงามนี้ ใช้ชิโระอัง (ถั่วขาวกวน) แทนครีมสดกับน้ำตาลไอซิ่ง มีเนื้อชุ่มฉ่ำและรสชาตินุ่มนวล เป็นขนมหวานที่ลดไขมันและน้ำตาล ทำให้เพลิดเพลินได้เต็มที่เท่าที่ต้องการ

เพิ่มองค์ประกอบของ "วะ" (ความเป็นญี่ปุ่น) ลงในเครื่องดื่มประจำวันของเรา

นี่คือความรู้สึกอันแรงกล้าของชาวสวนชาที่อยากส่งต่อวัฒนธรรมการดื่มชาของญี่ปุ่นสู่คนรุ่นต่อไป และทำให้เกิดวิธีการดื่มชาแบบใหม่ๆ อย่างวาโคฉะ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชาแสนอร่อยที่ชงจากใบชาจะซึมซาบเข้าสู่ชีวิตประจำวันของเราอีกครั้ง


In cooperation with Naganoen

บทความโดย

miho

東京

เกิดที่ไต้หวัน ปัจจุบันกำลังอาศัยอยู่ที่โตเกียว เป็นบรรณาธิการหลักของเว็บไซต์ของ MATCHA ที่เน้นเกี่ยวกับไฮลิฟสไตล์ทายว้าวสำหรับชาวไต้หวัน ในอดีต曾เป็นบรรณาธิการของนิตยสารแฟชั่นญี่ปุ่น ติวเข้าเรียนภาษาญี่ปุ่นในโรงเรียนมัธยมส่วนตัวในไทเป, เป็นล่ามสำหรับบริษัทไชเซโดะและบริษัทอื่นๆ จากญี่ปุ่นและไต้หวัน มีประสบการณ์ในการเขียนโฆษณาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงหน้าใน เพจ Facebook 'Tokyo beyond studying abroad' 東京、不只是留學(留学だけじゃなくて)จำนวนผู้ติดตามมีจำนวน 120,000 คน เป็นบล็อกเกอร์ที่มีผู้อ่านจากไต้หวัน ฮ่องกง และญี่ปุ่น โดยผู้อ่านในเพียง 70% ของสาวสมาชิก ฉันมีบทความที่พิจารณาเกี่ยวกับสถานที่และร้านค้าในอดีตมากกว่า 300 แห่ง เขียนเกี่ยวกับแนวโน้มล่าสุด สถานที่ที่ไม่ค่อยได้รับการนำเสนอ และวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม เผยแพร่หนังสือเล่มที่ 6 เกี่ยวกับญี่ปุ่นในไต้หวันและเอเชีย Facebook → https://www.facebook.com/filmmiho/ Instagram → @mihowang47

more
เนื้อหาในบทความนี้อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลในช่วงเวลาที่เขียนบทความ อาจมีการเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดสินค้า บริการ ราคาในภายหลังได้ กรุณาตรวจสอบกับสถานที่นั้นอีกครั้งก่อนการไปใช้บริการ
นอกจากนี้ บทความอาจมีลิงก์โฆษณา โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อหรือจอง

อันดับ

ไม่พบบทความ